สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

ชุมเห็ดเทศ กระตุ้นให้ปัสสาวะ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ไม่ควรใช้ เพราะ อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ โดยเฉพาะโพแทสเซียมในร่างกาย โทษของเห็ดชุมเทศเป็นพิษกับระบบสืบพันธ์ ต้นเห็ดชุมเทศเป็นอย่างไรชุมเห็ดเทศ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ชุมเห็ดเทศ ชื่อสามัญ เรียก Candelabra bush ชื่อวิทยาศาสตร์ของชุมเห็ดเทศ เรียก Senna alata (L.) Roxb. เห็ดชุมเทศเป็นไม้ล้มลุกตระกูลถั่ว พืชพื้นเมือง ดอกสีเหลืองทอง สวยงาม สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด เห็ดชุมเทศในประเทศไทย พบได้ในตอนบนของประเทศ และ เขตภูเขาสูง ชื่อเรียกอื่นๆของชุมเห็ดเทศ เช่น ส้มเห็ด จุมเห็ด ขี้คาก ลับหมื่นหลวง ลับมืนหลาว หญ้าเล็บมือหลวง หมากกะลิงเทศ ชุมเห็ด ชุมเห็ดใหญ่ ตะสีพอ ตุ๊ยเฮียะเต่า  ฮุยจิวบักทง ตุ้ยเย่โต้ว เป็นต้น

ลักษณะของต้นชุมเห็ดเทศ

ต้นชุมเห็ดเทศ พืชล้มลุก ขนาดกลาง ทรงพุ่ม ในประเทศไทยพบได้ตามเขตภูเขาสูง การขยายพันธ์ของชุมเห็ดเทศใช้การเพาะเมล็ด ต้นชุมเห็ดเทศมีลักษณะ มีดังนี้

  • ลำต้นของชุมเห็ดเทศ ลักษณะของลำต้น เรียบ ตรง มีขน สีน้ำตาล ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบของชุมเห็ดเทศ ลักษณะใบทรงรี ใบหยัก ปลายใบโค้งมน เรียงสลับกันตามกิ่งก้าน เนื้อของใบค่อนหนา หยาบ และ เหนียว
  • ดอกของชุมเห็ดเทศ ลักษณะของดอก ตั้งตรง รูปไข่ ดอกมีขนาดใหญ่ สึเหลืองทาง ออกตามซอกใบ และ ปลายกิ่ง
  • ผลของชุมเห็ดเทศ ลักษณะของผลเป็นฝัก ยาว แบน เรียบ ไม่มีขน ฝักแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ มีเมล็ดอยู่ภายในฝัก

ประโยชน์ของชุมเห็ดเทศ

มีการนำเอาชุมเห็ดเทศ มาใช้ประโยชน์ด้านอาหาร นิยมกินยอดอ่อน และ ดอกชุมเห็ดเทศ กินเป็นผักสด โดยนำมาลวกก่อนนำมากิน  แต่ด้วยความสวยงามของดอกชุมเห็ดเทศ นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ให้ความสวยงามของบ้าน

สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ

การใช้ชุมเห็ดเทศด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น ชุมเห็ดเทศ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ต้นของชุมเห็ดเทศทั้งต้น มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ แก้กษัยเส้น ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร
  • เปลือกของต้นชุมเห็ดเทศ สรรพคุณรักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับน้ำเหลืองเสียออกจากร่างกาย
  • ใบของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดันเลือด ลดน้ำตาลในเลือด แก้ปวดเส้น  แก้กษัย ขับเสมหะ ป้องกันเชื้อแบคทีเรีย ใช้เป็นยาบ้วนปาก เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร รักษาโรคผิวหนังต่างๆ เช่น รักษาแผล รักษาฝี รักษาแผลพุพอง เป็นต้น
  • รากของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ปรับสมดุลย์ของร่างกาย แก้กษัย แก้ตาเหลือง ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร
  • ดอกของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ รักษาโรคท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร
  • เมล็ดของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณช่วยผ่อนคลาย รักษาอาการนอนไม่หลับ ช่วยขับพายธิ แก้พิษตานซาง รักษาอาการท้องอืด รักษาริดสีดวงทวาร
  • ผลของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ รักษาริดสีดวงทวาร

โทษของชุมเห็ดเทศ

ชุมเห็ดเทศ มีพิษเป็นยาเบื่อ การใช้ประโยชน์จากชุมเห็ดเทศ มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • ชุมเห็ดเทศ กระตุ้นให้ปัสสาวะ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ไม่ควรใช้ เพราะ อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ โดยเฉพาะโพแทสเซียมในร่างกาย
  • สตรีมีครรภ์ห้ามใช้ชุมเห็ดเทศ เพราะ ชุมเห็ดเทศช่วยกระตุ้นการคลอดลูก อาจทำให้แท้งได้
  • ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 12 ขวบ ใช้ชุมเห็ดเทศ เนื่องจากร่างกายยังไม่สามารถใช้ได้อาจเป็นอันตราย
  • ชุมเห็ดเทศความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์

ชุมเห็ดเทศ คือ พืชพื้นเมือง สุมนไพรพื้นบ้าน สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ บำรุงหัวใจ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด โทษของเห้ดชุมเทศ เป็นพิษกับระบบสืบพันธ์ ประโยชน์ของเห็ดชุมเทศ เป็นอย่างไร

แหล่งอ้างอิง

  • หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ชุมเห็ดเทศ (Chumhet Tet)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 108.
  • หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ชุมเห็ดเทศ Ringworm Bush”. หน้า 75.
  • หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “ชุมเห็ดเทศ”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 208.
  • หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “ชุมเห็ดเทศ”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 271-274.
  • ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [13 มี.ค. 2014].
  • ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [13 มี.ค. 2014].
  • สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [13 มี.ค. 2014].
  • สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน, หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร ณ สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/. [13 มี.ค. 2014].
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 26 คอลัมน์: สมุนไพรน่ารู้. “ชุมเห็ดไทย/ชุมเห็ดเทศ”. (ภก.ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [13 มี.ค. 2014].
  • ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [13 มี.ค. 2014].
  • สถาบันการแพทย์แผนไทย. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ittm-old.dtam.moph.go.th. [13 มี.ค. 2014].
  • พืชสมุนไพร, มหาวิทยาลัยนเรศวร. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: student.nu.ac.th/tewpharmacyherb/mean.htm. [13 มี.ค. 2014].
  • หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. “ชุมเห็ดเทศ”. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). หน้า 74-75.

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

กัญชง Hemp สมุนไพร คล้ายต้นกัญชา ไม่ใช่สารเสพติด ต้นกัญชงเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงผิว บำรุงโลหิต ทำให้ผ่อนคลาย แก้นอนไม่หลับ แก้เวียนหัว แก้ไมเกรน

กัญชง สมุนไพร สมุนไพรไทย

กัญชง ( Hemp ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกัญชง คือ Cannabis sativa L. subsp. Sativa พืชตระกูลกัญชา มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตอบอุ่น ทางตอนใต้ของแคว้นไซบีเรีย ประเทศอินเดีย และประเทศจีน

กัญชง กับ กัญชา

ชื่อของกัญชง คล้ายกับกัญชา หน้าตาและลักษณะของต้นกัญชง ก็เหมือนต้นกัญชา โดยทั่วไปแล้ว รูปลักษณ์ หน้าตา ของกัญชา และ กัญชง เหมือนกันมากแต่กัญชงมีฤทธ์อ่อนกว่า ต้นกัญชงนิยมนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการถักทอ  กัญชงและกัญชา มีถิ่นกำเนิดที่เดียวกัน แต่สายพันธุ์มีความแตกต่างกัน

ความแตกต่างระหว่างกัญชงและกัญชา

สรรพคุณของกัญชงและกัญชา แตกต่างกัน แต่มีคุณสมบัติคล้ายกัน แต่การใช้ประโยชน์ของกัญชงกับกัญชา มีความแตกต่างกัน กัญชงจะนิยมใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆที่ไม่ใช้การทำสารเสพติด

ลักษณะของต้นกัญชง

ต้นกัญชง คือ พืชล้มลุก อายุหนึ่งปี ต้นกัญชงสามารถขยายพันธ์โดยการใช้เมล็ด แหล่งกำเนิดของกัญชงอยู่ในเอเชียกลาง อินเดีย และทวีปยุโรป ลักษณะของ ลำต้นกัญชง ใบกัญชง ดอกกัญชง และ ผลของกัญชง มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของกัญชง ลักษณะลำต้นตั้งตรง มีสีเขียว ความสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะลำต้นอวบน้ำ มีรากเป็นรากแก้ว
  • ใบของกัญชง เป็นใบเดี่ยว ลักษณะคล้ายรูปฝ่ามือ ใบเป็นแฉกๆ ใบเรียงตัวค่อนข้างห่าง ใบเป็นลักษณะฟันเลื่อย ปลายใบแหลม
  • ดอกของกัญชง ต้นกัญชงออกดอกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบและปลายยอด ดอกกัญชงมีขนาดเล็ก สีขาว
  • ผลของกัญชง ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ผิวเรียบ เป็นมัน มีลายสีน้ำตาล ผลกัญชงแห้งเป็นสีเทา ภายในผลมีเมล็ด มีสารอาหารจำพวกแป้งและไขมัน มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง

กัญชงในประเทศไทย

ปัจจุบันประเทศไทย จัดกัญชงว่า เป็นพืชเสพติดประเภท 5 เหมือนกับกัญชา ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522  ด้วยเหตุผล คือ ในกัญชง มี tetrahydrocannabinol  , Cannabinol และ Cannabidiol สารเหล่านี้ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ทำให้มีอาการตื่นเต้น ช่างพูด หัวเราะตลอดเวลา

ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้กัญชาและกัญชงยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เพียงแต่ส่วนของกัญชงที่ได้จากการปลูกหรือผลิตในประเทศ ได้แก่ ใบที่ไม่ติดกับช่อดอก กิ่ง ก้าน ลำต้น เปลือก ราก และ เส้นใย รวมถึงสารสกัดที่มี CBD เป็นส่วนประกอบและกากที่เหลือจากการสกัด ซึ่งต้องมี THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 เมล็ดกัญชงน้ำมันและสารสกัดจากเมล็ดกัญชง ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 โดยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การศึกษาวิจัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอื่น ๆ ได้ ประชาชนสามารถใช้ส่วนต่าง ๆ ของกัญชงที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดดังกล่าว ไปประกอบอาหาร ทำยารักษาโรค เป็นต้น ส่วนการนำเข้ากัญชงสามารถทำได้ โดยขออนุญาตเป็นยาเสพติด ยกเว้น เปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง และเส้นใยแห้ง ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดตามประกาศนี้

ประโยชน์ของกัญชง

การใช้ประโยชน์ของต้นกัญชง มีการเอาเนื้อเยื่อของต้นกัญชง มาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ นำมาทำ เชือก เส้นด้าย สำหรับการทอผ้าและเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงนำมาทำกระดาษได้ ส่วนเมล็ดของกัญชง สามารถนำมาสกันเอาน้ำมัน เป็นส่วนผสมสำหรับผลิตภัณฑืความงาม เช่น สบู่ เครื่องสำอาง ครีมกันแดด แชมพู โลชั่นบำรุงผิว ลิปสติก ลิแผ่นมาส์กหน้า และ นำมาทำน้ำมันเชื้อเพลิง

สรรพคุณของกัญชง

กัญชงด้านการรักษาโรค สำหรับการใช้ประโยชน์ของกัญชง ด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก เมล็ดของกัญชง และ ใบกัญชง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ใบกัญชง สรรพคุณ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยทำให้ผ่อนคลาย แก้ปัญหานอนไม่หลับ รักษาอาการเวียนหัว แก้ปวดหัว รักษาไมเกรน แก้กระหายน้ำ รักษาโรคท้องร่วง รักษาโรคบิด แก้ปวด ช่วยบรรเทาอาการเจ็บ ช่วยคลายกล้ามเนื้อ รักษาโรคเกาต์
  • เมล็ดกัญชง สรรพคุณช่วยสลายนิ่ว น้ำมันจากเมล็ดกัญชง ช่วยบำรุงผิวพรรณ รักษาผิวแห้ง รักษาโรคผิวแห้ง รักษาโรคสะเก็ดเงิน

กัญชง ( Hemp ) คือ พืชสมุนไพร ตระกูลเดียวกับกัญชา ลักษณะคล้ายกัญชา ไม่ใช่สารเสพติด ลักษณะของต้นกัญชง ประโยชน์ของกัญชง สรรพคุณของกัญชง เช่น บำรุงผิวพรรณ บำรุงโลหิต ช่วยทำให้ผ่อนคลาย แก้ปัญหานอนไม่หลับ แก้เวียนหัว รักษาไมเกรน แก้กระหายน้ำ รักษาท้องร่วง รักษาโรคบิด ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ช่วยคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น

 

แหล่งอ้างอิง

  • Florian ML, Kronkright DP, Norton RE (21 March 1991). The Conservation of Artifacts Made from Plant Materials. Getty Publications. pp. 49–. ISBN 978-0-89236-160-1.
  • Greg Green, The Cannabis Breeder’s Bible, Green Candy Press, 2005, pp. 15-16 ISBN 9781931160278
  • “สำเนาที่เก็บถาวร”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-25. สืบค้นเมื่อ 2007-10-06.
  • “ลงราชกิจจาแล้ว ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ปลดล็อกทุกส่วนของกัญชา กัญชง พ้นยาเสพติด ยกเว้น ช่อดอก และเมล็ดกัญชา พร้อมชูเป็นพืชเศรษฐกิจ”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-08. สืบค้นเมื่อ 2021-10-08.
  • “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563” (PDF). Royal Thai Government Gazette. 52: 339–343. 14 December 2020. สืบค้นเมื่อ 8 October 2021.

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้


สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร