เตย สมุนไพรในครัวเรือน ใบเตยนิยมนำมาทำอาหาร แต่งกลิ่นและสีอาหาร ต้นเตยเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภนาการ ประโยชน์และสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด บำรุงหัวใจ โทษของใบเตย

เตย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นเตย หรือ ต้นเตยหอม ( Pandan leaves ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของเตย คือ Pandanus amaryllifolius Roxb. ชื่อเรียกอื่นๆของเตย เช่น ใบส้มม่า ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง เป็นต้น ต้นเตย มีถิ่นกำเนิดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศอินเดีย ทวีปแอฟริกา และ ทวีปออสเตรเลีย ชอบขึ้นตามพื้นที่ชุ่ม ริมลำน้ำ ใบเตยกับคนไทย จัดว่าเป็นพืชสวครัวที่ขาดไม่ได้ อาหารไทยนิยมใช้ใบเตยมาทำอาหาร ให้สีสวยงาม และ กลิ่นหอม

ชนิดของเตย

สำหรับชนิดของต้นเตยสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ เตยหนาม และ เตยไม่มีหนาม โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เตยหนาม เรียกว่า ต้นลำเจียก หรือ เตยทะเลลำ ไม่นิยมนำใบมาทำอาหาร แต่นิยมใช้ใบนำมาทำเครื่องจักสาน
  • เตยไม่มีหนาม เรียกว่า เตย หรือ เตยหอม ไม่มีดอก ใบเตยมีกลิ่นหอม นิยมนำมาใช้ทำอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร และ แต่งสีอาหาร

ลักษณะของต้นเตย

ต้นเตย เป็นพืชล้มลุก สามารถขึ้นได้ดีในพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้นแต่ไม่มีน้ำท่วมขัง ต้นเตยสามารถขยายพันธ์ได้โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นเตย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นเตย ลักษณะของลำต้นเป็นทรงกลม เป็นข้อๆ สั้นๆ โผล่ขึ้นมาจากดิน โคนของลำต้นแตกรากแขนง เพื่อเป็นรากค้ำจุนลำต้นสามารถแตกหน่อได้
  • ใบเตย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบเรียวยาว ใบออกมาจากข้อของลำต้น ใบสีเขียว ผิวใบเรียบ มีกลิ่นหอม เนื้อใบหนา

เตยในประเทศไทย

ใบเตยหอม เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย อาหารไทยนิยมใช้ใบเตยมาประกอบอาหาร โดยการนำมาแต่งกลิ่นและสีของอาหาร โดยใบเตยจะให้สีเขียวแบบธรรมชาติ ทุกท้องถิ่นของประเทศไทยจะมาขายใบเตยตามตลาด ใบเตยมักนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในรูปแบบ ใบสดและใบแห้ง ใบเตยมีขายในรูปใบแช่แข็ง ส่งออกไปหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ เวียดนาม พม่า จีน ศรีลังกา ตลาดใบเตยหอม

คุณค่าทางโภชนาการของเตย

สำหรับการใช้เตยในการบริโภคนั้น ใช้ประโยชน์จากใบเตย โดยนักโภชนาการได้ศึกษาสารต่างๆในใบเตยและคุณค่าทางโภชนาการของใบโดย มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบเตย ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน มากถึง 35 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย น้ำ 85.3 กรัม โปรตีน 1.9 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม กากใยอาหาร 5.2 กรัม แคลเซียม 124 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 2987 ไมโครกรัม วิตามินเอ 498 RE ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 1.2 มิลลิกรัม และ ไนอาซีน 3 มิลลิกรัม

ใบเตยยังมีสารสำคัญ เป็นสารในกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ คือ anthocyanin , carotenoids , tocopherols , tocotrienols , quercetin , alkaloids , fatty acids , esters และ essential oils

สรรพคุณของเตย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเตย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น สามารถใช้ประโยชน์จาก ใบเตย น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย ลำต้นเตย และ รากเตย รายละเอียด ดังนี้

  • รากของเตย สรรพคุณบำรุงหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยละลายนิ่วในไต แก้หนองใน ช่วยผ่อนคลายล้ามเนื้อ
  • ใบเตย สรรพคุณช่วยลดไข้ บำรุงร่างกาย ช่วยให้ร่างกายสดชื่น ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องอืด ลดอาการอาหารไม่ย่อย แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนัง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยกระตุ้นให้หัวใจเต้นปกติ
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย สรรพคุณช่วยผ่อนคลาย แก้ปวดตามข้อและกระดูก แก้ปวดหัว แก้โรคลมชัก ลดอาการเจ็บคอ แก้อักเสบในลำคอ
  • ลำต้นของเตย สรรพคุณบำรุงหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยละลายนิ่วในไต แก้หนองใน ช่วยผ่อนคลายล้ามเนื้อ

โทษของเตย

สำหรับการบริโภคเตยให้ปลอดภัย มีข้อมูลทางการแพทย์น้อยมากว่าการบริโภคเตยมีอันตราย สำหรับการบริโภคเตยนั้น นิยมนำเตยมาต้ม หรือ นำมาสกัดเอาน้ำสีเขียวมาแต่งกลิ่นและสีของอาหาร โดยต้องใช้เตยในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะไม่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย โดยข้อควรระวังในการบริโภคเตย มีดังนี้

  • ใบเตย มีกลิ่นหอม และ มีน้ำมันหอมระเหย การบริโภคใบเตยแบบสดๆ การกินใบสดๆ นำมาเคี้ยวรับประทาน กลิ่นที่หอมของใบเตย อาจทำให้เกิดอาหารอาเจียนได้ โดยการใช้ประโยชน์จากใบเตย ต้องนำไปต้มเพื่อให้ได้กลิ่นหอม หรือ การนำเอาใบเตยมาบดให้ละเอียด และ คั้นเอาน้ำสีเขียวจากใบเตยมาใช้ประโยชน์ในการรับประทาน
  • ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ได้จากใบเตย เช่น ชาใบเตย น้ำใบเตย หรือ ชาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของใบเตย ควรศึกษาฉลากผลิตภัณฑ์และ ฉลากขององค์การอาหารและยาให้ดีก่อน เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค

เตย พืชพื้นบ้าน สมุนไพรในครัวเรือน ใบเตย นิยมนำมาทำอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร และ แต่งสีอาหาร ลักษณะของต้นเตย เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภนาการของใบเตย ประโยชน์และสรรพคุณของเตย เช่น ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงหัวใจ โทษของใบเตยมีอะไรบ้าง

มะขามป้อม มะขามอินเดีย ผลไม้วิตามินซีสูง สรรพคุณของมะขามป้อม บำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณ ช่วยขับของเสีย ลักษณะของต้นมะขามป้อม คุณค่าทางโภชนาการและโทษเป็นอย่างไร

มะขามป้อม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะขามป้อม ( Indian gooseberry ) จัดเป็นพืชพื้นบ้านชนิดหนึ่ง ผลมะขามป้อมมีรสเปรียว ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะขามป้อม คือ Phyllanthus emblica L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะขามป้อม เช่น กำทวด กันโตด หมากขามป้อม มั่งลู่ สันยาส่า เป็นต้น มะขามป้อม มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง คือ มะขามอินเดีย

ต้นมะขามป้อม ขึ้นได้ดีในภูมิประเทศเขตร้อน พบมากตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และ ป่าดิบเขา ของประเทศไทย พบมากในภาคเหนือ และ ภาคอีสาน มะขามป้อม คือ ต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว

ลักษณะของต้นมะขามป้อม

ต้นมะขามป้อม สามารถขึ้นได้ดีในภูมิประเทศเขตร้อน จึงสามารถพบมะขามป้อมได้ในประเทศไทย และ ประเทศอินเดีย รวมถึงประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มะขามป้อมเป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สามารถขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะขามป้อม มีดังนี้

  • ลำต้นมะขามป้อม มีความสูงประมาณ 8 – 10 เมตร ลักษณะของลำต้นตั้งตรง เปลือกมีผิวเรียบ มีน้ำตาล สามารถลอกออกเป็นแผ่นๆได้ เนื้อไม้มีสีแดง ต้นมะขามป้อมแตกกิ่งก้านสาขา เป็นทรงพุ่ม
  • ใบมะขามป้อม มีขนาดเล็ก ทรงรี สีเขียว เหมืิอนต้นมะขาม ใบเป็นใบประกอบ มีจำนวนมาก ตามกิ่งของมะขามป้อม ใบมีสีเขียว ใบเรียบ ปลายใบมน ใบแก่จะออกสีน้ำตาล หรือ สีส้ม และ จะร่วงหล่น
  • ดอกมะขามป้อม ออกดอกเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก สีขาวอมเหลือง
  • ผลมะขามป้อม สีเขียวอ่อน ลักษณะทรงกลมแบน เปลือกของผลมะขนป้อมลักษณะ เรียบ มัน เนื้อผลมะขามป้อมอ่อน ชุ่มน้ำ รสเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ด แข็ง

คุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม โดยศึกษาจากผลมะขามป้อมสด และ ผลมะขามป้อมแช่อิ่ม โดยรายละเอียดของคุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะขามป้อมแช่อิ่ม ขนาด 100 กรัม ได้พลังงาน 222 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญและวิตามิน ประกอบด้วย น้ำ 37.60 กรัม คาร์โบไฮเดรต 59.80 กรัม ไขมัน 0.60 กรัม ไนอะซิน 0.1 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 1 กรัมธาตุแคลเซียม 39 มิลลิกรัม  โปรตีน 0.50 กรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม วิตามินบี 0.02 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 3 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะขามป้อมสด ขนาด 100 กรัม ได้พลังงาน 58 กิโลแคลอรี ในผลสดมะขามป้อมมีสารอาหารและวิตามิน ต่างๆ ประกอบด้วย น้ำ 84.10 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.30 กรัม ไขมัน 0.50 กรัม กากใยอาหาร 2.40 กรัม ธาตุแคลเซียม 29 มิลลิกรัมโปรตีน 0.70 กรัม  ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.5 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.2 มิลลิกรัม วิตามินเอ 100 หน่วยสากล วิตามินบี 10.03 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 276 มิลลิกรัม

นอกจากนี้และ การศึกษาสารเคมีต่างๆในมะขามป้อม สามารถพบสารสำคัญมากมาย จาก เมล็ดมะขามป้อม เปลือกลำต้น ใบมะขามป้อม กิ่งมะขามป้อม และ รากมะขามป้อม โดยรายละเอียดของสารต่างๆ มีดังนี้

  • เปลือกลำต้น มี สารแทนนิน สารลูพิออล และ สารลูโค เดลฟินิดิน
  • รากมะขามป้อม มี กรดเอลลาจิก และ สารลูพิออล
  • ใบมะขามป้อม มี สารแทนนิน กรดมาลิก และ สารลูพิออล
  • เมล็ดมะขามป้อม มีน้ำมันหอมระเหย ฟอสฟาไทด์
  • กิ่งมะขามป้อม มี สารแทนนิน

สรรพคุณมะขามป้อม

สำหรับสรรพคุณของมะขามป้อม ด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรคนั้น สามารถใช้ประโยชน์จากใบมะขามป้อม ผลมะขามป้อม  เปลือกมะขามป้อม และ เมล็ดมะขามป้อม โดยรายละเอียดของสรรพคุณของมะขามป้อม มีดังนี้

  • ใบและผลของมะขามป้อม สรรพคุณป้องกันโรคมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ  เสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกาย แก้กระหายน้ำ ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดน้ำตาลในเลือด ลดเสมหะ บำรุงเหงือกและฟัน รักษาแผลในปาก ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน  ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขยายหลอดลม รักษาหอบหืด รักษาแผลไฟไหม้ รักษาโรคตาแดง
  • เมล็ดของมะขามป้อม ในเมล็ดของมะขามป้อมมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งสรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ และ ช่วยขับปัสสาวะ
  • เปลือกลำต้นของมะขามป้อม สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ แก้อาหารเป็นพิษ  และ รักษาโรคผิวหนัง
  • แก่นไม้ของต้นมะขามป้อม สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง แก้อาหารเป็นพิษ และ ช่วยขับปัสสาวะ

โทษของมะขามป้อม

สำหรับโทษจากใช้ประโยชน์จากมะขามป้อม หรือ การรับประทานมะขามป้อม นั้นจะเกิดจากการใช้อย่างไม่เหมาะสม หรือ การกินในปริมาณที่มากเกินไป และ ติดต่อกันนานเกินไป ข้อควรระวังในการใช้มะขามป้อม มีดังนี้

  • ผลมะขามป้อม มีรสเปรี้ยว สำหรับผู้ป่วยที่พึ่งรับการผ่าตัดในช่องท้อง หรือ มีโรคที่ระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรกินมะขามป้อม
  • มะขามป้อม มีสรรพคุณเป็นยาเย็น มีฤทธิ์เย็น ทำให้อณหภูมิร่างกายลดลง สำหรับคนที่มีภาวะร่างกายเย็น ไม่ควรกินมะขามป้อม เพราะจะทำให้ร่างกายเย็นเกินไป
  • มะขามป้อม อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ สำหรับผู้ป่วยที่มีแผนในการผ่าตัดควรงดกินมะขามป้อม อย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • มะขามป้อมมีสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มียาจากแพทย์อยู่แล้ว ควรปรึกษาแพทย์หากรับประทานมะขามป้อมในปริมาณที่มาก และ ติดต่อกันนานๆ
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย