ต้นข่า สมุนไพรพื้นบ้าน ข่านิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว ต้นข่าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการของข่า สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง ขับเสมหะ ขับลม โทษของข่า

ข่า สมุนไพร สมุนไพรไทย

ข่า ( Galanga ) พืชตระกลูขิง นิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารต่าง ๆ เป็นเครื่องเทศ ช่วยแต่งกลิ่นอาหาร และ ดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. ประโยชน์ของข่า ด้านการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย เช่น ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง รักษาหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร

ข่าในประเทศไทย

พื้นที่ปลูกข่าของประเทศไทย นั้นสามารถปลูกได้ทั่วไป นิยมปลูกต้นข่าที่สวนบ้านทุกบ้าน จัดว่า ข่าเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ใช้เป็นยารักษาโรค และ ส่วนประกอบของอุตสาหกรรมต่างๆ ในข่า สามารถสกัด เอาน้ำมันหอมระเหยได้ ซึ่ง ในน้ำมันหอมระเหยของข่า มี สารสำคัญ 4 ชนิด คือ trans-p-Coumaryl diacetate , 4-Hydroxycinnamoylaldehyde , 1´-Acetoxychavicol acetate และ β–Sitosterol

ข่า ภาษาอังกฤษ เรียก Galanga ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. พืชลักษณะเดียวกับ กระชาย กระชายดำ กระชายแดง กระวาน กระวานเทศ ขิง ขมิ้น เร่ว เปราะป่า เปราะหอม ว่านนางคำ และ ว่านรากราคะ ชื่อเรียกอื่นๆของข่า เช่น สะเอเชย เสะเออเคย ข่าหยวก ข่าหลวง กฎุกกโรหินี เป็นต้น

ชนิดของข่า

สำหรับสายพันธ์ข่าที่นิยมปลู มี 4 สายพันธ์ ประกอบด้วย

  • ข่าป่า พบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ และ ป่าดิบชื้น ลักษณะลำต้นสูง ใบคล้ายกับข่า ที่ปลูกทั่วไป หัวข่ามีกลิ่นฉุนไม่มาก
  • ข่าลิง หรือ ข่าน้อย ลักษณะลำต้นเล็ก
  • ข่าคม ลักษณะใบมน มีขนทั้งสองด้าน ดอกสีขาว
  • ข่าน้ำ ข่าพื้นบ้าน นิยมปลูกเพื่อจำหน่าย พบมากที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ลักษณะของต้นข่า

ข่าเป็นพืชล้มลุก มีรสเผ็ด กลิ่นฉุน อายุหลายปี สามารถขยายพันธ์ โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นข่า มีรายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าข่า อยู่ใต้ดิน เหง้าสีน้ำตาลอมแสด เลื้อยขนานกับผิวดิน มีข้อปล้องสั้น
  • ลำต้นของข่า เป็นลักษณะกาบ ตั้งตรง แทงออกมาจากเหง้า ลักษณะอวบน้ำ กลม สีเขียว
  • ใบข่า เป็นใบเดี่ยว ใบยาว เหมือนหอก เรียงสลับ รอบลำต้น กาบใบมีขน ปลายใบแหลม ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ
  • ดอกข่า เป็นลักษณะช่อ ออกที่ปลายยอด ช่อแยกแขนง ตั้งขึ้น มีขนาดใหญ่ สีเขียวปนเหลือง ดอกแก่เป็นสีขาวปนม่วงแดง
  • ผลแห้งแตก รูปกระสวย ทรงกลม มีเมล็ด เมล็ดข่าใช้เป็นเครื่องเทศ ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน

คุณค่าทางโภชนาการของข่า

ต้นข่ามีกลิ่นฉุน และ รสเผ็ดร้อนมาก นิยมนำมาประกอบอาหาร ข่ามีประโยชน์ในด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย นักโภชนากการำด้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของข่า โดยคุณค่าทางโภชนาการของเหง้าข่าอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่

ข่าอ่อนขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัฯ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และ วิตามินซี 23 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางสมุนไพรของข่า

ต้นข่ามีกลิ่นฉุน และ รสเผ็ดร้อน นิยมมาประกอบอาหาร มีประโยชน์ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย สรรพคุณของข่า นิยมใช้ เหง้าข่า รากข่า ดอกข่า ผลข่า และ ใบข่า ประโยชน์ทั้งหมดของข่า มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของข่า สรรพคุณช่วยบำรุงเลือด ทำให้ระบบเลือดไหลเวียนดี ช่วยขับเสมหะ
  • เหง้าของข่า สรรพคุณ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาหลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แก้อาหารเป็นพิษ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาระบายอ่อน ๆ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยขับน้ำดี ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา รักษาแผลสด ลดอาการอักเสบ แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคผิวหนัง ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา รักษากลากเกลื้อน แก้ฟกช้ำ แก้เหน็บชา บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  • ใบของข่า สรรพคุณช่วยฆ่าพยาธิ รักษากลากเกลื้อน
  • ดอกของข่า สรรพคุณแก้อาการท้องเสีย รักษาฝีดาษ
  • ผลของข่า สรรพคุณแก้ปวดฟัน รักษาโรคท้องร่วง ช่วยย่อยอาหาร

โทษของข่า

สำหรับข่า เป็นพืชที่มีรสเผ็ดร้อน การใช้ประโยชนืจากข่ามีข้อควรระวัง ดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่า มีความเป็นพิษปานกลาง หากได้กินน้ำมันหอมระเหยจากข่ามากเกินขนาด เป็นพิษต่อร่างกาย
  • ข่า มีความเผ้ดร้อน ทำให้ระคายเคืองผิวหนัง สำหรับคนที่ผิวหนังแพ้ข่า ทำให้มีอาการแสบร้อน

ต้นข่า คือ พืชล้มลุก สมุนไพรพื้นบ้าน พืชสวนครัว ข่า นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว เพิ่มรสชาติอาหาร ลักษณะของต้นข่า คุณค่าทางโภชนากการของข่า สรรพคุณของข่า เช่น ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง ขับเสมหะ ช่วยขับลม โทษของข่า

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ขิง สมุนไพร มีประโยชน์ต่อร่างกาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ สรรพคุณของขิง เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเหงื่อ บำรุงเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด โทษของขิงเป็นอย่างไร

ขิง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ขิง ( Ginger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของขิง คือ zingiber offcinale Roscoe ขิงมีความต้องการของตลาดสูงมาก พืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญของประเทศไทย นิยมนำมาทำเป็นวัตถุดิบการทำอาหาร เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมความงาม อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป มากมาย ชื่อเรียกอื่นๆของขิง เช่น ขิงแครง ขิงเขา ขิงบ้าน ขิงป่า ขิงดอกเดียว ขิงแดง ขิงแกลง ขิงเผือก เป็นต้น

ต้นขิง มีรสเผ็ดร้อน เป็น สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อการปรับสมดุลร่างกาย ช่วยให้เจริญอาหาร แก้นิ่ว บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด แก้อาเจียน รักษาไข้หวัด ลดไข้  ขับลมในกระเพาะอาหาร ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงเลือด ลดกรดในกระเพาะอาหาร ป้องกันฟันฝุ แก้ปวดประจำเดือน รักษาแผล แก้ปวดฟัน

ขิงยิ่งแก่จะยิ่งให้ความเผ็ดร้อน จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีความร้อนภายในร่างกายอยู่แล้ว เช่น ผู้ที่เหงื่อออกมาก เหงื่อออกเวลากลางคืน ตาแดง หรือ มีไฟในตัวมากกว่าปกติ แต่ถ้าจะรับประทาน ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

ลักษณะของต้นขิง

ต้นขิง เป็น พืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตได้ในประเทศเขตร้อน อย่างประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยทางการแตกหน่อ ขิงเป็นพืชชนิดเดียวกันกับ ข่า ขมิ้น มีรสเผ็ดและกลิ่นหอม แต่ผลยิ่งแก่จะมีรสเผ็ดร้อนมากขึ้น ลักษณะของต้นขิง มีดังนี้

  • หัวขิง หรือ เหง้าขิง ลักษณะคล้ายมือ อยู่ใต้ดิน เปลือกของเหง้าขิงมีสีเหลืองอ่อน
  • ลำต้นของขิง ออกเป็นกอ ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร ลักษณะกลม ตั้งตรง อวบน้ำ มีสีเขียว
  • ใบของขิง ใบเป็นกาบ หุ้มซ้อนกันเป็นใบเดี่ยว ออกสลับเรียงกัน เหมือนใบไผ่ ลักษณะปลายใบจะเรียวแหลม
  • ดอกของขิง ดอกขิงออกเป็นพุ่ม ดอกแหลมมีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของขิง

ขิงมีประโยชน์ด้านสมุนไพร และ ใช้ในการบริโภคในอาหารไทย มาช้านาน นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของขิง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่

ขิงขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ประกอบด้วย กากใยอาหาร 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรท 4.4 กรัม โปรตีน 0.4 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม แคลเซียม 18 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เบต้าคาโรทีน 10 ไมโครกรัม ไธอะมีน 0.02 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1 มิลลิกรัม และ ไลโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม

สรรพคุณของขิง

สำหรับต้นขิงนั้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค มากมาย สามารถใช้ส่วนของ ทั้งตน เหง้าขิง ดอกขิง รากขิง ใบขิง ผลขิง และ แก่นขิง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าขิง หรือ หัวของ ตำราสมุนไพรไทย บอกไว้ว่า ขิงมีฤทธิ์อุ่น สรรพคุณ ช่วยขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด แก้อาเจียน รักษาไข้หวัด ช่วยลดไข้ ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ปวดประจำเดือน รักษาแผล แก้ปวดฟัน ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงเลือด ลดกรดในกระเพาะอาหาร ป้องกันฟันฝุ  หัวขิงนำมาใช้ประโยชน์หลายทาง เช่น นำมากินสด นำมาตากแห้งและบดเป็นผง หรือ นำมาต้นน้ำดิื่ม
  • ทั้งต้นของขิง มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยขับลม แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
  • ใบของขิง มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณแก้ฟกช้ำ รักษานิ่ว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยฆ่าพยาธิ
  • ดอกของขิง มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคปัสสาวะขัด
  • รากของขิง มีรสหวานเผ็ดร้อนขม สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ
  • ผลของขิง รสหวานเผ็ด สรรพคุณสำหรับสตรีหลังคลอด บำรุงน้ำนม ช่วยลดไข้ แก้เจ็บคอ ลดอาการอักเสบ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ
  • แก่นของขิง นำมาฝนเป็นผงแก้อาการคัน

โทษของขิง

เนื่องจากขิง เป็น สมุนไพร ซึ่ง สรรพคุณของขิง คือ มีฤทธ์ร้อน ทำให้ร่างกายอบอ่อน ไม่ควรกินสุรา หรือ เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ร่วมกับขิง และ ในคนที่ป่วย หรือ มีอุณหภูมิร่างกายสูง การกินขิงอาจทำให้ร่างกายร้อนขึ้น

  • อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสำหรับสตรีมีครรภ์
  • ทำให้เกิดแผลร้อนใน ทำให้เยื่อบุภายในช่องปากอักเสบได้
  • ขิงช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด สำหรับคนที่มีปัญหาโรคเลือดออกผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขิง
  • น้ำขิงที่คั้นจนเข้มค้นมาก ไม่ควรทำให้น้ำขิงเข้มข้นจนเกินไป เพราะ เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ทำให้ลำไส้หยุดการบีบตัว

วิธีทำน้ำขิง

น้ำขิง มีประโยชน์ทางสมุนไพร เช่น แก้อาเจียน อาการเบื่ออาหาร ช่วยขับลมในกระเพาะ รักษาไข้หวัดได้  ช่วยขับเหงื่อ ลดอาการไข้ ช่วยบรรเทาอาหารไอ อาการเจ็บคอ ช่วยรักษาอาการปวดประจำเดือน แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง วิธีทำน้ำขิง มีดังนี้

  1. เตรียม ขิงแก่ 1 กิโลกรัม น้ำตาลทรายแดง 1 ถ้วยตวง และ น้ำสะอาด 3 ลิตร
  2. ล้างขิงให้สะอาด นำมาทุบให้แตก นำไปต้มในหม้อต้ม ต้มขิงในน้ำเดือด แล้วค่อยเบาไฟลง ต้มนานประมาณ 20 นาที ต้มจนหอมกลิ่นน้ำขิง
  3. เติมน้ำตาลทรายแดง นำมาดื่มแบบร้อนๆ  หรือ ดื่มแบบเย็นๆ ด้วยการใส่น้ำแข็ง

ขิง คืิอ พืชล้มลุก สมุนไพร พืชพื้นบ้าน มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ ประโยชน์ของขิง สรรพคุณของขิง เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเหงื่อ บำรุงเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด โทษของขิง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย