สับปะรด ผลไม้แสนอร่อย พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ลักษณะของต้นสับปะรด สรรพคุณของสับปะรด เช่น ช่วยขับปัสสาวะ ขับนิ่ว รักษาแผลหนอง ลดการอักเสบ โทษของสับปะรดสับปะรด สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของสับปะรด

ต้นสับปะรด ภาษาอังกฤษ เรียก Pineapple ชื่อวิทยาศาสตร์ของสับปะรด คือ Ananas comosus (L.) Merr. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของสับปะรด เรียก มะนัด มะขะนัด บ่อนัด บักนัด ย่านัด ขนุนทอง เป็นต้น สับปะรด จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพมีประโยชน์หลากหลาย เนื่องจากมีแร่ธาตุที่สำคัญหลายชนิด เช่น คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี วิตามินบี กรดโฟลิก ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุแมงกานีส ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี เป็นต้น

ต้นสับปะรด เป็นพืชในเขตร้อน โดยแหล่งกำเนิดของสับปะรดมาจากทวีปอเมริกาใต้ สำหรับประเทศไทยมีการปลูกสับปะรดเป็นพืชเศรษฐกิจ จำหน่ายผลเป็นอาหาร โดยแหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญของประเทศไทย คือ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี อุตรดิตถ์ ลำปาง พิษณุโลก เป็นต้น

สับปะรดในประเทศไทย

ผลสับปะรด มีรสชาติิอร่อย นิยมรับประทานเป็นของว่าง ซึ่งสับปะรดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย เป็นพืชที่นิยมบรรจุกระป๋อง แหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญของประเทศไทย เช่น ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด ภูเก็ต พังงา ชุมพร และ จังหวัดริมแม่น้ำโขง ซึ่งสายพันธ์สับปะรดที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 5 สายพันธ์ คือ สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย สับปะรดพันธุ์อินทรชิต สับปะรดพันธุ์ขาว สับปะรดพันธุ์ภูเก็ตและ สับปะรดพันธุ์น้ำผึ้ง

ลักษณะของต้นสับปะรด

ต้นสับปะรด เป็นพืชล้มลุกใบเลี้ยงเดี่ยว ทนสภาพอากาศร้อนและความแห้งแล้งได้ดี ซึ่งการขยายพันธ์สับปะรด สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำ และ แยกหน่อ ลักษณะของสับปะรด มีดังนี้

  • ลำต้นสับปะรด จะอยู่ใต้ดิน ไม่แตกกิ่งก้าน มีแต่กาบใบห่อหุ้มลำต้น
  • ใบของสับปะรด เป็นใบเดี่ยว ไม่มีก้านใบ โคนใบเป็นกาบหุ้มที่ลำต้น ปลายของใบแหลมและขอบใบมีหนาม
  • ผลของสับปะรด ลักษณะกลมรี ภายในมีน้ำฉ่ำ รสชาติแล้วแต่พันธุ์ เช่น รสหวานอมเปรี้ยว รสเปรี้ยว รสหวาน
  • ดอกสับปะรด ลักษณะดอกสับปะรดเป็นช่อ จะแทงออกมาจากกลางลำต้น และมีดอกย่อยจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของสับปะรด

สำหรับการบริโภคสับปะรดเป็นอาหาร นิยมรับประทานผลสุกของสับปะรด ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของสับปะรด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 50 กิโลแคลอรี และมีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 13.12 กรัม น้ำตาล 9.85 กรัม กากใยอาหาร 1.4 กรัม ไขมัน 0.12 กรัม โปรตีน 0.54 กรัม วิตามินบี1 0.079 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.032 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.5 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.213 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.112 มิลลิกรัม วิตามินบี9 18 ไมโครกรัม โคลีน 5.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 47.8 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.29 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.927 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 109 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.12 มิลลิกรัม

สรรพคุณของสับปะรด

การใช้สับประรดในด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์ได้จากทุกส่วนของสับปะรด ตั้งแต่ ราก ใบ และ ผล สรรพคุณของสับปะรด มีรายละเอียด ดังนี้

  • ผลสับปะรด(สุก) สรรพคุณช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย แก้กระหาย แก้ท้องผูก ช่วยย่อยอาหา ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ ขับนิ่ว บำรุงไต ช่วยรักษาแผลเป็นหนอง แก้ส้นเท้าแตก ช่วยลดการอักเสบ ช่วยรักษาไตอักเสบ รักษาโรคความดันโลหิตสูง ช่วยรักษาหวัด ช่วยบำรุงเลือด ช่วยให้การไหลเวียนเลือดได้ดี บำรุงเหงือก ช่วยให้สุขภาพช่องปากแข็งแรง รักษาโรคหลอดลมอักเสบ แก้ปวดท้อง รักษาโรคบิด ช่วยลดอาการบวมน้ำ  ช่วยโรคผิวหนัง
  • ผลสับปะรด(ดิบ) สรรพคุณช่วยห้ามเลือด ช่วยขับประจำเดือน
  • ใบสับปะรด สรรพคุณช่วยฆ่าพยาธิ
  • รากสับปะรด สรรพคุณบำรุงไต แก้กระษัย
  • หนามของสับปะรด สรรพคุณช่วยแก้พิษฝี

โทษของสับประรด

การรับประทานสับปะรเ มีทั้งประโยชน์และโทษ ต้องรับประทานอย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด โทษของสับปะรด มีรายละเอียด ดังนี้

  • การรับประทานผลสับปะรดดิบ ทำให้ช่วยขับประจำเดือน สำหรับสตรีมีครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผลสับปะรดดิบ
  • ผลสับปะรด มีความเป็นกรดช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร แต่อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองช่องปาก ริมฝีปาก และ ลิ้นได้
  • สับปะรดมีความเป็นกรด และ มีเอนไซม์บรอมมีเลน ซึ่งทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารได้ จึงไม่ควรรับประทานสับปะรดในเวลาท้องว่าง

ภาวะความดันตาสูง ทำให้อุดกลั้นทางเดินน้ำหล่อเลี้ยงตา การมองเห็นจะค่อยๆเสื่อม ไม่รักษาตาบอดได้ ผู้ป่วยจะปวดตา ปวดหัว ตาแดง และ อาเจียน การรักษาและป้องกันอย่างไรโรคต้อหิน โรคตา โรคไม่ติดต่อ ทำให้ตาบอด

โรคต้อหิน โรคอันตรายต่อระบบประสาทตา เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ตาบอด สามารถเกิดได้กับทุกคน โรคนี้ไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น รวมถึงไม่แสดงอาการในระยะลุกลามของโรคด้วย รู้ตัวอีกทีคือสูญเสียการมองเห็นไปแล้ว และ ไม่สามารถรักษาให้กลับดีขึ้นได้ ดังนั้นการตวรสุขภาพดวงตาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

โรคต้อหิน คือ ภาวะความผิดปรติของดวงตาเกิดจากความดันของตาที่สูงมากผิดปกติ ซึ่งความดันตาสูง สามารถเกิดได้เนื่องจากของเหลวที่มีหน้าที่หล่อเลี้ยงตาตามธรรมชาติผิดปรกติ ทำให้เกิดการทำลายเซลล์ประสาทตา ความดันตาที่เหมาะสมสำหรับของเหลวในตาจะต้องไม่เกิน 22 มม.ปรอท หากมากกว่านี้จะเป็นอัตรายมาก เสี่ยงมากที่เกิดต้อหินตามมา

สถาณการณ์โรคต้อหินในปัจจุบัน

องค์กรอนามัยโลก ( WHO ) ระบุว่า โรคต้อหินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนทั้งโลกตาบอด เป็นอันดับ 2 รองจากโรคต้อกระจก ซึ่งผู้ป่วยทั่วโลกที่ป่วยโรคต้อหินทั้งชนิดมุมปิดและต้อหินชนิดมุมเปิดประมาณ 4.5 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งร้อยละ 12 ของผุ้ป่วยทั้งหมดตาบอด สำหรับสถาณการ์โรคต้อหินในประเทศไทย พบว่าประชากรไทยป่วยเป็นโรคต้อหินมากถึงร้อยละ 36 ประชากรทั่วประเทศ คาดว่าในปี 2563 จะมีประชากรไทยป่วยเป็นโรคต้อหินเพิ่มขึ้นประมาณ 7 แสนคน อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าโรคต้อหินจะรักษาไม่หายขาด แต่ก็สามารถป้องกันและควบคุมการสูญเสียของการมองเห็นได้

ประเภทของโรคต้อหิน

โรคต้อหินสามารถแบ่งประเภทของโรคนี้ได้ 4 ประเภท ประกอบด้วย ต้อหินโดยกำเนิด ต้อหินชั้นสอง ต้อหินมุมเปิด และ ต้อหินมุมปิด ซึ่งรายละเอียดของต้อหินแต่ละประเภท มีดังนี้

  • ต้อหินโดยกำเนิด สาเหตุหลักจะมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ลักษณะอาการรุนแรงมาก ควบคุมอาการยาก เนื่องจากเกิดกับเด็กอ่อน หากไม่รักษาอาจจะตาบวดได้ มารดาต้องสังเกตุอาการตอบสนองต่อการมองเห็นของเด็กอย่างใกล้ชิด
  • ต้อหินขั้นสอง เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคตาชนิดอื่นๆ เช่น โรคต้อกระจก โรคเนื้องอกที่ตา โรคตาอักเสบ รวมถึงทั้งการเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา และ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน
  • ต้อหินมุมเปิด ต้อหินชนิดนี้พบมากที่สุดเกิดจากการอุดตันของท่อระบายน้ำเลี้ยงของดวงตา ทำให้ความดันในตาสูงขึ้น ทำให้ระบบประสาทการรับรู้การมองเห็นถูกทำลาย ซึ่งในระยะแรกจะมองเห็นไม่ชัด หากไม่ได้รับการรักษาการมองเห็นจะค่อยๆเสื่อมลงจนตาบอดสนิท
  • ต้อหินมุมปิด เกิดจากการมุมของลูกตาถูกม่านตาปิดกั้น ทำให้ความดันเปลี่ยนแปลง เนื่องจากของเหลวในตาไม่สามารถไหลเวียนออกได้ ทำให้ความดันตาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะปวดหัว และ ปวดลูกตาอย่างรุนแรง เยื่อบุตาแดงจัด มีอาการคลื่นไส้อาเจียน

สาเหตุการเกิดโรคต้อหิน

โรคต้อหิน คือ ภาวะจอประสาทตาถูกทำลายและเกิดจุดบอดขึ้นที่ลานสายตา โดยสาเหตุมาจากความดันในตาสูง จากสาหตุการไหลเวียนเข้าและออกของน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตาไม่สมดุล ทำให้เกิดการอุดตันบริเวณทางออกของช่องระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาที่ทำให้มีการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ทำให้ความดันในตาสูงขึ้น โดยอาการผิดปรกตินี้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆหรือเฉียบพลันก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคต้อหิน

ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ความดันตาสูงมีหลายปัจจัย ซึ่งสามารถรวบรวมปัจจัยที่ทำให้ความดันตาสูงจนส่งผลต่อการเกิดโรคต้อหิน มีดังนี้

  • อายุ ความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆมีผลต่อภาวะความดันตา
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับคนที่มีประวัติพ่อแม่หรือพี่น้องญาติป่วยโรคต้อหินมีความเสี่ยงมากกว่าบุคคลทั่วไป
  • การกระแทกหรือกระทบกระเทือนที่ดวงตาอย่างรุนแรง
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • การใช้ยาบางประเภท โดยเฉพาะยากลุ่มยาสเตียรอนด์
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เรียกว่า เบาหวานขึ้นตา
  • ความผิดปกติของสายตาตามธรรมชาติ เช่น สายตาสั้น สายตายาว

อาการของโรคต้อหิน

สำหรับโรคต้อหินจะแสดงอาการผิดปรกติของสายตาแบบช้าๆ ค่อยๆเสื่อมลงโดยไม่รู้ตัว ผู้ป่วยโรคต้อหินไม่มีอาการเจ็บปวดหรืออาการใดๆนอกจากความสามารถการมองเห้นค่อยๆลดลง แต่สำหรับอาการโรคต้อหินแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ปวดตาอย่างรุนแรง และ ปวดแบบเฉียบพลัน เยื่อบุตาแดง น้ำตาไหล ไม่สามารถสู้แสงได้ สายตาพล่ามัว มองเห็นเหมือนมีแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ และ คลื่นไส้อาเจียน

การตรวจวินิจฉัยโรคต้อหิน

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคต้องทำโดยจักษุแพทย์ผู้เชียวชาญเฉพาะทาง และ ใช้เครื่องมือตรวจที่ทันสมัย แนวทางการวินิจฉัยโรค คือ ตรวจเพื่อดูลักษณะมุมตา ตรวจขั้วประสาทตา ดูความเสียหาย การตอบสนองต่อแสง ตรวจวัดความดันภายในตา และ ตรวจลานสายตา

การรักษาโรคต้อหิน

แนวทางการรักษาโรคต้อหิน เนื่องจากโรคต้อหินทำให้เส้นประสาทตาถูกทำลายอย่างถาวร การรักษาโรคต้อหินต้องประคับประคองเพื่อบรรเทาความเสื่อมของประสาทตา เพื่อรักษาการมองเห็นให้นานที่สุด การรักษาใช้ยา การทำเลเซอร์ และ การผ่าตัด ขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของแพทย์ รายละเอียด ดังนี้

  • การใช้ยารักษาโรค  ให้ยาเพื่อลดความดันของดวงตาเพื่อให้ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้น ในปัจจุบันมียารักษาต้อหินหลายกลุ่ม ซึ่งการรักษาด้วยยาจำเป็นทำอย่างสม่ำเสมอตามคำสั่งของแพทย์
  • การรักษาด้วยเลเซอร์  ขึ้นอยู่กับชนิดของต้อหินและระยะของโรค เช่น Selective laser trabeculoplasty ( SLT ) ใช้รักษาต้อหินมุมเปิดในกรณีที่รักษาด้วยยาหยอดตาไม่ได้ผล Laser peripheral iridotomyLPI) รักษาต้อหินมุมปิด Argon laser peripheral iridoplastyALPI ) ใช้รักษาร่วมกับ LPI
  • การผ่าตัด เพื่อรักษาผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ไม่ได้ผล การผ่าตัดตัดทำทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาเพื่อลดความดันตา

การป้องกันโรคต้อหิน

สาเหตุของการเกิดโรคต้อหินเกิดจากหลายสาเหตุทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้ และ ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งการรักษาระดับความดัยตาให้ปรกติ เป็นแนวทางการป้องกันโรคที่ดีที่สุดที่สามารถทำได้ ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคต้อหิน มีดังนี้

  • เข้ารับการตรวจสายตาอย่างสม่ำเสมอ
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • สวมแว่นตาหรืออุปกรณ์ป้องกันดวงตา เมื่อต้องทำกิจกรรมเสี่ยงกระทบต่อดวงตา
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อาจเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตาทั้งหมด

โรคต้อหิน ภาวะความดันตาสูง ทำให้เกิดการอุดกลั้นทางเดินน้ำหล่อเลี้ยงตา การมองเห็นจะค่อยๆเสื่อม หากไม่รักษาทำให้ตาบอดได้ อาการของโรคต้อหินแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะปวดตา ปวดหัว ตาแดง และ อาเจียน แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย