ต้นมะกรูด นิยมนำมาทำอาหาร ใบมะกรูด ผิวมะกรูด น้ำมะกรูด ให้กลิ่นหอมและรสเปรี้ยว ต้นมะกรูดเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยขับลม ดับกลิ่นคาวอาหาร บำรุงเส้นผม โทษมีอะไรบ้างมะกรูด สมุนไพร สรรพคุณของมะกรูด สมุนไพรไทย

มะกรูด ( Kaffir lime ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะกรูด คือ Citrus hystrix DC. ชื่อเรียกอื่นๆของมะกรูด เช่น มะขู มะขุน มะขูด ส้มกรูด ส้มมั่วผี เป็นต้น

มะกรูด พืชตระกูลส้ม เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มะกรูดมีคุณสมบัติสำคัญหลายอย่าง ใช้ในการทำยารักษาโรคและด้านความสวยความงาม มะกรูดยังจัดเป็นไม้มงคล นิยมปลูกไว้บริเวณบ้าน เชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยมักจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน

ลักษณะของต้นมะกรูด

ต้นมะกรูด ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก พืชท้องถิ่นของไทย มะกรูด นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารไทย ทั้งใบมะกรูด ผิวมะกรูด และ ผลมะกรูด มะกรูดเป็นพืชตระกลูเดียวกันกับส้ม ให้กลิ่นหอม และ รสชาติเปรี้ยว การขยายพันธ์ มะกรูดสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง การติดตา การต่อยอด การเพาะเมล็ด เป็นต้น โดยรายละเอียดของต้นมะกรูด มีดังนี้

  • ลำต้นมะกรูด เนื้อไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน ผิวของลำต้นเรียบ มีหนามตามลำต้นและกิ่ง ความสูงประมาณ ไม่เกิน 2 เมตร
  • ใบมะกรูด ลักษณะเป็นใบประกอบ ออกตามกิ่งก้าน ใบหนา เรียบ ผิวใบมัน มีสีเขียว ใบมีกลิ่นหอมมาก ลดความดันโลหิต
  • ดอกมะกรูด ออกเป็นช่อ ดอกมะกรูดมีสีขาว ออกดอกตามยอดและซอกใบ ดอกมีกลิ่นหอมเล็กน้อย
  • ผลมะกรูด ลักษณะกลม มีสีเขียว ผิวของผลมะกรูดขรุขระ คล้ายผลส้มซ่า ภายในผมมีน้ำมากรสเปรี้ยว ผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของมะกรูด

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะกรูด มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบมะกรูด ผิวมะกรูด และ น้ำมะกรูด รวมถึงน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด โดยรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 171 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 6.8 กรัม ไขมัน 3.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29 กรัม กากใยอาหาร 8.2 กรัม แคลเซียม 1672 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 303 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.35 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 20 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผิวลูกมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 21.3 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม ไขมัน 1.1 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม แคลเซียม 322 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 115 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.8 กรัม โปรตีน 0.6 กรัม แคลเซียม 20 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี2 58 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 55 มิลลิกรัม

น้ำมันหอมระเหยของมะกรูด พบว่ามีสารใน 2 กลุ่ม คือ สารที่ไม่ใช่กลุ่มเทอร์พีน ( non-terpene) และ สารในกลุ่มเทอร์พีน ( terpenes)

สารเคมีสำคัญที่พบในใบมะกรูก และ ผิวมะกรูด คือ β-pinene limonene sabinene citronellal α-pinene myrcene 1,8 cineol α-terpineol trans – sabinene hydrate copaene linalool β-cubenene geranyl acetate , citronellol caryophyllene elemol δ-cardinene citronellene acetate terpinen-4-ol, p-elemene camphene γ-terpinene terpinolene และ nerolidol

สรรพคุณของมะกรูด

น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างและเป็นส่วนผสมของยาหลายชนิด มะกรูด สามารถนำเอามาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนประกอบ ทั้ง ผลมะกรูด ใบมะกรูด และ รากมะกรูด โดยสรรพคุณของมะกรูด มีดังนี้

  • ผลมะกรูด สรรพคุณแก้ปวดหัว ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยขับพยาธิ บำรุงกำลัง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ บำรุงเลือด ช่วยฟอกเลือด ช่วยขับระดู ขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเส้นผม ช่วยเจริญอาหาร รักษาโรคเส้นผม รักษาโรคผิวหนัง ใช้ทำความสะอาด บำรุงเส้นผม ช่วยผ่อนคลาย ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเลือด ขับลม ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ บำรุงเลือด
  • ใบมะกรูด สรรพคุณช่วยขับลม แก้หน้ามืด แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยผ่อนคลาย ทำให้หลับสบาย ช่วยเจริญอาหาร
  • รากมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียด แน่นท้อง บำรุงเลือด
  • ลำต้นมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียดแน่นท้อง บำรุงโลหิต
  • น้ำมะกรูด สามารถใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ใช้บำรุงเส้นผม ล้างสิ่งอุดตันบนใบหน้า ผิวของผลมะกรูด สามารถนำมาทำเป็นยาขับลม บำรุงหัวใจ แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ท้องอืด

โทษของมะกรุด

สำหรับมะกรูด เป็นพิชที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ผลของมะกรูด มีรสเปรี้ยว สามารถใช้แทนความเปรี้ยวของมะนาวได้ การบริโภคหรือใช้ประโยชน์จากมะกรูดต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ของมะกรูด มีดังนี้

  • น้ำมันมะกรูดหากสัมผัสกับผิวของมนุษย์โดยตรง อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ โดยเฉพาะเมื่อโดนแสงแดด จะทำให้แพ้แสงแดดจนกลายเป็นแผลไหม้ได้ เนื่องจากน้ำมะกรูด มีสารออกซิเพดามิน ( oxypedamin ) ทำให้เกิดอาการแพ้ เมื่อโดนอากาศเป็นเวลานาน อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ดังนั้น หากสัมผัสน้ำมันมะกรูด หรือ น้ำมะกรูด ให้ล้างน้ำให้สะอาด
  • น้ำมะกรูดมีกรดสูง ไม่ควรรับประทานน้ำมะกรูดขณะท้องว่าง เพราะ อาจทำให้แสบท้อง ระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้
  • น้ำมะกรูด มีรสเปรี้ยว ซึ่งการกินเปรี้ยวมากเกินไป ส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ทำลายฟัน ทำให้ท้องร่วง ทำให้กระดูกผุ เป็นต้น

ต้นมะกรูด พืชพื้นบ้าน อยู่คู่สังคมไทย นิยมนำมาใช้ทำอาหาร ใบมะกรูด ผิวมะกรูด น้ำมะกรูด ให้กลิ่นหอมและรสเปรี้ยว ลักษณะของต้นมะกรูด ประโยชน์และสรรพคุณของมะกรูด เช่น ช่วยขับลม ดับกลิ่นคาวอาหาร บำรุงเส้นผม โทษของมะกรูด มีอะไรบ้าง

สารส้ม ( Alum ) คือ แร่ธาตุชนิดหนึ่ง เป็นเกลือที่มีธาตุอะลูมิเนียม และ ซัลเฟต ลักษณะของสารส้ม ประโยชน์ของสารส้ม สรรพคุณของสารส้ม และ โทษของสารส้ม มีอะไรบ้าง

สารส้ม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ประเภทของสารส้ม

สำหรับ สารส้ม มาจากภาษาละติน คำว่า Alumen แปลว่า สารที่ทำให้หดตัว เป็นเกลือเชิงซ้อน ที่มีธาตุอะลูมิเนียม และ ซัลเฟต เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งประเภทของสารส้มสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ประกอบด้วย

  • อะลูมิเนียมซัลเฟต ซึ่งสารส้มประภทนี้มีลักษณะเป็นก้อนผงสีขาว
  • โพแทสเซียมอะลั่ม ซึ่งสารส้มประเภทนี้มีลักษณะเป็นผลึกใสไม่มีสี
  • แอมโมเนียมอะลั่ม ซึ่งสารส้มประเภทนี้มีลักษณะเป็นผลึกใสไม่มีสี

ลักษณะของสารส้ม

สารส้มมีลักษณะเป็นผลึกใส สีขาว ไม่มีกลิ่น รสฝาด สามารถบดเป็นผงสีขาวได้ สารส้ม ลักษณะคล้ายน้ำตาลกรวด หากดูไม่ละเอียด ก็แยกไม่ออก องค์ประกอบทางเคมีของสารส้ม เป็นเกลือซัลเฟตของอะลูมิเนียม มี 2 ชนิด คือ เกลือโพแทสเซียมอะลูมิเนียมซัลเฟต (K2SO4.Al2(SO4)3.24 H2O และ เกลือแอมโมเนียมอะลูมิเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4.Al2(SO4)3.24 H2O

คุณสมบัติของสารส้ม

  • ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
  • ไม่เปื้อนเสื้อผ้า
  • ปลอดภัยต่อร่างกายไม่ทำให้รูขุมขนอุดตัน
  • ไม่ซึมเข้าร่างกาย
  • ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
  • ไม่เสื่อมสภาพคงทนต่อสภาพแวดล้อม

สรรพคุณของสารส้ม

สำหรับประโยชน์ของสารส้ม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ตามตำราสมุนไพรแพทย์แผนไทย  บอกว่า สารส้มมีรสฝาด เปรี้ยว ช่วยสมานแผล แก้ระดูขาว รักษาหนองใน รักษาแผลหนองเรื้อรัง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับนิ่ว รักษาปอดอักเสบ ช่วยฟอกเลือด รักษาอาการเหงือกบวม รักษาแผลในปากลำคอ ช่วยห้ามเลือด ทำให้หนองแห้ง บรรเทาอาการไอ ทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ

ประโยชน์ของสารส้ม

สำหรับการใช้ประโยชน์ของสารส้ม นอกจากใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกายแล้ว สารส้มสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆอีก มีรายลเอียด ดังนี้

  • ใช้ระงับกลิ่นตัว โดนใช้สารส้มแกว้งในน้ำ ใช้ผ้าชุบน้ำที่แกว่งสารส้ม เช็ดตามตัว ช่วยดับกลิ่นตัวได้
  • ใช้ชุบไส้ตะเกียง ทำให้ไม่มีควัน
  • ใช้ดับกลิ่นคาวของอาหาร โดยใช้สารส้มล้าปลา
  • ใช้ถนอมอาหาร สารส้มแกว่งในน้ำช่วยให้ ถั่วงอก พริก สดตลอดเวลา หรือ ใช้เป็นสารกันบูด โดยใช้สารสมผสมแป้งเปียก ช่วกันอาหารบูด
  • ทำให้น้ำใส โดยใช้สารส้มแกว่งในน้ำ
  • ทำให้สีติดผ้าและกระดาษ ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ และ การย้อมสีผ้า
  • ช่วยให้พริกขี้หนูดูสดใส เก็บไว้ได้หลายวัน โดยการนำพริกขี้หนูแช่ในน้ำสารส้มสักพัก แล้วนำมาผึ่งไว้ ก่อนทานก็ควรล้างพริกเสียก่อน
  • นำสารส้มมาทาส้นเท้า ช่วยป้องกันส้นเท้าแตกได้
  • ป้องกันยุงกัน น้ำสารส้มนำมาทาผิวป้องกันอาการคันจากยุงกัดได้

โทษของสารส้ม

สำหรับการใช้ประโยชน์ของสารส้ม หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจะเกิดประโชยน์ ซึ่งโทษของสารส้ม มีรายละเอียด ดังนี้

  • สารส้ม มีฤทธิ์เป็รพิษ หากกินเข้าไป จะทำให้คลื่นไส้อาเจียน ปวดหัว
  • การกินน้ำที่มีสารส้ม ทำให้ร่างกายดูดซึมอลูมิเนียมแพร่กระจายเข้าสู่ระบบเลือด ปอด ตับ กระดูก และ สมอง อาจทำให้ไตเสื่อมได้ สารส้มที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำดื่ม อาจทำให้เกิดอาการอาเจียน ท้องร่วง ทำลายเนื้อเยื่อของประสาทได้

แหล่งอ้างอิง

  • นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 1 สิงหาคม 2550
  • ผู้จัดการออนไลน์, คำให้สัมภาษณ์ นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 12 พฤศจิกายน 2555
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย