ตะไคร้ นิยมนำมาประกอบอาหาร ต้นตะไคร้เป็นอย่างไร สรรพคุณของตะไคร้ เช่น ช่วยเจริญอาหาร ลดความดัน แก้ปวดท้อง ลดไข้ โทษของตะไคร้เป็นอย่างไรตะไคร้ สมุนไพร สรรพคุณของตะไคร้

ตะไคร้ สมุนไพร เป็นไม้ล้มลุกวงศ์เดียวกันกับหญ้า มีอายุมากกว่า 1 ปี มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว มาเลเชีย อินโดนีเชีย เป็นต้น เป็นพืชที่มีสารอาหารและวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก

ตะไคร้ ภาษาอังกฤษ เรียก Lemon grass ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตะไคร้ เช่น คาหอม ไคร จะไคร เชิดเกรย หัวสิงไค เหลอะเกรย ห่อวอตะโป เฮียงเม้า เป็นต้น ตะไคร้สามารถพบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งตะไคร้ที่นิยมปลูก มี 6 ชนิด คือ ตะไคร้หอม ตะไคร้ต้น ตะไคร้กอ ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และ ตะไคร้หางสิงห์

ประโยชน์ของตะไคร้ นอกจากนำมาเป็นอาหารและทำยา ยังสามารถนำตะไคร้มาใช้ประโยชน์ได้จากกลิ่นเฉพาะตัวได้ เช่น ทำเครื่องดื่ม นำน้ำมันหอมระเหยมาเป็นส่วยประกอบของยานวด ทำน้ำยาหมักผมบำรุงเส้นผม นำมาทำเป็นยากันยุง เป็นต้น

ลักษณะของต้นตะไคร้ 

ต้นตะไคร้ เป็นพืชล้มลุกที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว อายุเกิน 1 ปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำ และ แยกหน่อ ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้น ลักษณะลำต้นตั้งตรง รูปทรงกระบอก ความสูงประมาณ 30-60 เซ็นติเมตร โคนลำต้นมีกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม
  • ใบ ลักษณะของใบตะไค มี 3 ส่วน คือ ก้านใบ หูใบ และใบ ซึ่งใบตะไคร้เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว เรียวยาว ขอบใบคม ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม
  • ดอกตะไคร้ ลักษณะดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้

สำหรับการบริโภคตะไคร้เป็นอาหาร นิยมใช้ส่วยของลำต้น ซึ่งจะมีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง  143 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม กากใยอาหาร 4.2 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.6 มิลลิกรัม วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

น้ำมันหอมระเหยจากใบและลำต้นของตะไคร้ มีสารซิทราล ( Citral ) มากที่สุดประมาณร้อยละ 75 นอกจากนั้นยังประกอบด้วย ทรานซ์ไอโซซิทราล ( Trans-isocitral ) ไลโมเนน ( Limonene ) ยูจีนอล ( Eugenol ) ลินาลูล ( Linalool ) เจอรานิออล ( Geraniol ) คาริโอฟิวลีนออกไซด์ ( Caryophyllene oxide ) เจอรานิล อะซิเตท ( Geranyl acetate ) 6-เมทิล 5-เฮพเทน-2-วัน ( 6-Methyl 5-hepten-2-one ) 4-โนนาโนน ( 4-Nonanone ) เมทิลเฮพทีโนน ( Methyl heptennone ) ซิโทรเนลลอล ( Citronellol ) ไมร์ซีน ( Myrcene ) และ การบูร ( Camphor )

สรรพคุณของตะไคร้ 

สำหรับการใช้ประโชยน์จากตะไคร้ ในด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ทั้งต้น เหง้า ราก ลำต้น และ ใบ สรรพคุณของตะไคร้ มีรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นของตะไคร้ สรรพคุณแก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ไล่แมลง
  • เหง้านตะไคร้ สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะ ลดความดันสูง
  • ใบตะไคร้ สรรพคุณแก้กษัยเส้น ช่วยลดความดันโลหิตสูง ลดไข้
  • รากตะไคร้ สรรพคุณลดไข้ ปวดท้อง แก้ท้องเสีย
  • ลำต้นตะไคร้ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเส้นผม
  • น้ำมันตะไคร้ สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก ไล่แมลง

น้ำตะไคร้

สำหรับการทำน้ำตะไคร้ สามารถทำได้ โดย เตรียมตะไคร้สด 1 ต้น ต่อ 1 แก้ว นำมาล้างน้ำให้สะอาด ทุบให้แตก เพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมา นำมาหั่นเป็นท่อน เพื่อง่ายต่อการต้ม หากต้องการเพิ่มกลิ่นหอมมากขึ้น สามารถเพิ่มใบเตย ประมาณ 3 ใบ มัดรวมกัน แล้วใส่เพิ่มขณะต้มได้ ตั้งน้ำเดือน ใส่ตะไคร้หั่นที่เตรียมไว้ เคี่ยวจนได้น้ำสีเขียวออกมา ตั้งทิ้งไว้พออุ่น แนะนำดื่มเลย จะดีต่อสุขภาพมากที่สุด แต่หากไม่ชินกับรส สามารถเติมน้ำตาลได้ตามชอบ

โทษของตะไคร้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ ต้องเลือกใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ มีดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ ไม่ควรนำมารับประทาน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองช่องปากและลำคอ ทำให้เกิดอาการอาเจียน และ หากกินมากเกินไปเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ อย่างไรก็ตามการรับประทานตะไคร้สดๆไม่มีรายงานว่ามีอันตราย แต่การรับประทานในประมาณที่มากเกินไปก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน

ตะไคร้ เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป

แหล่งอ้างอิง

  • https://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้
  • “Cymbopogon citratus information from NPGS/GRIN”. www.ars-grin.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-20. สืบค้นเมื่อ 2008-03-02.
  • https://puechkaset.com/ตะไคร้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

โหระพา สมุนไพร กลิ่นหอม นิยมนำใบโหระพามาทำอาหาร แต่งกลิ่น ต้นโหระพาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร โทษของโหระพามีอะไรบ้าง

โหระพา สมุนไพร

โหระพา ( Sweet basil ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของโหระพา คือ Ocimum basilicum L. จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับต้นกะเพรา มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและแอฟริกา ผักมีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหารและแต่งกลิ่นอาหาร ผักพื้นบ้าน มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และ โหระพามีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โหระพาสามารถนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยได้ น้ำมันหอมระเหยจากโหระพา อาจทำให้เกิดอาการแพ้กับสตรีมีตั้งครรภ์ได้

คุณค่าทางโภชนากการของโหระพา

ในโหระพามีประโยชน์ต่างๆมากมาย เป็นผักสวนครัวที่นิยมรับประทานใบสดเป็นอาหาร จึงมีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของโหระพาสดๆขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 251 กิโลแคลอรี่

  • มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก แมงกานีส โพแทสเซียม โซเดียม สังกะสี และ กากใยอาหาร
  • มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน
  • มีสารเคมีสำคัญประกอบด้วย Methyl chavicol มากถึงร้อยละ 90 และ Pinene β-Pinene β-Bourbonene β-Elemene β-Cubebene β-Caryophyllene β-Copaene β-Acoradiene Camphor Ocimene Eucalyptol Linalool Benzaldehyde Sabinene  Myrcene Cis-Hex-3-Enyl Acetate p-Cymene Limonene Eucalyptol  cis-Beta-Ocimene cis-Linalool Oxide trans-Linalool Oxide trans-Myroxide Neo-Allo-Ocimene Menth-2-en-1-ol Pinocarvone Terpinen-4-ol Endo Fenchyl Acetate Nerol Neral Geraniol Geranial Carvacrol Bicycloelemene Exo-2-Hydroxycineole Acetate Cubebene Geranyl Acetate Methyl Eugenol Trans-Alpha-ergamotene Cadina-3,5-Diene Epsilon-Muurolene Germacrene Bicylogermacrene

ลักษณะของต้นโหระพา

ต้นโหระพา สมุนไพรประเภทผักสวนครัว พืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ทวีปเอเชีย และ ทวีปอาฟริกา โหระพาสามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด และ การปักชำ รายละเอียดของต้นโพระพา มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากและลำต้นโหระพา โหระพามีรากเป็นระบบรากแก้วและรากฝอย ลำต้นของโหระพา สีม่วงแดง ความสูงประมาณ 60 เซ็นติเมตร ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม อุ้มน้ำ เนื้อไม้อ่อน
  • ดอกโหระพา มีสีม่วง ออกดอกเป็นช่อ ซึ่งดอกออกที่ปลายของยอดต้นโหระพา ในดอกมีเมล็ด
  • ใบโหระพา ใบสีเขียว ปลายใบแหลม ลักษณะใบเดี่ยว ออกตามข้อของกิ่ง
  • เมล็ดโหระพา มีขนาดเล็กๆ ลักษณะกลม สีน้ำตาลเข้ม เมล็ดโหระพามีเมือกหุ้มเมล็ดอยู่ หากนำมาแช่น้ำจะมีเมือกพองตัวเหมือนเมล็ดแมงลัก

ประโยชน์ของโหระพา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากต้นโหระพา ใช้ประโยชน์โดยนำมากินเป็นอาหาร คุณสมบัติเด่นของโหระพา คือ มีกลิ่นหอม ใบโหระพาสามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยได้ นำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ความงาม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ใบโหระพา สามารถสกัดทำน้ำมันหอมระเหยได้ ให้กลิ่นหอม นำมาใช้ในอุตสาหกรรมสำหรับแต่งกลิ่น น้ำมันหอมระเหยจากโหระพา เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง เช่น น้ำหอม สบู่ เป็นต้น
  • ใบโหระพาสด นำมากินเป็นอาหาร นิยมใส่ในอาหารให้มีกลิ่นหอม

สรรพคุณต้นโหระพา

การใช้ประโยชน์ของโหระพา ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย สามารถใช้ ใบโหระพา ลำต้นโหระพา เมล็ดโหระพา และ น้ำมันหอมระเหย โดยรายละเอีนด ดังนี้

  • เมล็ดของโหระพา สรรพคุณช่วยขับถ่าย ช่วยควบคุมน้ำหนัก รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้
  • ใบและลำต้นของโหระพา มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สรรพคุณแก้เจ็บคอ ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ขับลม ขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร แก้หวัด ช่วยลดอาการอักเสบของแผล รักษาแผล ช่วยห้ามเลือด ช่วยให้ลดอาการปวด
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพา สรรพคุณแก้ปวดเมื่อย ช่วยทำให้ผ่อนคลาย ลดอาการเหนื่อยล้า แก้อาการกระตุก แก้จมูกอักเสบ ลดอาการปวดจากแมลงกัดต่อย

โทษของโหระพา

ต้นโหระพา มีกลิ่นหอม สามารถนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพาได้ แต่น้ำมันหอมระเหยไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้

ต้นโหระพา คือ พืชชนิดหนึ่งประเภทพืชล้มลุก สมุนไพรพื้นบ้าน สมุนไพรมีกลิ่นหอม นิยมนำใบโหระพามาทำอาหาร แต่งกลิ่นอาหารให้กลิ่นหอม ต้นโหระพาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของโหระพา สรรพคุณของโหระพา เช่น ช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร โทษของโหระพามีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย