อาการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อบุหัวใจหรือลิ้นหัวใจ ทำให้อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อกระดูก ปวดหลัง รักษาและป้องกันได้หรือไม่ เยื่อบุหัวใจอักเสบ โรคหัวใจอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด

เยื่อบุหัวใจอักเสบ ( Infective endocarditis ) คือ ภาวะเนื้อเยื่อบุหัวใจอักเสบ จากการติดเชื้อโรคที่หัวใจและลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อต่างๆ มีไข้สูง หนาวสั่น มีผื่นแดงตามแขนขา ปวดหลังและปัสสาวะเป็นเลือด

ผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหัวใจที่มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคนี้ ดังนั้น ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคหัวใจรูมาติก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม จำเป็นต้องเฝ้าระวังการเกิดโรคนี้

ประเภทของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับโรคนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ โรคเยื้อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ และ โรคเยื้อบุหัวใจอักเสบจากการไม่ติดเชื้อ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีโอกาสพบได้มากขึ้น กลุ่มเสี่ยงคือเพศชาย อายุ 50 ปีขึ้นไป
  • โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อ พบน้อยมากและการวินิจฉัยโรคจะทำได้ยากมาก ส่วนมากจะเสียชีวิตและจะทราบหลังจากการเสียชีวิต โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ทั้งชายและหญิง

สาเหตุการเกิดโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

การติดเชื้อแบคทีเรียรวมถึงเชื้อโรคอื่นๆ หากปล่อยให้เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด เลือดเสียไหลเวียนเข้าถึงหัวใจ สามารถทำให้เกิดภาวะเยื่อบุหัวใจ หรือ ลิ้นหัวใจ อักเสบได้ ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน ซึ่งกลุ่มคนที่ต้องเฝ้าระวังโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ มีดังนี้

  • ผู้ป่วยลิ้นหัวใจผิดปกติ
  • ผู้ป่วยที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม
  • กลุ่มคนที่มีความพิการของหัวใจแต่กำเนิด
  • กลุ่มคนที่มีการใส่เครื่องมือทางการแพทย์เข้าไปที่หัวใจ เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ( Pacemaker )

อาการผู้ป่วยโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ 

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อในเลือด เมื่อเลือดเสียสูบฉีดไปยังอวัยวะต่างๆในร่างกายทำให้เกิดอาการอักเสบทั่วร่างกาย และแสดงออกในทุกอวัยะ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ รายละเอียด ดังนี้

  • มีอาการอ่อนเพลีย
  • ลักษณะของสีผิวซีดเซียว
  • ไม่อยากรับประทานอาหาร เบื่ออาหาร
  • ผอม หรือ น้ำหนักตัวลดมาก
  • มีอาการปวดทั่วร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง และ ปวดตามข้อกระดูก
  • มีไข้สูง ร่วมกับอาการหนาวสั่น
  • ผิวหนังผิดปรกติ มีผื่นแดงขึ้นตามแขนขา
  • ปัสสาวะผิดปรกติ โดย ปัสสาวะออกมาเป็นเลือด

แนวทางการวินิจฉัยโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะสังเกตุจากอาการผิดปรกติของร่างกาย การตรวจร่างกาย ซักประวัติการรักษาโรค การเพาะเชื้อจากเลือดในรายที่ป่วยเป็นชนิดที่มาจากการติดเชื้อ การอัลตราซาวด์หัวใจ สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อโรค การวินิจฉัยโรคค่อนข้างยาก อาจจะทราบสาเหตุของโรคหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต จากการชันสูตรศพ

การรักษาโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการรักษาโรค เนื่องจากสาเหตุของโรคมาจากการติดเชื้อโรคในกระแสเลือด การให้ยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือด รวมกับการรักษาโดยการประคับประครองอาการอื่นของโรคตามอาการ จึงเป็นแนวทางการรักษาโรคนี้ และ ให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายหลังจากการฆ่าเชื้อโรคในกระแสเลือด จึงเป็นแนวทางการรักษาที่ดีที่สุด

การป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันภาวะการเกิดเยื้อบุหัวใจอักเสบ สามารถป้องกันได้จากการป้องกันการติดเชื้อโรค ไม่ใหเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ มีดังนี้

  • หมั่นดูแลสุขอนามัยพื้นฐาน ให้สิ่งแวดล้อมรอบตัวสะอาด และ หลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บต่างๆ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ไม่เสพสารเสพติด ไม่สูบบุหรี่ และ ไม่ดื่มสุรา

เยื่อบุหัวใจอักเสบ อาการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อบุหัวใจหรือลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อกระดูก ปวดหลัง แนวทางการรักษาโรคนี้ทำอย่างไร และ สามารถป้องกันได้หรือไม่ 

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

มะเร็งเม็ดเลือดขาว Leukemia ลูคีเมีย อาการเลือดกำเดาไหลบ่อย ติดเชื้อง่าย เหงื่อออกตอนกลางคืน ฟกช้ำง่าย อ่อนเพลีย การรักษาและแนวทางการป้องกันต้องทำอย่างไรมะเร็งเม็ดเลือดขาว ลูคีเมีย โรคมะเร็ง รักษาลูเคีเมีย

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) เรียกอีกชื่อว่า ลูคีเมีย คือ มะเร็งที่เกิดกับเม็ดเลือดขาว ซึ่งมีหน้าที่ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค  โรคนี้จัดว่าเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งมะเร็งเม็ดเลือดขาวสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มีอยู่ 2 ชนิด คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน และ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง

ชนิดของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

สำหรับลักษณะของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว สามารถแบ่งได้ 4 ชนิด 2 ลักษณะ ตามลักษณะของอาการของโรค คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน และ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง รายละเอียดดังนี้

  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ไมอิลอยด์ ( Acute Myelogenous Leukemia ) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่พบบ่อยที่สุด เกิดมากกับผู้ใหญ่
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ลิมโฟไซติก ( Acute Lymphocytic Leukemia ) เป็นมะเร็งที่พบมากในเด็กเล็ก แต่ก็สามารถพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน หากเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดนี้สามารถรักษาให้ขาดได้ หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง ไมอิลอยด์ ( Chronic Myelogenous Leukemia ) พบว่าเกิดกับผู้ใหญ่ และ แสดงอาการเพียงเล็กน้อย หรือ ไม่แสดอาการผิดปรกติเลย จนถึงระยะที่รุนแรงจึงแสดงอาการให้เห็น
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง ลิมโฟไซติก ( Chronic Lymphocytic Leukemia ) เป็นมะเร็งที่พบมากในผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการผิดปรกติให้เห็น จนถึงระยะที่รุนแรงจึงแสดงอาการให้เห็น

สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว 

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรค แต่เกิดจากจำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นผิดปกติ ส่งผลให้ระบบการสร้างเม็ดเลือดปกติของไขกระดูกผิดปรกติ ทำให้เกล็ดเลือดและเม็ดเลือดแดงมีจำนวนลดน้อยลง ระบบภูมิต้านทานโรคจึงผิดปรกติ มีอาการต่างๆกระทบทั่วร่างกาย เนื่องจากร่างกายทุกอวัยวะต้องการการหล่อเลี้ยงของเลือด เราไม่ทราบสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของเซลล์เม็ดเลือดขาว แต่สามารถสรุปปัจจัยต่างๆที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น รายละเอียด ดังนี้

  • ภาวะการติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัส HTLV-1 เป็นต้น
  • การได้รับสารเคมีต่างๆ เช่น สารกัมมันตรังสี เป็นต้น
  • ภาวะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับผู้ป่วยที่มีญาติพ่อแม่พี่น้องเคยมีประวัติป่วยโรคนี้ มีโอกาศป่วยโรคนี้มากกว่าผู้อื่น

อาการโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

สำหรับการแสดงอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว จะแสดงอาการแตกต่างกันตามชนิดของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่สามารถสังเกตุอาการของโรคมะเร้งเม็ดเลือดขาว ได้ดังนี้

  • มีไข้สูง หนาวสั่น ติดเชื้อโรคง่าย และ เหงือออกมากเวลากลางคืน
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการปวดตามตัว โดยเฉพาะกระดูก เมื่อกดบริเวณกระดูกจะเจ็บมาก
  • มีอาการบวมโตบริเวณคอและรักแร้ ซึ่งเป็นอาการของต่อมน้ำเหลืองบวมโต
  • มีอาการบวมบริเวณตับ หรือ ม้าม
  • ผิวหนังฟกช้ำง่าย และ เลือดกำเดาไหลบ่อย
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว และชัก

อาการของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะแสดงอาการเจ็บปวดทรมาน เนื่องจาก เม็ดเลือดขาวเป็นส่วนหนึ่งของการหล่อเลี้ยงอวัยวะทั่วร่างกาย เช่น สมอง หัวใจ ปอด ระบบทางเดินอาหาร ไต อัณฑะ เป็นต้น

แนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

สำหรับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว แพทย์จะใช้การการตรวจร่างกายทั่วไป ซักประวิติการรักษาโรคและประวัติทางพันธุกรรม การตรวจเลือด การตรวจไขกระดูก และ การตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในปัจจุบัน สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการปลูกถ่ายไขกระดูก แต่ แนวทางการรักษาใช้หลายวิธีร่วมกัน ประกอบด้วย การใช้เคมีบำบัด การฉายรังสี การปลูกถ่ายไขกระดูก และ การใช้ยารักษาตรงเป้าหมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ รายละเอียด ดังนี้

  • การใช้เคมีบำบัด เป็นการให้ยาหลายชนิดร่วมกัน แต่การรักษาด้วยยวิธีนี้ทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน ผทร่วง ตัวซีด เลือดออกง่ายเกร็ดเลือดต่ำ เป็นต้น
  • การฉายรังสี สามารถใช้ได้เฉพาะกรณีมะเร็งเม็ดเลือดขาาวที่อวัยวะที่สำคัญ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่สมอง
  • การปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นการรักษาเมื่อไม่สามารถใช้วิธีอื่นได้ วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูง สามารถรักษาให้หายได้ แต่ไม่สามารถรับประกันว่าจะรักษาได้
  • การใช้ยารักษาตรงเป้าหมาย วิธีนี้ค่ารักษาแพง และอาจทำให้เกิดอาการเลือดออกง่าย

การป้องกันมะเร็งเม็ดเลือดขาว

สำหรับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน จึงไม่มีแนวทางป้องกันที่ได้ผล สิ่งที่สามารถทำได้คือ การดูแลร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ และ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงจากการรับสารพิษต่างๆ หลีกเลี่ยงการเข้าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับกัมตรังสี

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) ลูคีเมีย เลือดกำเดาไหลบ่อย ติดเชื้อง่าย เหงื่อออกตอนกลางคืน ฟกช้ำง่าย อ่อนเพลีย เป็นอาการหนึ่งของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว สามารถรักษาได้ สาเหตุของโรค และ แนวทางการรักษาต้องทำอย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย