น้ำผึ้ง น้ำหวานของดอกไม้ที่ผึ้งนำมาเก็บสะสมเป็นแหล่งอาหารของผึ้ง สรรพคุณของน้ำผึ้ง ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสมอง บำรุงเส้นผม รักษาสิว โทษของน้ำผึ้ง

น้ำผึ้ง สมุนไพร สมุนไพรไทย

น้ำผึ้ง ( Honey ) คือ น้ำหวานชนิดหนึ่ง เป็นน้ำหวานจากธรรมชาติ ได้จากแหล่งน้ำหวานตามธรรมชาติ ซึ่งผึ้งนำมาเก็บสะสมไว้ที่รังผึ้ง น้ำผึ้งจะมีกลิ่น รสชาติ และ สี ที่ต่างกันออกไปตามแหล่งของน้ำหวานที่ผึ้งนำมาสะสมไว้  น้ำผึ้งนิยมนำมาใช้เป็นสารให้ความหวานนำมาปรุงรสชาติอาหารต่างๆ น้ำผึ้งมีประวัติการบริโภคของมนุษย์มายาวนาน และถูกใช้เป็นสารให้ความหวานในอาหารและเครื่องดื่มหลายชนิด น้ำผึ้งยังมีบทบาทในศาสนาและสัญลักษณ์นิยม รสชาติของน้ำผึ้งแตกต่างกันตามน้ำหวานที่ได้มา และมีน้ำผึ้งหลายชนิดและเกรดที่สามารถหาได้ ลักษณะของน้ำผึ้ง คือ เป็นของเหลว เหนียวข้น มีรสหวาน สีเหลือง สามารถติดไฟได้

การเลือกซื้อน้ำผึ้ง

น้ำผึ้งในปัจจุบัน มีการทำน้ำผึ้งปลอม และ มีการเจือปน จนไม่ใช่น้ำผึ้งบริสุทธ์ วิธีการเลือกซื้อน้ำผึ้ง มีรายละเอียด ดังนี้

  • ให้เขย่าขวด แล้วสังเกตุดูฟองอากาศ น้ำผึ้งแท้จะมีฟองอากาศใหญ่ ลอยตัวเร็ว ไม่เห็นการแยกชั้นของน้ำผึ้ง ส่วนน้ำผึ้งปลอมจะมีฟองอากาศมาก ลอยตัวช้าและมองเห็นการแยกตัวเป็นชั้นอย่างชัดเจน
  • หยดน้ำผึ้งลงบนกระดาษทิชชู น้ำผึ้งแท้จะซึมช้ามาก ส่วนน้ำผึ้งปลอมจะซึมผ่านเร็ว
  • เอาหัวไม้ขีดไฟมาจุ่มน้ำผึ้ง แล้วนำไปจุดไฟ น้ำผึ้งแท้ จะสามารถจุดไฟติด ส่วนน้ำผึ้งปลอมจะจุดไฟไม่ติด
  • การเอาน้ำผึ้งหยดลงในแก้วใส่น้ำเย็น น้ำผึ้งแท้จะรวมเป็นก้อนจมลงก้นแก้วและค่อยละลาย ส่วนน้ำผึ้งปลอม เมื่อหยดลงน้ำแล้วจะกระจายตัวทันที
  • น้ำผึ้งแท้จะไม่ตกผลึกแต่น้ำผึ้งปลอมจะตกผลึก

คุณค่าทางโภชนากการของน้ำผึ้ง 

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของน้ำผึ้ง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานถึง 304 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 82.4 กรัม น้ำตาล 82.12 กรัม กากใยอาหาร 0.2 กรัม โปรตีน 0.3 กรัม น้ำ 17.10 กรัม วิตามินบี1 0.038 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.121 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.068 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.024 มิลลิกรัม วิตามินบี9 2 ไมโครกรัม วิตามินซี 0.5 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.42 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 2 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 52 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 4 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.22 มิลลิกรัม

น้ำผึ้งมีส่วนผสมของน้ำตาลและสารประกอบต่างตามที่กล่าวมาข้างต้น สารอาหารต่างๆเหล่านี้ทำหน้าที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย และ ลดการเกิดโรคมะเร็ง

สรรพคุณของน้ำผึ้ง

สำหรับน้ำผึ้งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบริโภคให้ความหวานเป็นหลัก และ เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ความงามต่างๆ เช่น มาส์กหน้า สบู่ เจลล้างหน้า สครับ เป็นต้น แต่ประโยชน์ของน้ำผึ้งด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคมากมาย รายละเอียด ดังนี้

  • ช่วยให้ร่างกายสดชื่น บำรุงกำลัง ให้กระปรี้กระเปร่า เพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย ฟื้นฟูสภาพร่างกาย
  • ช่วยชะลอวัย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ เป็นยาอายุวัฒนะ ป้องกันการเกิดมะเร็ง
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ ให้ความชุ่มชื่น ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวลเป็นธรรมชาติ บำรุงรักษาผิวหน้า
  • ช่วยบำรุงสมอง ทำให้ความจำดี
  • ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด ช่วยเสริมสร้างเซลล์ผิวหนัง
  • ช่วยบำรุงเส้นผม ทำให้ผมนุ่มสวยเงางาม
  • ช่วยแก้คออักเสบ บำรุงเส้นเสียง แก้เสียงแหบ ลดอาการเจ็บคอ บรรเทาอาการไอ
  • ช่วยลดสิวอักเสบ รักษาสิวอุดตัน
  • ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย ทำให้อาหารบูดช้าลง ช่วยให้เก็บอาหารได้นานขึ้น
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค และ รักษาไข้หวัด
  • ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตในวัยเด็ก
  • ช่วยผ่อนคลายความเหนื่อยล้า แก้อ่อนเพลีย ช่วยฟื้นฟูอาการป่วย
  • ช่วยในควบคุมน้ำหนักและลดความอ้วน
  • ช่วยบำรุงเลือด รักษาโรคโลหิตจาง
  • ช่วยรักษาอาการเมาค้าง
  • ช่วยปรับสมดุลร่างกาย ปรับความสมดุลย์ของเลือด ปรับระดับความคัดเลือดให้คงที่
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับสบาย แก้ปัญหานอนไม่หลับ
  • ช่วยบำรุงหัวใจ ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ช่วยบำรุงตับ รักษาโรคเกี่ยวกับตับ
  • ช่วยรักษาตาอักเสบจากการติดเชื้อ เช่น กระจกตาอักเสบ เยื่อตาอักเสบ เป็นต้น
  • ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหาร รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • รักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ
  • บรรเทาอาการท้องเสียอย่างรุนแรง
  • แก้ท้องเดิน ช่วยบำรุงลำไส้อักเสบ
  • ช่วยรักษาช่องคลอดอักเสบ
  • ช่วยบรรเทาอาการโรคริดสีดวงทวาร
  • ช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบ
  • ช่วยป้องกันการเป็นตะคริว
  • ช่วยแก้อาการท้องผูก
  • ช่วยรักษาแผล ลดการอักเสบของบาดแผล ช่วยให้แผลหายเร็ว รักษากลากเกลื้อน ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและต่อต้านจุลินทรีย์

โทษของน้ำผึ้ง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของน้ำผึ้ง มีโทษสำหรับในกรณีที่มีอาการแพ้ หรือ กินมากเกินไปกว่าปริมาณที่เหมาะสม โทษของน้ำผึ้ง มีดังนี้

  • น้ำผึ้งมาความหวานมาก ไม่ควรรับประทานแบบสดๆ โดยไม่ผสมอะไรเลย อาจทำให้น้ำตาลในเส้นเลือดสูงเกินไป
  • สำหรับคนที่แพ้เกสรน้ำผึ้ง ไม่ควรรับประทานน้ำผึ้ง
  • เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ ไม่ควรรับประทานน้ำผึ้ง อาจทำให้อาหารไม่ย่อยได้
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรจำกัดการกินน้ำผึ้ง ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม

วิธีการเก็บรักษาน้ำผึ้ง

สำหรับการเก็บรักษาน้ำผึ้งให้ได้นานขึ้น ไม่จำเป็นต้องใส่ในตู้เย็น สามารถเก็บที่ปรกติอุณหภูมิห้อง แต่การเก็บน้ำผึ้งห้ามโดนแสงแดด เพราะ จะเกิดปฎิกิริยาทำให้น้ำผึ้งเสียคุณค่าทางอาหารไป น้ำผึ้งไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 2 ปี

แหล่งอ้างอิง

  • National Honey Board. “Carbohydrates and the Sweetness of Honey” เก็บถาวร 2011-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Last accessed 1 June 2012.
  • Oregon State University. “What is the relative sweetness of different sugars and sugar substitutes?” เก็บถาวร 2012-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 1 June 2012.
  • Lansing Prescott, John P. Harley, Donald A. Klein (1999). Microbiology. Boston: WCB/McGraw-Hill. ISBN 0-697-35439-3.
  • Shapiro, Roger L.; Hatheway,, Charles; Swerdflow,, David L. (1998). “Botulism in the United States: A Clinical and Epidemiologic Review”. Annals of Internal Medicine. 129 (3): 221–8. doi:10.1059/0003-4819-129-3-199808010-00011. PMID 9696731.
  • Questions Most Frequently Asked About Sugar (PDF). American Sugar Alliance.
  • USDA Nutrient Data Laboratory “Honey.” เก็บถาวร 2015-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Last accessed 24 August 2007.
  • Martos I, Ferreres F, Tomás-Barberán F (2000). “Identification of flavonoid markers for the botanical origin of Eucalyptus honey”. J Agric Food Chem. 48 (5): 1498–502. doi:10.1021/jf991166q. PMID 10820049.
  • Gheldof N, Wang X, Engeseth N (2002). “Identification and quantification of antioxidant components of honeys from various floral sources”. J Agric Food Chem. 50 (21): 5870–7. doi:10.1021/jf0256135. PMID 12358452.
  • Beesource Beekeeping » Honey Composition and Properties. Beesource.com. Retrieved on 6 February 2011.
  • Gov.au/reports เก็บถาวร 2016-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. None. Retrieved on 9 January 2012.
  • Rainer Krell, (1996). Value-Added Products from Beekeeping (Fao Agricultural Services Bulletin). Food & Agriculture Organization of the UN. ISBN 92-5-103819-8.

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

น้ำตาล ( Sugar ) สารให้ความหวานสกัดจากธรรมชาติ เช่น ต้นตาล ต้นอ้อย มะพร้าว ประโยชน์และสรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง และ ให้พลังงานต่อร่างกาย โทษของน้ำตาลมีอะไรบ้าง

น้ำตาล สมุนไพร สมุนไพรไทย

การบริโภคน้ำตาลของโลก น้ำตาลเป็นส่วนสำคัญของอาหารมนุษย์ และเป็นแหล่งให้พลังงานของโลก หลังจากธัญพืชและน้ำมันพืช น้ำตาลที่ได้จากอ้อยและหัวผักกาดให้กิโลแคลอรีต่อหัวเฉลี่ยวันละกว่ากลุ่มอาหารอื่น ๆ จากรายงานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือ FAO ค่าเฉลี่ยของการบริโภคน้ำตาลต่อคนคือ 24 กิโลกรัมต่อปีต่อคน เทียบเท่ากับพลังงานกว่า 260 แคลอรี่อาหารต่อวันในปี 1990 แม้จะมีการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์การบริโภคน้ำตาลที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 25.1 กิโลกรัมต่อคนต่อปีในปี 2015

ประเภทของน้ำตาล

น้ำตาล เป็นสารให้ความหวาน ซึ่งน้ำตาลได้จากการสกัดจากธรรมชาติ ซึ่งมีหลายประเภท โดยประเภทของน้ำตาล มีดังนี้

  • น้ำตาลทรายดิบ ( Raw Sugar ) จะมีสีน้ำตาลเข้ม มีสิ่งสกปรกเจือปนอยู่ ยังไม่สะอาด เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำตาลทรายขาว
  • น้ำตาลทรายดิบคุณภาพสูง ( High Pol Sugar ) คือ น้ำตาลที่สามารถนำไปบริโภคได้โดยตรง สีของน้ำตาลเป็นสีเหลืองแกมน้ำตาล ซึ่งผ่านกระบวนการทำให้น้ำตาลบริสุทธิ์บางส่วน น้ำตาลชนิดมีราคาถูกกว่าน้ำตาลทรายขาว
  • น้ำตาลทรายขาว ( White Sugar ) คือ น้ำตาลลักษณะเป็นเม็ดละเอียดเหมือนทราบสีขาว เป็นน้ำตาลที่ผ่านการสกัดเอาสิ่งเจือปนออก เป็นน้ำตาลที่นิยมใช้บริโภค
  • น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ( Refined Sugar ) คือ มีลักษณะเป็นเม็ดสีขาวใส เป็นน้ำตาลที่ผ่านกระบวนการผลิตทำให้น้ำตาลบริสุทธิ์ นิยมใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้น้ำตาล เช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มบำรุงกำลัง เป็นต้น
  • น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์พิเศษ ( Super Refined Sugar ) คือ น้ำตาลที่สกัดพิเศษมีความบริสุทธิ์สูง ใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้น้ำตาลที่มีความบริสุทธิ์มาก ๆ
  • น้ำตาลปี๊บ ( Paste Sugar ) คือ น้ำตาลที่เคี่ยวจนเข้มข้น แล้วนำไมาทำให้น้ำตาลแข็งตัวโดยใช้ลมเย็น
  • น้ำตาลทรายแดง ( Brown Sugar ) คือ น้ำตาลทรายที่ไม่ผ่านกระบวนการขัดสี
  • น้ำเชื่อม ( Liquid Sugar ) คือ น้ำตาลผสมน้ำ เป็นของเหลวที่มีความหวาน นิยมนำมาใช้เพื่อความสะดวกในกระบวนการผลิตต่าง ๆ เช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
  • น้ำตาลแร่ธรรมชาติ ( Mineral Sugar ) คือ น้ำตาลที่ผสมคาราเมล ซึ่งได้มาจากการเคี่ยวน้ำตาลกับเอโมลาส
  • กากน้ำตาล ( Molasses ) คือ น้ำตาลที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาล นิยมนำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ สุรา ผงชูรส น้ำส้มสายชู เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำตาล

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของน้ำตาลทรายขาว และ น้ำตาลทรายแดง โดยพบว่ามีสารอาหารต่างๆ มากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำตาลทรายขาว ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 387 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 99.98 กรัม น้ำตาล 99.80 กรัม น้ำ 0.02 กรัม วิตามินบี2 0.019 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 1 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.05 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 2 มิลลิกรัม โซเดียม 1 มิลลิกรัม และ สังกะสี 0.01 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำตาลทรายแดง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 380 กิโลแคลอรี่ พบว่าให้สารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 0.12 กรัม คาร์โบไฮเดรต 98.09 กรัม น้ำตาล 97.02 กรัม น้ำ 1.34 กรัม วิตามินบี3 0.110 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.041 มิลลิกรัม วิตามินบี9 1 ไมโครกรัม แคลเซียม 83 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.71 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 133 มิลลิกรัม โซเดียม 28 มิลลิกรัม และ สังกะสี 0.03 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของน้ำตาล

การใช้ประโยชน์จากน้ำตาล นั้น ส่วนมาก ใช้เป็นสารในการปรุงแต่งรสชาติของอาหาร ให้ความหวาน โดยประโยชน์ของน้ำตาล มีมากกว่าการนำมาปรุงรสชาติ แต่มักเป็นประโยชน์ด้านอาหาร สรุปประโยชน์ของน้ำตาล มีดังนี้

  • น้ำตาลให้ความหวาน ให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่น มีกำลัง
  • การทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย ต้องการพลังงานที่มาจากน้ำตาล กลูโคส ( glucose ) คือ แหล่งอาหารที่จำเป็นต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ
  • น้ำตาลช่วยในการถนอมอาหาร และ ใช้หมักอาหารได้

สรรพคุณของน้ำตาล

สำหรับสรรพคุณของน้ำตาล ในด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกายนั้น ประกอบด้วย

  • น้ำตาลมีรสหวาน สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง
  • ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี
  • น้ำตาลช่วยดับร้อน ถอนพิษ แก้อาการอักเสบ
  • ช่วยรักษาปากเป็นแผล
  • น้ำตาลช่วยแก้เจ็บคอ รักษาอาการไอมีเสมหะ
  • น้ำเชื่อมสามารถใช้เป็นยารักษาบาดแผลเน่าเปื่อยได้ ทำให้เซลล์ผิวหนังถูกกระตุ้น ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
  • น้ำตาลช่วยแก้ปวด
  • สำหรับสตรีมีอาการปวดประจำเดือน ปวดท้องน้อย ประจำเดือนมีลิ่มเลือด ดื่มน้ำผสมกับน้ำตาลทรายแดงอุ่นๆ จะทำให้สบายตัวมากขึ้น

โทษของน้ำตาล

สำหรับการกินน้ำตาล ต้องกินในปริมาณที่เหมาะสม หากกินน้ำตาลมากเกินไป จะทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย โดยโทษของ

  • ความหวานของน้ำตาล หากเกิดการสะสมในร่างกายมากเกินไป จะทำให้น้ำตาลสะสมในเลือด ส่งผลต่อโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ระบบการย่อยอาหารไม่ดี มีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ทำให้ฟันผุ ฯลฯ[1]
  • น้ำตาลเมื่อเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป ทำให้ตับอ่อนทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน เสื่อมสมรรถภาพ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • การกินน้ำตาลมากเกินไป จะเป็นตัวเร่งการขับแร่ธาตุโครเมียมออกจากร่างกาย ผ่านทางไต ซึ่งแร่โครเมียม เป็นแร่ธาตุเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลิน สารที่ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • น้ำตาลที่สะสมในร่างกาย จะถูกเก็บไว้ที่ที่ตับ หากมีปริมาณมากเกินไปตับจะส่งไปยังกระแสเลือด และ เป็นกรดไขมัน เพื่อนำไปสะสมในร่างกาย ส่วนที่เคลื่อนไหวน้อย เช่น สะโพก ก้น หน้าท้อง ขาอ่อน เป็นต้น
  • น้ำตาลทำให้เลือดมีสภาพเป็นกรดมากเกินไป ทำให้ร่างกายไม่สมดุล
  • การกินน้ำตาลมากเกินไป เร่งให้เกิดอาการปวดศีรษะเรื้อรัง โรคไมเกรน สิว ผื่น ตกกระ ตะคริวในช่วงมีรอบเดือน แผลพุพอง แผลริดสีดวงทวาร มะเร็งตับ เบาหวาน โรคหัวใจ วัณโรค
  • น้ำตาลที่สะสมในช่องปาก เป็นอาหารชั้นดีของแบคทีเรีย ทำให้เกิดฟันผุ
  • การกินน้ำตาลมากเกินไป ทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง ทำให้รู้สึกง่วงนอน

น้ำตาล ( Sugar ) คือ สารที่ให้ความหวาน ซึ่งได้จากการสกัดจากธรรมชาติ เช่น ต้นตาล ต้นอ้อย มะพร้าว ประโยชน์ของน้ำตาล สรรพคุณของน้ำตาล ช่วยบำรุงกำลัง และ ให้พลังงานต่อร่างกาย โทษของน้ำตาล มีอะไรบ้าง

แหล่งอ้างอิง

  • “Food Balance Sheets”. Food and Agriculture Organization of the United Nations. 2007.
  • “World agriculture: towards 2015/2030”. Food and Agriculture Organization of the United Nations. ISBN 92-5-104761-8.
  • Welsh, Jean A.; Andrea J Sharma; Lisa Grellinger; Miriam B Vos (2011). “Consumption of added sugars is decreasing in the United States”. American Journal of Clinical Nutrition. 94. American Society for Nutrition. 726–734. สืบค้นเมื่อ January 18, 2014.
  • “Sugar: World Markets and Trade” (PDF). United States Department of Agriculture: Foreign Agriculture Service. May 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-11-26. สืบค้นเมื่อ 2012-09-07.

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย