มะกรูด สมุนไพรพื้นบ้าน ประโยชน์หลากหลาย นิยมเป็นส่วนประกอบในอาหาร ต้นมะกรูดเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะกรูด บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด แก้เวียนหัว โทษของมะกรูดมะกรูด สมุนไพร สรรพคุณของมะกรูด สมุนไพรไทย

ต้นมะกรูด ภาษาอังกฤษ เรียก Kaffir lime ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะกรูด คือ Citrus hystrix DC. จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับตระกูลส้ม สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะกรูด เช่น มะขู มะขุน มะขูด ส้มกรูด ส้มมั่วผี เป็นต้น มะกรูดมีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด มะกรูดสามารถพบได้ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย นิยมปลูกไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน เช่น ประกอบอาหาร ใช้ดับกลิ่นอับเหม็น ใช้ทำน้ำมันหอมระเหย และ ใช้เป็นสมุนไพรประจำบ้าน

ประโยชน์ของมะกรูด นอกจากมะกรูดจะเป็นสมุนไพร ยังมีประโยชน์ด้านต่างๆอีกมากมาย เช่น ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารไทย ต่างๆมากมาย ประกอบอาหารโรยหน้า ดับกลิ่นคาว ได้แก่ ต้มยำ แกงเผ็ด ผัดเผ็ด ฉู่ฉี่ ห่อหมก ทอดมัน โรยหน้าข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ใช้ดับกลิ่นคาวในอาหาร ประเภทเนื้อปลาได้ดี

มะกรูดใช้ไล่แมลง เช่น มอด และ มดในข้าวสาร น้ำมันหอมระเหยในรูปแบบแคปซูลเพื่อใช้ไล่แมลงและหนอนสำหรับเกษตรกร โดยเมื่อนำแคปซูลมาไว้บริเวณใกล้ต้นไม้ แล้วรดน้ำ แคปซูลจะละลาย โดยไม่เป็นพิษต่อคนและพืช แต่ไล่หนอนศัตรูพืชได้ดี เปลือกของมะกรูดมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง เช่น สบู่ แชมพูมะกรูดหรือยาสระผมมะกรูด ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงและแมลง ใช้เพื่อดับกลิ่นเท้าเหม็น มีกลิ่นอับเชื้อรา โดยนำมะกรูด ขิง ข่า เกลือ อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาต้มรอให้อุ่นสักนิดแล้วแช่เท้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที

มะกรูดในประเทศไทย

มะกรูดในประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์หลากหลายทั้งในด้านการบริโภคและด้านอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และ เครื่องสำอางค์

ผิวมะกรูดเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศ ใช้เป็นส่วนผสมของพริกแกงหลายชนิด น้ำมะกรูดถูกนำมาใช้เป็นเครื่องดื่มและการปรุงรสชาติของอาหาร สรรพคุณให้รสเปรี้ยวและดับกลิ่นคาว

การใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม ใบมะกรูดมักถูกนำไปใช้เป็นสารกันเสียในผลิตภัณฑ์อาหารและยังทำให้เกิดความอยากรับประทานอาหาร ส่วนน้ำมะกรูดและผิวของผลมะกรูด ส่วนมากจะใช้ปรุงรสชาติและแต่งกลิ่นอาหาร และการใช้มะกรูดในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สามารถใช้ประโยชน์ในการบำรุงหนังศีรษะ และกระตุ้นการงอกของรากผม และช่วยขจัดรังแค มะกรูดถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์แชมพู

ลักษณะของต้นมะกรูด

ต้นมะกรูด เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก เนื้อไม้เป็นเนื้อแข็ง สมารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง ลักษณะของต้นมะกรูด มึดังนี้

  • ลำต้นมะกรูด ลักษณะเป็นพุ่ม เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลอ่อน แตกกิ่งก้านจำนวนมาก กิ่งของมะกรูดมีหนามแหลมยาว
  • ใบมะกรูด ลักษณะเป็นใบประกอบ ออกเป็นใบเดี่ยว ใบมะกรูดลักษณะหนา เรียบ ผิวมัน สีเขียว ใบมีกลิ่นหอม
  • ดอกมะกรูด ลักษณะดอกเป็นช่อ มีสีขาว ดอกออกบริเวณส่วนยอดและตามซอกใบ กลีบดอกสีขาว มีขนปกคลุม
  • ผลมะกรูด คล้ายผลส้มซ่า ขนาดใหญ่กว่าลูกมะนาวเล็กน้อย เปลือกผลค่อนข้างหนา ผิวเปลือกสีเขียวเข้ม ผิวผลขรุขระเป็นลูกคลื่น

คุณค่าทางโภชนาการของมะกรูด

การนำมะกรูดมารับประทานเป็นอาหาร สามารถใช้ประโชยน์ได้หลากหลาย ทั้ง ใบมะกรูด ผลมะกรูด และ น้ำมะกรูด ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะกรูดส่วนต่างๆ มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 171 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 6.8 กรัม ไขมัน 3.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.0 กรัม กากใยอาหาร 8.2 กรัม แคลเซียม 1672 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 303 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.35 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 20 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผิวผลมะกรูด ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 21.3 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม ไขมัน 1.1 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม แคลเซียม 322 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 115 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมะกรูด ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.8 กรัม โปรตีน 0.6 กรัม ไขมัน 0 กรัม แคลเซียม 20 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี2 58 มิลลิกรัม และวิตามินซี 55 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะกรูด 

สำหรับมะกรูดในด้านบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากผลมะกรูด ใบมะกรูด รากมะกรูด และ ลำต้นมะกรูด ซึ่งสรรพคุณของมะกรูด มีรายละเอียด ดังนี้

  • ผลมะกรูด สรรพคุณแก้วิงเวียนศรีษะ ช่วยขับพยาธิ บำรุงกำลัง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ บำรุงเลือด ช่วยขับระดู ช่วยขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้แก้ไอ ขับเสมหะ
  • ใบมะกรูด สรรพคุณช่วยขับลม แก้อาเจียน
  • รากมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียด บำรุงเลือด
  • ลำต้นมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียด บำรุงเลือด

โทษของมะกรูด

น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด หากใช้กับผิวหนังในปริมาณที่มาก ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสง เพราะอาจทำให้เกิดพิษกับผิวหนังได้ ส่วนน้ำมะกรูดมีความเป็นกรดสูง ไม่ควรรับประทานขณะท้องว่าง เพราะ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้

ขมิ้น สมุนไพร พืชท้องถิ่น นิยมใช้เหง้ามาทำประโยชน์ สรรพคุณของขมิ้น เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงระบบเลือด แก้โรคผิวหนัง รักษาแผล ลดการอักเสบ แก้ท้องอืด บำรุงสมองขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นขมิ้น ภาษาอังกฤษ เรียก Turmeric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa L. เป็นพืชในตระกูลเดียวกับขิง สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นชัน ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น เป็นต้น ต้นขมิ้น มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ขมิ้นมีกลิ่นหอมที่มีความเฉพาะตัว นิยมใช้ตกแต่งกลิ่นและสีของอาหาร อาหารไทยนิยมใช้ขมิ้นมาทำอาหารหลายเมนูอาหาร เช่น แกงไตปลา แกงกะหรี่ ปลาต้มขมิ้น เป็นต้น

ขมิ้นมีประวัติการนำเอาขมิ้นมาใช้ประโยชน์ต่างๆ มากกว่า 5000 ปี ทั้งการนำมาทำเป็นยาและอาหาร ขมิ้นชันอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เป็นต้น

ลักษณะของต้นขมิ้น

ต้นขมิ้นชัน เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าและหัวอยู่ใต้ดิน อายุหลายปี ขมิ้นชอบแสงแดดจัดและมีความชื้นสูง ดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นขมิ้นชัน มีดังนี้

  • ลำต้นของขมิ้นชัน มีความสูงประมาณ  30 ถึง 95 เซ็นติเมตร
  • เหง้าของขมิ้นชัน เป็นลักษณะทรงรี รูปไข่ อยู่ใต้ดิน อ้วนและสั้น ในเนื้อของเหง้ามีสีเหลืองส้ม กลิ่นฉุน
  • ใบของขมิ้นชัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ตรงกลางใบมีสีแดงคล้ำ ออกมาจากเหง้า เรียงซ้อนทับกันเป็นวง ลักษณะใบเป็นรูปหอก
  • ดอกของขมิ้นชัน ดอกออกมาจากเหง้าขมิ้นชั้น แทรกขึ้นตามก้านใบ ดอกขมิ้นรูปทรงกระบอก สีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อน

สรรพคุณของขมิ้น

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขมิ้นด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนิยมใช้ประโยชน์จากเหง้าขมิ้น ซึ่งสรรพคุณของเหง้าขมิ้น มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย เสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • บำรุงผิวหนัง ช่วยป้องกันผิวหนังจากสภาพแวดล้อมต่างๆ
  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต
  • ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ล้างพิษ ลดการเกิดพิษในร่างกาย
  • บำรุงกระดูก รักษาโรคเกาต์ ลดกรดยูริคในเลือด ลดอาการปวดบวมตามข้อ
  • บำรุงร่างกายสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ช่วยเพิ่มน้ำนม
  • รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ ช่วยให้หายใจคล่อง บำรุงปอด
  • บำรุงสมอง ลดอาการสมองเสื่อม แก้อาการเวียนหัว
  • แก้ปวด ลดการอักเสบ บวมแดงของร่างกาย
  • ช่วยลดไข้ ลดอาการไอ
  • รักษาแผลที่ปาก แผลร้อนใน
  • บรรเทาอาการปวดท้อง ช่วยรักษาอาการท้องเสีย  รักษาอาการจุดเสียด ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร รักษาโรคลำไส้อักเสบ รักษาโรคแผลในลำไส้ ช่วยเรื่องการขับถ่าย ลดการบีบตัวของลำไส้  รักษาอาการลำไส้ใหญ่บวม อาการอุจจาระไม่ออก ช่วยขับลม ป้องกันการเกิดกรดไหลย้อน
  • บำรุงตับให้แข็งแรงขึ้น ป้องกันการเกิดตับอักเสบ และตับอ่อนอักเสบ และป้องกันตับจากฤทธิ์ของยาพาราเซตามอล
  • แก้อาการตกเลือด แก้อาการตกขาว
  • บำรุงผิวพรรณ แก้อาการผื่นคันตามร่างกาย รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน บรรเทาอาการผิวหนังพุพอง ทำให้ ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึง รักษาสิวเสี้ยน สิวผด สิวอุดตัน
  • รักษาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อรา
  • ช่วยสมานแผลทำให้หายเร็วยิ่งขึ้น

โทษของขมิ้น 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขมิ้น หถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์มากมาย แต่การบริโภคขมิ้นต้องระมัดระวัง ไม่ควรรับประทานมากเกินไป อาจจะกลายเป็นพิษต่อร่างกายได้ ข้อควรระวังในการใช้ขมิ้น มีดังนี้

  • หากรับประทานขมิ้นแล้วเกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว หรือ นอนไม่หลับ ต้องหยุดการรับประทานขมิ้นทันที
  • การใช้ขมิ้นเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ เมื่ออาการเหล่านั้นหายดีแล้ว ควรเลิกรับประทาน ไม่ควรรับประทานต่อเนื่อง
  • ขมิ้นชั้นเป็นอันตรายสำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับท่อน้ำดี อาจทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดีได้
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย