โหระพา สมุนไพร กลิ่นหอม นิยมนำใบโหระพามาทำอาหาร แต่งกลิ่น ต้นโหระพาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร โทษของโหระพามีอะไรบ้าง

โหระพา สมุนไพร

โหระพา ( Sweet basil ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของโหระพา คือ Ocimum basilicum L. จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับต้นกะเพรา มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและแอฟริกา ผักมีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหารและแต่งกลิ่นอาหาร ผักพื้นบ้าน มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และ โหระพามีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โหระพาสามารถนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยได้ น้ำมันหอมระเหยจากโหระพา อาจทำให้เกิดอาการแพ้กับสตรีมีตั้งครรภ์ได้

คุณค่าทางโภชนากการของโหระพา

ในโหระพามีประโยชน์ต่างๆมากมาย เป็นผักสวนครัวที่นิยมรับประทานใบสดเป็นอาหาร จึงมีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของโหระพาสดๆขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 251 กิโลแคลอรี่

  • มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก แมงกานีส โพแทสเซียม โซเดียม สังกะสี และ กากใยอาหาร
  • มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน
  • มีสารเคมีสำคัญประกอบด้วย Methyl chavicol มากถึงร้อยละ 90 และ Pinene β-Pinene β-Bourbonene β-Elemene β-Cubebene β-Caryophyllene β-Copaene β-Acoradiene Camphor Ocimene Eucalyptol Linalool Benzaldehyde Sabinene  Myrcene Cis-Hex-3-Enyl Acetate p-Cymene Limonene Eucalyptol  cis-Beta-Ocimene cis-Linalool Oxide trans-Linalool Oxide trans-Myroxide Neo-Allo-Ocimene Menth-2-en-1-ol Pinocarvone Terpinen-4-ol Endo Fenchyl Acetate Nerol Neral Geraniol Geranial Carvacrol Bicycloelemene Exo-2-Hydroxycineole Acetate Cubebene Geranyl Acetate Methyl Eugenol Trans-Alpha-ergamotene Cadina-3,5-Diene Epsilon-Muurolene Germacrene Bicylogermacrene

ลักษณะของต้นโหระพา

ต้นโหระพา สมุนไพรประเภทผักสวนครัว พืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ทวีปเอเชีย และ ทวีปอาฟริกา โหระพาสามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด และ การปักชำ รายละเอียดของต้นโพระพา มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากและลำต้นโหระพา โหระพามีรากเป็นระบบรากแก้วและรากฝอย ลำต้นของโหระพา สีม่วงแดง ความสูงประมาณ 60 เซ็นติเมตร ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม อุ้มน้ำ เนื้อไม้อ่อน
  • ดอกโหระพา มีสีม่วง ออกดอกเป็นช่อ ซึ่งดอกออกที่ปลายของยอดต้นโหระพา ในดอกมีเมล็ด
  • ใบโหระพา ใบสีเขียว ปลายใบแหลม ลักษณะใบเดี่ยว ออกตามข้อของกิ่ง
  • เมล็ดโหระพา มีขนาดเล็กๆ ลักษณะกลม สีน้ำตาลเข้ม เมล็ดโหระพามีเมือกหุ้มเมล็ดอยู่ หากนำมาแช่น้ำจะมีเมือกพองตัวเหมือนเมล็ดแมงลัก

ประโยชน์ของโหระพา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากต้นโหระพา ใช้ประโยชน์โดยนำมากินเป็นอาหาร คุณสมบัติเด่นของโหระพา คือ มีกลิ่นหอม ใบโหระพาสามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยได้ นำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ความงาม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ใบโหระพา สามารถสกัดทำน้ำมันหอมระเหยได้ ให้กลิ่นหอม นำมาใช้ในอุตสาหกรรมสำหรับแต่งกลิ่น น้ำมันหอมระเหยจากโหระพา เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง เช่น น้ำหอม สบู่ เป็นต้น
  • ใบโหระพาสด นำมากินเป็นอาหาร นิยมใส่ในอาหารให้มีกลิ่นหอม

สรรพคุณต้นโหระพา

การใช้ประโยชน์ของโหระพา ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย สามารถใช้ ใบโหระพา ลำต้นโหระพา เมล็ดโหระพา และ น้ำมันหอมระเหย โดยรายละเอีนด ดังนี้

  • เมล็ดของโหระพา สรรพคุณช่วยขับถ่าย ช่วยควบคุมน้ำหนัก รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้
  • ใบและลำต้นของโหระพา มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สรรพคุณแก้เจ็บคอ ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ขับลม ขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร แก้หวัด ช่วยลดอาการอักเสบของแผล รักษาแผล ช่วยห้ามเลือด ช่วยให้ลดอาการปวด
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพา สรรพคุณแก้ปวดเมื่อย ช่วยทำให้ผ่อนคลาย ลดอาการเหนื่อยล้า แก้อาการกระตุก แก้จมูกอักเสบ ลดอาการปวดจากแมลงกัดต่อย

โทษของโหระพา

ต้นโหระพา มีกลิ่นหอม สามารถนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพาได้ แต่น้ำมันหอมระเหยไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้

ต้นโหระพา คือ พืชชนิดหนึ่งประเภทพืชล้มลุก สมุนไพรพื้นบ้าน สมุนไพรมีกลิ่นหอม นิยมนำใบโหระพามาทำอาหาร แต่งกลิ่นอาหารให้กลิ่นหอม ต้นโหระพาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของโหระพา สรรพคุณของโหระพา เช่น ช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร โทษของโหระพามีอะไรบ้าง

ต้นข่า สมุนไพรพื้นบ้าน ข่านิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว ต้นข่าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการของข่า สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง ขับเสมหะ ขับลม โทษของข่า

ข่า สมุนไพร สมุนไพรไทย

ข่า ( Galanga ) พืชตระกลูขิง นิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารต่าง ๆ เป็นเครื่องเทศ ช่วยแต่งกลิ่นอาหาร และ ดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. ประโยชน์ของข่า ด้านการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย เช่น ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง รักษาหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร

ข่าในประเทศไทย

พื้นที่ปลูกข่าของประเทศไทย นั้นสามารถปลูกได้ทั่วไป นิยมปลูกต้นข่าที่สวนบ้านทุกบ้าน จัดว่า ข่าเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ใช้เป็นยารักษาโรค และ ส่วนประกอบของอุตสาหกรรมต่างๆ ในข่า สามารถสกัด เอาน้ำมันหอมระเหยได้ ซึ่ง ในน้ำมันหอมระเหยของข่า มี สารสำคัญ 4 ชนิด คือ trans-p-Coumaryl diacetate , 4-Hydroxycinnamoylaldehyde , 1´-Acetoxychavicol acetate และ β–Sitosterol

ข่า ภาษาอังกฤษ เรียก Galanga ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. พืชลักษณะเดียวกับ กระชาย กระชายดำ กระชายแดง กระวาน กระวานเทศ ขิง ขมิ้น เร่ว เปราะป่า เปราะหอม ว่านนางคำ และ ว่านรากราคะ ชื่อเรียกอื่นๆของข่า เช่น สะเอเชย เสะเออเคย ข่าหยวก ข่าหลวง กฎุกกโรหินี เป็นต้น

ชนิดของข่า

สำหรับสายพันธ์ข่าที่นิยมปลู มี 4 สายพันธ์ ประกอบด้วย

  • ข่าป่า พบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ และ ป่าดิบชื้น ลักษณะลำต้นสูง ใบคล้ายกับข่า ที่ปลูกทั่วไป หัวข่ามีกลิ่นฉุนไม่มาก
  • ข่าลิง หรือ ข่าน้อย ลักษณะลำต้นเล็ก
  • ข่าคม ลักษณะใบมน มีขนทั้งสองด้าน ดอกสีขาว
  • ข่าน้ำ ข่าพื้นบ้าน นิยมปลูกเพื่อจำหน่าย พบมากที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ลักษณะของต้นข่า

ข่าเป็นพืชล้มลุก มีรสเผ็ด กลิ่นฉุน อายุหลายปี สามารถขยายพันธ์ โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นข่า มีรายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าข่า อยู่ใต้ดิน เหง้าสีน้ำตาลอมแสด เลื้อยขนานกับผิวดิน มีข้อปล้องสั้น
  • ลำต้นของข่า เป็นลักษณะกาบ ตั้งตรง แทงออกมาจากเหง้า ลักษณะอวบน้ำ กลม สีเขียว
  • ใบข่า เป็นใบเดี่ยว ใบยาว เหมือนหอก เรียงสลับ รอบลำต้น กาบใบมีขน ปลายใบแหลม ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ
  • ดอกข่า เป็นลักษณะช่อ ออกที่ปลายยอด ช่อแยกแขนง ตั้งขึ้น มีขนาดใหญ่ สีเขียวปนเหลือง ดอกแก่เป็นสีขาวปนม่วงแดง
  • ผลแห้งแตก รูปกระสวย ทรงกลม มีเมล็ด เมล็ดข่าใช้เป็นเครื่องเทศ ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน

คุณค่าทางโภชนาการของข่า

ต้นข่ามีกลิ่นฉุน และ รสเผ็ดร้อนมาก นิยมนำมาประกอบอาหาร ข่ามีประโยชน์ในด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย นักโภชนากการำด้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของข่า โดยคุณค่าทางโภชนาการของเหง้าข่าอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่

ข่าอ่อนขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัฯ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และ วิตามินซี 23 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางสมุนไพรของข่า

ต้นข่ามีกลิ่นฉุน และ รสเผ็ดร้อน นิยมมาประกอบอาหาร มีประโยชน์ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย สรรพคุณของข่า นิยมใช้ เหง้าข่า รากข่า ดอกข่า ผลข่า และ ใบข่า ประโยชน์ทั้งหมดของข่า มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของข่า สรรพคุณช่วยบำรุงเลือด ทำให้ระบบเลือดไหลเวียนดี ช่วยขับเสมหะ
  • เหง้าของข่า สรรพคุณ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาหลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แก้อาหารเป็นพิษ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาระบายอ่อน ๆ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยขับน้ำดี ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา รักษาแผลสด ลดอาการอักเสบ แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคผิวหนัง ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา รักษากลากเกลื้อน แก้ฟกช้ำ แก้เหน็บชา บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  • ใบของข่า สรรพคุณช่วยฆ่าพยาธิ รักษากลากเกลื้อน
  • ดอกของข่า สรรพคุณแก้อาการท้องเสีย รักษาฝีดาษ
  • ผลของข่า สรรพคุณแก้ปวดฟัน รักษาโรคท้องร่วง ช่วยย่อยอาหาร

โทษของข่า

สำหรับข่า เป็นพืชที่มีรสเผ็ดร้อน การใช้ประโยชนืจากข่ามีข้อควรระวัง ดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่า มีความเป็นพิษปานกลาง หากได้กินน้ำมันหอมระเหยจากข่ามากเกินขนาด เป็นพิษต่อร่างกาย
  • ข่า มีความเผ้ดร้อน ทำให้ระคายเคืองผิวหนัง สำหรับคนที่ผิวหนังแพ้ข่า ทำให้มีอาการแสบร้อน

ต้นข่า คือ พืชล้มลุก สมุนไพรพื้นบ้าน พืชสวนครัว ข่า นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว เพิ่มรสชาติอาหาร ลักษณะของต้นข่า คุณค่าทางโภชนากการของข่า สรรพคุณของข่า เช่น ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง ขับเสมหะ ช่วยขับลม โทษของข่า

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย