กระเจี๊ยบ ดอกนำมารับประทานได้ ต้นกระเจี๊ยบเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคกระเพาะอาหาร โทษของกระเจี๊ยบมีอะไรบ้างกระเจี๊ยบ สมุนไพร พืชสวนครัว สรรพคุณของกระเจี๊ยบ

กระเจี๊ยบ ภาษาอังกฤษ เรียก Rosella พืชตระกูลชบา ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบ คือ Hibiscus sabdariffa Linn. ชื่อเรียกอื่นๆของกระเจี๊ยบ เช่น ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง ใบส้มม่า แกงแคง ส้มปู แบลมีฉี่ แต่เพะฉ่าเหมาะ ปร่างจำบู้ ส้มเก็ง ส้มพอเหมาะ ส้มพอดี กระเจี๊ยบเปรี้ยว ส้มพอ เป็นต้น

ต้นกระเจี๊ยบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ซูดาน มาเลเซีย และ ประเทศไทย สำหรับแหล่งปลูกกระเจี๊ยบในประเทศไทย คือปทุมธานี สมุทรสาคร นนทบุรี นครปฐม กาญจนบุรี พิจิตร  ราชบุรี สุพรรณบุรี ระยอง และ นครนายก กระเจี๊ยบ อุดมไปด้วยสารอาหารหลากหลาย เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และสารต้านอนุมูลอิสระ สรรพคุณทางยาของกระเจี๊ยบ เช่น รักษาอาการอักเสบ ต้านเชื้อโรค ลดความดันโลหิต รักษาโรคหัวใจและระบบประสาท

ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบ

ต้นกระเจี๊ยบ พืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตอากาศกึ่งร้อน สามารถขยายพันธุ์ ได้ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบ มีดังนี้

  • ลำต้นกระเจี๊ยบ ลำต้นและกิ่งมีสีม่วงแดง ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร เนื้อลำต้นอ่อน อวบน้ำ
  • ใบกระเจี๊ยบ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ลักษณะรูปฝ่ามือ มี 3 แฉก ใบเว้าลึก ขอบใบเป็นฟันเลื่อย ใบสีเขียว ใบสากมือ
  • ดอกกระเจี๊ยบ ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ดอกออกตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีชมพู กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยายติดกัน สีแดงเข้ม กลีบเลี้ยงหักง่าย เมื่อดอกบานเต็มที่ เส้นผ่านศูนย์กลางจะประมาณ 6 เซนติเมตร
  • ผลกระเจี๊ยบ ลักษณะเป็นผลรีปลายแหลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดง และจะปลายดอกจะแตกเป็นแฉกๆ ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล กลีบผลหนาสีแดงฉ่ำน้ำ

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบ

สำหรับการบริโภคกระเจี๊ยบ นิยมรับประทานผลกระเจี๊ยบ นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภขนาการของกระเจี๊ยบ มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลกระเจี๊ยบแดง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 49 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 11.31 กรัม ไขมัน 0.64 กรัม โปรตีน 0.96 กรัม วิตามินเอ 14 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.011 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.028 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.31 มิลลิกรัม วิตามินซี 12 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 215 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.48 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 51 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 37 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 208 มิลลิกรัม และ ธาตุโซเดียม 6 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกระเจี๊ยบ

กระเจี๊ยบ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ได้หลายส่วน ทั้ง ผล เมล็ด ดอก ใบ และ น้ำคั้นจากดอกกระเจี๊ยบ สรรพคุณของกระเจี๊ยบ มีดังนี้

  • ผลกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดคอเลสเตอรัล รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท แก้กระหายน้ำ ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด
  • เมล็ดกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดคอเลสเตอรัล บำรุงกำลัง รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ
  • น้ำกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดคอเลสเตอรัล บำรุงกำลัง ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยรักษาโรคเส้นเลือดแข็งเปราะ รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ช่วยลดไข้ ช่วยแก้ไอ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ดอกกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วบลดไขมันในเส้นเลือด รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท ช่วยแก้ไอ ช่วยขับเสมหะ
  • ใบกระเจี๊ยบ สรรพคุณบำรุงกำลัง รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท ช่วยขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด ช่วยขับปัสสาวะ ใช้ล้างแผล

โทษของกระเจี๊ยบ

สำหรับข้อควรระวังในการบริโภค และ ใช้ประโยชน์จากกระเจี๊ยบ ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย มีดังนี้

  • กระเจี๊ยบ สรรพคุณเป็นยาระบาย การกินกระเจี๊ยบมากเกินไปทำให้ท้องเสียได้ สำหรับผู้ป่วยที่พึ่งพักฟื้นจากอาการท้องเสีย ไม่ควรกินกระเจี๊ยบ
  • น้ำกระเจี๊ยบที่ปรุงรสด้วยน้ำตาล อาจมีความหวานมากเกินไป ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรกินน้ำกระเจี๊ยบที่หวาน
  • กระเจี๊ยบสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดการบริโภคกระเจี๊ยบ เพื่อลดความเสี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

เตย สมุนไพรในครัวเรือน ใบเตยนิยมนำมาทำอาหาร แต่งกลิ่นและสีอาหาร ต้นเตยเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภนาการ ประโยชน์และสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด บำรุงหัวใจ โทษของใบเตย

เตย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นเตย หรือ ต้นเตยหอม ( Pandan leaves ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของเตย คือ Pandanus amaryllifolius Roxb. ชื่อเรียกอื่นๆของเตย เช่น ใบส้มม่า ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง เป็นต้น ต้นเตย มีถิ่นกำเนิดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศอินเดีย ทวีปแอฟริกา และ ทวีปออสเตรเลีย ชอบขึ้นตามพื้นที่ชุ่ม ริมลำน้ำ ใบเตยกับคนไทย จัดว่าเป็นพืชสวครัวที่ขาดไม่ได้ อาหารไทยนิยมใช้ใบเตยมาทำอาหาร ให้สีสวยงาม และ กลิ่นหอม

ชนิดของเตย

สำหรับชนิดของต้นเตยสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ เตยหนาม และ เตยไม่มีหนาม โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เตยหนาม เรียกว่า ต้นลำเจียก หรือ เตยทะเลลำ ไม่นิยมนำใบมาทำอาหาร แต่นิยมใช้ใบนำมาทำเครื่องจักสาน
  • เตยไม่มีหนาม เรียกว่า เตย หรือ เตยหอม ไม่มีดอก ใบเตยมีกลิ่นหอม นิยมนำมาใช้ทำอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร และ แต่งสีอาหาร

ลักษณะของต้นเตย

ต้นเตย เป็นพืชล้มลุก สามารถขึ้นได้ดีในพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้นแต่ไม่มีน้ำท่วมขัง ต้นเตยสามารถขยายพันธ์ได้โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นเตย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นเตย ลักษณะของลำต้นเป็นทรงกลม เป็นข้อๆ สั้นๆ โผล่ขึ้นมาจากดิน โคนของลำต้นแตกรากแขนง เพื่อเป็นรากค้ำจุนลำต้นสามารถแตกหน่อได้
  • ใบเตย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบเรียวยาว ใบออกมาจากข้อของลำต้น ใบสีเขียว ผิวใบเรียบ มีกลิ่นหอม เนื้อใบหนา

เตยในประเทศไทย

ใบเตยหอม เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย อาหารไทยนิยมใช้ใบเตยมาประกอบอาหาร โดยการนำมาแต่งกลิ่นและสีของอาหาร โดยใบเตยจะให้สีเขียวแบบธรรมชาติ ทุกท้องถิ่นของประเทศไทยจะมาขายใบเตยตามตลาด ใบเตยมักนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในรูปแบบ ใบสดและใบแห้ง ใบเตยมีขายในรูปใบแช่แข็ง ส่งออกไปหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ เวียดนาม พม่า จีน ศรีลังกา ตลาดใบเตยหอม

คุณค่าทางโภชนาการของเตย

สำหรับการใช้เตยในการบริโภคนั้น ใช้ประโยชน์จากใบเตย โดยนักโภชนาการได้ศึกษาสารต่างๆในใบเตยและคุณค่าทางโภชนาการของใบโดย มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบเตย ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน มากถึง 35 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย น้ำ 85.3 กรัม โปรตีน 1.9 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม กากใยอาหาร 5.2 กรัม แคลเซียม 124 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 2987 ไมโครกรัม วิตามินเอ 498 RE ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 1.2 มิลลิกรัม และ ไนอาซีน 3 มิลลิกรัม

ใบเตยยังมีสารสำคัญ เป็นสารในกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ คือ anthocyanin , carotenoids , tocopherols , tocotrienols , quercetin , alkaloids , fatty acids , esters และ essential oils

สรรพคุณของเตย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเตย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น สามารถใช้ประโยชน์จาก ใบเตย น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย ลำต้นเตย และ รากเตย รายละเอียด ดังนี้

  • รากของเตย สรรพคุณบำรุงหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยละลายนิ่วในไต แก้หนองใน ช่วยผ่อนคลายล้ามเนื้อ
  • ใบเตย สรรพคุณช่วยลดไข้ บำรุงร่างกาย ช่วยให้ร่างกายสดชื่น ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องอืด ลดอาการอาหารไม่ย่อย แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนัง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยกระตุ้นให้หัวใจเต้นปกติ
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย สรรพคุณช่วยผ่อนคลาย แก้ปวดตามข้อและกระดูก แก้ปวดหัว แก้โรคลมชัก ลดอาการเจ็บคอ แก้อักเสบในลำคอ
  • ลำต้นของเตย สรรพคุณบำรุงหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยละลายนิ่วในไต แก้หนองใน ช่วยผ่อนคลายล้ามเนื้อ

โทษของเตย

สำหรับการบริโภคเตยให้ปลอดภัย มีข้อมูลทางการแพทย์น้อยมากว่าการบริโภคเตยมีอันตราย สำหรับการบริโภคเตยนั้น นิยมนำเตยมาต้ม หรือ นำมาสกัดเอาน้ำสีเขียวมาแต่งกลิ่นและสีของอาหาร โดยต้องใช้เตยในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะไม่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย โดยข้อควรระวังในการบริโภคเตย มีดังนี้

  • ใบเตย มีกลิ่นหอม และ มีน้ำมันหอมระเหย การบริโภคใบเตยแบบสดๆ การกินใบสดๆ นำมาเคี้ยวรับประทาน กลิ่นที่หอมของใบเตย อาจทำให้เกิดอาหารอาเจียนได้ โดยการใช้ประโยชน์จากใบเตย ต้องนำไปต้มเพื่อให้ได้กลิ่นหอม หรือ การนำเอาใบเตยมาบดให้ละเอียด และ คั้นเอาน้ำสีเขียวจากใบเตยมาใช้ประโยชน์ในการรับประทาน
  • ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ได้จากใบเตย เช่น ชาใบเตย น้ำใบเตย หรือ ชาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของใบเตย ควรศึกษาฉลากผลิตภัณฑ์และ ฉลากขององค์การอาหารและยาให้ดีก่อน เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค

เตย พืชพื้นบ้าน สมุนไพรในครัวเรือน ใบเตย นิยมนำมาทำอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร และ แต่งสีอาหาร ลักษณะของต้นเตย เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภนาการของใบเตย ประโยชน์และสรรพคุณของเตย เช่น ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงหัวใจ โทษของใบเตยมีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย