ผักชี สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมรับประทานเป็นอาหาร ต้นผักชีเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด คุณค่าทางโภชนากการของผักชี  ประโยชน์ของผักชี โทษของผักชี

ผักชี สมุนไพร

ผักชี ( Coriander ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชี คือ Coriandrum sativum L. ต้นผักชี มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นพืชล้มลุกที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ชื่อเรียกอื่นๆของผักชี เช่น ผักชีไทย ผักหอม ยำแย้ ผักหอมป้อม ผักหอมผอม ผักหอมน้อย เป็นต้น

ลักษณะของต้นผักชี

ผักชี จัดเป็นพืชประเภท พืชล้มลุก อายุสั้น ผักชีมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ถิ่นกำเนิดของผักชีอยู่ในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันนิยมปลูกในประเทศไทย ลักษณะของต้นผักชี มีดังนี้

  • ลำต้นของผักชี ลำต้นสูงประมาณ 12 นิ้ว มีสีเขียว ลำต้นอวบน้ำ ลักษณะตั้งตรง ภายในกลวง มีกิ่งก้านเล็กๆ ลำต้นผิวเรีบย
  • รากของผักชี มีรากฝอยจำนวนมาก แต่รากเป็นรากแก้ว ที่ไม่ยาวมาก
  • ใบของผักชี ใบเป็นแฉกๆ เป็นใบเดียวมีสีเขียว มีกลิ่นฉุนหอม
  • ดอกของผักชี ดอกของผักชีนั้นจะออกจากโคนลำต้น และ ตั้งตรงเหนือยอดของต้น ดอกมีขนาดเล็ก
  • เม็ดของผักชี ลักษณะทรงกลม อยู่ตรงกลางดอกผักชี เป็นส่วนที่สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

ผักชีในประเทศไทย

สำหรับผักชีในประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะ เป็นผักที่นิยมกินในอาหารไทย การปลูกและขายผักชีจึงมีการทำเป็นอาชีพ ผักชีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยแหล่งผักชีของประเทศไทย ได้แก่ ราชบุรี นครปฐม และ กรุงเทพมหานคร สายพันธุ์ของผักชีที่นิยมปลูกมี 2 สายพันธ์ คือ ผักชีพื้นเมือง และ ผักชีแอฟฟริกา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักชีพันธุ์อาฟริกา ลักษณะเด่น คือ ต้นมีขนาดใหญ่ ใบหนาและใหญ่ มีกลิ่นหอมเล็กน้อย และอายุยาวกว่าผักชีพันธุ์พื้นเมือง
  • ผักชีพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ ต้นขนาดเล็ก ใบบาง เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นฉุนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของผักชี

การบริโภคผักชีเป็นอาหาร มีมาช้านานแล้ว และ เป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้านโภชนาการ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักชีสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานถึง 23 กิโลแคลอรี

ผักชี ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.67 กรัม น้ำตาล 0.87 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.52 กรัม โปรตีน 2.13 กรัม น้ำ 92.21 กรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 3,930 ไมโครกรัม  ลูทีนและซีแซนทีน 865 ไมโครกรัม ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 67 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.77 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.426 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 48 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 521 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 46 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.5 มิลลิกรัม

ผักชี ขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 วิตามินซี วิตามินอี และ วิตามินเค

ประโยชน์ของผักชี 

การใช้ประโยชนืจากผักชี นั้นหลักๆจะเป็นการนำเอามาทำอาหารรับประทานเป็นหลัก แต่นอกจากนำมาทำอาหาร ผักชี สามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดของผักชี ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ต่างๆ

สรรพคุณของผักชี

ประโยชน์ของผักชีด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค สามารถใช้ได้ทุกส่วนของผักชี คือ รากผักชี ลำต้นผักชี ใบผักชี และ เมล็ดของผักชี โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดผักชี สรรพคุณช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ปวดฟัน บำรุงกระเพาะอาหาร ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยย่อยอาหาร
  • ใบผักชี สรรพคุณบำรุงสายตา แก้กระหายน้ำ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ ป้องกันมะเร็ง  ขับเสมหะ แก้สะอึก แก้คลื้นไส้อาเจียน แก้เวียนหัว ขับเหงื่อ แก้หวัด แก้ไอ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม  รักษาอาหารเป็นพิษ ช่วยแก้พิษตานซาง รักษาตับอักเสบ รักษาโรคหัด ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการอักเสบ แก้ปวดข้อ
  • รากผักชี สรรพคุณขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ

โทษของผักชี

  • การกินผักชีมากเกินไป อาจทำให้มีกลิ่นตัวแรง
  • สำหรับคนที่มีิิอาการแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม หรือ หอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกัน
  • ผักชีมีโพแทสเซียมสูง ทำให้ไตทำงานหนัก สำหรับผู้ป่วยโรคไตไม่ควรกินผักชีมากเกินไป
  • การกินผักชีมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการตาลาย หรือ ขี้หลงขี้ลืม เนื่องจากอาการมึนหัว

ผักชี คือ ผักสวนครัว สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมปลูกตามครัวเรือน นำมารับประทานอาหาร ให้รสชาติและกลิ่นหอม ลักษณะของต้นผักชีเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักชี ช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด คุณค่าทางโภชนากการของผักชี  ประโยชน์ของผักชี โทษของผักชี เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับผักชีทั้งหมด

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

กัญชง Hemp สมุนไพร คล้ายต้นกัญชา ไม่ใช่สารเสพติด ต้นกัญชงเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงผิว บำรุงโลหิต ทำให้ผ่อนคลาย แก้นอนไม่หลับ แก้เวียนหัว แก้ไมเกรน

กัญชง สมุนไพร สมุนไพรไทย

กัญชง ( Hemp ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกัญชง คือ Cannabis sativa L. subsp. Sativa พืชตระกูลกัญชา มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตอบอุ่น ทางตอนใต้ของแคว้นไซบีเรีย ประเทศอินเดีย และประเทศจีน

กัญชง กับ กัญชา

ชื่อของกัญชง คล้ายกับกัญชา หน้าตาและลักษณะของต้นกัญชง ก็เหมือนต้นกัญชา โดยทั่วไปแล้ว รูปลักษณ์ หน้าตา ของกัญชา และ กัญชง เหมือนกันมากแต่กัญชงมีฤทธ์อ่อนกว่า ต้นกัญชงนิยมนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการถักทอ  กัญชงและกัญชา มีถิ่นกำเนิดที่เดียวกัน แต่สายพันธุ์มีความแตกต่างกัน

ความแตกต่างระหว่างกัญชงและกัญชา

สรรพคุณของกัญชงและกัญชา แตกต่างกัน แต่มีคุณสมบัติคล้ายกัน แต่การใช้ประโยชน์ของกัญชงกับกัญชา มีความแตกต่างกัน กัญชงจะนิยมใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆที่ไม่ใช้การทำสารเสพติด

ลักษณะของต้นกัญชง

ต้นกัญชง คือ พืชล้มลุก อายุหนึ่งปี ต้นกัญชงสามารถขยายพันธ์โดยการใช้เมล็ด แหล่งกำเนิดของกัญชงอยู่ในเอเชียกลาง อินเดีย และทวีปยุโรป ลักษณะของ ลำต้นกัญชง ใบกัญชง ดอกกัญชง และ ผลของกัญชง มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของกัญชง ลักษณะลำต้นตั้งตรง มีสีเขียว ความสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะลำต้นอวบน้ำ มีรากเป็นรากแก้ว
  • ใบของกัญชง เป็นใบเดี่ยว ลักษณะคล้ายรูปฝ่ามือ ใบเป็นแฉกๆ ใบเรียงตัวค่อนข้างห่าง ใบเป็นลักษณะฟันเลื่อย ปลายใบแหลม
  • ดอกของกัญชง ต้นกัญชงออกดอกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบและปลายยอด ดอกกัญชงมีขนาดเล็ก สีขาว
  • ผลของกัญชง ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ผิวเรียบ เป็นมัน มีลายสีน้ำตาล ผลกัญชงแห้งเป็นสีเทา ภายในผลมีเมล็ด มีสารอาหารจำพวกแป้งและไขมัน มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง

กัญชงในประเทศไทย

ปัจจุบันประเทศไทย จัดกัญชงว่า เป็นพืชเสพติดประเภท 5 เหมือนกับกัญชา ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522  ด้วยเหตุผล คือ ในกัญชง มี tetrahydrocannabinol  , Cannabinol และ Cannabidiol สารเหล่านี้ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ทำให้มีอาการตื่นเต้น ช่างพูด หัวเราะตลอดเวลา

ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้กัญชาและกัญชงยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เพียงแต่ส่วนของกัญชงที่ได้จากการปลูกหรือผลิตในประเทศ ได้แก่ ใบที่ไม่ติดกับช่อดอก กิ่ง ก้าน ลำต้น เปลือก ราก และ เส้นใย รวมถึงสารสกัดที่มี CBD เป็นส่วนประกอบและกากที่เหลือจากการสกัด ซึ่งต้องมี THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 เมล็ดกัญชงน้ำมันและสารสกัดจากเมล็ดกัญชง ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 โดยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การศึกษาวิจัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอื่น ๆ ได้ ประชาชนสามารถใช้ส่วนต่าง ๆ ของกัญชงที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดดังกล่าว ไปประกอบอาหาร ทำยารักษาโรค เป็นต้น ส่วนการนำเข้ากัญชงสามารถทำได้ โดยขออนุญาตเป็นยาเสพติด ยกเว้น เปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง และเส้นใยแห้ง ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดตามประกาศนี้

ประโยชน์ของกัญชง

การใช้ประโยชน์ของต้นกัญชง มีการเอาเนื้อเยื่อของต้นกัญชง มาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ นำมาทำ เชือก เส้นด้าย สำหรับการทอผ้าและเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงนำมาทำกระดาษได้ ส่วนเมล็ดของกัญชง สามารถนำมาสกันเอาน้ำมัน เป็นส่วนผสมสำหรับผลิตภัณฑืความงาม เช่น สบู่ เครื่องสำอาง ครีมกันแดด แชมพู โลชั่นบำรุงผิว ลิปสติก ลิแผ่นมาส์กหน้า และ นำมาทำน้ำมันเชื้อเพลิง

สรรพคุณของกัญชง

กัญชงด้านการรักษาโรค สำหรับการใช้ประโยชน์ของกัญชง ด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก เมล็ดของกัญชง และ ใบกัญชง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ใบกัญชง สรรพคุณ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยทำให้ผ่อนคลาย แก้ปัญหานอนไม่หลับ รักษาอาการเวียนหัว แก้ปวดหัว รักษาไมเกรน แก้กระหายน้ำ รักษาโรคท้องร่วง รักษาโรคบิด แก้ปวด ช่วยบรรเทาอาการเจ็บ ช่วยคลายกล้ามเนื้อ รักษาโรคเกาต์
  • เมล็ดกัญชง สรรพคุณช่วยสลายนิ่ว น้ำมันจากเมล็ดกัญชง ช่วยบำรุงผิวพรรณ รักษาผิวแห้ง รักษาโรคผิวแห้ง รักษาโรคสะเก็ดเงิน

กัญชง ( Hemp ) คือ พืชสมุนไพร ตระกูลเดียวกับกัญชา ลักษณะคล้ายกัญชา ไม่ใช่สารเสพติด ลักษณะของต้นกัญชง ประโยชน์ของกัญชง สรรพคุณของกัญชง เช่น บำรุงผิวพรรณ บำรุงโลหิต ช่วยทำให้ผ่อนคลาย แก้ปัญหานอนไม่หลับ แก้เวียนหัว รักษาไมเกรน แก้กระหายน้ำ รักษาท้องร่วง รักษาโรคบิด ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ช่วยคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น

 

แหล่งอ้างอิง

  • Florian ML, Kronkright DP, Norton RE (21 March 1991). The Conservation of Artifacts Made from Plant Materials. Getty Publications. pp. 49–. ISBN 978-0-89236-160-1.
  • Greg Green, The Cannabis Breeder’s Bible, Green Candy Press, 2005, pp. 15-16 ISBN 9781931160278
  • “สำเนาที่เก็บถาวร”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-25. สืบค้นเมื่อ 2007-10-06.
  • “ลงราชกิจจาแล้ว ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ปลดล็อกทุกส่วนของกัญชา กัญชง พ้นยาเสพติด ยกเว้น ช่อดอก และเมล็ดกัญชา พร้อมชูเป็นพืชเศรษฐกิจ”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-08. สืบค้นเมื่อ 2021-10-08.
  • “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563” (PDF). Royal Thai Government Gazette. 52: 339–343. 14 December 2020. สืบค้นเมื่อ 8 October 2021.

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย