หญ้าหวาน แทนน้ำตาล ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 200-300 เท่า สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด ให้พลังงานต่ำเหมาะสำหรับผู้ลดน้ำหนักขาดหวานไม่ได้หญ้าหวาน สมุนไพร ลดความอ้วน สรรพคุณของหญ้าหวาน

ต้นหญ้าหวาน ( Stevia ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของหญ้าหวาน คือ Stevia rebaudiana (Bertoni) Bertoni มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ บริเวณประเทศบราซิล และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปารากวัย และมีการปลูกทั่วโลกบริเวณเขตอบอุ่น ในประเทศไทยมีการปลูกมากในภาคเหนือตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมา หญ้าหวานชอบอากาศที่ค่อนข้างเย็น แต่ไม่หนาวจัด ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส และพืชชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดี ในที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 600-700 เมตร โดยในใบหญ้าหวาน มีความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 10-15 เท่า เรียกว่า สตีวิโอไซด์ ( Stevioside ) แต่ไม่ได้ให้พลังงาน ทำให้เหมาะสำหรับผู้ลดน้ำหนัก ที่ขาดการกินหวานไม่ได้

ประโยชน์ของหญ้าหวาน มีการนำหญ้าหวานมาใช้ประโยชน์มาตั้งแต่โบราณ โดยในปัจจุบันมีการนำมาใช้ทดแทนน้ำตาลในอุตสหกรรมต่างๆ ได้แก่ ใช้แทนน้ำตาลในการประกอบอาหาร เป็นส่วนประกอบสำหรับอาหารคนที่ต้องการลดน้ำหนัก นำมาสกัดเป็นสารให้ความหวาน เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม น้ำอัดลม เครื่องดื่มชาเขียว ขนมปังเบเกอรี แยม เยลลี ไอศกรีม ลูกอมหวาน หมากฝรั่ง ซอสปรุงรสต่างๆ ใช้แทนน้ำตาลในกระบวนการผลิตยาสีฟันที่มีรสหวานสำหรับเด็ก

หญ้าหวานในประเทศไทย

หญ้าหวาน มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย ครั้งแรกปี พ.ศ. 2518 ปลูกที่ภาคเหนือของประเทศ  สารสักัดจากหญ้าหวาน ยังเป็นการนำเข้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้ความหวาน หญ้าหวาน ราคาสูง ประมาณ 4,000 – 5,000 บาทต่อกิโลกรัม

ปัจจุบันประเทศไทย สามารถสกัดสารจากหญ้าหวานได้แล้ว มีหลายบริษัท ที่สามารถสกัดสารจากหญ้าหวานได้ อนาคตคาดว่าจะมีการตั้งโรงงานรับซื้อหญ้าหวานในทุกภาค แหล่งปลูกหญ้าหวานในประเทศไทย เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และ ลำพูน

ลักษณะของต้นหญ้าหวาน

หญ้าหวาน ชอบอากาศที่ค่อนข้างเย็น แต่ไม่หนาวจัด ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส และพืชชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดี ในที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 600-700 เมตร เป็น สมุนไพรไม้พุ่ม มีอายุประมาณ 3 ปี เป็นพืชล้มลุก ขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ดและชำกิ่ง ลักษณะของต้นหญ้าหวาน มีดังนี้

  • ลำต้นหญ้าหวาน มีความสูงไม่มาก ประมาณ 30-90 เซนติเมตร มีลำต้นสีเขียวอ่อน ตรงและค่อนข้างแข็ง แตกยอดชี้ขึ้น
  • ใบหญ้าหวาน ลักษณะใบ เป็นประเภทใบเดี่ยว ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกแต่หัวกลับ ขอบใบมีหยักคล้ายกับฟันเลื่อย โดยมีรสหวานมาก ใช้ทดแทนน้ำตาลได้ มีความหวานมากกว่าน้ำตาล
  • ดอกหญ้าหวาน ลักษณะดอก เป็นช่อที่ออกปลายกิ่ง สีของดอกมีสีขาว ขนาดดอกเล็ก กลีบเป็นรูปคล้ายไข่ มีสีขาวเล็กมาก มีเกสรเพศผู้ เป็นสีขาวงอไปมา ยื่นออกมาจากกลีบดอกเล็กน้อย

สารสกัดจากหญ้าหวาน คือ สตีวิโอไซด์ ( stevioside ) ลักษณะเป็นผลึก ละลายน้ำได้ดี สีขาว ไม่มีกลิ่น รสหวาน ละลายได้ดีในสารละลายกรด สรรพคุณของสตีวิโอไซด์ ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล ถึง 200 เท่า นอกจากนี้ สามารถพบสารอ่ื่นๆในหญ้าหวาน เช่น สารประกอบพวก ไดเทอร์พีนกลัยโคไซด์ ( diterpene glycoside ) ประกอบด้วย Stevioside ,  Rebaudioside A ถึง F  , Steviol , Steviolbioside และ Dulcoside A

สรรพคุณของหญ้าหวาน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหญ้าหวานด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มีการนำหญ้าหวานมีใช้เป็นสมุนไพร สรรพคุณของหญ้าหวาน  มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มกำลังวังชา ทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี่กระเปร่า
  • บำรุงช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองตีบ สมองแล่นทำงานได้ดีขึ้น
  • ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี นิยมใช้ในผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยสามารถบริโภคหวานได้แต่ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในร่างกาย
  • ช่วยลดไขมันในเลือด ให้มีระดับปกติ โดยลดระดับไขมันเลว ( LDL ) และช่วยเพิ่มไขมันดี ( HDL )  ทำให้ลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจ และโรคอัมพฤกอัมพาต
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน เป็นต้น
  • ช่วยบำรุงระบบการขับสารพิษออกจากร่างกายที่ตับ
  • ช่วยสมานแผลทั้งภายในและภายนอก ทั้งแผลสดและแผลแห้ง ให้หายได้เร็วขึ้น

โทษของหญ้าหวาน

การกินสารสกัดจากหญ้าหวาน อย่างปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ ต้องกินอย่างถูกต้อง และใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ข้อควรระวังในการกินสารกสัดจากหญ้าหวาน มีดังนี้

  • ผู้ป่วยโรคความดันต่ำ ไม่ควรกินสารสกัดจากหญ้าหวาน เนื่องจากหญ้าหวาน สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง
  • สารสกัดจากหญ้าหวาน สรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยเบหวาน ต้องหมั่นวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อไม่ให้ระดัยน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป

หญ้าหวาน พืชให้ความหวานแทนน้ำตาล ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 200-300 เท่า สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด ให้พลังงานต่ำเหมาะสำหรับผู้ลดน้ำหนักที่ขาดการกินหวานไม่ได้

ผักชีฝรั่ง นิยมกินใบเป็นอาหารให้กลิ่นหอมใช้ดับคาวอาหาร มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยขับสารพิษตกค้างออกจากร่างกาย เป็นต้นผักชีฝรั่ง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักชี

ผักชีฝรั่ง ( Long coriander ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชีฝรั่ง คือ Eryngium foetidum L  สำหรับชื่อเรียกท้องถิ่นของผักชีฝรั่ง เช่น หอมป้อมกูลวา ผักชีดอย  ผักจีฝรั่ง หอมป้อมกุลา ผักจีดอย ห้อมป้อมเป้อ มะและเด๊าะ ผักชีใบเลื่อย หอมน้อยฮ้อ หอมป้อม หอมเป ผักหอมเทศ ผักหอมเป หอมป้อมเปอะ เป็นต้น ต้นผักชีฝรั่ง มีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกาใต้ ปัจจุบันมีการปลูกเพื่อเป็นอาหารและยาอยู่ทั่วโลก โดยมีคุณค่าทางอาหารประกอบด้วย สารสำคัญต้านอนุมูลอิสระ เบตาแคโรทีน วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี และแร่ธาตุ ได้แก่ ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก และอื่นๆอีกมากมาย

ลักษณะของต้นผักชีฝรั่ง 

ผักชีฝรั่ง เป็นสมุนไพรขนาดเล็ก เป็นพืชอายุสั้น หรือ พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวไม่เหมือนผักชนิดอื่น นิยมนำใบมารับประทานเป็นอาหาร หรือ มาทำเป็นยาสมุนไพร ลักษณะของผักชีฝรั่ง มีดังนี้

  • ลำต้นผักชีฝรั่ง ลำต้นเตี้ย ติดดิน
  • ใบของผักชีฝรั่ง ออกใบจากลำต้น รอบๆโคนต้น ไม่มีก้านใบ ใบยาว ทรงหอก ขอบใบเป็นแบบฟันเลื่อย
  • ดอกผักชีฝรั่ง จะออกเป็นก้าน สูงตรงออกมาจากโคนต้น แตกกิ่งช่อดอกตรงปลาย ดอกเป็นกระจุกกลม และ เป็นส่วนที่จะขยายพันธ์ต่อไป

สรรพคุณของผักชีฝรั่ง

เนื่องจากผักชีฝรั่งเป็นผักที่เรารับประทานเป็นประจำ ทั้งรับประทานสด และนำมาประกอบอาหาร แต่หลายท่านยังไม่ทราบว่า ผักชีฝรั่งยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพร บำรุงร่างกายด้านต่างๆ ได้แก่

  • บำรุงร่างกาย เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอเสื่อมของเซลล์ร่างกาย มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง
  • บำรุงกระดูกและฟ้น เนื่องจากมีแคลเซียมสูง
  • บำรุงเลือด ช่วยการไหลเวียนโลหิต ลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
  • บำรุงผิวพรรณ และ บำรุงเส้นผม เนื่องจากมีวิตามินสูง
  • บรรเทาอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดศีรษะและปวดตามร่างกาย
  • ช่วยขับของเสียออกจากร่างกายทางรูขุมขน ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยลดไข้ ขับเสมหะ ลดน้ำมูก
  • เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยให้ขัถ่ายได้ดี บำรุงระบบทางเดินอาหาร
  • ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • รักษาโรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคันตามผิวหนัง ทำให้อาการแพ้ที่ผิวหนังให้ลดลง
  • มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรคต่างๆ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา
  • บรรเทาอาการแมลงกัดต่อย หรือ ถูกงูกัด ใช้แก้พิษได้ดี
  • ใช้รักษาแผลเรื้อรัง แผลติดเชื้อ ทำให้เลือกหยุดไหล แก้อาการฟกช้ำ
  • สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยกระตุ้นน้ำนม
  • ระงับกลิ่นในช่องปาก ลดปริมาณแบคทีเรียในช่องปาก ลมหายใจสดชื่น

ข้อควรระวังการรับประทานผักชีฝรั่ง 

ผักชีฝรั่งจะมีสรรพคุณมากมาย แต่การรับประทานจะต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะ ในใบของผักชีใรั่งจะมีการสะสมของสารที่เรียกว่า กรดออกซาลิก ( Oxalic acid ) ซึ่งเป็นสารที่ไปกระตุ้นการสะสมตะกอนแคลเซียมในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตหรือในกระเพาะปัสสาวะ จะทำให้เกิดอาการปัสสาวะขัด ปัสสาวะแสบ หรือ ปวดท้องน้อย การรับประทานควรสลับกับผักชนิดอื่น ไม่ควรรับประทานทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานานจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้ดี

ผักชีฝรั่ง พืชสวนครัว นิยมกินใบเป็นอาหาร ให้กลิ่นหอมใช้ดับคาวอาหาร มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยขับสารพิษตกค้างออกจากร่างกาย เป็นต้น

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย