มะกรูด สมุนไพรพื้นบ้าน ประโยชน์หลากหลาย นิยมเป็นส่วนประกอบในอาหาร ต้นมะกรูดเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะกรูด บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด แก้เวียนหัว โทษของมะกรูดมะกรูด สมุนไพร สรรพคุณของมะกรูด สมุนไพรไทย

ต้นมะกรูด ภาษาอังกฤษ เรียก Kaffir lime ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะกรูด คือ Citrus hystrix DC. จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับตระกูลส้ม สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะกรูด เช่น มะขู มะขุน มะขูด ส้มกรูด ส้มมั่วผี เป็นต้น มะกรูดมีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด มะกรูดสามารถพบได้ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย นิยมปลูกไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน เช่น ประกอบอาหาร ใช้ดับกลิ่นอับเหม็น ใช้ทำน้ำมันหอมระเหย และ ใช้เป็นสมุนไพรประจำบ้าน

ประโยชน์ของมะกรูด นอกจากมะกรูดจะเป็นสมุนไพร ยังมีประโยชน์ด้านต่างๆอีกมากมาย เช่น ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารไทย ต่างๆมากมาย ประกอบอาหารโรยหน้า ดับกลิ่นคาว ได้แก่ ต้มยำ แกงเผ็ด ผัดเผ็ด ฉู่ฉี่ ห่อหมก ทอดมัน โรยหน้าข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ใช้ดับกลิ่นคาวในอาหาร ประเภทเนื้อปลาได้ดี

มะกรูดใช้ไล่แมลง เช่น มอด และ มดในข้าวสาร น้ำมันหอมระเหยในรูปแบบแคปซูลเพื่อใช้ไล่แมลงและหนอนสำหรับเกษตรกร โดยเมื่อนำแคปซูลมาไว้บริเวณใกล้ต้นไม้ แล้วรดน้ำ แคปซูลจะละลาย โดยไม่เป็นพิษต่อคนและพืช แต่ไล่หนอนศัตรูพืชได้ดี เปลือกของมะกรูดมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง เช่น สบู่ แชมพูมะกรูดหรือยาสระผมมะกรูด ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงและแมลง ใช้เพื่อดับกลิ่นเท้าเหม็น มีกลิ่นอับเชื้อรา โดยนำมะกรูด ขิง ข่า เกลือ อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาต้มรอให้อุ่นสักนิดแล้วแช่เท้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที

มะกรูดในประเทศไทย

มะกรูดในประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์หลากหลายทั้งในด้านการบริโภคและด้านอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และ เครื่องสำอางค์

ผิวมะกรูดเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศ ใช้เป็นส่วนผสมของพริกแกงหลายชนิด น้ำมะกรูดถูกนำมาใช้เป็นเครื่องดื่มและการปรุงรสชาติของอาหาร สรรพคุณให้รสเปรี้ยวและดับกลิ่นคาว

การใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม ใบมะกรูดมักถูกนำไปใช้เป็นสารกันเสียในผลิตภัณฑ์อาหารและยังทำให้เกิดความอยากรับประทานอาหาร ส่วนน้ำมะกรูดและผิวของผลมะกรูด ส่วนมากจะใช้ปรุงรสชาติและแต่งกลิ่นอาหาร และการใช้มะกรูดในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สามารถใช้ประโยชน์ในการบำรุงหนังศีรษะ และกระตุ้นการงอกของรากผม และช่วยขจัดรังแค มะกรูดถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์แชมพู

ลักษณะของต้นมะกรูด

ต้นมะกรูด เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก เนื้อไม้เป็นเนื้อแข็ง สมารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง ลักษณะของต้นมะกรูด มึดังนี้

  • ลำต้นมะกรูด ลักษณะเป็นพุ่ม เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลอ่อน แตกกิ่งก้านจำนวนมาก กิ่งของมะกรูดมีหนามแหลมยาว
  • ใบมะกรูด ลักษณะเป็นใบประกอบ ออกเป็นใบเดี่ยว ใบมะกรูดลักษณะหนา เรียบ ผิวมัน สีเขียว ใบมีกลิ่นหอม
  • ดอกมะกรูด ลักษณะดอกเป็นช่อ มีสีขาว ดอกออกบริเวณส่วนยอดและตามซอกใบ กลีบดอกสีขาว มีขนปกคลุม
  • ผลมะกรูด คล้ายผลส้มซ่า ขนาดใหญ่กว่าลูกมะนาวเล็กน้อย เปลือกผลค่อนข้างหนา ผิวเปลือกสีเขียวเข้ม ผิวผลขรุขระเป็นลูกคลื่น

คุณค่าทางโภชนาการของมะกรูด

การนำมะกรูดมารับประทานเป็นอาหาร สามารถใช้ประโชยน์ได้หลากหลาย ทั้ง ใบมะกรูด ผลมะกรูด และ น้ำมะกรูด ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะกรูดส่วนต่างๆ มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 171 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 6.8 กรัม ไขมัน 3.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.0 กรัม กากใยอาหาร 8.2 กรัม แคลเซียม 1672 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 303 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.35 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 20 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผิวผลมะกรูด ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 21.3 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม ไขมัน 1.1 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม แคลเซียม 322 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 115 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมะกรูด ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.8 กรัม โปรตีน 0.6 กรัม ไขมัน 0 กรัม แคลเซียม 20 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี2 58 มิลลิกรัม และวิตามินซี 55 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะกรูด 

สำหรับมะกรูดในด้านบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากผลมะกรูด ใบมะกรูด รากมะกรูด และ ลำต้นมะกรูด ซึ่งสรรพคุณของมะกรูด มีรายละเอียด ดังนี้

  • ผลมะกรูด สรรพคุณแก้วิงเวียนศรีษะ ช่วยขับพยาธิ บำรุงกำลัง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ บำรุงเลือด ช่วยขับระดู ช่วยขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้แก้ไอ ขับเสมหะ
  • ใบมะกรูด สรรพคุณช่วยขับลม แก้อาเจียน
  • รากมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียด บำรุงเลือด
  • ลำต้นมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียด บำรุงเลือด

โทษของมะกรูด

น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด หากใช้กับผิวหนังในปริมาณที่มาก ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสง เพราะอาจทำให้เกิดพิษกับผิวหนังได้ ส่วนน้ำมะกรูดมีความเป็นกรดสูง ไม่ควรรับประทานขณะท้องว่าง เพราะ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ตะลิงปลิง สมุนไพร รสเปรี้ยว ต้นตะลิงปลิงเป็นอย่างไร สรรพคุณหลากหลาย เช่น บำรุงเลือด บำรุงผิวพรรณ บำรุงกระดูก บำรุงระบบประสาท โทษของตะลิงปลิงมีอะไรบ้างตะลิงปลิง ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของตะลิงปลิง

ต้นตะลิงปลิง ภาษาอังกฤษ เรียก  Bilimbi ชื่อวิทยาศาตร์ของตะลิงปลิง คือ Averrhoa bilimbi L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตะลิงปลิง เช่น มูงมัง กะลิงปริง ลิงปลิง ลิงปลิง ปลีมิง บลีมิง มะเฟืองตรน หลิงปลิง เป็นต้น ตะลิงปลิง เป็นพืชในเขตร้อนและมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศบราซิล ซึ่งตะลิงปลิงนิยมปลูกทั่วไป เพื่อใช้รับประทานผลตะลิงปลิงเป็นอาหาร

ประโยชน์ของตะลิงปลิง ใช้เป็นอาหารรับประทานยามว่าง นำมาจิ้มพริกเกลือรับประทาน หรือ ทำมาเป็นส่วนประกอบอาหารประเภทแกง จะให้รสเปรี้ยว เพิ่มความอร่อย หากนพมาตากแห้ง สามารถใช้ทำชา ชงเป็นเครื่องดื่มดับกระหาย บำรุงร่างกาย ส่วนใบและราก สามารถนำมาทำผลิตภัณฑ์รักษาสิว ใช้พอกหน้า ทำให้หน้าใส

ลักษณะของต้นตะลิงปลิง 

ต้นตะลิงปลิง เป็นพันธ์ไม้ขนาดเล็กในประเทศเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนในลุ่มแม่น้ำอะเมซอลของประเทศบราซิล สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การตอนกิ่ง และ การเสียบยอด ลักษณะของต้นตะลิงปลิง มีดังนี้

  • ลำต้นตะลิงปลิง ลำต้นมัขนาดเล็ก ความสูงของต้นประมาณ 5 – 15 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาล แต่ผิวเปลือกลำต้นเรียบ เนื้อไม้ไม่แข็ง ค่อนข้างเปราะ กิ่งหักง่าย
  • ใบตะลิงปลิง ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบสีเขียวอ่อน ใบมีขุยนุ่มปกคลุม ลักษณะรูปใบคล้ายรูปหอก ใบเป็นมัน ปลายใบแหลม
  • ดอกตะลิงปลิง ลักษณะดอกออกเป็นช่อ มีช่อหลายๆช่อ ออกดอกตามกิ่งและลำต้น กลีบดอกสีแดงเข้ม
  • ผลตะลิงปลิง ลักษณะกลมยาวปลายมน ผิวของผลเรียบ สีเขียว และผลสุกแล้วจะกลายเป็นสีเหลืองและมีรสเปรี้ยว

คุณค่าทางโภชนาการของตะลิงปลิง

การบริโภคตะลิงปลิงเป็นอาหาร นิยมรับประทานผลของตะลิงปลิง ซึ่งผลตะลิงปลิงให้รสเปรี้ยว โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลตะลิงปลิง ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 0.61 กรัม เบต้า แคโรทีน 0.035 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.010 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.026 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.302 มิลลิกรัม วิตามินซี 15.5 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 3.4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.01 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 11.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของตะลิงปลิง

ตะลิงปิง มีสรรพคุณมากมาย ที่เกี่ยวข้องกับหลายระบบของร่างกาย เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบขับถ่าย ระบบขับพิษ ระบบภูมิคุ้มกัน สรรพคุณต่างๆ ได้แก่

  • บำรุงระบบย่อยอาหาร ทำให้รับประทานได้มากขึ้น เจริญอาหาร
  • แก้อาการร้อนใน ช่วยแก้พิษ ช่วยดับกระหายจากการเสียน้ำ จากอาการร้อน
  • ช่วยขับเหงื่อ โดยผสมกับพริกไทย รับประทาน
  • ฟอกโลหิตโดยการรับประทานผลตะลิงปลิง
  • สามารถนำมาใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน เพิ่มวิตามินซีให้กับร่างกาย
  • สามารถใช้รักษาคางทูม โดยใช้ใบนำมาพอก
  • ใช้ผลมาทำเป็นยาลดไข้ได้
  • กรณีมีไข้ขึ้น สามารถใช้รากของตะลิงปลิงมาดับพิษร้อนของไข้ได้ดี
  • นำดอก และ ผล มาใช้ชงเป็นชาดื่ม สามารถช่วยแก้อาการไอ อาการคันคอ อาการเคืองคอ ได้ดี
  • นำผลมาใช้เป็นยาละลายเสมหะ ยาแก้เสมหะเหนียวข้น ยาแก้น้ำลายเหียว ทำให้ชุ่มคอได้ดี
  • นำผล และราก มาทำเป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ป้องกันโรคกระเพาะอาหาร โรคกรดไหลย้อนได้ดี
  • ใช้รากแก้อาการเลือดออก ที่กระเพาะอาหาร และ ลำไส้ กรณีเกิดการอักเสบ จนแสบร้อนท้อง
  • ใช้รากรักษาอาการอักเสบของลำไส้ แสบลำไส้ ปวดท้อง ปวดลำไส้
  • รักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคซิฟิลิส
  • ลดอาการปวดจากโรคริดสีดวงทวาร ช่วยทำให้อาการปวดลดลง ขณะอุจจาระ
  • ลดอาการปวดมดลูก โดยใช้ผลของตะลิงปลิง
  • ในผู้ป่วยโรคเกาต์ สามารถใช้ส่วนราก บรรเทาอาการปวดของโรคเกาต์ ปวดตามข้อต่างๆ ลดการสะสมของผลึกยูริกได้ดี
  • ใช้รักษาโรครูมาตอยด์ อาการข้อปวด ปุ่มรูมาตอยด์ โดยใช้ส่วนใมาทำเป็นยา
  • ใช้ผลหรือราก เพื่อใช้สมานแผล ใช้ลดการไหลของเลือด
  • ใช้ใบลดอาการแพ้ อาการคัน อาการบวมแดง โดยนำใบมาต้มอาบ
  • สรรพคุณลดระดับน้ำตาลและไขมัน ในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ดี
  • ผลของน้ำตะลิงปลิงมีฤทธิ์ในการคุมกำเนิดได้ดี

สูตรน้ำตะลิงปลิง นำตะลิงปลิงประมาณครึ่งกิโลกรัม มาล้างให้สะอาด ตากแห้งเพื่อที่จะสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน ต้มน้ำตาล 2 ถ้วย โดยเติมน้ำประมาณ 3 ถ้วยครึ่ง นำตะลิงปลิงเข้าเครื่องปั่นรวมกับน้ำเชื่อม แต่อย่าให้ล้น ปั่นรวมกัน กรองด้วยผ้าขาวบางเอาเฉพาะน้ำ นำมาดื่มโดยเติมเกลือ เติมน้ำเปล่า ตามชอบ

โทษของตะลิงปลิง

เนื่องจากตะลิงปลิงเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว การกินอาหารที่มีเปรี้ยวจัด อาจส่งเสียกระทบต่อสุขภาพของฟัน ทำให้ฟันกันกล่อนง่าย ทำให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเสีย

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย