ตำลึง นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน สมุนไพรพื้นบ้าน ต้นตำลึงเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง สรรพคุณของตำลึง เช่น บำรุงสายตา บำรุงเลือด โทษของตำลึง มีอะไรบ้าง

ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นตำลึง ( Ivy gourd ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตำลึง คือ Coccinia grandis (L.) Voigt ชื่อเรียกอื่นๆของตำลึง เช่น สี่บาท , ผักแคบ , ผักตำนิน , แคเด๊าะ เป็นต้น ต้นตำลึง เป็นพืชตระกูลแตง สำหรับอาหารไทย นิยมนำตำลึงมาทำอาหาร หลายเมนู เช่น แกงจืดผักตำลึง แกงเผ็ด แกงคั่ว แกงเขียวหวาน เป็นต้น

ลักษณะของต้นตำลึง

ต้นตำลึง จัดเป็นพืชล้มลุก ไม้เลื้อย ต้นตำลึงจะทอดยาวเกาะตามเสา รั้วบ้าน เกาะตามหลัก ต้นไม้ เป็นต้น สามารถขยายพันธ์โดยใช้เมล็ดพันธ์ หรือ การปักชำ ลัก ษณะของต้นตำลึง มีดังนี้

  • ลำต้นของตำลึง เป็นลักษณะเถาไม้เลื้อย ทอดยาวเกาะตามหลักต่างๆ เปลือกของลำต้นอ่อน มีสีเขียว เปลือกแก่จะมีสีน้ำตาลอ่อน
  • ใบของตำลึง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบคลายรูปหัวใจ ใบออกมาตามข้อของลำต้น ใบมีสีเขียวใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบแก่ขนาดใหญ่สีเขียวเข้ม
  • ดอกของตำลึง ลักษณะเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ คล้ายรูประฆัง ดอกมีสีขาว
  • ผลของตำลึง คลายแตงกวา มีขนาดเล็ก ผลเป็นทรงรียาว สีเขียวอ่อน ผลแก่มีสีแดง ข้างผลมีเมล็ด สามารถนำไปขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง

สำหรับการรับประทานตำลึง นิยมนำใบอ่อนและยอดอ่อนของตำลึง นำมาทำอาหารรับประทาน นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของตำลึง มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง ขนาด 100 กรัม  ให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน กากใยอาหาร 1 กรัม เบตาแคโรทีน วิตามินเอ 18,608 IU วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 34 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 126 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 30 กรัม และ ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม สารเคมีสำคัญในตำลึงมีสารเอนไซม์อะไมเลสและเบต้าแคโรทีน ช่วยในการย่อยแป้ง

สรรพคุณของตำลึง

สำหรับประโยชน์ของตำลึงด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบตำลึง ลำต้นตำลึง และ รากตำลึง รายละเอียด ดังนี้

  • ใบตำลึง สรรพคุณช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเสื่อมความเซลล์ในร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง บำรุงหัวใจ บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงน้ำนมแม่ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยดับพิษร้อน ลดความร้อนในร่างกาย  แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับพิษในลำไส้ แก้ท้องผูก ช่วยแก้ผดผื่นคัน รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาฝี รักษาแผลอักเสบ ป้องกันตะคริว
  • รากตำลึง สรรพคุณช่วยลดไข้  แก้อาเจียน บำรุงสายตา เป็นยาระบาย แก้อักเสบ รักษาแผลอักเสบ
  • ลำต้นตำลึง สรรพคุณแก้อาการวิงเวียนศีรษะ แก้อาการตาแดง ลดอาการตาช้ำ
  • ดอกตำลึง สรรพคุณแก้ผดผื่นคัน
  • เมล็ดตำลึง สรรพคุณแก้หิด

โทษของตำลึง

  • ตำลึงมีสรรพคุณเป็นยาเย็น หากนำน้ำตำลึงมาทาที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็น แปลว่า ไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที เพราะ จะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น
  • ตำลึง มีทั้ง ตำลึงตัวผู้ และ ตำลึงตัวเมีย ตำลึงตัวเมีย กินได้ไม่มีปัญหา ตำลึงตัวผู้ สำหรับคนที่ธาตุอ่อน อาจทำให้ท้องเสียได้

 

ตำลึง ผักพืนบ้าน นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน สมุนไพรพื้นบ้าน ลักษณะของต้นตำลึงเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง สรรพคุณของตำลึง เช่น บำรุงสายตา บำรุงเลือด โทษของตำลึง มีอะไรบ้าง

ต้นชะอม นิยมรับประทานยอดอ่อน ต้นชะอมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยขับลม แก้ปวดท้อง บำรุงสายตาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ โทษของชะอมมีอะไรบ้างชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ชะอม ( Climbing wattle ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะอม คือ Acacia pennata (L.) Willd. ชื่อเรียกอื่นๆของชะอม เช่น ผักหละ , อม , ผักขา , พูซูเด๊าะ , โพซุยโดะ เป็นต้น ต้นชะอม จัดเป็นพืชตระกูลถั่ว พืชพื้นเมือง นิยมรับประทานยอดอ่อนชะอม เป็นอาหาร โดยเฉพาะอาหารไทย เมนูชะอม เช่น ชะอมชุบไข่ทอด แกงหน่อไม้ แกงแค เป็นต้น

สายพันธุ์ของชะอม

สำหรับชะอมที่นิยมปลูก เพื่อรับประทาน มี 3 สายพันธุ์ คือ ชะอมป่า ชะอมเด็ดยอด และ ชะอมไม่มีหนาม โดยชะอมที่วางขายตามตลาดทั่วไป มี 3 สายพันธุ์ คือ ชะอมยอดใหญ่ ชะอมอยอดขนาดกลาง และ ชะอมยอดเล็ก

ลักษณะของชะอม

ต้นชะอม เป็นพืชล้มลุก ชะอมมีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ สามารถขยายพันธ์โดย การปักชำ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือ การโน้มกิ่งลงดิน ลักษณะของต้นชะอม มีดังนี้

  • ลำต้นของชะอม ลำต้นกลม ตั้งตรง แตกกิ่งก้าน ลำต้นมีหนามแหลมคม เปลือกลำต้นสีน้ำตางอ่อนๆ
  • ใบของชะอม ลักษณะของใบชะอม เป็นใบประกอบ ใบมีสีเขียว ขนาดเล็ก ใบชะอมคล้ายใบกระถิน ใบชะอมมีกลิ่นฉุน ปลายใบแหลม ใบเรียบ
  • ดอกชะอม ออกตามซอกใบ มีขนาดเล็ก สีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม

ต้นชะอมนิยมนำยอดอ่อน มารับประทานเป็นผัดสด โดยนำมาลวกก่อน เพื่อลดกลิ่นฉุนของใบชะอม โดยคุณค่าทางโภชนาการของชะอม นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของยอดชะอม มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของยอดชะอม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 57 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย การใยอาหาร 5.7 กรัม ธาตุแคลเซียม 58 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10066 IU วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.5 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 58 มิลลิกรัม

สรรพคุณของชะอม

การใช้ประโยชน์จากชะอม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากรากชะอมและใบชะอม โดยรายละเอียดของสรรพคุณของชะอม มีดังนี้

  • ใบยอดชะอม สรรพคุณช่วยขับลม มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยลดความร้อนในร่างกาย บำรุงเส้นผม เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยขับถ่าย แก้โรคท้องผูก
  • รากชะอม สรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลดการปวดท้อง ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงเส้นเอ็น

โทษของชะอม

สำหรับการรับประทานชะอม หากรับประทานชะอมในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดโทษได้ โดยข้อควรระวังในการกินชะอม มีดังนี้

  • สำหรับสตรีมีครรภ์และสตรีหลังคลอด ไม่ควรรับประทานชะอม เพราะ จะทำให้น้ำนมแห้ง
  • การกินชะอมในหน้าฝน ชะอมจะมีรสเปรี้ยว และ กลิ่นฉุนแรง อาจทำให้ปวดท้องได้
  • ชะอมมีกรดยูริก ทำให้เกิดข้อกระดูกอักเสบ ผู้ป่วยโรคเกาต์ สามารถรับประทานได้ แต่ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก

ต้นชะอม พืชพื้นบ้าน นิยมรับประทานยอดอ่อนชะอม ลักษณะของชะอมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของยอดชะอม สรรพคุณของยอดชะอม เช่น ช่วยขับลม แก้ปวดท้อง บำรุงสายตาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง โทษของชะอม มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย