ยี่หร่า นิยมนำมาทำเครื่องเทศ แต่งกลิ่นอาหาร ต้นยี่หร่าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ขับลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด โทษของยี่หร่ามีอะไรบ้างยี่หร่า สมุนไพร สมุนไพรไทย

ยี่หร่า ( Tree basil ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของยี่หร่า คือ Ocimum gratissimum L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของยี่หร่า เช่น กะเพราญวณ จันทร์หอม เนียม จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น สะหลีดี หอมป้อม โหระพาช้าง กะเพราควาย หร่า เป็นต้น ยี่หร่าเป็นพืชตระกลูเดียวกับกระเพรา

ถิ่นกำเนิดของยี่หร่า นั้นอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อินเดีย และจีน การนำเอายี่หร่ามาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร ช่วยดับคาว จากนั้นสัตว์ ช่วยในการถนอมอาหาร ประเภทเนื้อสัตว์ ช่วยป้องกันไม่ให้อาหารเน่า

ชนิดของยี่หร่า

สำหรับยี่หร่า สามารถแบ่งชนิดของยี่หร่าได้ 2 ชนิด ประกอบด้วย

  • ยี่หร่าชนิดที่เรียกว่า เทียนขาว มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย และ ประเทศจีน เมล็ดแห้งนำมาใช้เป็นเครื่องเทศและยาหอม
  • ยี่หร่าไทย เป็นยี่หร่าที่นิยมกินใบ นำมารับประทานเป็นผักสด

ลักษณะของต้นยี่หร่า

ต้นยี่หร่า พืชล้มลุก เหมือนกระเพรา มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และ การปักชำ ชอบดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง ลักษณะของต้นยี่หร่า มีดังนี้

  • ลำต้นยี่หร่า ลำต้นอวบน้ำ อ่อน เป็นทรงพุ่ม ความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นแก่เป็นสีน้ำตาล ลำต้นอ่อนสีเขียว แตกกิ่งก้านสาขาขนาดเล็ก
  • ใบยี่หร่า ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามกิ่งก้าน ลักษณะของใบกลมรี ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก ใบสีเขียว ผิวใบสากมือ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสชาติเผ็ดร้อน
  • ดอกยี่หร่า ลักษณะของดอกออกเป็นช่อ ดอกเป็นตามปลายยอด
  • เมล็ดยี่หร่า เจริญเติบดตมาจากดอกยี่หร่า ลักษณะกลมรี ขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร เมล็ดอ่อนสีเขียว เมล็ดสุกสีน้ำตาลอ่อน นิยมนำมาตากแห้ง ทำเป็นเครื่องเทศที่ใช้ประกอบอาหาร ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้อาหาร

คุณค่าทางโภชนาการของยี่หร่า

สำหรับการบริโภคยี่หร่า ใช้ประโยชน์จากหลายส่วน ทั้งใบ เมล็ด ราก ซึ่งนักโภชนาการได้คึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบยี่หร่า ขนาด 100 กรัม พบว่า มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 26.8 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 14.5 กรัม วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 2 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 215 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 25.5 มิลลิกรัม

สรรพคุณของยี่หร่า

การใช้ประโยชน์จากยี่หร่า ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก การใบ ราก ลำต้น และ ผล ซึ่งสรรพคุณของส่วนต่างๆของยี่หร่า มีดังนี้

  • ใบยี่หร่า สรรพคุณป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยเจริญอาหาร แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องแฟ้อ ช่วยขับลม ลดอาการปวดประจำเดือน ช่วยขับลม ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว
  • ลำต้นยี่หร่า สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วบขับลม แก้ปวดท้อง
  • รากแห้งยี่หร่า สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้ปวดท้อง
  • ผลยี่หร่า สรรพคุณช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์

โทษของยี่หร่า

สำหรับคนที่มีอาการแพ้ยี่หร่า อาจมีอาการระคายเคืองร่างกาย เกิดผื่นคัน หากพบว่ามีอาการแพ้ให้หยุดรับประทานทันที

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ผักแพว ผักไผ่ ผักพื้นบ้าน กลิ่นหอม สมุนไพร ต้นแพวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของผักแพว สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ขับเหงื่อ บำรุงหัวใจ โทษของผักแพว เป็นอย่างไรผักแพว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ผักแพว ( Vietnamese coriander ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักแพว คือ Polygonum odoratum Lour. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของผักแพว เช่น พริกม้า พริกม่า หอมจันทร์ ผักไผ่ จันทน์โฉม จันทน์แดง ผักไผ่น้ำ ผักแพ้ว ผักแพรว ผักแจว พริกบ้า เป็นต้น นิยมรับประทานผักแพวเป็นผักสด

ผักแพวในประเทศไทย

สำหรับผักแพวในประเทศไทย นิยมรับประทานใบสด เนื่องจากเป็นพืชมีกลิ่นหอม ต้นแพว มีการปลูกและจำหน่ายทั่วไป ผักแพว เป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกเชิงพาณิชย์ เพื่อบริโภคในประเทศ และ ผักแพวสามารถปลูกได้ทั่วประเทศ

ลักษณะของผัวแพว

ต้นผักแพว เป็นพืชล้มลุก เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุุ่มน้ำ เช่น ตามห้วย หนอง คลอง บึง หรือ แหล่งน้ำต่างๆ สำหรับการขยายพันธุ์ผักแพว สามารถขยายพันธ์ได้โดย การเพาะเมล็ด และ การปักชำ ผักแพว สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

  • ลำต้นผักแพว ลักณะเป็นปล้อง ลำต้นสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรงเป็นข้อ รากของผักแพวออกตามข้อของลำต้น ลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดิน
  • ใบผักแพว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามลำต้น ลักษณะของใบคล้ายรูปหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ
  • ดอกผักแพว ลักษณะของดอกออกเป็นช่อ เล็กสีขาวนวล หรือ สีชมพูอมม่วง
  • ผลผักแพว เจริญเติบโตจากดอก ซึ่งผลผักแพวมีขนาดเล็กมาก

คุณค่าทางโภชนาการของผักแพว

สำหรับการบริโภคผักแพว นิยมบริโภคใบสดๆ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักแพวสดๆขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 54 กิโลแคลอรี และพบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 7.7 กรัม กากใยอาหาร 1.9 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 4.7 กรัม วิตามินเอ 8,112 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.59 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.7 มิลลิกรัม วิตามินซี 77 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 79 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.9 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 272 มิลลิกรัม

สรรพคุณของผักแพว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักแพว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบ ราก ดอก และ ลำต้น สรรพคุณของผักแพว มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากผักแพว สรรพคุณบำรุงระบบประสาท แก้ไอ รักษาหอบหืด รักษากระเพาะอาหารอักเสบ บำรุงระบบทางเดินอาหาร แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดข้อและกระดูก
  • ลำต้นผักแพว สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง รักษาริดสีดวงทวาร แก้เหน็บชา
  • ดอกผักแพว สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ บำรุงปอด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ บำรุงเลือด ต้านเชื้อรา
  • ใบผักแพว สรรพคุณช่วยชะลอวัย ป้องกันมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดี รักษาโรคหวัด ช่วยขับถ่าย ป้องกันท้องผูก ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการเจ็บท้อง ช่วยรักษาโรคพยาธิตัวจี๊ด เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยรักษาโรคตับแข็ง ลดอาการอักเสบ ช่วยแก้เส้นประสาทพิการ รักษาเหน็บชา เป็นยาบำรุงเลือดลมของสตรี

โทษของผักแพว

สำหรับการบริโภคผักแพว เนื่องจากคุณสมบัติของผักแพวมีรสเผ็ดร้อน การกินผักแพวมากเกินไป อาจทำให้เกิดการระคายเคืองภายในร่างกาย แสบร้อนภายในช่องปาก คอ และ กระเพาะอาหาร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย