สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

ถั่งเช่า ตังถั่งเช่า ตังถั่งแห่เช่า หญ้าหนอน สมุนไพรจีน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ยาอายุวัฒนะ ต้นถั่งเช่าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ และ โทษมีอะไรบ้างถั่งเช่า สมุนไพร สมุนไพรไทย

ถั่งเช่า ( chóng cǎo) ตังถั่งเช่า ( dōng chóng cǎo ) ตังถั่งแห่เช่า ( dōng chóng xià cǎo ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่งเช่า คือ Ophiocordyceps sinensis พืชที่พบในทิเบต แถบเทือกเขาหิมาลัย ตามตำราแพทย์แผนจีน นำมาทำยาบำรุงร่างกาย ถั่งเช่า เป็นเห็ดราชนิดหนึ่ง ที่ขึ้นในช่วงฤดูหนาว เมื่อถึงฤดูร้อนเห็ดราก็จะงอกออกมา เป็นเส้นตรง เราจะเรียกว่า ถั่งเช่า หรือ เห็ดถั่งเช่า

สรรพคุณเด่นของถั่งเช่า คือ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ รักษาอาการนกเขาไม่ขัน รักษาโรคมะเร็ง เห็ดถั่งเช่า มีความต้องการสูง และ ราคาแพงมาก นำมาเป็นส่วนผสมของยาจีนหลากหลาย เป็นยาบำรุงร่างกาย

สายพันธ์ถั่งเช่า

สำหรับสายพันธ์ของถั่งเช่าที่นิยมนำมาทำสมุนไพร มี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธ์สีทอง และ สายพันธ์ทิเบต โดยคำแนะนำในการบริโภค ถั่งเช่า มีดังนี้

  • ถั่งเช่าทิเบต เป็นถั่งเช่าแท้ๆ จากแหล่งธรรมชาติ ควรบริโภคไม่เกินวันละ 8 กรัมต่อวัน
  • ถั่งเช่าสีทอง เป็นถั่งเช่าจากการเพาะเลี้ยง ควรบริโภคไม่เกินวันละ 3 กรัมต่อวัน

ลักษณะของต้นถั่งเช่า

ถั่งเช่า ในช่วงฤดูหนาวจะเป็นหนอน และช่วยฤดูร้อนเป็นหญ้า ลักษณะของตัวหนอน เป็น ตัวหนอนผีเสื้อ ที่มีเห็ดชนิดหนึ่ง ชื่อ วิทยาศาสตร์ Cordyceps sinensis (Berk.) Saec. โดยหนอนชนิดในฤดูหนาวจะฝังตัวจำศีลอยู่ใต้ดินที่ภูเขาหิมะ และ เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน น้ำแข็งละลาย สปอร์ก็เริ่มเจริญเติบโตเป็นเส้นใย งอกออกจากตัวหนอน เห็ดเหล่านี้จะงอกขึ้นสู่พื้นดิน โดยลักษณะคล้ายไม้กระบอก ถั่งเช่า ก็คือ ตัวหนอนและเห็ดที่แห้งแล้วนั่นเอง

ถั่งเช่าที่มีคุณภาพดี ลักษณะของตัวหนอนต้องมีสีเหลืองสดใส และ ยาว ขนาดสมบูรณ์ ส่วนที่เป็นเห็ด ต้องมีสีน้ำตาลเข้ม

คุณค่าทางโภชนาการของถั่งเช่า

จากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของถั่งเช่า พบว่าในถั่งเช่า มีสารสำคัญ คือ Cordycepin เป็นสารที่มีสรรพคุณหลากหลาย เป็นฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยในการควบคุมการใช้พลังงานและปฏิกิริยาตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาพการทำงานของไต และ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบทางเดินหายใจ

สรรพคุณของถั่งเช่า

สำหรับการนำเอาถั่งเช่ามาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร บำรุงร่างกายและยารักษาโรค พบว่า สรรพคุณของถั่งเช่า มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง เพิ่มภูมิต้านทานโรค ทำให้ร่างกายสดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย
  • ช่วนบำรุงผิวพรรณ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการเสื่อมของเซลล์ร่างกาย
  • บำรุงประสาทและสมอล ช่วยระงับประสาท ทำให้ผ่อนคลาย ช่วยเพิ่มความจำ ป้องกันสมองเสื่อม
  • บำรุงหลอดเลือด ลดความดันโลหิต รักษาอาการหัวใจเต้นเร็ว ลดน้ำตาลในเลือด ลดคอเรสเตอรัล กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ บำรุงปอด ลดอาการเจ็บหน้าอก แก้ไอเรื้อรัง รักษาถุงลมโป่งพอง รักษาหลอดลมอักเสบ ช่วยบรรเทาโรคหอบหืด รักษาวัณโรค ช่วยละลายเสมหะ
  • ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้
  • บำรุงตับ บำรุงไต
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
  • ลดอาการอักเสบ ช่วยห้ามเลือด
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยทำให้มีบุตรง่าย ช่วยปรับประจำเดือน ช่วยทำให้อสุจิแข็งแรง

โทษของถั่งเช่า

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่งเช่า ต้องใช้ในประมาณที่เหมาะสม และ ใช้อย่างถูกต้อง โดยข้อควรระวังในการใช้ถั่งเช่า มีดังนี้

  • ผู้ป่วยเบาหวาน ต้องระวังการใช้งาน เนื่องจากถั่งเช่ามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด หากกินยาเบาหวานด้วยอาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปรกติ
  • ผู้ป่วยเกี่ยวกับเกล็ดเลือด ต้องระวังเนื่องจากถั่งเช่า มีฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด

ถั่งเช่า มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ตังถั่งเช่า ตังถั่งแห่เช่า หญ้าหนอน คือ สมุนไพรจีน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ยาอายุวัฒนะ ลักษณะของต้นถั่งเช่าเป็นอย่างไร สรรพคุณของถั่งเช่า คุณค่าทางโภชนาการ และ โทษมีอะไรบ้าง

ว่านชักมดลูก สมุนไพรในตำรายาไทย สรรพคุณรักษาอาการต่างๆของสตรี เช่น ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ปวดท้องประจำเดือน ตกขาว ว่านชักมดลูกเป็นอย่างไร โทษของว่านชักมดลูก ว่านชักมดลูก สมุนไพร สมุนไพรไทย

ว่านชักมดลูก มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ ฮอร์โมนเพศหญิง ในวงการแพทย์ต่างยอมรับว่า ว่านชักมดลูก มีสารกลุ่มไฟโตเอสโตรเจน ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาสุขภาพของสตรีวัยทอง ได้เป็นอย่างดี

ว่านชักมดลูก มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย เป็นพืชตระกลูขิง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของว่านชักมดลูก คือ Curcuma zanthorrhiza Roxb. ว่านชักมดลูกมีหลายสายพันธุ์ สำหรับในประเทศไทย ว่านชักมดลูก พบได้ 2 สายพันธุ์ คือ ว่านชักมดลูกตัวเมีย ( Curcuma comosa Roxb. ) และ ว่านชักมดลูกตัวผู้ ( Curcuma latifolia Roscoe ) แหล่งปลูกว่านชักมดลูกในประทศไทย คือ จังหวัดเลยและจังหวัดเพชรบูรณ์

ลักษณะของต้นว่านชักมดลูก

ต้นว่านชักมดลูก พืชล้มลุก ตระกลูขิง สามารถขยายพันธุ์ ด้วยวิธีเหง้าใต้ดิน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความชื้น ว่านชักมดลูกเป็นพืชที่ทนต่อสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ลักษณะของต้นว่านชักมดลูก มีดังนี้

  • ลำต้นว่านชักมดลูก ลักษณะเป็นเหง้า แตกหน่ออยู่ใต้ดิน เหง้ามีสีเหลือง เหง้าแก่เป็นสีเทา มีกลิ่นฉุน รสขม ลำต้นตั้งตรง เป็นกาบใบลักษณะกลม ความสูงประมาณ 1 เมตร กาบของลำต้นมีสีเขียว ด้านในเยื่อสีขาว คล้ายกับต้นขมิ้น
  • ใบว่านชักมดลูก เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบเรียวยาว เหมือนใบต้นขิง ใบเรียบ สีเขียว ปลายใบแหลม
  • ดอกว่านชักมดลูก ออกดอกเป็นช่อ เป็นกระจุก ลักษณะรูปทรงกระบอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 เซ็นติเมตร ดอกสีแดง ดอกที่เจริญเติบเต็มที่จะเป็นสีเหลือง

สรรพคุณของว่านชักมดลูก

สำหรับการใช้ประโยชนืจากว่านชักมดลูก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค จะใช้ประโยชน์จากส่วนของเหง้า โดยสรรพคุณของว่านชักมดลูก มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ผิวสดใส ผิวขาวนวล ผิวดูมีเลือดฝาด ช่วยลดเลือนรอยเหี่ยวย่น ลดการเกิดฝ้า และ ลดรอยดำของใบหน้า ช่วยกระชับผิวหน้าท้องของสตรีหลังคลอด
  • ป้องกันมะเร็ง ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากช่องคลอด และ มะเร็งในมดลูก ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุของความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ช่วยทำให้ซีสต์หรือเนื้องอกภายในช่องคลอดฝ่อตัวลง
  • ช่วยให้ทำให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้น
  • ช่วยบำรุงความงาม ช่วยทำให้หน้าอกขยาย ทำให้นมใหญ่ขึ้น
  • ช่วยทำให้ผ่อนคลาย ลดอาการอารมณ์แปรปรวนต่างๆ ลดอารมณ์ฉุนเฉียว
  • ช่วยป้องการการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีรีย ช่วยดับกลิ่นปาก ลดกลิ่นตามตัว
  • ช่วยบำรุงสายตาและดวงตา ช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม
  • ช่วยบำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยซ่อมแซมระบบหลอดเลือดและหัวใจ ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวมากขึ้น ป้องกันอาการเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขาดความยืดหยุ่น ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • บำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ยป้องกันการสูญเสียแคลเซียม ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก
  • สรรพคุณสำหรับสตรี ช่วยรักษาอาการมดลูกทรุดตัว รักษาอาการมดลูกต่ำ ช่วยกระชับช่องคลอด ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ช่วยดับกลิ่นภายในช่องคลอด ช่วยเพิ่มน้ำหล่อลื่นในช่องคลอด รักษาอาการหน่วงของมดลูก รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ รักษาอาการปวดท้องประจำเดือน รักษาอาการตกขาว ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • กระตุ้นความรู้สึกทางเพศของสตรี
  • รักษาโรคริดสีดวงทวาร

โทษของว่านชักมดลูก

สำหรับการใช้ประโยชน์จากว่านชักมดลูก มีผลข้างเคียง และ ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ มีดังนี้

  • การรับประทานยาผสมว่าชักมดลูก อาจทำให้มีอาการ วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ตัวร้อน ไอเหมือนจะเป็นไข้ มีผืนขึ้นตามตัว ซึ่งอาการเหล่านี้จะพบในสตรีที่ไม่แข็งแรง หากมีอาการดังที่กล่าวมาให้หยุดรับประทาน หรือ ลดปริมาณในการรับประทาน
  • หากมีอาการปวดหน้าอก ปวดมดลูก ปวดช่องคลอด ให้หยุดรับประทาน หรือ ลดปริมาณ
  • สำหรับสตรีวัยทอง หลังจากรับประทานว่านชักมดลูด อาจมีประจำเดือนกลับมาใหม่ สามารถรับประทานต่อไปได้ ซึ่งประจำเดือนก็จะค่อยๆหมดไปเอง

ว่านชักมดลูก คือ สมุนไพรในตำรายาไทย สรรพคุณรักษาอาการต่างๆของสตรี เช่น ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ปวดท้องประจำเดือน ตกขาว เป็นต้น ลักษณะของว่านชักมดลูก เป็นอย่างไร โทษของว่านชักมดลูก


สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร