ไมเกรน อาการปวดหัวข้างเดียว โรคยอดฮิตในกลุ่มคนทำงาน ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน สามารถรักษาได้ด้วยการรัยประทานยา การป้องกันโรคไมเกรนทำอย่างไรโรคไมเกรน ปวดหัวข้างเดียว โรคสมอง โรคไม่ติดต่อ

โรคไมเกรน ( Migraines ) คือ โรคที่แสดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกปวดหัวตุบๆ และมักจะปวดหัวแค่ข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งในขณะที่ปวดหัวอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โรคไมเกรนส่วนมากพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ลักษณะของโรคไมเกรนสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ปวดหัวแบบเห็นแสงวูบวาบ กับ ปวดหัวแบบไม่เห็นแสงวูบวาบ

สาเหตุของโรคไมเกรน

ปัจจุบัยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคไมเกรน ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนของสมองโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทไตรเจอมินอล trigeminal nerve โดยปัจจัยที่กระตุ้นให้ระบบประสาทไตรเจอมินอลเปลี่ยนแปลง มีดังนี้

  1. การถูกกระตุ้นเกี่ยวกับอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้า ความเครียด และ ความวิตกกังวลมากจนเกินไป มีอาการตกใจ หรือ ช็อก เมื่อเจอสถานการณ์ที่รู้สึกโอเค
  2. การถูกกระตุ้นทางกายภาพ เช่น การนอนหลับไม่เพียงพอ การทำงานไม่เป็นเวลา เมื่อมีอาการเหนื่อยล้า หรือ อ่อนเพลีย ภาวะที่มีเลือดในน้ำตาลน้อย ออกกำลังที่ใช้พลังมากจนเกินไป
  3. การถูกกระตุ้นทางสิ่งแวดล้อม เช่น การรับแสงสว่างจอจอโทรศัพท์หรือจอโทรทัศน์ มากเกินไป การอยู่ในที่ที่มีแสงแดดที่จ้าเกินไป การได้รับเสียงดังรบกวน สภาพอากาศร้อนอบอ้าว เป็นต้น

ระยะของการเกิดโรคไมเกรน

สำหรับการแสดงอาการของโรคไมเกรน มี 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะก่อนมีอาการ ระยะอาการนำ ระยะปวดศรีษะ และ ระยะหลังมีอาการ รายละเดียดของระยะการเกิดโรค มีดังนี้

  1. ระยะก่อนมีอาการ ( Prodrome ) มีการส่งสัญญาณเตือนการเป็นไมเกรน เช่น กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย หาวบ่อยกว่าปกติ รู้สึกอยากกินอาหารอยู่ตลอดเวลา มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านของอารมณ์ เข้าสู้ภาวะซึมเศร้า รู้สึกปวดไหล่ มีอาการตึงที่คอ
  2. ระยะอาการนำ ( Aura  ) ระยะนี้จะเกิดอาการเตือนหลายรูปแบบ เช่น การเห็นแสงไปวูบวาบ สายตาพล่ามัว มองเห็นภาพเป็นเส้นคลื่น หรืออาจจะมี การพูดลำบากขึ้น พูดติดๆขัดๆ
  3. ระยะปวดศีรษะ ( Headache ) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวแบบตุบๆ มองเห็นภาพไม่ชัด สายตาพล่ามัว มีอาการอาเจียน เป็นระยะๆ ปวดศีรษะข้างเดียว หน้ามืด หรือ คล้ายๆว่าจะเป็นลม
  4. ระยะหลังมีอาการ ( Postdrome ) ระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการหงุดหงิดง่าย มีความรู้สึกที่ไวต่อเสียงและแสง เวียนหัวบ่อย อ่อนแรง มีอาการมึนๆงงๆ

อาการของโรคไมเกรน

สำหรับการแสดงอาการของโรคไมเกรนมี 4 ระยะตามที่กล่าวมาในข้างต้น ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการทั้งหมดของโรคไมเกรนได้ดังนี้

  • มีอาการปวดหัวตุบๆ เป็นระยะๆและบางครั้งมีอาการปวดแบบตื้อๆ
  • อาการปวดหัวจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น และ อาการจะค่อยๆลดลงเอง
  • อาจมีอาการคลื้นไส้อาเจียนรวมกับอาการปวดหัว
  • การปวดหัวในแต่ละครั้งจะไม่เกิน 1 ชั่วโมง ซึ่งในบางรายจะแสดงอาการอื่นเตือนก่อน เช่น สายตาพล่ามัว มองเห็นแสงแวบวับ เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคไมเกรน

สำหรับโรคไมเกรนมีแนวทางการวินิจฉัยโรค โดยแพทย์จะใช้วิธีการตรวจเลือด การตรวจบริเวณน้ำไขสันหลัง การใช้เครื่อง CT scan (Computerized Tomography) ที่ให้ความละเอียดมากขึ้นกว่า การเอกซเรย์แบบธรรมดา และ การใช้เครื่อง MRI (Magnetic Resonance Imaging)เป็นเครื่องตรวจร่างกายโดย การสร้างภาพเหมือนจริงของร่างกาย และ อวัยวะต่างๆ โดยจะอาศัยหลักการคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

การรักษาโรคไมเกรน

สำหรับแนวทางการรักษาโรคไมเกรน ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ ซึ่งแพทย์จะรักษาตามความเหมาะสมของปัจจัยต่างๆ ซึ่งการรักษาใช้การให้รับประทานยา เพื่อบรรเทาอาการปวดหัว ซึ่งยาสำหรับรับรักษาอาการปวดหัวนั้น ยาบางชนิดอาจจะไม่เหมาะสมกับสตรีมีครรภ์และสตรีที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร รวมถึงเด็กด้วย

การป้องกันโรคไมเกรน

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคไมเกรนนั้น เนื่องจากโรคนี้ไม่ทรายสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน การทำให้ร่างกายและจิตใจมีความแข็งแรงและผ่อนคลายจากปัจจัยต่างๆ จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการเกิดโรค แนวทางการป้องกันโรคไมเกรน มีดังนี้

  • หมั่นทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายอารมณ์และความรู้สึก
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะไมเกรน
  • นอนพักให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • หากมีอาการปวดหัวให้ประคบเย็นบริเวณศีรษะเพื่ออาการปวดหัว
  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในปริมาณที่เหมาะสม

มังคุด ราชินีแห่งผลไม้ นิยมรับประทานผลเป็นอาหาร ประโยชน์ของมังคดมีหลากหลาย เปลือกมังคุดมีสารแซนโทน (Xanthone) สรรพคุณบำรุงเลือด บำรุงสายตา มีฤทธิ์ต้านมะเร็งมังคุด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของมังคุด

มังคุด ภาษาอังกฤษ เรียก mangoteen ชื่อวิทยาศาสตร์ของมังคุด คือ Garcinia mangostana L. มังคุด เป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย มีฉายาว่า ราชินีแห่งผลไม้ ( Queen of fruit ) ซึ่งอาจเป็นเพราะลักษณะภายนอกของผลที่มีกลีบบนหัวคล้าย ๆ กับมงกุฎของพระราชินี

ประโยชน์ของมังคุด นอกจากการรับประทานเป็นผลไม้ คู่กับการรับประทานทุเรียนแล้ว ยังสามารถนำมาแปรรูปใช้ประโยชน์ต่างๆได้อีกมากมาย มีรายละเอียดดังนี้

  • ทำเป็นน้ำผลไม้ เช่น น้ำมังคุดสด และ น้ำเปลือกมังคุด
  • นำมาทำเป็นยาอายุวัฒนะ เพราะ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยในการชะลอวัย และ การเกิดริ้วรอย
  • นำมาทำครีมบำรุงผิวพรรณ ให้เปล่งปลั่งสดใส แข็งแรง ป้องกันการเกิดสิวได้ดี
  • นำมาทำยาบำรุง เสริมสร้างระบบภูมิต้านทาน ป้องกันโรค ให้แข็งแรงขึ้น
  • ดับกลิ่นปาก ลดอาการปากเหม็น ใช้ลดกลิ่นปากได้ดี
  • มีสารช่วยป้องกันเชื้อรา สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักได้
  • เป็นส่วนประกอบของอาหาร สามารถทำได้ ทั้งอาหารคาว และ อาหารหวาน เช่น แกง ยำ มังคุดลอยแก้ว ซอสมังคุด
  • สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานได้ต่าง ๆ อย่าง มังคุดกวน แยมมังคุด มังคุดแช่อิ่ม ทอฟฟี่มังคุด
  • มีสารจีเอ็ม-1 ซึ่งใช้ในเครื่องสำอาง สำหรับผู้มีปัญหาสภาพผิวเรื้อรังจากสิว และ อาการแพ้สารเคมีต่าง
  • นำมาแปรรูปเป็น สบู่เปลือกมังคุด ซึ่งช่วยดับกลิ่นเต่า กลิ่นอับ รักษาสิวฝ้า บรรเทาอาการของ โรคผิวหนัง

มังคุดในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย มังคุดจัดเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการส่งออกมังคุดมากเป็นอันดับต้นๆของโลก โดยประเทศที่นิยมมังคุดไทย เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเนเธอแลนด์ มูลค่าการส่งออกของมังคุดในแต่ละปีประมาณ 1,500 ล้านบาท ซึ่งการส่งออกมีทั้งในรูปของผลมังคุดสดและมังคุดแปรรูป แหล่งปลูกมังคดที่สำคัญของประเทศไทย คือ ภาคใต้ เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกมังคุดให้ได้รสชาติที่อร่อย มังคุดเป็นผลไม้ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง และยังมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง

ลักษณะของต้นมังคุด

ต้นมังคุดเป็นไม้ยืนต้น ชอบสภาพดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูงและระบายน้ำ สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การเสียบยอด การตอนกิน เป็นต้น ลักษณะของต้นมังคุด มีดังนี้

  •  ลำต้นมังคุด ความสูงประมาณ 10-12 เมตร ลำต้นมียางสีเหลือง แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบมังคุด ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6-11 ซม. ยาว 15-25 ซม. เนื้อใบหนาและค่อนข้างเหนียวคล้ายหนัง หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า
  • ดอกมังคุด ลักษณะเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลืองติดอยู่จนเป็นผล กลีบดอกสีแดง ฉ่ำน้ำ
  • ผลมังคุด ผลสดค่อนข้างกลม เปลือกนอกค่อนข้างแข็ง แก่เต็มที่มีสีม่วงแดง มียางสีเหลือง เนื้อในมีสีขาวฉ่ำน้ำ มีเมล็ดอยู่ในเนื้อผล เมล็ดไม่สามารถใช้รับประทานได้

การปลูกมังคุด

ต้นมังคุด นิยมซื้อต้นพันธุ์จากเรือนเพาะชำทั่วไป โดยเลือกต้นที่แข็งแรง สภาพพื้นที่ ควรเป็นดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี หน้าดินลึกกว่า 50 เซนติเมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 1 เมตร มี ความเป็นกรดด่างของดิน ประมาณ 5.5-6.5 พื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล  ไม่เกิน 650 เมตร ความลาดเอียงประมาณ 1-3% สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสม คือ ระหว่าง 25-35 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนควรมีมากกว่า 2,000 มิลลิเมตร/ปี การ การกระจายตัวของฝนค่อนข้างดี มีช่วงแล้งต่อเนื่องน้อยกว่า 3 เดือน/ปี และความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% แหล่งน้ำ ควรมีปริมาณเพียงพอตลอดปี ไม่มีสารอินทรีย์ และ อนินทรีย์ที่เป็นพิษปนเปื้อน มี ความเป็นกรด-ด่างของน้ำ ระหว่าง 6.0-7.5 การวางผังปลูก มี 2 ระบบ คือ ระบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือ สามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะระหว่างแถว และ ต้น คือ 8×8 เมตร หรือ 10×10 และ ระบบแถวกว้างต้นชิด ระยะปลูกระหว่างแถว 8×3 เมตร หรือ 10×5 เมตร

สรรพคุณของมังคุด

สำหรับการใช้ประโยชน์ของมังคุดด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จาก เนื้อผลมังคด และ เปลือกผลมังคุด สรรพคุณของมังคุด มีดังนี้

  • ช่วยลดไข้ ลดความร้อนในร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้ เสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • บำรุงกระดูก ช่วยสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง รักษาอาการข้อเข่าอักเสบ อาการข้อบวม ปวดตาข้อ
  • บำรุงกำลัง เพิ่มความกระปรี้กระเปร่าให้ร่างกาย
  • บำรุงผิวพรรณและใบหน้า ทำให้หน้าใส โดย ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง ลดสิว ต้านการอักเสบของสิว
  • ช่วยผ่อนคลาย ลดความเครียด
  • บำรุงระบบประสาทและสมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อม ป้องกันอัลไซเมอร์ ป้องกันพาร์กินสัน
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้ทุกชนิด เช่น เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น
  • บำรุงหัวใจ ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยเพิ่มการขยายตัวของหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ลดระดับ คอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • บำรุงช่องปาก ทำให้ฟันและเหงือกแข็งแรง ไม่เป็นโรคเลือดออกตามลายฟัน รักษาแผลในช่องปาก แผลร้อนใน
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันอาการท้องผูก
  • แก้ท้องเสียแก้อาการท้องร่วงเรื้อรัง
  • ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงระบบทางเดินปัสสาวะให้อยู่ในสภาวะปกติ ไม่มีการถ่ายปัสสาวะขัด ป้องกันโรคนิ่วในไต
  • ช่วยสมานแผล ทำให้บาดแผลหายเร็วขึ้น
  • ยับยั้งการเกิดโรคและรักษาโรคผิวหนัง เช่น กลากเกลื้อน ผดผื่นคัน รักษาอาการน้ำกัดเท้า รักษาแผลเปื่อย

คุณค่าทางโภชนาของมังคุด

สำหรับการใช้ประโยชน์และการบริโภคมังคุดนินมรับประทานเนื้อผลมังคุดเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมังคด ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง พลังงาน 73 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 17.91 กรัม กากใยอาหาร 1.8 กรัม ไขมัน 0.58 กรัม โปรตีน 0.41 กรัม วิตามินบี1 0.054 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.054 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.286 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.032 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.018 มิลลิกรัม วิตามินบี9 31 ไมโครกรัม วิตามินซี 2.9 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 13 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.102 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 48 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 7 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.21 มิลลิกรัม

มีสารแซนโทน (Xanthone) ในปริมาณมาก ซึ่งมีสรรพคุณช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งและอาการแพ้ต่าง ๆ และยังไม่มีรายงานการศึกษาความเป็นพิษในมนุษย์

มีสารแทนนิน (Tannin) ในเปลือกของมังคุด หากบริโภคมากเกินไปและต่อเนื่อง อาจจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อตับ ไต การเกิดมะเร็งในร่องแก้ม ในทางเดินอาหารส่วนบน และยังไปลดจำนวนของเม็ดเลือดขาวจนทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงจากปกติ

โทษของมังคุด

มังคุดมีสารแทนนิน ( Tannin ) ที่อยู่ในเปลือกของมังคุด ซึ่งหากบริโภคมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อตับและไต อาจจะเกิดมะเร็งในร่องแก้มบนใบหน้า ในทางเดินอาหารส่วนบน และ ยังมีฤทธิ์ ลดจำนวนของเม็ดเลือดขาวทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดต่ำลง จากปกติ ดังนั้น ควรเลือกรับประทานผลไม้ให้หลากหลาย ไม่ซ้ำกันนานๆ และ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ก็จะดีต่อสุขภาพ

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย