ผักชี Coriander สมุนไพร ผักสวนครัว มีกลิ่นแรง นิยมทำมาประกอบอาหาร สามารถใช้เป็นยาได้ สรรพคุณของผักชี ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลดอาการปวดบวม บำรุงสายตา

ผักชี สมุนไพร ผักสวนครัว

ผักชี ภาษาอังกฤษ เรียก Coriander ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชี คือ Coriandrum sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของผักชี เช่น ผักชีไทย ผักหอม ผักหอมน้อย ยำแย้ ผักหอมป้อม ผักหอมผอม เป็นต้น ผักชีถิ่นกำเนิดแถบเมดิเตอร์เรเนียน สามารถปลูกได้ใน ประเทศเขตร้อนชื้น ทั่วไป ให้ผลผลิตดี ในช่วง ฤดูหนาว แต่ ไม่หนาวมาก พบว่า มีการปลูกมากในภาคกลาง จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี

ประโยชน์ของผักชี ผักชีนำมาทำอาหาร เพิ่มสีสัน รสชาติ กลิ่น ให้กับอาหารเป็นส่วนประกอบในการถนอมอาหาร เช่น การทำแหนม การหมักเนื้อต่างๆ ดับกลิ่นคาวของอาการประเภทเนื้อ เช่น ปลา น้ำจืดต่างๆ นิยมใช้ราก ในการเพิ่มรสชาติ ในน้ำซุป และ การหมักเนื้อ ร่วมกับ พริกไทยดำ

ผักชีในประเทศไทย

สำหรับผักชีในประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะ เป็นผักที่นิยมกินในอาหารไทย การปลูกและขายผักชีจึงมีการทำเป็นอาชีพ ผักชีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยแหล่งผักชีของประเทศไทย ได้แก่ ราชบุรี นครปฐม และ กรุงเทพมหานคร

สายพันธ์ุผักชี

สายพันธุ์ของผักชีที่นิยมปลูกมี 2 สายพันธ์ คือ ผักชีพื้นเมือง และ ผักชีแอฟฟริกา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักชีพันธุ์อาฟริกา ลักษณะเด่น คือ ต้นมีขนาดใหญ่ ใบหนาและใหญ่ มีกลิ่นหอมเล็กน้อย และอายุยาวกว่าผักชีพันธุ์พื้นเมือง
  • ผักชีพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ ต้นขนาดเล็ก ใบบาง เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นฉุนมาก

ลักษณะของต้นผักชี

ต้นผักชี เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ถิ่นกำเนิดของผักชีอยู่ในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันนิยมปลูกในประเทศไทย ลักษณะของต้นผักชี มีดังนี้

  • รากของผักชี มีรากฝอยจำนวนมาก แต่รากเป็นรากแก้ว ที่ไม่ยาวมาก
  • ลำต้นของผักชี ลำต้นสูงประมาณ 12 นิ้ว มีสีเขียว ลำต้นอวบน้ำ ลักษณะตั้งตรง ภายในกลวง มีกิ่งก้านเล็กๆ ลำต้นผิวเรียบ
  • ใบของผักชี ใบเป็นแฉกๆ เป็นใบเดียวมีสีเขียว มีกลิ่นฉุนหอม
  • ดอกของผักชี ดอกของผักชีนั้นจะออกจากโคนลำต้น และ ตั้งตรงเหนือยอดของต้น ดอกมีขนาดเล็ก
  • เมล็ดของผักชี ลักษณะทรงกลม อยู่ตรงกลางดอกผักชี เป็นส่วนที่สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

สรรพคุณของผักชี

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักชีด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากทั้งต้นของผักชี ซึ่งสรรพคุณของผักชี มีดังนี้

  • สรรพคุณขับสารพิษต่างๆออกจากระบบทางเดินอาหาร
  • สรรพคุณลดอาการไอ ละลายเสมหะ แก้หวัด ลดน้ำมูก
  • สรรพคุณขับเหงื่อ ช่วยให้สารพิษออกทางเหงื่อ
  • สรรพคุณแก้อาการสะอึก แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้วิงเวียนศีรษะ
  • สรรพคุณแก้กระหายน้ำ
  • ช่วยลดโอกาศการเกิดโรคมะเร็ง
  • ช่วยเจริญอาหาร ลดอาการซูบผอม ช่วยบำรุงร่างกาย
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
  • บำรุงสายตา ให้มองเห็นชัดเจนขึ้น
  • ลดอาการปวดฟัน
  • บำรุงกระเพาะอาหาร
  • รักษาอาการปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • สามารถต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ได้ดี
  • รักษาผื่นแดงในเด็ก และ ผื่นหัด
  • ลดอาการปวด อาการบวมตามข้อ

โทษของผักชี

สำหรับการกินผักชีเป็นอาหารและใช้ประโยชน์ในการเป็นยารักษาโรค ควรมีข้อควรระวังการใช้ผักชี ดังนี้

  • สำหรับคนที่มีิิอาการแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม หรือ หอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกัน
  • ผักชีมีโพแทสเซียมสูง ทำให้ไตทำงานหนัก ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรกินผักชีมากเกินไป
  • กินผักชีมากเกินไป อาจทำให้มึนหัว เพราะ กลิ่นของผักชีแรง

มะกรูด สมุนไพรพื้นบ้าน ประโยชน์หลากหลาย นิยมเป็นส่วนประกอบในอาหาร ต้นมะกรูดเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะกรูด บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด แก้เวียนหัว โทษของมะกรูดมะกรูด สมุนไพร สรรพคุณของมะกรูด สมุนไพรไทย

ต้นมะกรูด ภาษาอังกฤษ เรียก Kaffir lime ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะกรูด คือ Citrus hystrix DC. จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับตระกูลส้ม สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะกรูด เช่น มะขู มะขุน มะขูด ส้มกรูด ส้มมั่วผี เป็นต้น มะกรูดมีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด มะกรูดสามารถพบได้ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย นิยมปลูกไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน เช่น ประกอบอาหาร ใช้ดับกลิ่นอับเหม็น ใช้ทำน้ำมันหอมระเหย และ ใช้เป็นสมุนไพรประจำบ้าน

ประโยชน์ของมะกรูด นอกจากมะกรูดจะเป็นสมุนไพร ยังมีประโยชน์ด้านต่างๆอีกมากมาย เช่น ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารไทย ต่างๆมากมาย ประกอบอาหารโรยหน้า ดับกลิ่นคาว ได้แก่ ต้มยำ แกงเผ็ด ผัดเผ็ด ฉู่ฉี่ ห่อหมก ทอดมัน โรยหน้าข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ใช้ดับกลิ่นคาวในอาหาร ประเภทเนื้อปลาได้ดี

มะกรูดใช้ไล่แมลง เช่น มอด และ มดในข้าวสาร น้ำมันหอมระเหยในรูปแบบแคปซูลเพื่อใช้ไล่แมลงและหนอนสำหรับเกษตรกร โดยเมื่อนำแคปซูลมาไว้บริเวณใกล้ต้นไม้ แล้วรดน้ำ แคปซูลจะละลาย โดยไม่เป็นพิษต่อคนและพืช แต่ไล่หนอนศัตรูพืชได้ดี เปลือกของมะกรูดมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง เช่น สบู่ แชมพูมะกรูดหรือยาสระผมมะกรูด ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงและแมลง ใช้เพื่อดับกลิ่นเท้าเหม็น มีกลิ่นอับเชื้อรา โดยนำมะกรูด ขิง ข่า เกลือ อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาต้มรอให้อุ่นสักนิดแล้วแช่เท้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที

มะกรูดในประเทศไทย

มะกรูดในประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์หลากหลายทั้งในด้านการบริโภคและด้านอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และ เครื่องสำอางค์

ผิวมะกรูดเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศ ใช้เป็นส่วนผสมของพริกแกงหลายชนิด น้ำมะกรูดถูกนำมาใช้เป็นเครื่องดื่มและการปรุงรสชาติของอาหาร สรรพคุณให้รสเปรี้ยวและดับกลิ่นคาว

การใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม ใบมะกรูดมักถูกนำไปใช้เป็นสารกันเสียในผลิตภัณฑ์อาหารและยังทำให้เกิดความอยากรับประทานอาหาร ส่วนน้ำมะกรูดและผิวของผลมะกรูด ส่วนมากจะใช้ปรุงรสชาติและแต่งกลิ่นอาหาร และการใช้มะกรูดในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สามารถใช้ประโยชน์ในการบำรุงหนังศีรษะ และกระตุ้นการงอกของรากผม และช่วยขจัดรังแค มะกรูดถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์แชมพู

ลักษณะของต้นมะกรูด

ต้นมะกรูด เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก เนื้อไม้เป็นเนื้อแข็ง สมารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง ลักษณะของต้นมะกรูด มึดังนี้

  • ลำต้นมะกรูด ลักษณะเป็นพุ่ม เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลอ่อน แตกกิ่งก้านจำนวนมาก กิ่งของมะกรูดมีหนามแหลมยาว
  • ใบมะกรูด ลักษณะเป็นใบประกอบ ออกเป็นใบเดี่ยว ใบมะกรูดลักษณะหนา เรียบ ผิวมัน สีเขียว ใบมีกลิ่นหอม
  • ดอกมะกรูด ลักษณะดอกเป็นช่อ มีสีขาว ดอกออกบริเวณส่วนยอดและตามซอกใบ กลีบดอกสีขาว มีขนปกคลุม
  • ผลมะกรูด คล้ายผลส้มซ่า ขนาดใหญ่กว่าลูกมะนาวเล็กน้อย เปลือกผลค่อนข้างหนา ผิวเปลือกสีเขียวเข้ม ผิวผลขรุขระเป็นลูกคลื่น

คุณค่าทางโภชนาการของมะกรูด

การนำมะกรูดมารับประทานเป็นอาหาร สามารถใช้ประโชยน์ได้หลากหลาย ทั้ง ใบมะกรูด ผลมะกรูด และ น้ำมะกรูด ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะกรูดส่วนต่างๆ มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 171 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 6.8 กรัม ไขมัน 3.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.0 กรัม กากใยอาหาร 8.2 กรัม แคลเซียม 1672 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 303 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.35 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 20 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผิวผลมะกรูด ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 21.3 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม ไขมัน 1.1 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม แคลเซียม 322 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 115 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมะกรูด ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.8 กรัม โปรตีน 0.6 กรัม ไขมัน 0 กรัม แคลเซียม 20 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี2 58 มิลลิกรัม และวิตามินซี 55 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะกรูด 

สำหรับมะกรูดในด้านบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากผลมะกรูด ใบมะกรูด รากมะกรูด และ ลำต้นมะกรูด ซึ่งสรรพคุณของมะกรูด มีรายละเอียด ดังนี้

  • ผลมะกรูด สรรพคุณแก้วิงเวียนศรีษะ ช่วยขับพยาธิ บำรุงกำลัง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ บำรุงเลือด ช่วยขับระดู ช่วยขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้แก้ไอ ขับเสมหะ
  • ใบมะกรูด สรรพคุณช่วยขับลม แก้อาเจียน
  • รากมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียด บำรุงเลือด
  • ลำต้นมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียด บำรุงเลือด

โทษของมะกรูด

น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด หากใช้กับผิวหนังในปริมาณที่มาก ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสง เพราะอาจทำให้เกิดพิษกับผิวหนังได้ ส่วนน้ำมะกรูดมีความเป็นกรดสูง ไม่ควรรับประทานขณะท้องว่าง เพราะ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย