กระชาย สมุนไพร ฉายา โสมไทย นิยมนำเหง้ากระชายมาทำยาและอาหารรับประทาน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับเหงื่อ อยู่ในสูตรยาสมุนไพรโบราณมากมาย ต้นกระชายเป็นอย่างไรกระชาย สมุนไพร โสมไทย

ต้นกระชาย ภาษาอังกฤษ เรียก Fingerroot ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ Boesenbergia pandurata (Roxb. ) Schitr สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระชาย เช่น ว่านพระอาทิตย์ ขิงทราย ขิงแดง ขิงกระชาย กะแอน จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ เป๊าะสี่ ระแอน เป๊าะซอเร้าะ ขิงจีน เป็นต้น กระชาย มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประโยชน์ของกระชาย รากกระชายเป็นแหล่งสะสมสารอาหารมากมาย เรียกว่า นมกระชาย รากกระชายมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว กระชายนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร หลากหลายชนิด ทั้งน้ำพริกแกง แกง ผัด ซึ่งคุณสมบัติหนึ่งของกระชายชวยดับกลิ่นคาวของอาหาร นอกจากนั้นในตำรายาแผนโบราณ ใช้รักษาปากเป็นแผล ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ เป็นต้น สำหรับกระชายนั้นมี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และกระชายเหลือง ส่วนกระชายที่นิยมใช้กัน คือ กระชายเหลือง และกระชายดำ

ชนิดของกระชาย

สำหรับกระชาย ทีนิยมปลูกกัน มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายดำ ลักษะณะของเนื้อหัวกระชายจะมีสีดำ รสเผ็ดร้อน
  • กระชายแดง ลักษณะทั่วไปเหมือนกันกับกระชายเหลือง แต่จะแตกต่างกันตรงเหง้าและเนื้อด้านในของเหง้า โดยเนื้อจะมีสีเหลืองแกมส้ม
  • กระชายเหลือง ลักษณะของกระชายเหลือง เนื้อด้านในของหัวกระชาย มีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาทำอาหาร

ลักษณะของต้นกระชาย 

ต้นกระชาย เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน คล้ายกับ ขิง ข่า ขมิ้น สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นกระชาย มีดังนี้

  • เหง้ากระชาย อยู่ใต้ดิน เหง้าสั้น แตกหน่อได้ รูปทรงกระบอกยาว ปลายเรียว ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
  • ใบกระชาย ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบแทงออกมาจากเหง้ากระชาย ใบทรงรียาว โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม มีขอบเรียบ สีเขียว
  • ดอกกระชาย ลักษณะดอกเป็นช่อ ก้านดอกแทงออกมาจากเหง้ากระชาย มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน ๆ ดอกเป็นรูปหอกกลีบเลี้ยงมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน
  • ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย

สำหรับการรับประทานกระชายนิยมรับประทานส่วนเหง้าเป็นอาหาร นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระชาย ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 2 กรัม ไขมันอิ่มตัว 0.2 กรัม โพแทสเซียม 415 มิลลิกรัม โซเดียม 13 กรัม คาร์โบไฮเดรต 17.8 กรัม วิตามินบี6 ร้อยละ 8 วิตามินซี ร้อยละ 8 โปรตีน 1.8 กรัม และ น้ำตาล 1.7 กรัม

สรรพคุณของกระชาย 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระชายด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากเหง้ากระชาย ใบกระชาย และ น้ำมันกระชาย สรรพคุณของกระชาย มีดังนี้

  • ใบกระชาย สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้โลหิตเป็นพิษ รักษาแผลปากเปื่อย ช่วยถอนพิษ
  • น้ำมันกระชาย สรรพคุณรักษาเชื้อราที่หนังศีรษะ
  • เหง้ากระชาย สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้เวียนหัว เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกระดูก ปรับความสมดุลย์ของฮอร์โมนร่างกาย บำรุงสมอง ลดความดัน รักษาแผลปากเปื่อย แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยขับระดู ช่วยขับน้ำคาวปลา แก้ปวดเมื่อย ช่วยต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย รักษาแผลฝี ป้องกันเชื้อรา

วิธีเตรียมน้ำกระชายสำหรับดื่ม 

น้ำกระชายนอกจากจะใช้ดื่มดับกระหายได้ดี ก็ยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย รักษาโรคต่างๆได้ มีวิธีการเตรียมดังนี้

  • นำกระชายเหลืองส่วนรากและเหง้า มาล้างน้ำให้สะอาด ตัดแต่งรากที่รุงรังออก ตัดส่วนหัวและส่นท้ายทิ้งไป โดยขูดเปลือกออกล้างน้ำสะอาดอีกรอบ
  • นำมาหั่นเป็นแว่น เพื่อให้ง่ายต่อการปั่นละเอียดต่อไป
  • นำมาปั่นในเครื่องปั่นและผสมกับน้ำเปล่าต้มสุก ปั่นจนละเอียด
  • เทใส่ผ้าขาวบาง หรือ กระชอน หากน้ำกระชายไม่ไหลสามารถเติมน้ำอุ่นเพิ่มได้ คั้นเอาเฉพาะน้ำเท่านั้น
  • เก็บรักษาในตู้เย็นใช้สำหรับดื่ม สามารถเก็บรักษาได้เป็นเดือน
  • เวลาดื่มให้ผสมน้ำมะนาวและน้ำผึ้งนิดหน่อยเพื่อให้ง่ายต่อการดื่ม สามารถดื่มได้ตามใจชอบ

โทษของกระชาย

ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากกระชาย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ไม่ควรกินกระชายจำนวนมาก และ ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากได้ เนื่องจากกระชายมีฤทธิ์ร้อน
  • การกินกระชายในปริมาณมาก ทำให้เกิดปัญหาเหงือกร่น และ ภาวะใจสั่นได้
  • กระชาย มีผลต่อการทำงานของตับ ผู้ป่วยเกี่ยวกับตับ ไม่ควรกินกระชายในประมาณมาก

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

กระทือ พืชพื้นบ้านตระกูลขิง สามารถรับประทานเหง้าได้ ลักษณะของต้นกระทือเป็นอย่างไร สรรพคุณของกระทือ ช่วยขับลม แก้เคล็ดขัดยอก บำรุงน้ำนม โทษของกระทือมีอะไรบ้างกระทือ สมุนไพร สรรพคุณของกระทือ

ต้นกระทือ ภาษาอังกฤษ เรียก Shampoo ginger ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระทือ คือ Zingiber zerumbet (L.) Roscoe ex Sm. กระทือจัดเป็นพืชตระกูลขิง สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระทือ เช่น เฮียวแดง กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ เฮียวดำ แฮวดำ ทือ เป็นต้น ต้นกระทือ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย และได้มีการแพร่กระจายไปประเทศต่างๆในเอเชีย เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เราเรียกว่า เหง้ากระทือ หรือ หัวกระทือ

มีการใช้ประโยน์จากกระทือหลากหลายทั้งด้านอาหารและการรักษาโรค หัวของกะทือนำมาแก้เคล็ดขัดยอกได้ หรือ คั้นเอาน้ำจากหัวกระทือมาดื่มช่วยขับลม บำรุงน้ำนม นอกจากนั้นหัวกระทือ และ ลำต้นอ่อน สามารถนำมาทำอาหารรับประทานเป็นผักสด ทคานคู่กับน้ำพริกได้

ลักษณะของต้นกระทือ

ต้นกระทือ สามารถพบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ชอบดินร่วนที่มีความชื้น เช่น ข้างลำน้ำ ข้างลำห้วย สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นกระทือ มีดังนี้

  • ลำต้นกระทือ ส่วนของลำต้นจะสามารถแบ่งได้ 2 ส่วน คือ ลำต้นเหนือดิน และ ลำต้นใต้ดิน ลำต้นเหนือดินมีเนื้ออ่อนเป็นเส้นใย ลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะกลม หุ้มด้วยกาบใบ ส่วนลำต้นใต้ดิน หรือเรียกว่า เหง้า ลักษณะกลมเป็นแง่งๆ คล้ายเหง้าข่า เนื้อเหง้าเป็นสีขาว เหง้าแก่จะมีเนื้อเป็นสีเหลือง
  • ใบกระทือ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ซึ่งแทงใบออกจากลำต้นหนือดิน ใบเป็นรูปหอก ยาว ใบเรียบ ใบมีสีเขียว ปลายใบแหลมเล็ก
  • ดอกกระทือ ลักษณะดอกเป็นช่อ ซึ่งดอกจะแทงออกจากก้านช่อ ออกจากเหง้าใต้ดินแทงก้านดอกขึ้นมาเหนือดิน ก้านดอกลักษณะกลม ยาวประมาณ 45 เซนติเมตร ส่วนตัวช่อดอกลักษณะกลม กลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยม กลีบดอกมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ดอกกระทือจะออกดอกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายนของทุกปี
  • ผลและเมล็ดของกระทือ ลักษณะรูปไข่ เนื้อหุ้มเมล็ดมีสีขาว เมล็ดมีลักษณะกลม เปลือกหุ้มเมล็ดมีสีดำ ผิวเรียบ เป็นมัน

สรรพคุณของกระทือ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระทือด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากเหง้ากระทือ รากกระทือ ลำต้นกระทือ ใบกระทือ และ ดอกกระทือ สรรพคุณของกระทือ มีดังนี้

  • เหง้ากระทือ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นการย่อยอาหาร บำรุงร่างกาย แก้ร้อนใน ช่วยบำรุงน้ำนม แก้โรคบิด ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปวดท้อง ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ รักษาฝี
  • รากกระทือ สรรพคุณช่วยลดไข้ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยขับปัสสาวะ และ แก้เคล็ดขัดยอก
  • ลำต้นกระทือ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ลดไข้ แก้ไอ
  • ใบกระทือ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยขับเลือดเสีย ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ดอกกระทือ สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยขับลม ลดไข้

โทษของกระทือ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระทือ เนื้อจากกระทือมีรสเผ็ดร้อน จึงไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินไป เนื่องจากอาจทำให้คลื่นไส้และอาเจียนได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย