มะพร้าว พืชท้องถิ่น สังคมไทยใช้มะพร้าวทำประโยชน์มากมาย ลักษณะของต้นมะพร้าว ประโยชน์และสรรพคุณของมะพร้าว น้ำมันมะพร้าว น้ำมะพร้าว โทษของมะพร้าว มีีอะไรบ้างมะพร้าว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะพร้าว ( Coconut ) พืชตระกูลปาล์ม ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะพร้าว คือ Cocos nucifera L. ชื่อเรียกอื่นๆของมะพร้าว เช่น ดุง โพล  คอส่า เอี่ยจี้ หมากอุ๋น หมากอูน เป็นต้น มะพร้าว เป็นไม้ยืนต้น สามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทุกส่วนประกอบของมะพร้าว ที้ง ก้านใบ ใบมะพร้าว ผลมะพร้าว กะลามะพร้าว เนื้อไม้มะพร้าว เป็นต้น

พันธ์ของมะพร้าว

สำหรับพันธุ์มะพร้าว ตามธรรมชาติ สามารถแบ่งมะพร้าวได้ 2 ประเภท คือ มะพร้าวพันธ์เตี้ย และ มะพร้าวพันธ์สูง รายละเอียด ดังนี้

  • มะพร้าวพันธ์เตี้ย มักให้ผลจำนวนมาก ส่วนใหญ่นิยมปลูกเพื่อรับประทานผลอ่อน เพราะ เนื้อมะพร้าวอ่อนนุ่ม และ น้ำมะพร้าวมีรสหวาน และให้กลิ่นหอม
  • มะพร้าวพันธ์สูง มะพร้าวประเภทนี้เป็นมะพร้าวเศรษฐกิจ นิยมปลูกเป็นอาชีพ ตามสวนมะพร้าว นิยมใช้ประโยชน์จากผลอ่อน และ ผลแก่ นำมาใช้ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น น้ำมันพืช กะทิ เป็นต้น

มะพร้าวในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย มะพร้าวเป็นพืชเศรษกิจ ประเทศไทยส่งออกมะพร้าวสูงเป็นอันดับ 6 ของโลก โดยประเทศที่ส่งออกมะพร้าวมากที่สุด คือ ประเทศอินโดนีเซีย พันธุ์มะพร้าว ในประเทศไทย เช่น มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวทะเล มะพร้าวไฟ มะพร้าวซอ มะพร้าวกะทิ มะพร้าวพวงร้อย มะพร้าวมลายูสีเหลืองต้นเตี้ย เป็นต้น

มะพร้าวกับความเชื่อของคนไทย

คนไทย มีความเชื่อว่า มะพร้าวเป็นไม่มงคล นิยมปลูกตามบ้านคน ทุกหลัง เชื่อกันว่าการปลูกมะพร้าว ให้ปลูกทางทิศตะวันออกของบ้าน จะทำให้คนในบ้านอยู่เย็นเป็นสุข ไม่เจ็บป่วย นอกจากนั้น มะพร้าว นำมาใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา เป็นเครื่องสังเวย เพราะ เชื่อว่ามะพร้าวเป็นตัวแทนแห่งความอุดมสมบูรณ์ การดื่มน้ำมะพร้าว เป็นสิริมงคล น้ำมะพร้าว ใช้ล้างหน้าศพ เพราะ มีความเชื่อว่าน้ำมะพร้าวเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ ทำให้ผู้ตายไปยังภพภูมิหน้าอย่างเป็นสุข

ลักษณะของต้นมพร้าว

ต้นมะพร้าว พืชตระกลูปาล์ม พบมากในพื้นที่ตามชายทะเล มีระบบรากเป็นรากฝอย สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะพร้าว มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นมะพร้าว ลักษณะเป็นลำต้นเดียว ลักษณะสูงตรง เนื้อไม้แข็ง สีน้ำตาลอ่อน
  • ใบมะพร้าว ลักษณะใบเป็นใบประกอบ ยาว เนื้อใบมัน สีเขียว
  • ดอกมะพร้าว เป็นช่อ สีครีม หรือ สีเหลืองนวล ไม่มีก้านดอก กลีบดอกหนา และ แข็ง
  • ผลมะพร้าว ผลของมะพร้าวมี 3 ชั้น คือ เปลือกชั้นนอก เปลือกชั้นกลาง และ เปลือกชั้นใน เมล็ดมะพร้าว คือ เนื้อมะพร้าว ภายในเมล็ดเป็นช่อกลวงขณะผลอ่อนจะมีน้ำอยู่เต็ม ผลแก่น้ำมะพร้าวจะแห้งไปบางส่วน

คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว

สำหรับการบริโภคมะพร้าว นิยมบริโภคจากน้ำมะพร้าวและเนื้อมะพร้าว โดยนักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อมะพร้าวและน้ำมะพร้าว มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อมะพร้าว ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 1,480 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 24.23 กรัม น้ำตาล 6.23 กรัม กากใยอาหาร 9 กรัม ไขมัน 33.49 กรัม โปรตีน 3.33 กรัม วิตามินบี1 0.66 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.54 มิลลิกรัม วิตามินบี5 1.014 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.05 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.3 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 14 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.43 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 32 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 113 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 356 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 1.1 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมะพร้าว ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 79 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.71 กรัม น้ำตาล 2.61 กรัม กากใยอาหาร 1.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.72 กรัม วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.057 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.08 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.032 มิลลิกรัม วิตามินซี 2.4 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.29 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 250 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะพร้าว

การใช้ประโยชน์จากมะพร้าว สามารถใช้ประโยชน์มากมาย ทั้งจาก ผลมะพร้าว น้ำมะพร้าว เนื้อผลมะพร้าว ดอกมะพร้าว รากมะพร้าว ใบมะพร้าว รายละเอียดของ สรรพคุณของมะพร้าว มีดังนี้

  • น้ำมะพร้าว สรรพคุณบำรุงผิว บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยล้างพิษในร่างกาย ขับพิษของเสียออกจากร่างกาย ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ลดอาการบวม ลดอาการอักเสบ แก้กระหายน้ำ บำรุงสมอง บำรุงเส้นผม ลดไข้ แก้ไอ แก้ท้องร่วง บำรุงระบบทางเดินอาหาร รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาทางเดินปัสสาวะอักเสบ รักษานิ่ว ช่วยถ่ายพยาธิ
  • เนื้อมะพร้าว สรรพคุณแก้อาการระคายเคืองตา ช่วยลดไข้ รักษาแผลในปาก ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยถ่ายพยาธิ
  • ดอกมะพร้าว สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต  แก้เจ็บคอ ขับเสมหะ  แก้ท้องเสีย
  • รากมะพร้าว สรรพคุณรักษาโรคคอตีบ แก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ
  • เปลือกต้นสดมะพร้าว สรรพคุณแก้อาการเจ็บฟัน
  • กะลามะพร้าว สรรพคุณแก้ท้องเสีย ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • น้ำมันจากกะลามะพร้าว สรรพคุณแก้อาการปวดฟัน แก้ปวดข้อ แก้ปวดเส้นเอ็น รักษาโรคผิวหนัง ช่วยสมานแผล
  • ใบมะพร้าว สรรพคุณช่วยรักษาโรคอีสุกอีใส

น้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าว คือ น้ำมันชนิดหนึ่งที่เกิดจากการสกัดจากมะพร้าว โดยวิธีการสกัดน้ำมันรูปแบบเย็นและร้อน ซึ่งน้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันพืชที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นกรดไขมันอิ่มตัว ที่ไม่ทำลายหลอดเลือดของมนุษย์

ประโยชน์น้ำมันมะพร้าว

สำหรับการใช้ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น สามารถสรุปประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว ดังนี้

  • ช่วยลดไขมันที่ทำร้ายร่างกาย น้ำมันมะพร้าวไม่สามารถช่วยลดน้ำหนักได้ แต่การกินน้ำมันมะพร้าว ช่วยลดไขมันร้ายในร่างกาย และ เพิ่มไขมันดีให้ร่างกาย น้ำมันมะพร้าวทำให้ย่อยอาหารได้รวดขึ้น ช่วยกระตุ้นเมตาบอลิซึมในร่างการ ทำให้เผาผลาญแคลอรีในร่างกายได้ดี
  • ช่วยบำรุงเส้นผม น้ำมันมะพร้าว สามารถนำมาใช้หมักผมได้ ทำให้เส้นผมสวยและเงางามแบบธรรมชาติ
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกาย น้ำมันมะพร้าวมี กรดลอริก เป็นกรดชนิดเดียวกับน้ำนมแม่ ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค กำจัดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ต่างๆได้
  • ลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็ง น้ำมันมะพร้าว ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ มีความสามารถในการช่วยลดไขมันไม่ดีออกจากร่างกาย ลดความเสี่ยงการเกิดเซลล์มะเร็งได้
  • ช่วยรักษาโรคผิวหนัง น้ำมันมะพร้าว ใช้รักษาโรคผิวหนัง เช่น รักษาสิว รักษาโรคสะเก็ดเงิน รักษาโรคเรื้อน รักษาแผลถลอก น้ำมันมะพร้าวช่วยสมานแผล ได้
  • ช่วยบำรุงระบบประสาท น้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันอิ่มตัว ช่วยในเรื่องของการกระตุ้นการทำงานของสมอง ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ได้
  • ใช้เป็นน้ำมันในการทำอาหาร น้ำมันมะพร้าวสามารถที่จะนำไปทำกับข้าว เหมือนน้ำมันพืชทั่วไปจากถั่งเหลือง ปาล์ม เมล็ดทานตะวัน ได้ เพราะ น้ำมันมะพร้าวเมื่อโดนความร้อน จะไม่มีการเปลี่ยนสถานะเป็นไขมันร้าย ที่ทำอันตรายต่อสุขภาพ

ข้อเสียของมะพร้าว

สำหรับมะพร้าว เป็นพืชที่มีความหวาน และ เนื้อมะพร้าว มีความมัน การบริโภคมะพร้าว จาก เนื้อมะพร้าว น้ำมันพร้าว หรือ น้ำมันมะพร้าว มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • น้ำมะพร้าว ให้ความหวาน หากกินหวานมากเกินไป ทำให้เกิดการสะสมน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้ง อาจทำให้ อ้วน หรือ เป็นเบาหวานได้
  • น้ำมะพร้าว เป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพ มีกรดคลอริก ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่หากดื่มน้ำมะพร้าวในปริมาณมากเกินไป ำให้เกิดการสะสม ไขมัน และ น้ำตาลในร่างกายมากเกินไป
  • น้ำมะพร้าว มีโซเดียมสูง สำหรับคนที่มีภาวะโซเดียมในร่างกายมากเกินไป ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมะพร้าว
  • กะทิ น้ำที่ได้จากการคั้นเนื้อมะพร้าวแก่ มีฤทธิ์ร้อน หากกินกะทิในปริมาณมากเกิน ทำให้ร่างกายร้อนขึ้น อาจไม่ดีต่อร่างกาย
  • การกินกะทะในร่างกาย ทำให้เกิดการสะสมคอเลสเตอรัลในร่างกาย มีความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ เช่น  โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และ โรคเบาหวาน
  • การกินกะทิ มากเกินไป อาจทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูง และ ไขมันอุดตันในหลอดเลือด

 

มะพร้าว คือ พืชท้องถิ่นของประเทศไทย สังคมไทยใช้มะพร้าวทำประโยชน์มากมาย ลักษณะของต้นมะพร้าว ประโยชน์และสรรพคุณของมะพร้าว น้ำมันมะพร้าว น้ำมะพร้าว โทษของมะพร้าว มีีอะไรบ้าง

 

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

มะละกอ สมุนไพร สรรพคุณหลากหลายมีประโยชน์ต่อสุขภาพ นิยมรับประทานผลสดๆ ต้นมะละกอเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะละกอ บำรุงสายตา แก้ท้องผูก โทษของมะละกอ มีอะไรบ้างมะละกอ สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของมะละกอ

ต้นมะละกอ ( Papaya ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะละกอ คือ Carica papaya L. ชื่อเรีกอื่นของมะละกอ เช่น ก้วยลา แตงต้น มะก้วยเทศ มะเต๊ะ ลอกอ และ บักหุ่ง เป็นต้น มะละกอ มีสารอาหารที่มีประโยชนืต่อร่างกาย มีวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และ โปรตีน เป็นต้น

ลักษณะของต้นมะละกอ

มะละกอ เป็นพืชล้มลุก มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบอเมริกากลาง นิยมนำมารับประทานผลของมะละกอทั้งผลดิบและผลสุก สามารถขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นมะละกอ มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นมะละกอ มีความสูงประมาณ 2 – 8 เมตร ลำต้นตั้งตรง ไม่มีแก่น ลำต้นอวบน้ำ ที่ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  • ใบมะละกอ เป็นลักษณะใบเดี่ยว ใบเรียงสลับรอบต้นบริเวณยอดของต้นมะละกอ โคนใบเว้า ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก ลักษณะฟันเลื่อย
  • กิ่งของมะละกอ มีลักษณะกลม บวมน้ำ ออกมาจากข้อของลำต้น ภายในกลวง และ อวบน้ำ
  • ดอกมะละกอ ออกดอกเป็นช่อ สีขาวนวล กลิ่นหอม ดอกออกตามซอกใบ
  • ผลมะละกอ ลักษณะยาวรี ปลายผลแหลม ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีส้ม ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดของผลดิบสีขาว เมล็ดของผลสุกมีสีดำ

สายพันธุ์ของมะละกอ

สำหรับสายพันธ์มะละกอมีหลายสายพันธ์ แนะนำสายพันธ์ต่างๆของมะละกอ มีดังนี้

  • พันธุ์แขกดำ ลักษณะทรงพุ่มเตี้ย แข็งแรง ผลดิบเนื้อหนา ผลสุกสีส้มอมแดงเหมาะสำหรับบริโภคสุกและดิบ มะละกอแขกดำ มีหลายสายพันธ์ เช่น มะละกอแขกดำศรีสะเกษ มะละกอแขกดำท่าพระ1 มะละกอแขกดำท่าพระ2 มะละกอแขกดำท่าพระ3 แขกดำดำเนิน
  • พันธุ์ปากช่อง เป็นพันธุ์ที่มีผลขนาดเล็กตรงตามความต้องการของตลาดยุโรป
  • พันธุ์โกโก้ เป็นมะละกอพันธุ์เตี้ย ลำต้นแข็งแรง ลำต้นอ่อนมีสีม่วงอยู่ประปราย
  • พันธุ์แขกนวล เป็นพันธุ์ที่กลายพันธุ์มาจากพันธุ์แขกดำปลูกมากที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
  • พันธุ์สายน้ำผึ้ง เป็นมะละกอพันธุ์เตี้ย ก้านใบยาวกว่าพันธุ์แขกดำ แต่แข็งแรงน้อยกว่า
  • พันธุ์จำปาดะ มีลำต้นขนาดใหญ่ แข็งแรง
  • พันธุ์โซโล ( Sunrise Solo ) เป็นมะละกอพันธุ์ที่นิยมปลูกมากในต่างประเทศ โดยเฉพาะที่มลรัฐฮาวาย
  • มะละกอพันธุ์ครั่ง มีสีแดง อมม่วงอ่อน ตามก้านใบ และเป็นจุด ๆ ตามลำต้นสีเหมือนฝรั่งดิบ
  • มะละกอฮอลแลนด์ ลำต้นใหญ่สีเขียว
  • มะละกอพันธุ์ฟลอริด้า โทเลอแร้นต์ ได้มาจากการคัดเลือกของ Dr. R. Conover แห่งมหาวิทยาลัยฟลอริด้า ระหว่างปี ค.ศ.1979-1980
  • พันธุ์ซันไรซ์ เป็นมะละกอผลเล้กกระทัดรัด น้ำหนักเฉลี่ย 400-500 กรัม เนื้อสีแดงเข้ม รสชาติอร่อย มีกลิ่นหอม

คุณค่าทางโภชนาการของมะละกอ

สำหรับการใช้ประโยชน์ของมะละกอ นิยมนำมารับประทาน ทั้งผลดิบและผลสุก ซึ่งมีนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะละกอทั้งสุกและดิบ มีรายละเอียด ดังนี้

  • มะละกอดิบ คุณค่าทางโภชนาการของมะละกอดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 43 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.82 กรัม น้ำตาล 7.82 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.26 กรัม โปรตีน 0.47 กรัม วิตามินเอ 47 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 274 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 89 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.023 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.357 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.191 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.038 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 38 ไมโครกรัม วิตามินซี 62 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.3 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.6 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.25 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.04 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 182 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 8 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม และ ไลโคปีน 1,828 ไมโครกรัม
  • มะละกอสุก คุณค่าทางโภชนาการของมะละกอสุก ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 0.5 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม วิตามินซี 70 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 4 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม และ วิตามินบี3 0.4 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะละกอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะละกอ ด้านการบำรุงรางกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากผลมะละกอ ทั้งผลดิบและผลสุก ยางมะละกอ และ รากมะละกอ สรรพคุณของมะละกอ มีดังนี้

  • ผลดิบของมะละกอ สรรพคุณช่วยขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน ขับน้ำเหลือง บำรุงน้ำนม ขับพยาธิ รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันเลือดอกตามไรฟัน ช่วยบำรุงสายตาและระบบประสาท
  • ผลสุกของมะละกอ สรรพคุณเป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก
  • ยางมะละกอ สรรพคุณช่วยระบาย เป็นยาช่วยย่อย และ ฆ่าพยาธิ
  • รากของมะละกอ สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว

โทษของมะละกอ

สำหรับมะละกอ การใช้ประโยชน์จากมะละกอ ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม หากใช้อย่างไม่เหมาะสมสามารถทำให้เกิดโทษได้ ข้อควรระวังของการบริโภคมะละกอ มีดังนี้

  • สำหรับสตรีมีครรภ์ การบริโภคมะละกออาจไม่ปลอดภัย มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชี้ว่า สารเคมีพาเพน ที่พบในมะละกอ เป็นพิษต่อทารกในครรภ์ ทำให้เกิดภาวะพิการแต่กำเนิดได้
  • สำหรับผุ้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่ควรกินมะละกอสุก เนื่องจากมะละกอสุกมีความหวาน อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • ยางมะละกอ มีสารพาเพน และ สารลาเท็กซ์ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ใยบางคน

มะละกอ ผลไม้ พืชพื้นบ้าน มีสรรพคุณหลากหลาย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ นิยมรับประทานผลสดๆ ลักษณะของต้นมะละกอเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะละกอ เช่น บำรุงสายตา แก้ท้องผูก โทษของมะละกอ มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย