มังคุด ราชินีแห่งผลไม้ ต้นมังคุดเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมังคุด ประโยชน์และสรรพคุณของมังคุด บำรุงกำลัง บำรุงผิวพรรณ รักษาสิว โทษของมังคุด มีอะไรบ้างมังคุด ราชินีแห่งผลไม้ ผลไม้ สรรพคุณของมังคุด

มังคุด ( Mangosteen ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมังคุด คือ Garcinia × mangostana L.ชื่อเรียกอื่นของมังคุด เช่น แมงคุด เมงค็อฟ เป็นต้น ต้นมังคุด มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะซุนดา และ หมู่เกาะโมลุกกะ มีฉายาว่า “ ราชินีแห่งผลไม้ ” จัดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์มาก มังคุดนั้น ไม่ได้นิยมเพียงรับประทานผลเท่านั้น เปลือกมังคุด ก็มีประโยชน์มากมาย เช่นกัน

ต้นมังคุด จัดเป็น ไม้ยืนต้น ไม้ผลเขตร้อน พบปลูกมากในประเทศไทย มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา พม่า และ ฟิลิปปินส์ โดยประเทศที่มีผลผลิตจากมังคุดมากที่สุด คือ ประเทศไทย

มังคุดในประเทศไทย

ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีผลผลิตมังคุดมากที่สุดในโลก โดยแหล่งปลูกมังคุด ที่สำคัญของไทย คือ ภาคใต้ และ ภาคตะวันออก  โดยมูลค่าการส่งออกในแต่ละปี มากถึง 1,500 ล้านบาท ประเทศที่รับมังคุดของไทยไป คือ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และ เนเธอแลนด์ ประเทศไทยสามารถผลิตมังคุดที่มีคุณภาพดีที่สุด มีรสชาติดีมากกว่ามังคุดของประเทศอื่นๆ ด้วยความเหมาะสมของดิน และ อากาศ ทำให้มังคุดจากประเทศไทยเป็นมังคุดที่ดีที่สุดในโลก แนวโน้มอนาคุดมังคุดจะมีความสำคัญมาก สำหรับเป็นผลไม้ส่งออกของไทย เพราะ การขยายตลาดมังคุดสู่ประเทศจีน

ลักษณะของต้นมังคุด

มังคุด เป็นพืชเศรษฐกิจ ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในประเทศเขตร้อน ทนแล้งได้ดี สามารถขยายพันธ์ได้โดย การเพาะเมล็ดพันธ์ การเสียบยอด และ การทาบกิ่ง แต่วิธีที่นิยมในการขยายพันธ์มังคุดมากที่สุด คือ การเพาะเมล็ด เพราะ สะดวกและรวดเร็ว ลักษณะของต้นมังคุด มีดังนี้

  • รากของมังคุด เป็นรากแก้ว และ รากแขนง รากค่อนข้างลึก ประมาณ 120 เซนติเมตร
  • ลำต้นของมังคุด ลักษณะของลำต้น ทรงกลม ความสูงประมาณ 25 เมตร ทรงพุ่ม เปลือกของลำต้นมีสีดำ
  • ใบของมังคุด เป็นใบเดี่ยว ใบมีสีเขียว ใบแทงออกตามกิ่ง ลักษณะของใบเป็นทรงรี ใบค่อนข้างหนา ใบเป็นมัน เนื้อใบเหนียวใบมียางสีเหลือง
  • ดอกมังคุด ดอกออกเป็นดอกคู่หรือดอกเดี่ยว ดอกออกที่ปลายกิ่งแทงออกตามซอกใบ ดอกมีกลีบสีแดง
  • ผลมังคุด ลักษณะผลทรงกลม เปลือกผลมังคุด หนาประมาณ 1 เซนติเมตร ผลมังคุดอ่อนสีเขียว ผลมังคุดสุกมีสีม่วง เปลือกมังคุดลักษณะแข็ง ผิวมัน เปลือกด้านในอ่อน มีเนื้อสีขาว ชุ่มน้ำ รสเปรี้ยวอมหวาน ภายในผลมีเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของมังคุด

สำหรับมังคุดนั้นนิยมรับประทานเนื้อผลมังคุด ให้รสหวาน อร่อย นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผลมังคุดสดๆ รายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อผลมังคุด สด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 73 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 80.94 โปรตีน 0.41 กรัม ไขมัน 0.58 กรัม คาร์โบไฮเดรต 17.91 กรัม กากใยอาหาร 1.8 กรัม แคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก  0.30 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 13 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 48 มิลลิกรัม โซเดียม 7 มิลลิกรัม สังกะสี 0.21 มิลลิกรัม วิตามินซี 2.9 มิลลิกรัม ไทอะมีน 0.054 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.054 มิลลิกรัม ไนอะซีน 0.286 มิลลิกรัม และ วิตามินบี6  0.018 มิลลิกรัม

สารเคมีสำคัญในมังคุด นั้น พบว่ามังคุดมีสารแซนโทน ( Xanthone ) สรรพคุณช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง นอกจาก ยังมีสารแทนนิน ( Tannin ) อยู่ในเปลือกของมังคุด

สรรพคุณของมังคุด

มังคุดนั้น นิยมใช้ประโยชน์กับผลมังคุด โดยนิยมรับประทางผล และ นำเปลือกผลมังคุดตากแห้งมาใช้ประดยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค โดยรายละเอียดของสรรพคุรของมังคุด มีดังนี้

  • ผลมังคุด เปรี้ยวอมหวาน สรรพคุณบำรุงกำลัง ทำให้กระปรี่กระเปร่า บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยต่อต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันท้องเสีย ช่วยให้ผ่อนคลาย บำรุงสมอง
  • เปลือกผลมังคุด สรรพคุณป้องกันโรคหวัด บำรุงผิว รักษาสิว ป้องกันมะเร็ง บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ  ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ป้องกันโรคภูมิแพ้ ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาอาการข้อเข่าอักเสบ

โทษของมังคุด 

  • เปลือกมังคุด มีสารออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง และ กดระบบการทำงานของประสาท ทำให้เพิ่มความดันเลือด ผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารสกัดที่ได้จากเปลือกมังคุด
  • มังคุด มีสารแทนนิน ( Tannin ) หากบริโภคมากเกินไป และ บริโภคต่อเนื่องนานๆ อาจเป็นพิษต่อตับ และไต ได้

ต้นมังคุด ผลไม้ รสหวาน ราชินีแห่งผลไม้ ลักษณะของต้นมังคุดเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมังคุด ประโยชน์และสรรพคุณของมังคุด เช่น บำรุงกำลัง บำรุงผิวพรรณ รักษาสิว โทษของมังคุด มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

อบเชย สมุนไพร เปลือกอบเชยเป็นส่วนผสมของเครื่องเทศ และ ปรุงรสอาหาร ลักษณะของต้นอบเชย ประโยชน์และสรรพคุณ เช่น ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

อบเชย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นอบเชย ( Cinnamon ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของอบเชย คือ Cinnamomum spp. ชื่อเรียกอื่นๆของอบเชย เช่น บอกคอก พญาปราบ  สะวง กระดังงา ฝักดาบ สุรามิด กระแจกโมง โมงหอม กระเจียด เจียดกระทังหัน อบเชยต้น มหาปราบ เป็นต้น อบเชย เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว อบเชยสายพันธุ์ที่มีคุณภาพดีที่สุด และ ราคาแพงที่สุด คือ อบเชยศรีลังกา ซึ่งในอบเชยมีสารเคมีและน้ำมันระเหยที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย

ลักษณะของต้นอบเชย

ต้นอบเชย เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เป็นเอกลักษณ์ของอบเชย ลักษณะของต้นอบเชย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นอบเชย ลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 20 ถึง 25 เมตร เปลือกของลำต้นสีเทา ลักษณะหนา มีกลิ่นหอม
  • ใบอบเชย เป็นใบเดี่ยว ออกลับกันตามลำต้น ลักษณะของใบอบเชยคล้ายไข่ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ
  • ดอกอบเชย ออกเป็นช่อ ดอกออกตามปลายกิ่ง ดอกอบเชยมีขนาดเล็ก สีเหลือง ดอกอบเชยมีกลิ่นหอม
  • ผลอบเชย ลักษณะทรงไข่ สีดำ

ชนิดของอบเชย

สำหรับอบเชย ในปัจจุบันนั้นมีหลายชนิด และ แต่ละชนิดมีคุณภาพที่แตกต่างกัน  เปลือกของอบเชยมีน้ำมันหอมระเหย และ ให้กลิ่นหอม โดย อบเชยมีมากกว่า 16 สายพันธ์ทั่วโลก และ มีสายพันธ์หลักๆ 5 สายพันธ์ คือ อบเชยไทย อบเชยชวา อบเชยญวน อบเชยจีน และ อบเชยเทศ รายละเอียดของอบเชยสายพันธ์ต่างๆ มีดังนี้

  • อบเชยไทย พบได้ในป่าเขาที่ยังอุดมสมบูรณ์ หรือ ป่าดงดิบทั่วไป ทรงพุ่มกลม อบเชยไทย เป็น พันธุ์ไม้พระราชทาน เพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดระนอง
  • อบเชยชวา หริือ อบเชยเทศ เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดใหญ่ เป็นอบเชยที่จำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป เป็นอบเชยที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน
  • อบเชยญวน ลักษณะลำต้นคล้ายอบเชยจีน มีกลิ่นหอม แต่กลิ่นหอมไม่เท่ากับอบเชยเทศ มีรสหวานแต่ไม่ค่อยหอม ปลูกได้ดีในประเทศไทย
  • อบเชยจีน พบในประเทศจีนแถบมณฑลกวงสี ยูนนาน และ กวางตุ้ง
  • อบเชยศรีลังกา พบมากในประเทศอินเดียและศรีลังกา เป็นอบเชยที่มีราคาแพงที่สุด

คุณค่าทางโภชนาการของอบเชย

อบเชยนำเอาเปลือกตากแห้งมาใช้เป็นส่วนผสมในการทำอาหาร โดยนำเปลือกมาตากแห้ง และให้กลิ่นหอมในอาหาร และ มีประโยชน์ต่อร่างกาย นำมาใช้อย่างยาวนานมาก ได้มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของอบเชย มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผงอบเชย พบว่า อบเชยชนิดผงขนาด 10 กรัม ให้พลังงาน 24.7 แคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย ไขมัน 0.12 กรัม คาร์โบไฮเดรท 8.06 กรัม และ โปรตีน 0.4 กรัม

น้ำมันสกัดจากเปลือกของอบเชย มีสรรพคุณช่วยยับยั้งการเจริญของ Streptococcus iniae น้ำมันระเหยจากอบเชย มีสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย Cinnamic aldehyde , Cinnamyl acetate , Phenyl-propyl acetate , Tannin, Latax และ ยาง เป็นต้น

สรรพคุณของอบเชย

สำหรับการนำเอาอบเชยมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย ซึ่งโดยส่วนมากคนจะรู้จักอบเชย จากเปลือกอบเชย นำมาบดผสมในเครื่องเทศ และ นำมาต้มพะโล้ หรือ แกงกะทิต่างๆ แต่ สรรพคุณของอบเชย สามารถใช้ประโยชน์จาก เปลือก ใบ ดอก ผล โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากอบเชย สรรพคุณแก้ไข้สำหรับสตรีหลังคลอด แก้อาการปวดฟัน รากนำมาต้มสำหรับสตรีกินหลังการคลอดบุตร ช่วยลดไข้หลังการผ่าตัด
  • เปลือกอบเชย สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้เลือดหมุนเวียนดี แก้ปวดศีรษะ แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยชูกำลัง บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงม้าม บำรุงหัวใจ  ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน ช่วยขับน้ำคาวปลา  แก้ปวดประจำเดือน แก้ตับอักเสบ  ช่วยแก้อาการปวด แก้ปวดหลัง ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยสลายไขมัน ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ช่วยต้านมะเร็ง ไข้สันนิบาต แก้อาการหวัด แก้อาการไอ แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย  ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร เป็นยาถ่าย
  • เมล็ดอบเชย สรรพคุณแก้ไอสำหรับเด็ก เป็นยาแก้บิดสำหรับเด็ก
  • ใบอบเชย สรรพคุณแก้ไข้สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยขับลม เป็นยาฆ่าเชื้อ ยาทาแผลถอนพิษของยางน่อง เป็นยาพอกแก้อาการปวดรูมาติสซั่ม

โทษของอบเชย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากอบเชย มีข้อควรระวังในการบริโภค โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • น้ำมันอบเชบ อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นอันตรายสำหรับกลุ่มคนต่างๆ เช่น คนมีไข้ คนที่มีปัสสาวะเป็นเลือด คนมีภาวะปัสสาวะขัด คนอุจจาระแข็งแห้ง ผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวาร เด็กอายุไม่เกิน 2 ขวบ และ สตรีมีครรภ์ กลุ่มคนเหล่านี้ ไม่ควรกินน้ำมันอบเชย
  • การกินอบเชยในปริมาณที่มากเกินไป มีผลอันตรายต่อตับ เนื่องจากอบเชยมีสารคูมาริน ที่ทำให้เกิดผลเสียต่อตับในระยะยาว
  • สำหรับสตรีมีครรภ์ และ สตรีหลังการคลอดบุตร ไม่ควรรับประทานอบเชยในปริมาณมากเกินไป
  • อบเชยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง สำหรับผู้ที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของอบเชยอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • ผู้ที่มีเลือดกำเดาไหล ควรหลีกเลี่ยงการกินอบเชย
  • อบเชยทีฤทธิ์ทำให้ท้องผูก สำหรับผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวาร หรือมีิอาการท้องผูก ไม่หลีกเลี่ยงการรับประทานอบเชย

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย