หญ้าแพะหงี่ พืชมหรรศจรรย์ สมุนไพรบำรุงร่างกาย สำหรับผู้สูงวัย ลักษณะของต้นหญ้าแพะหงี่เป็นอย่างไร ข้อควรระวังในการใช้หญ้าแพะหงี่หญ้าแพะหงี่ สมุนไพร สมุนไพรเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ สมุนไพรบำรุงกำลัง

หญ้าแพะหงี่ ภาษาอังกฤษ เรียก Horny Goat Weed ชื่อวิทยาศาสตร์ของหญ้าแพะหงี่ คือ Epimedium เป็นสมุนไพร พืชล้มลุก  ค้นพบโดยคนเลี้ยงแกะชาวจีน ซึ่งสังเกตกิจกรรมการผสมพันธ์ของฝูงแพะที่กินหญ้าแพะหงี่ที่เลี้ยงไว้ พบว่าแพะที่เลี้ยงมีการผสมพันธ์บ่อย แต่หญ้าแพะหงี่หากมนุษย์เมื่อรับประทานแบบสดๆอาจทำให้มึนเมาได้

หญ้าแพะหงี่ นิยมนำใบมาทำยา สมุนไพร ซึ่งมีสรรพคุณบำรุงร่างกายสำหรับผู้สูงอายุ เช่น บรรเทาอาการข้อเสื่อม รักษาโรคความดัน บำรุงเลือด  ซึ่งหญ้าแพาะหงี่จะมีสารออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนสตรี ( phytoestrogens ) ช่วยลดการสูญเสียมวลกระดูก ทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายดีขึ้น

ลักษณะของต้นหญ้าแพะหงี่

ต้นหญ้าแพะหงี่เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นมีขนาดเล็ก มีก้านใบขึ้นมาจากลำต้นก้านใบยาว ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจ สีเขียว มีขนอ่อนๆ ดอกออกเป็นช่อ ออกดอกตามซอกใบ ดอกเป็นสีม่วงอมขาว

สารสำคัญที่พบในหญ้าแพะหงี่

สารสำคัญต่างๆจากหญ้าแพะหงี่ พบว่ามีสารสำคัญ เช่น สารสเตอรอล ( sterols ) สารฟลาโวนอยด์ ( flavonoids )  และ อัลคาลอยด์ชนิด ( Magnaflorine ) สารโพลิแซ็กคาไรด์ ( polysaccharide )

ซึ่งสารฟลาโวนอยด์ ชนิด Icariin มีบทบาทต่อสุขภาพของชายหญิง กระตุ้นความต้องการ ช่วยกระตุ้นอวัยวะชาย บรรเทาอาการเหนื่อย อ่อนล้า อ่อนเพลีย บรรเทาอาการไม่สบายตัวระหว่างมีประจำเดือน

สรรพคุณของหญ้าแพะหงี่

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหญ้าแพะหงี่ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค จะใช้ประโยชน์จากใบแห้งของหญ้าแพะ ซึ่งสรรพคุณต่างๆ ดังนี้

  • บำรุงเลือด ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตดี
  • บำรุงร่างกาย ช่วยการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ทำให้สบายตัว ลดอาการอ่อนเพลีย ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดอารมณ์หงุดหงิด ลดความเครียด
  • บำรุงระบบสืบพันธุ์ ช่วยกระตุ้นความต้องการ ช่วยให้น้ำหล่อลื่นมีมากขึ้น
  • บำรุงร่างกายสำหรับสตรีวัยทอง ช่วนปรับสมดุลย์ของฮอร์โมนร่างกาย

โทษของหญ้าแพะหงี่

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหญ้าแพะหงี่ ถึงแม้ว่าจะช่วยบำรุงเลือดแต่ก็มีผลข้างเคียงจากการใช้หญ้าแพะหงี่ ซึ่งผลข้างเคียงของหญ้าแพะหงี่ที่ผู้บริโภคจะต้องระมัดระวังการใช้ มีดังนี้

  • หญ้าแพะหงี่ช่วยกระตุ้นระบบประสาทให้ตื่นตัว ในขณะเดียวกันทำให้เกิดปัญหาการนอนไม่หลับ ทำให้ร่างกายนอนได้น้อยลง
  • หญ้าแพะหงี่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต แต่ในขระเดียวกันก็กระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้เกิดหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจต้องระวังการใช้หญ้าแพะหงี่ รวมถึงอาจเกิดอาการวิงเวียนศรีษะ เลือดกำเดาไหล
  • หญ้าแพะหงี่จะทำให้มีอาการคึกคักมากผิดปกติ อารมณ์ดีและพูดมากผิดปกติ
  • หญ้าแพะหงี่มีผลต่อการให้น้ำนม ดังนั้น สตรีระหว่างให้นมบุตร ควรงดหญ้าแพะหงี่

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

กระชาย สมุนไพร ฉายา โสมไทย นิยมนำเหง้ากระชายมาทำยาและอาหารรับประทาน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับเหงื่อ อยู่ในสูตรยาสมุนไพรโบราณมากมาย ต้นกระชายเป็นอย่างไรกระชาย สมุนไพร โสมไทย

ต้นกระชาย ภาษาอังกฤษ เรียก Fingerroot ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ Boesenbergia pandurata (Roxb. ) Schitr สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระชาย เช่น ว่านพระอาทิตย์ ขิงทราย ขิงแดง ขิงกระชาย กะแอน จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ เป๊าะสี่ ระแอน เป๊าะซอเร้าะ ขิงจีน เป็นต้น กระชาย มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประโยชน์ของกระชาย รากกระชายเป็นแหล่งสะสมสารอาหารมากมาย เรียกว่า นมกระชาย รากกระชายมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว กระชายนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร หลากหลายชนิด ทั้งน้ำพริกแกง แกง ผัด ซึ่งคุณสมบัติหนึ่งของกระชายชวยดับกลิ่นคาวของอาหาร นอกจากนั้นในตำรายาแผนโบราณ ใช้รักษาปากเป็นแผล ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ เป็นต้น สำหรับกระชายนั้นมี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และกระชายเหลือง ส่วนกระชายที่นิยมใช้กัน คือ กระชายเหลือง และกระชายดำ

ชนิดของกระชาย

สำหรับกระชาย ทีนิยมปลูกกัน มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายดำ ลักษะณะของเนื้อหัวกระชายจะมีสีดำ รสเผ็ดร้อน
  • กระชายแดง ลักษณะทั่วไปเหมือนกันกับกระชายเหลือง แต่จะแตกต่างกันตรงเหง้าและเนื้อด้านในของเหง้า โดยเนื้อจะมีสีเหลืองแกมส้ม
  • กระชายเหลือง ลักษณะของกระชายเหลือง เนื้อด้านในของหัวกระชาย มีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาทำอาหาร

ลักษณะของต้นกระชาย 

ต้นกระชาย เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน คล้ายกับ ขิง ข่า ขมิ้น สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นกระชาย มีดังนี้

  • เหง้ากระชาย อยู่ใต้ดิน เหง้าสั้น แตกหน่อได้ รูปทรงกระบอกยาว ปลายเรียว ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
  • ใบกระชาย ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบแทงออกมาจากเหง้ากระชาย ใบทรงรียาว โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม มีขอบเรียบ สีเขียว
  • ดอกกระชาย ลักษณะดอกเป็นช่อ ก้านดอกแทงออกมาจากเหง้ากระชาย มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน ๆ ดอกเป็นรูปหอกกลีบเลี้ยงมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน
  • ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย

สำหรับการรับประทานกระชายนิยมรับประทานส่วนเหง้าเป็นอาหาร นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระชาย ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 2 กรัม ไขมันอิ่มตัว 0.2 กรัม โพแทสเซียม 415 มิลลิกรัม โซเดียม 13 กรัม คาร์โบไฮเดรต 17.8 กรัม วิตามินบี6 ร้อยละ 8 วิตามินซี ร้อยละ 8 โปรตีน 1.8 กรัม และ น้ำตาล 1.7 กรัม

สรรพคุณของกระชาย 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระชายด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากเหง้ากระชาย ใบกระชาย และ น้ำมันกระชาย สรรพคุณของกระชาย มีดังนี้

  • ใบกระชาย สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้โลหิตเป็นพิษ รักษาแผลปากเปื่อย ช่วยถอนพิษ
  • น้ำมันกระชาย สรรพคุณรักษาเชื้อราที่หนังศีรษะ
  • เหง้ากระชาย สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้เวียนหัว เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกระดูก ปรับความสมดุลย์ของฮอร์โมนร่างกาย บำรุงสมอง ลดความดัน รักษาแผลปากเปื่อย แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยขับระดู ช่วยขับน้ำคาวปลา แก้ปวดเมื่อย ช่วยต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย รักษาแผลฝี ป้องกันเชื้อรา

วิธีเตรียมน้ำกระชายสำหรับดื่ม 

น้ำกระชายนอกจากจะใช้ดื่มดับกระหายได้ดี ก็ยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย รักษาโรคต่างๆได้ มีวิธีการเตรียมดังนี้

  • นำกระชายเหลืองส่วนรากและเหง้า มาล้างน้ำให้สะอาด ตัดแต่งรากที่รุงรังออก ตัดส่วนหัวและส่นท้ายทิ้งไป โดยขูดเปลือกออกล้างน้ำสะอาดอีกรอบ
  • นำมาหั่นเป็นแว่น เพื่อให้ง่ายต่อการปั่นละเอียดต่อไป
  • นำมาปั่นในเครื่องปั่นและผสมกับน้ำเปล่าต้มสุก ปั่นจนละเอียด
  • เทใส่ผ้าขาวบาง หรือ กระชอน หากน้ำกระชายไม่ไหลสามารถเติมน้ำอุ่นเพิ่มได้ คั้นเอาเฉพาะน้ำเท่านั้น
  • เก็บรักษาในตู้เย็นใช้สำหรับดื่ม สามารถเก็บรักษาได้เป็นเดือน
  • เวลาดื่มให้ผสมน้ำมะนาวและน้ำผึ้งนิดหน่อยเพื่อให้ง่ายต่อการดื่ม สามารถดื่มได้ตามใจชอบ

โทษของกระชาย

ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากกระชาย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ไม่ควรกินกระชายจำนวนมาก และ ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากได้ เนื่องจากกระชายมีฤทธิ์ร้อน
  • การกินกระชายในปริมาณมาก ทำให้เกิดปัญหาเหงือกร่น และ ภาวะใจสั่นได้
  • กระชาย มีผลต่อการทำงานของตับ ผู้ป่วยเกี่ยวกับตับ ไม่ควรกินกระชายในประมาณมาก

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย