สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

เผือก ( Taro ) สมุนไพร หัวเผือกเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต ลักษณะของต้นเผือก คุณค่าทางโภชนาการของเผือก ประโยชน์และสรรพคุณของเผือก เช่น บำรุงกำลัง ช่วยการขับถ่าย

เผือก สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นเผือก ( Taro ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของเผือก คือ Colocasia esculenta (L.) Schott ชื่อเรียกอื่นๆของเผือก เช่น ตุน บอนเขียว บอนจีนดำ บอนท่า บอนน้ำ โอ่วไน โอ่วถึง โทวจือ เป็นต้น สำหรับ สายพันธุ์เผือก ที่พบในไทยแบ่งได้ 4 พันธุ์ คือ เผือกหอม เผือกเหลือง เผือกไม้ และ เผือกตาแดง

ต้นเผือก เป็นพืชตระกูลบอน มีหัวอยู่ใต้ดิน นิยมนำหัวเผือกมารับประทานเป็นอาหาร เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต สามารถกินทดแทนข้าวได้ เผือกมีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนใต้ของประเทศแถบเอเชียกลาง ซึ่งปัจจุบันการปลูกเผือกนั้นนิยมปลูกและรับประทานทั่วไป

สายพันธุ์เผือก

สำหรับต้นเผือก มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งสายพันธุ์เผือก มีมากกว่า 200 พันธุ์ ซึ่งสามารถแบ่งสายพันธุ์เผือก ได้ 2 ประเภท คือ เผือกสายพันธ์เอดโด ( eddoe ) และ เผือกสายพันธ์แดชีน ( dasheen ) รายละเอียด ดังนี้

  • เผือกสายพันธุ์เอดโด ( eddoe ) เป็นเผือกที่มีหัวขนาดไม่ใหญ่ และ มีหัวเล็กกว่าล้อมรอบอยู่หลายหัว
  • เผือกสายพันธุ์แดชีน ( dasheen ) เป็นเผือกที่มีหัวขนาดใหญ่ และ มีหัวขนาดเล็กล้อมรอบ ใช้รับประทานได้

เผือกในประเทศไทย

เผือก จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกเผือกเพื่อขาย ซึ่ง สายพันธุ์เผือกในประเทศไทย มีหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์เผือกที่พบในประเทศไทย แบ่งได้ 4 สายพันธุ์ คือ

  • เผือกหอม เป็นชนิดหัวใหญ่ มีหัวเล็กติดอยู่กับหัวใหญ่เล็กน้อย ต้มรับประทานมีกลิ่นหอม กาบใบใหญ่สีเขียว
  • เผือกเหลือง หัวขนาดย่อม หัวสีเหลือง
  • เผือกไม้หรือเผือกไหหลำ หัวมีขนาดเล็ก
  • เผือกตาแดง ตาของหัวมีสีแดงเข้ม มีหัวเล็ก ๆ ติดอยู่รอบหัวใหญ่ เป็นกลุ่มจำนวนมาก กาบใบและเส้นใบสีแดง

แหล่งปลูกเผือกในประเทศไทย มีแหล่งปลูกเผือกที่สำคัญในทุกภาคของประเศ ได้แก่ ภาคเหนือ ( เชียงใหม่ พิษณุโลก ) ภาคกลาง  ( นครนายก นครสวรรค์ สระบุรี อยุธยา สุพรรณบุรี สิงห์บุรี นครปฐม ราชบุรี ) ภาคอีสาน ( นครราชสีมา สุรินทร์ ) ภาคใต้ ( ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราฏษ์ธานี )

ลักษณะของต้นเผือก

ต้นเผือก พืชตระกูลบอน เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ดพันธุ์ การแตกหน่อ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งการปลูกเผือก นิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนของทุกปี และเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมของทุกปี โดยลักษณะของต้นเผือก มีดังนี้

  • ลำต้นของเผือก เป็นลักษณะหัว ซึ่งอยู่ใต้ดิน ลักษณะของหัวเผือกค่อนข้างกลม เปลือกของหัวมีสีน้ำตาล ภายในหัวมีเนื้อในสีขาว
  • ใบของเผือก มีสีเขียว เป็นใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่ ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบมนเป็นเส้นๆ มีก้านใบยาว ซึ่งความยาวก้านใบประมาณ 1 เมตร
  • ดอกเผือก ออกเป็นช่อ ดอกเผือกมีสีเขียว ก้านช่อดอก มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ปลายกาบเรียวแหลมยาวคล้ายหาง ช่อดอกสั้นกว่ากาบ ดอกจะทยอยบาน
  • ผลเผือก มีสีเขียว เปลือกบาง ไม่ค่อยมีเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของเผือก

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเผือก นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวเผือกดิบ และ ใบเผือกดิบ ซึ่งผลจากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเผือก มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของหัวเผือกดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 112 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 26.46 กรัม น้ำตาล 0.40 กรัม กากใยอาหาร 4.1 กรัม ไขมัน 0.20 กรัม โปรตีน 1.5 กรัม น้ำ 70.64 กรัม วิตามินเอ 76 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.095 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.025 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.600 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.303 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.283 มิลลิกรัม วิตามินบี9 22 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 2.38 มิลลิกรัม วิคามินเค 1.0 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 43 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.55 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 33 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.383 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 84 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 591 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 11 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.23 มิลลิกรัม ธาตุทองแดง 0.172 มิลลิกรัม และ
ธาตุซีลีเนียม 0.7 ไมโครกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบเผือกดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 42 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.7 กรัม น้ำตาล 3 กรัม กากใยอาหาร 3.7 กรัม ไขมัน 0.74 กรัม โปรตีน 5 กรัม วิตามินเอ 241 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 2,895 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 1,932 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.209 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.456 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.513 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.146 มิลลิกรัม วิตามินบี9 129 ไมโครกรัม วิตามินซี 52 มิลลิกรัม วิตามินอี 2.02 มิลลิกรัม วิคามินเค 108.6 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 107 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.25 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.714 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 60 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 648 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.41 มิลลิกรัม

สรรพคุณของเผือก

สำหรับประโยชน์ของเผือก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก หัวเปือก ใบเผือก กาบในเผือก และ น้ำยางจากเผือก โดยรายละเอียด ดังนี้

  • หัวของเผือก สามารถใช้บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง เป็นยาลดไข้ บำรุงกระดูก ช่วยป้องกันฟันผุ ช่วยในการขับถ่าย แก้ท้องเสีย ช่วยบำรุงไต
  • น้ำยางของเผือก สามารถใช้ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้
  • ใบของเผือก สามารถใช้รักษาแผล ลดอาการอักเสบ แก้ปวด รักษาโรคผิวหนัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • กาบใบของเผือก สามารถใช้รักษาแผล ถอนพิษจากแมลงกัดต่อย แก้ปวด แก้อักเสบ รักษาโรคผิวหนัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของเผือก

สำหรับการรับประทานเผือก ต้องทำให้สุกก่อน และ กำจัดยางจากเผือกก่อน หากเตรียมเผือกไม่ดีก่อนนำมารับประทาน สามารถทำให้เกิดโทษ ได้ โดย โทษของเผือก มีดังนี้

  • เผือกดิบ ไม่สามารถนำมากินได้ เนื่องจาก เผือกดิบมีผลึกแคลเซียมออกซาเลต เป็นพิษ ทำให้เกิดนิ่วในไต ทำให้เกิดการระคายเคืองลำคอ และ ระบบทางเดินอาหาร
  • สำหรับบางคนที่มอาการแพ้เผือก หากพบว่ามีอาการคันในช่องปาก ลิ้นชา หลังจากกินเผือก ต้องหยุดรับประทานและพบแพทย์ทันที

แครอท ( Carrot ) นิยมรับประทานหัวแครอทเป็นอาหาร ต้นแครอทเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ เป็นต้น โทษของแครอท มีอะไรบ้าง

แครอท สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นแครอท ภาษาอังกฤษ เรียก Carrot ชื่อวิทยาศาสตร์ของแครอท คือ Daucus carota L. แครอทจัดเป็นพืชล้มลุก ตระกูลเดียวกับผักชี มีต้นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง ต้นแครอมมีหัวอยู่ใต้ดิน หัวแครอทมีหลายสี เช่น สีเหลือง สีม่วง สีส้ม เป็นต้น นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร

หัวแครอท มีสารอาหารมากมาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ เช่น เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินซี วิตามินอี แคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น ที่สำคัญมี สารฟอลคารินอล ( falcarinol ) ช่วยต้านเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี สรรพคุณของแครอท ใช้รักษาโรคได้อย่างหลากหลาย

ลักษณะของต้นแครอท

ต้นแครอท คือ พืชล้มลุกตระกูลผักชี สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อและการเพาะเมล็ดพันธ์ แครอทสามารถเจริญเติบโตได้ดีใน ดินร่วนปนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุสูง ระบายนํ้าได้ดี หน้าดินลึก และ ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับปลูกแครอท คือ ระหว่างเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี ต้นแครอทมีหัวอยู่ใต้ดิน โดยลักษณะของต้นแครอท มีรายละเอียด ดังนี้

  • หัวแครอท เป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะยาว ประมาณ 15 เซ็นติเมตร ลักษณะอ้วน ปลายแหลม ผิวเรียบ มีต่างๆ เช่น สีส้ม สีเหลือง สีม่วง หัวแครอทคือส่วนที่นิยมนำมารับประทานได้ ที่หัวของแครอทมีราก
  • ใบแครอท ใบแครอทมีสีเขียว อยู่ตามก้านใบ ซึ่งก้านใบแครอทออกมาจากหัวแครอท ก้านใบแครอท ลักษณะยาว สีเขียว  ความสูงของก้านใบประมาณ 20 เซนติเมตร ใบแครอท มีสีเขียว เป็นลักษณะฝอยๆ เหมือนในผักชี

สายพันธุ์ของแครอท

สำหรับแครอทไม่ใช่พืชพื้นเมืองของประเทศไทย ซึ่งแครอทมีหลายสายพันธ์ ซึ่งแต่ละสาพันธ์มีสีของหัวแครอทที่แตกต่างกันออกไป โดย สายพันธ์แครอทที่น่าสนใจ มีดังนี้

  • แครอทพันธุ์เบบี้แครอท ( Baby carrot ) หัวขนาดเล็ก สีส้ม ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์แนนเทส ( Nantes ) หัวขนาดปานกลาง สีส้ม ความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์แชนทีเน่ ( Chantenay ) หัวขนาดปานกลาง สีส้ม ความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์แดนเวอร์ ( Danvers ) หัวขนาดเล็ด สั้น และ เรียว มีสีส้ม ความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์อิมเพอเรเตอร์ ( Imperater ) หัวขนาดใหญ่ สีส้ม ความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์หงส์แดง ( New Kuruda ) เป็นแครอทสายพันธ์ไทย
  • แครอทพันธุ์มินิเอ็กซ์เพรส ( Mini Express ) หัวขนาดเล็ก เรียวยาว ปลูกได้ตลอดทั้งปี
  • แครอทพันธุ์ทัมบีลีนา ( Thumbelina ) หัวกลม และ สั้น สีส้ม ความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์ทัวริโนเอฟวัน ( Tourino F1 ) หัวอ้วนเตี้ย สีส้ม

คุณค่าทางโภชนาการของแครอท

สำหรับการศึกษาแครอท นักโภชนาการไค้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวแครอท โดยคุณค่าทางโภชนาการของหัวแครอท มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของหัวแครอท ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 41 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.6 กรัม น้ำตาล 4.7 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.24 กรัม โปรตีน 0.93 กรัม วิตามินเอ 835 ไมโครกรัม  เบตาแคโรทีน 8,285 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 256 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.066 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.058 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.983 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.273 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.138 มิลลิกรัม วิตามินบี9 19 ไมโครกรัม วิตามินซี 5.9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.66 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 33 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.143 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 35 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 320 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 69 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.24 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์ 3.2 ไมโครกรัม

ซึ่งในหัวแครอท มีสารสำคัญ คือ ฟอลคารินอล ( falcarinol ) สารชนิดนี้มีคุณสมบัติช่วยต้านการเจริญเติบโตของเซล์มะเร็ง

สรรพคุณของแครอท

สำหรับประโยชน์ของแครอทด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้นมีมากมาย โดย สรรพคุณของแครอท มีรายละเอียดดังนี้

  • บำรุงสายตา แครอทมีวิตามินเอสูง ช่วยถนอมดวงตา และ สายตา
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง แครอทมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • บำรุงเลือด แครอทช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดดี ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเลือด ช่วยรักษาสมดุลของน้ำตาลในเลือด
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยให้ปรับการระบบย่อยอาหารมีประสิทธิภาพ
  • บำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวเปล่งปลั่งอยู่เสมอ ลดรอยเหี่ยวย่น ช่วยชะลอวัย ลดริ้วรอยก่อนวัยอันควร ช่วยรักษาแผล ช่วยสมานแผล
  • บำรุงเส้นผม แครอทช่วยรักษาความชุ่มชื้นของเส้นผม ทำให้เส้นผมแข็งแรง
  • บำรุงร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค
  • ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
  • ช่วยขับพยาธิ
  • ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน

โทษของแครอท

สำหรับการรับประทานแครอทอย่างปลอดภัย ต้องรับประทานแครอทในปริมาณที่เหมาะสม ข้อควรระวังในการรับประทานแครอทมีดังนี้

  • สำหรับคนบางคนอาจแพ้แครอท หากพบว่าเกิดอาการแพ้หลังจากกินแครอท ให้หยุดกินและพบแพทย์เพื่อรักษาด่วน
  • สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่กินยาลดน้ำตาลในเลือดอยู่แล้ว การกินแครอทในปริมาณมากอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง สำหรับผุ้ป่วยโรคเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด
  • หัวแครอทสดๆ ที่ไม่ผ่านความร้อน อาจมีกลิ่นเหม็นเขียว อาจทำให้อาเจียนได้ การรับประทานแครอท ควรทำให้ผ่านความร้อนก่อน หรือ ทำให้หัวแครอทมีขนาดเล็กลงก่อน

แครอท ( Carrot ) ผักสวนครัว หัวแครอท นิยมรับประทานเป็นอาหาร ลักษณะของต้นแครอทเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของแครอท ประโยชน์และสรรพคุณของแครอท เช่น บำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ เป็นต้น โทษของแครอท มีอะไรบ้าง


สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร