บัวบก ผักพื้นบ้าน สมุนไพร ต้นบัวบกมีสรรพคุณหลากหลาย แก้อาการปวดอักเสบ บำรุงผิวพรรณ บำรุงเส้นผมและหนังศรีษะ เป็นยาเย็น ช่วยให้ร่างกายสดชื่อ นำใบมาทำน้ำใบบัวบก

บัวบก ใบบัวบก สมุนไพร

ต้นบัวบก ภาษาอังกฤษ เรียก Gotu kola ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวบก คือ Centella asiatica (L.) Urb. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของบัวบอก เช่น ผักหนอก ผักแว่น กะโต่ เป็นต้น ต้นบัวบก เป็นพื้ชท้องถิ่น นิยมนำมารับประทานเป็นผักสด อาหารที่นิยมกินบัวบกเป็นผัก เช่น ผัดไทย ผัดหมี่ หมี่กะทิ ขนมจีน ลาบ ยำ เป็นต้น ใบบัวบกนำมาคั้นทำน้ำใบบัวบก กินให้สดช่วย ช่วยแก้ช้ำใน ซึ่งบัวบกมีสรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยลดความร้อนในร่างกาย

ลักษณะของต้นบัวบก

ต้นบัวบก พืชคลุมดิน เป็นไม้เลื้อย ประเภทพืชล้มลุกขึ้นตามพื้นดิน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และ การแยกหน่อ ซึ่งลักษณะของต้นบัวบก มีดังนี้

  • ลำต้นของบัวบกลักษณะกลม เนื้ออ่อน มีน้ำมาก เลื้อยตามพื้นดิน
  • ใบของต้นบัวบก ใบบัวบกเป็นใบเดียว ใบออกตามข้อของลำต้นบัวบก ใบออกเป็นกระจุกๆ ลักษณะของใบคล้ายรูปไต ขอบใบมนๆ
  • ดอกบัวบก ลักษณะคล้ายร่ม ออกดอกเป็นช่อ สีม่วงอมแดง
  • ผลของบัวบก เป็นผลแห้ง ลักษณะแบนและแตก

คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก

สำหรับการใช้ประโยชน์การบริโภคบัวบกนิยมรับประทานใบและก้านใบเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบบัวบก ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารหลายชนิด ประกอบด้วย  วิตามินบี 1 แคลเซียม 146 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.9 มิลลิกรัม เบตาแคโรทีน 2,428 ไมโครกรัม และวิตามินซี 15 มิลลิกรัม นอกจากนั้นยังมี สารบราโมซัยด์ สารบรามิโนซัยด์ สารไตรเตอพีนอยด์ สารมาดิแคสโซซัยด์ กรดมาดิแคสซิค  และกรดอะมิโน หลายตัว เช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น

สรรพคุณของบัวบก

การใช้ประโยชน์จากบัวบก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้นนิยมทั้งหมดของบัวบก ใบและก้านใบ ซึ่งสรรพคุณของบัวบก มีดังนี้

  • บำรุงผิวพรรณ ช่วยชะลอวัย คืนความอ่อนเยาว์ ทำให้หน้าตาสดใสเหมือนเป็นวัยรุ่น รักษาสิว ทำให้ผิวหน้าขาวสดใสกระจ่างใส ผิวหน้าเต่งตึงดีขึ้น
  • บำรุงสายตา ฟื้นฟูรอบดวงตา
  • บำรุงสมอง ช่วยให้ผ่อนคลาย ช่วยทำให้ความจำดีขึ้น และ ทำให้มีไหวพริบมากขึ้น คิดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะ ในผู้สูงอายุ
  • แก้อาการปวดศีรษะ รักษาอาการช้ำใน รักษาอาการบาดเจ็บจากการกระแทก
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน ลดความดันเลือด
  • ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว
  • รักษาแผล ทำให้แผลหายเร็ว เร่งการสร้างเนื้อเยื่อใหม่
  • รักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคเรื้อน โรคหัด
  • บำรุงหนังศีรษะและผม ทำให้ผมดกดำ แก้ปัญหาผมร่วง ลดผมหงอกก่อนวัย

โทษของบัวบก
สำหรับการใช้ประโยชน์จากบัวบกนั้น มีข้อควรระวังในการใช้ ซึ่งหากใช้ไม่ถูกวิธีและใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดโทษ ซึ่งโทษของบัวบก มีดังนี้

  • ใบบัวบกมีสรรพคุณทำให้ตัวเย็น จึงไม่เหมาะสำหรับคนที่มีภาวะตัวเย็น

วิธีทำน้ำใบบัวบก เลือกใบบัวบกแก่ และสามารถใช่ส่วนรากผสมเข้ามาได้ หั่นออกเป็นสองท่อน ก่อนจะเข้าเครื่องบด เพราะ ใบบัวบกจะมีความเหนียว เติมน้ำผสมกับใบบัวบกที่บดคั้นน้ำ และ นำกากที่เหลือ มาคั้นน้ำที่สองอีกครั้ง เพื่อให้ตัวยาต่างๆ ยังมีสรรพคุณครับ ใช้ผ้าขาวบาง กรองน้ำบัวบก ใช้ตาห่าง ๆได้ เพราะ หากถี่มากจะกรองยาก ทิ้งกากไป ให้รินเฉพาะน้ำส่วนใส ๆ เพื่อนำมาเพื่อดื่มเป็นยาได้ น้ำที่คั้นได้ ไม่ควรเก็บไว้นาน แต่ควรแช่เย็นเก็บไว้ จะรักษาสรรพคุณนาน กรณีไม่ชินกับรสชาติ สามารถเติมน้ำเชื่อม ผสมน้ำต้มใบเตยได้

บัวบก พืชน้ำ สมุนไพรไทย สมุนไพรพื้นบ้าน สรรพคุณแก้ช้ำใน บำรุงสมอง แก้สมองเสื่อมได้ ลักษณะของต้นบัวบก คุณค่าทางโภชนากการของใบบัวบก ประโยชน์และโทษของใบบัวบก

บัวบก สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นบัวบก คือ สมุนไพร ชื่อคุ้นหู มาทำความรู้จักกับ ต้นบัวบก และ สรรพคุณของบัวบก บัวบก มีชื่อสามัญว่า Gotu kola ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวบก คือ Centella asiatica (L.) Urb. สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาแผล แก้ร้อน ใบบัวบก เหมาะสำหรับบริโภคในฟดูร้อน สมุนไพรไทยสรรพคุณยาเย็น บัวบก พืชตระกูลเดียวกันกับผักชี ชื่อเรียกอื่นๆของบัวบก เช่น ผักหนอก , ผักแว่น ,  กะโต่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นบัวบก

ต้นบัวบก พืชคลุมดิน เป็นไม้เลื้อย ประเภทพืชล้มลุกขึ้นตามพื้นดิน ลำต้นของบัวบกลักษณะกลม เนื้ออ่อน มีน้ำมาก เลื้อยตามพื้นดิน ใบของต้นบัวบก ใบบัวบกเป็นใบเดียว ใบออกตามข้อของลำต้นบัวบก ใบออกเป็นกระจุกๆ ลักษณะของใบคล้ายรูปไต ขอบใบมนๆ ดอกบัวบก ลักษณะคล้ายร่ม ออกดอกเป็นช่อ สีม่วงอมแดง ส่วนผลของบัวบก เป็นผลแห้ง ลักษณะแบนและแตก

คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก

การนำต้นบัวบกมาใช้ประโยชน์ เป็นอาหารจะใช้ประโยชน์ทั้งลำต้นและใบของบัวบก นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบบัวบก ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก สารเบตาแคโรทีน วิตามินบี1 และ วิตามินซี สารบราโมซัยด์ สารบรามิโนซัยด์ สารไตรเตอพีนอยด์ สารมาดิแคสโซซัยด์ กรดมาดิแคสซิค และ กรดอะมิโน หลายตัว เช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น

สรรพคุณของบัวบก

สำหรับต้นบัวบก นิยมใช้ประโยชน์ทั้งลำต้นและใบ ซึ่งมีประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สรรพคุณของบัวบก มีดังนี้

  • ช่วยชะลอวัย เป็นยาอายุวัฒนะ ลดลอยเหี่ยวย่นของผิวพรรณ
  • กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายสำหรับคนป่วย
  • ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากมีสารช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
  • บำรุงสายตา และ ฟื้นฟูสภาพรอบของดวงตา ช่วยรักษาอาการอักเสบของตา รักษาอาการบวมแดงของตา
  • ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ทำให้ความจำดี เพิ่มความจำสำหรับผู้สูงวัย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และป้องกันสมองเสื่อม รักษาอาการปวดหัว รักษาอาการไมเกรน
  • ช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับสบาย แก้อาการอ่อนเพลียเมื่อยล้า
  • ช่วยบำรุงเลือด และ ช่วยบำรุงหัวใจ ทำให้เลือดระบบเลือดทำงานได้ดีขึ้น กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย ปรับสมดุลย์ความดันเลือด ช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคโลหิตจาง
  • ช่วยให้ความชุ่มชื่นของลำคอ บำรุงเสียง ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยลดไข้ ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ
  • ช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ รักษาอาการผมร่วง
  • ช่วยรักษาแผล รักษาเต้านมอักเสบที่เป็นหนองในระยะแรก ใช้เป็นยาห้ามเลือด รักษาแผลสด ทำให้แผลหายเร็วขึ้น แก้ฟกช้ำ รักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคผิวหนัง ช่วยลดอาการอักเสบของแผล ใช้รักษาแผลน้ำร้อนลวก ลดอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้ เช่น รักษาโรคเรื้อน รักษาโรคสะเก็ดเงิน รักษาหิด รักษาหัด เป็นต้น
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ใบบัวบกเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ ช่วยบำรุงผิว และ ป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ผิว ช่วยรักษาสิว ทำให้ผิวขาว ใบหน้าเต่งตึง
  • ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน รักษานิ่ว ป้องกันการเกิดนิ่ว

ข้อควรระวังในการใช้บัวบก

การบริโภคบัวบก ต้องบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม หากกินมากเกินไป หรือ กินติต่อกันอย่างต่อเนื่อง อาจมีผลเสียได้ โดยโทษของบัวบก ข้อควรระวังในการบริโภคบัวบก มีดังนี้

  • ใบบัวบก ไม่เหมาะสำหรับคนที่มีภาวะตัวเย็น จะทำให้ร่างกายยเย็นขึ้นและท้องอืด
  • การกินบัวบกมากเกินไป ไม่ดี เนื่องจากใบบัวบกเป้นยาเย็น หากมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้ ร่างกายเสียสมดุลถ้ากิน ใบสด ปริมาณครั้งละ 10 ถึง 20 ใบต่อสัปดาห์ ถือว่าอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม แต่ไม่ควรกินทุกวันอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • ไม่ควรนำใบบักบกมาตากแห้ง เพราะ จะเสียคุณค่าทางตัวยา ใบบัวบกจะนำมาสกัดให้อยู่ในรูปแบบน้ำมันหอมระเหย
  • น้ำใบบัวบก หากใส่น้ำตาลมากเกินไป จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้ อาจทำให้เป็นเบาหวานได้

บัวบก พืชน้ำ สมุนไพรไทย สมุนไพรพื้นบ้าน สรรพคุณแก้ช้ำใน บำรุงสมอง แก้สมองเสื่อมได้ ลักษณะของต้นบัวบก คุณค่าทางโภชนากการของใบบัวบก ประโยชน์ของใบบัวบก และ โทษของใบบัวบก

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย