มะกรูด สมุนไพรพื้นบ้าน ประโยชน์หลากหลาย นิยมเป็นส่วนประกอบในอาหาร ต้นมะกรูดเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะกรูด บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด แก้เวียนหัว โทษของมะกรูดมะกรูด สมุนไพร สรรพคุณของมะกรูด สมุนไพรไทย

ต้นมะกรูด ภาษาอังกฤษ เรียก Kaffir lime ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะกรูด คือ Citrus hystrix DC. จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับตระกูลส้ม สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะกรูด เช่น มะขู มะขุน มะขูด ส้มกรูด ส้มมั่วผี เป็นต้น มะกรูดมีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด มะกรูดสามารถพบได้ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย นิยมปลูกไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน เช่น ประกอบอาหาร ใช้ดับกลิ่นอับเหม็น ใช้ทำน้ำมันหอมระเหย และ ใช้เป็นสมุนไพรประจำบ้าน

ประโยชน์ของมะกรูด นอกจากมะกรูดจะเป็นสมุนไพร ยังมีประโยชน์ด้านต่างๆอีกมากมาย เช่น ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารไทย ต่างๆมากมาย ประกอบอาหารโรยหน้า ดับกลิ่นคาว ได้แก่ ต้มยำ แกงเผ็ด ผัดเผ็ด ฉู่ฉี่ ห่อหมก ทอดมัน โรยหน้าข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ใช้ดับกลิ่นคาวในอาหาร ประเภทเนื้อปลาได้ดี

มะกรูดใช้ไล่แมลง เช่น มอด และ มดในข้าวสาร น้ำมันหอมระเหยในรูปแบบแคปซูลเพื่อใช้ไล่แมลงและหนอนสำหรับเกษตรกร โดยเมื่อนำแคปซูลมาไว้บริเวณใกล้ต้นไม้ แล้วรดน้ำ แคปซูลจะละลาย โดยไม่เป็นพิษต่อคนและพืช แต่ไล่หนอนศัตรูพืชได้ดี เปลือกของมะกรูดมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง เช่น สบู่ แชมพูมะกรูดหรือยาสระผมมะกรูด ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงและแมลง ใช้เพื่อดับกลิ่นเท้าเหม็น มีกลิ่นอับเชื้อรา โดยนำมะกรูด ขิง ข่า เกลือ อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาต้มรอให้อุ่นสักนิดแล้วแช่เท้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที

มะกรูดในประเทศไทย

มะกรูดในประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์หลากหลายทั้งในด้านการบริโภคและด้านอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และ เครื่องสำอางค์

ผิวมะกรูดเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศ ใช้เป็นส่วนผสมของพริกแกงหลายชนิด น้ำมะกรูดถูกนำมาใช้เป็นเครื่องดื่มและการปรุงรสชาติของอาหาร สรรพคุณให้รสเปรี้ยวและดับกลิ่นคาว

การใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม ใบมะกรูดมักถูกนำไปใช้เป็นสารกันเสียในผลิตภัณฑ์อาหารและยังทำให้เกิดความอยากรับประทานอาหาร ส่วนน้ำมะกรูดและผิวของผลมะกรูด ส่วนมากจะใช้ปรุงรสชาติและแต่งกลิ่นอาหาร และการใช้มะกรูดในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สามารถใช้ประโยชน์ในการบำรุงหนังศีรษะ และกระตุ้นการงอกของรากผม และช่วยขจัดรังแค มะกรูดถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์แชมพู

ลักษณะของต้นมะกรูด

ต้นมะกรูด เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก เนื้อไม้เป็นเนื้อแข็ง สมารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง ลักษณะของต้นมะกรูด มึดังนี้

  • ลำต้นมะกรูด ลักษณะเป็นพุ่ม เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลอ่อน แตกกิ่งก้านจำนวนมาก กิ่งของมะกรูดมีหนามแหลมยาว
  • ใบมะกรูด ลักษณะเป็นใบประกอบ ออกเป็นใบเดี่ยว ใบมะกรูดลักษณะหนา เรียบ ผิวมัน สีเขียว ใบมีกลิ่นหอม
  • ดอกมะกรูด ลักษณะดอกเป็นช่อ มีสีขาว ดอกออกบริเวณส่วนยอดและตามซอกใบ กลีบดอกสีขาว มีขนปกคลุม
  • ผลมะกรูด คล้ายผลส้มซ่า ขนาดใหญ่กว่าลูกมะนาวเล็กน้อย เปลือกผลค่อนข้างหนา ผิวเปลือกสีเขียวเข้ม ผิวผลขรุขระเป็นลูกคลื่น

คุณค่าทางโภชนาการของมะกรูด

การนำมะกรูดมารับประทานเป็นอาหาร สามารถใช้ประโชยน์ได้หลากหลาย ทั้ง ใบมะกรูด ผลมะกรูด และ น้ำมะกรูด ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะกรูดส่วนต่างๆ มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 171 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 6.8 กรัม ไขมัน 3.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.0 กรัม กากใยอาหาร 8.2 กรัม แคลเซียม 1672 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 303 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.35 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 20 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผิวผลมะกรูด ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 21.3 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม ไขมัน 1.1 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม แคลเซียม 322 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 115 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมะกรูด ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.8 กรัม โปรตีน 0.6 กรัม ไขมัน 0 กรัม แคลเซียม 20 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี2 58 มิลลิกรัม และวิตามินซี 55 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะกรูด 

สำหรับมะกรูดในด้านบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากผลมะกรูด ใบมะกรูด รากมะกรูด และ ลำต้นมะกรูด ซึ่งสรรพคุณของมะกรูด มีรายละเอียด ดังนี้

  • ผลมะกรูด สรรพคุณแก้วิงเวียนศรีษะ ช่วยขับพยาธิ บำรุงกำลัง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ บำรุงเลือด ช่วยขับระดู ช่วยขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้แก้ไอ ขับเสมหะ
  • ใบมะกรูด สรรพคุณช่วยขับลม แก้อาเจียน
  • รากมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียด บำรุงเลือด
  • ลำต้นมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียด บำรุงเลือด

โทษของมะกรูด

น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด หากใช้กับผิวหนังในปริมาณที่มาก ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสง เพราะอาจทำให้เกิดพิษกับผิวหนังได้ ส่วนน้ำมะกรูดมีความเป็นกรดสูง ไม่ควรรับประทานขณะท้องว่าง เพราะ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้

กระชาย สมุนไพร ฉายา โสมไทย นิยมนำเหง้ากระชายมาทำยาและอาหารรับประทาน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับเหงื่อ อยู่ในสูตรยาสมุนไพรโบราณมากมาย ต้นกระชายเป็นอย่างไรกระชาย สมุนไพร โสมไทย

ต้นกระชาย ภาษาอังกฤษ เรียก Fingerroot ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ Boesenbergia pandurata (Roxb. ) Schitr สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระชาย เช่น ว่านพระอาทิตย์ ขิงทราย ขิงแดง ขิงกระชาย กะแอน จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ เป๊าะสี่ ระแอน เป๊าะซอเร้าะ ขิงจีน เป็นต้น กระชาย มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประโยชน์ของกระชาย รากกระชายเป็นแหล่งสะสมสารอาหารมากมาย เรียกว่า นมกระชาย รากกระชายมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว กระชายนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร หลากหลายชนิด ทั้งน้ำพริกแกง แกง ผัด ซึ่งคุณสมบัติหนึ่งของกระชายชวยดับกลิ่นคาวของอาหาร นอกจากนั้นในตำรายาแผนโบราณ ใช้รักษาปากเป็นแผล ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ เป็นต้น สำหรับกระชายนั้นมี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และกระชายเหลือง ส่วนกระชายที่นิยมใช้กัน คือ กระชายเหลือง และกระชายดำ

ชนิดของกระชาย

สำหรับกระชาย ทีนิยมปลูกกัน มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายดำ ลักษะณะของเนื้อหัวกระชายจะมีสีดำ รสเผ็ดร้อน
  • กระชายแดง ลักษณะทั่วไปเหมือนกันกับกระชายเหลือง แต่จะแตกต่างกันตรงเหง้าและเนื้อด้านในของเหง้า โดยเนื้อจะมีสีเหลืองแกมส้ม
  • กระชายเหลือง ลักษณะของกระชายเหลือง เนื้อด้านในของหัวกระชาย มีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาทำอาหาร

ลักษณะของต้นกระชาย 

ต้นกระชาย เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน คล้ายกับ ขิง ข่า ขมิ้น สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นกระชาย มีดังนี้

  • เหง้ากระชาย อยู่ใต้ดิน เหง้าสั้น แตกหน่อได้ รูปทรงกระบอกยาว ปลายเรียว ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
  • ใบกระชาย ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบแทงออกมาจากเหง้ากระชาย ใบทรงรียาว โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม มีขอบเรียบ สีเขียว
  • ดอกกระชาย ลักษณะดอกเป็นช่อ ก้านดอกแทงออกมาจากเหง้ากระชาย มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน ๆ ดอกเป็นรูปหอกกลีบเลี้ยงมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน
  • ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย

สำหรับการรับประทานกระชายนิยมรับประทานส่วนเหง้าเป็นอาหาร นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระชาย ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 2 กรัม ไขมันอิ่มตัว 0.2 กรัม โพแทสเซียม 415 มิลลิกรัม โซเดียม 13 กรัม คาร์โบไฮเดรต 17.8 กรัม วิตามินบี6 ร้อยละ 8 วิตามินซี ร้อยละ 8 โปรตีน 1.8 กรัม และ น้ำตาล 1.7 กรัม

สรรพคุณของกระชาย 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระชายด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากเหง้ากระชาย ใบกระชาย และ น้ำมันกระชาย สรรพคุณของกระชาย มีดังนี้

  • ใบกระชาย สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้โลหิตเป็นพิษ รักษาแผลปากเปื่อย ช่วยถอนพิษ
  • น้ำมันกระชาย สรรพคุณรักษาเชื้อราที่หนังศีรษะ
  • เหง้ากระชาย สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้เวียนหัว เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกระดูก ปรับความสมดุลย์ของฮอร์โมนร่างกาย บำรุงสมอง ลดความดัน รักษาแผลปากเปื่อย แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยขับระดู ช่วยขับน้ำคาวปลา แก้ปวดเมื่อย ช่วยต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย รักษาแผลฝี ป้องกันเชื้อรา

วิธีเตรียมน้ำกระชายสำหรับดื่ม 

น้ำกระชายนอกจากจะใช้ดื่มดับกระหายได้ดี ก็ยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย รักษาโรคต่างๆได้ มีวิธีการเตรียมดังนี้

  • นำกระชายเหลืองส่วนรากและเหง้า มาล้างน้ำให้สะอาด ตัดแต่งรากที่รุงรังออก ตัดส่วนหัวและส่นท้ายทิ้งไป โดยขูดเปลือกออกล้างน้ำสะอาดอีกรอบ
  • นำมาหั่นเป็นแว่น เพื่อให้ง่ายต่อการปั่นละเอียดต่อไป
  • นำมาปั่นในเครื่องปั่นและผสมกับน้ำเปล่าต้มสุก ปั่นจนละเอียด
  • เทใส่ผ้าขาวบาง หรือ กระชอน หากน้ำกระชายไม่ไหลสามารถเติมน้ำอุ่นเพิ่มได้ คั้นเอาเฉพาะน้ำเท่านั้น
  • เก็บรักษาในตู้เย็นใช้สำหรับดื่ม สามารถเก็บรักษาได้เป็นเดือน
  • เวลาดื่มให้ผสมน้ำมะนาวและน้ำผึ้งนิดหน่อยเพื่อให้ง่ายต่อการดื่ม สามารถดื่มได้ตามใจชอบ

โทษของกระชาย

ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากกระชาย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ไม่ควรกินกระชายจำนวนมาก และ ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากได้ เนื่องจากกระชายมีฤทธิ์ร้อน
  • การกินกระชายในปริมาณมาก ทำให้เกิดปัญหาเหงือกร่น และ ภาวะใจสั่นได้
  • กระชาย มีผลต่อการทำงานของตับ ผู้ป่วยเกี่ยวกับตับ ไม่ควรกินกระชายในประมาณมาก
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย