สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

ผักกระเฉด นิยมนำยอดอ่อนมาทำอาหารรับประทาน ลักษณะของผักกระเฉดเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักกระเฉด เช่น บำรุงสายตาย ขับเสมหะ ขับลม เป็นต้น โทษของผักกระเฉด มีอะไรบ้าง

ผักกระเฉด สมุนไพร สมุนไพรไทย

ผักกระเฉด ( Water mimosa ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักกระเฉด คือ Neptunia oleracea Lour. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของผักกระเฉด เช่น ผักกระเฉดน้ำ ผักรู้นอน  ผักหนอง ผักหละหนอง ผักฉีด เป็นต้น กระเฉด เป็นพืชน้ำ อายุยืน นิยมนำยอดอ่อนมาทำอาหาร หรือ กินเป็น ผักสด หลากหลายเมนู เช่น ผัดผักกระเฉด ยำผักกระเฉด แกงส้ม ยำวุ้นเส้นผักกระเฉด ผัดหมี่กระเฉด เส้นหมี่ผัดกระเฉดกุ้ง ผัดผักกระเฉดไฟแดง ผักกระเฉดผัดน้ำมันหอย ผักกระเฉดทอดไข่สามรส แกงส้มผักกระเฉดปลาช่อนทอด เป็นต้น

ผักกระเฉดในประเทศไทย

ผักกระเฉด จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถหาซื้อได้ตามตลาดทั่วในในประเทศไทย อาหารไทยมีการนำเอาผักกระเฉดมาปรุงอาหารหลายชนิด เช่น ยำผักกระเฉด แกงส้ม ผัดผักกระเฉด ซึ่งพื้นที่สำหรับปลูกผักกระเฉดมากที่สุดของประเทศไทย คือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีเนื้อที่ประมาณ 1,500 ไร่  และ เนื้อที่ปลูกผักกระเฉดทั้งจังหวัดสมุทรปราการมี 2,500 ไร่

ลักษณะของผักกระเฉด

ผักกระเฉด เป็นพืชล้มลุก พืชน้ำ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี เจริญเติบโตได้ดีในแหล่งน้ำขัง ผักกระเฉดไม่สามารถปลูกในดินที่ไม่มีน้ำขังได้ ผักกระเฉด ไวต่อแสง จะแทงยอดมากในช่วงฤดูร้อน เดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม ของทุกปี ลักษณะของผักกระเฉด มีดังนี้

  • ลำต้นของผักกระเฉด ลักษณะลำต้นเลื้อยยาวลอยบนน้ำ ลำต้นกลม เป็นปล้อง สีเขียว ภายในลำตันไม่เป็นรูกลวง มีนวมสีขาวหุ้มลำต้นให้ลอยน้ำ นวมสีขาว เรียก นม
  • รากของผักกระเฉด เป็นรากฝอยออกรากตามปล้องของลำต้น
  • ใบผักกระเฉด ลักษณะเป็นใบประกอบ สีเขียว ใบเรียงสลับกันตามปลายยอดของผักกระเฉด ใบจะรีเป็นรูปไข่ ขนาดเล็ก ยาวใบอ่อนมีสีเขียว
  • ดอกผักกระเฉด ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกมีสีเหลือง คล้ายดอกกระถิน ดอกออกตามปลายยอดของผักกระเฉด
  • ผลของผักกระเฉด ลักษณะเป็นฝัก ขนาดเล็ก ฝักแบนยาว ภายในฝักมีเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของผักกระเฉด

สำหรับการนำผักกระเฉดมาใช้ประโยชน์นั้น จะนำมารับประทานยอดอ่อน ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักกระเฉด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 29 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 6.4 กรัม ไขมัน 0.4 กรัม แคลเซียม 387 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 7.0 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 5.3 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 3,710 ไมโครกรัม ไทอะมีน 0.12 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.14 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.12 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม ไนอะซีน 3.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 22 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 1.8 กรัม

สรรพคุณของผักกระเฉด

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักกระเฉดด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมการรับประทานทั้งต้น และ ยอดอ่อน โดยสรรพคุณของผักกระเฉด มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างเป็นปกติ ช่วยดับพิษ ช่วยถอนพิษยาเบื่อยาเมา ลดอาการปวดร้อน ลดไข้ ช่วยขับเสมหะ
  • บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับลมในกระเพาะ ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก
  • บำรุงาสายตา ผักกระเฉดมีวิตามินเอสูง
  • ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • ช่วยบำรุงเลือด ผักกระเฉดมีธาตุเหล็ก จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคตับอักเสบ

โทษของผักกระเฉด

สำหรับการรับประทานผักกระเฉด มีคำแนะนำ ในการรับประทานผักกระเฉด ดังนี้

  • การนำผักกระเฉดมาทำอาหาร ควรทำให้สุกก่อน เพื่อ ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิ
  • ผักกระเฉดก่อนนำมาทำอาหาร ให้ล้างให้สะอาด เพื่อป้องกันพยาธิ และ ยาฆ่าแมลง

ดีปลี ( Long pepper ) สมุนไพรสรรพคุณหลากหลาย ลักษณะของต้นดีปลีเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของดีปลี เช่น ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ โทษของดีปลี มีอะไรบ้างดีปลี สมุนไพร สรรพคุณของดีปลี

ดีปลี ( Long pepper ) สมุนไพรโบราณ แหล่งผลิตดีปลีที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย ซึ่งประเทศไทยมีการปลูกดีปลีทางภาคใต้และภาคเหนือ ดีปลีนิยมนำผลมาทำเครื่องเทศ สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ

ต้นดีปลี ( Long pepper ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของดีปลี คือ Piper retrofractum Vahl พืชตระกลูพริกไทย ชื่อเรียกอื่นๆของดีปลี เช่น ดีปลีเชือก ( ภาคใต้ ) ปานนุ ( ภาคกลาง ) ประดงข้อ (ภาคกลาง) พิษพญาไฟ ปีกผัวะ เป็นต้น

ลักษณะของต้นดีปลี

ถิ่นกำเนิดของต้นดีปลีอยู่ที่เกาะโมลัคคาส ( Moluccas ) ที่มหาสมุทรอินเดีย เป็นไม้เถา เจริญเติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น ชอบแสงแดดรำไร ลักษณะของต้นดีปลี มีดังนี้

  • ลำต้นดีปลี ลักษณะเป็นเถา มีรากฝอยบริเวณข้อของลำต้น เพื่อยึดเกาะตามไม้ใหญ่ เถาดีปลีค่อนข้างเหนียว มีข้อนูน แตกกิ่งก้านสาขามาก
  • ใบดีปลี ลักษณะเป็นใบเดี่ยว คล้ายไข่แกมขอบขนาน ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะใบเป็นมัน ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ
  • ดอกดีปลี หรือ ผลดีปลี ลักษณะยาว ผลอัดกันแน่นเป็นช่อทรงกระบอก โคนใหญ่กว่าปลายไม่มาก ปลายผลดีปลีเล็กมน ผลดีปลีสดสีเขียว ผลสุกสีแดง ผิวของผลค่อนข้างหยาบ มีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน

สรรพคุณของดีปลี

การใช้ประโยชน์จากดีปลีด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ได้หลายส่วน จากข้อมูลทางเภสัชวิทยาของดีปลี
พบว่าดีปลี มีฤทธิ์ต้านเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยให้นอนหลับ ลดไขมันในเส้นเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด การใช้ประโยชน์จากดีปลี ใช้ ผล ใบ ราก ดอก และ ผล สรรพคุณของดีปลี มีดังนี้

  • ผลดีปลี สรรพคุณแก้พิษงู ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ ลดไข้ แก้ปวดฟัน รักษาอัมพฤกษ์ รักษาอัมพาต แก้อาการปวดเมื่อยตามเส้นเอ็น แก้ท้องร่วง ช่วยขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบหืด รักษาริดสีดวง แก้อาการวิงเวียนศีรษะ เป็นยาขับระดู
  • รากดีปลี สรรพคุณช่วยลดไข้ รักษาอัมพฤกษ์ รักษาอัมพาต แก้ท้องร่วง แก้อาการจุกเสียด รักษาลำไส้อักเสบ ช่วยขับแก๊สในในกระเพาะอาหาร
  • เถาดีปลี สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้ปวดฟัน แก้อาการปวดท้อง ช่วยขับลม แก้จุกเสียด แก้อืดเฟ้อ รักษาท้องร่วง รักษาแผลฟกช้ำ แก้ปวดเมื่อยตามตัว ช่วยขับปัสสาวะ
  • ใบดีปลี สรรพคุณแก้ไอ แก้อาการปวดเมื่อย แก้ปวดเส้นเอ็น
  • ดอกดีปลี สรรพคุณแก้คลื่นไส้อาเจียน แก้เวียนหัว ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง รักษาโรคหืดหอบ ช่วยขับเสมหะ แก้อาการไอ รักษาโรคหลอดลมอักเสบ รักษาโรคริดสีดวงทวาร

โทษของดีปลี

สำหรับการใช้ประโยชน์จากดีปลี ด้านสมุนไพร มีข้อควรระวังในการรับประทานดีปลี ดังนี้

  • การรับประทานดีปลีมากเกินไป จะทำให้กระเพาะอาหารอักเสบได้ หรือ แสบทวารหนักต้อนขับถ่าย เพราะ ดีปลีมีรสเผ็ดร้อน
  • การกินดีปลีทำให้ร่างกายร้อน สำหรับผู้ป่วยที่มีไข้ ไม่ควรรับประทานดีปลี เพราะ จะทำให้ไข้สูงขึ้น
  • สตรีมีตั้งครรภ์ ห้ามรับประทานดีปลี อาจจะทำให้แท้งบุตรได้ เพราะทำให้ความร้อนในร่างกายสูง เป็นอันตรายต่อบุตรในท้อง

สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร