ปลาไหลเผือก นิยมนำรากมาเป็นส่วนผสมในสมุนไพรรักษาโรค ต้นปลาไหลเผือกเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงกำลัง เพิ่มสมรรภภาพทางเพศ ทำให้มีลูก โทษปลาไหลเผือกมีอะไรบ้างปลาไหลเผือก พญารากเดี่ยว สมุนไพร สรรพคุณปลาไหลเผือก

ปลาไหลเผือก คือ พืชชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eurocoma lingifolia jack.  มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น หยิงไม่ถึง โสมมาเลเซีย เพียก ตุงสอ แฮพันชั้น เอียนดอน เป็นต้น มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า ลาว กัมพูชา  ต้นปลาไหลเผือก ในตำราแพทย์แผนไทยในพระคัมภีร์ปฐมจินดา นำรากปลาไหลเผือกตากแห้งมาเป็นส่วนหนึ่งของตำรับยาในการรักษาโรค ซึงบางท้องถิ่นเรียก พญารากเดียว ในด้านความเชื่อโบราณนั้นรากปลาไหลเผือก เชื่อว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำให้มีพละกำลังในการออกรบ เชื่อว่าจะทำให้อยู่ยงคงกระพัน รากปลาไหลเผือกจะนำไปปลุกเสก ทำของขลังพกติดตัวเหมือนพระเครื่อง

ลักษณะของต้นปลาไหลเผือก

ต้นปลาไหลเผือก เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ชอบความชื้นสูง มักจะพบต้นปลาไหลเผือกในป่าต่างๆกัน เช่น ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ เป็นต้น สามรถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์และการตอนกิ่ง กลักษณะของต้นปลาไหลเผือก มีดังนี้

  • รากปลาไหลเผือก มีความยาวและหยั่งลึกลงไปใต้ดิน ลักษณะกลม สีขาวนวล ความยาวมากกว่า 2 เมตร มีรสขมและเบื่อเมาเล็กน้อย
  • ลำต้นปลาไหลเปือก ตั้งตรงความสูงประมาณ 10 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาล มีกิ่งก้านน้อย กิ่งอ่อนจะมีขนสีน้ำตาล
  • ใบปลาไหลเผือก เป็นใบประกอบ ใบเป็นรูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา ผิวใบด้านเรียบเป็นมัน
  • ดอกปลาไหลเผือก ออกดอกเป็นช่อ เป็นกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นรูปใบหอก สีม่วงปนแดง จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเดือนมกราคมของทุกปี
  • ผลปลาไหลเผือก ออกผลเป็นพวง หนึ่งพวงจะมี 5 ผลย่อย ลักษณะผลเป็นรูปทรงกลมรี เปลือกนอกบาง ผลเมื่อแก่จะเป็นสีแดงถึงสีม่วงดำ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปรี

สรรพคุณของปลาไหลเผือก 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากปลาไหลเผือกในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค จะใช้ประโยชน์จากรากของปลาไหลเผือก โดยนำรากมาตากแห้งและบดเป็นส่วนผสมของสมุนไพรต่างๆ สรรพคุณของรากปลาไหลเผือก มีดังนี้

  • เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ช่วยผ่อนคลายอาการปวดเมื่อย
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกำลังทางเพศ ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดี เพิ่มการสร้างอสุจิ กระตุ้นลูกอัณฑะให้สร้างอสุจิมากขึ้น กระตุ้นให้มีอารมณ์ทางเพศมากขึ้น กระตุ้นต่อมสมองให้เร่งการผลิตฮอร์โมนเพศชายมากขึ้น เพิ่มความแข็งแรงให้กับสเปริ์ม มีจำนวนมากขึ้น
  • บำรุงโลหิต ช่วยรักษาความดันโลหิตร่างกาย
  • ช่วยขับพิษออกจากร้างกาย เช่น ถ่ายฝีในท้อง ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ และพิษจากโลหิต  ช่วยขับเหงื่อ ทำให้อาเจียน ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับน้ำเหลือง แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ช่วยลดไข้ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้ร่างกาย แก้ปวดหัว แก้เจ็บคอ
  • แก้ปวดท้อง แก้อาการปวดเมื่อย แก้ปวดทั่วไป ปวดข้อ ปวดตามร่างกาย แก้บวม แก้บิด
  • รักษาอาการท้องเสีย
  • ช่วยขับพยาธิ
  • สำหรับสตรีหลังคลอด
  • รักษาแผล แก้ฝี แผลพุพอง แผลเรื้อรัง บรรเทาอาการผื่นคัน

โทษของปลาไหลเผือก

สำหรับการใช้ประโยชน์จากปลาไหลเผือก นิยมนำรากมาตากแห้งและบดเพื่อเป็นส่วนผสมของยาสมุนไพรในการรักษาโรค การนำรากสดมาใช้ อาจทำให้เกิดพิษต่อร่างกายได้ เพราะ รากมีพิษเบื่อ ทำให้เมาได้ โทษของปลาไหลเผือก มีดังนี้

  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์หรืออยุ่ในระหว่างการให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน การใช้ในปริมาณที่สูงเกินไปและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะก่อให้เกิดผลข้างเคียงของแอนโดรเจน ทำให้ต่อมลูกหมากโตและทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้
  • รากปลาไหลเผือก มีพิษเบื่อเมา การนำมาใช้จึงต้องระวัง เพราะ อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย วิงเวียนศีรษะ หรือมีไข้อ่อนๆ หากมีอาการดังกล่าวก็ให้หยุดรับประทานแล้วดื่มน้ำเยอะๆ จนกว่าอาการจะหายไป

ตะไคร้ นิยมนำมาประกอบอาหาร ต้นตะไคร้เป็นอย่างไร สรรพคุณของตะไคร้ เช่น ช่วยเจริญอาหาร ลดความดัน แก้ปวดท้อง ลดไข้ โทษของตะไคร้เป็นอย่างไรตะไคร้ สมุนไพร สรรพคุณของตะไคร้

ตะไคร้ สมุนไพร เป็นไม้ล้มลุกวงศ์เดียวกันกับหญ้า มีอายุมากกว่า 1 ปี มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว มาเลเชีย อินโดนีเชีย เป็นต้น เป็นพืชที่มีสารอาหารและวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก

ตะไคร้ ภาษาอังกฤษ เรียก Lemon grass ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตะไคร้ เช่น คาหอม ไคร จะไคร เชิดเกรย หัวสิงไค เหลอะเกรย ห่อวอตะโป เฮียงเม้า เป็นต้น ตะไคร้สามารถพบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งตะไคร้ที่นิยมปลูก มี 6 ชนิด คือ ตะไคร้หอม ตะไคร้ต้น ตะไคร้กอ ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และ ตะไคร้หางสิงห์

ประโยชน์ของตะไคร้ นอกจากนำมาเป็นอาหารและทำยา ยังสามารถนำตะไคร้มาใช้ประโยชน์ได้จากกลิ่นเฉพาะตัวได้ เช่น ทำเครื่องดื่ม นำน้ำมันหอมระเหยมาเป็นส่วยประกอบของยานวด ทำน้ำยาหมักผมบำรุงเส้นผม นำมาทำเป็นยากันยุง เป็นต้น

ลักษณะของต้นตะไคร้ 

ต้นตะไคร้ เป็นพืชล้มลุกที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว อายุเกิน 1 ปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำ และ แยกหน่อ ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้น ลักษณะลำต้นตั้งตรง รูปทรงกระบอก ความสูงประมาณ 30-60 เซ็นติเมตร โคนลำต้นมีกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม
  • ใบ ลักษณะของใบตะไค มี 3 ส่วน คือ ก้านใบ หูใบ และใบ ซึ่งใบตะไคร้เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว เรียวยาว ขอบใบคม ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม
  • ดอกตะไคร้ ลักษณะดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้

สำหรับการบริโภคตะไคร้เป็นอาหาร นิยมใช้ส่วยของลำต้น ซึ่งจะมีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง  143 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม กากใยอาหาร 4.2 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.6 มิลลิกรัม วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

น้ำมันหอมระเหยจากใบและลำต้นของตะไคร้ มีสารซิทราล ( Citral ) มากที่สุดประมาณร้อยละ 75 นอกจากนั้นยังประกอบด้วย ทรานซ์ไอโซซิทราล ( Trans-isocitral ) ไลโมเนน ( Limonene ) ยูจีนอล ( Eugenol ) ลินาลูล ( Linalool ) เจอรานิออล ( Geraniol ) คาริโอฟิวลีนออกไซด์ ( Caryophyllene oxide ) เจอรานิล อะซิเตท ( Geranyl acetate ) 6-เมทิล 5-เฮพเทน-2-วัน ( 6-Methyl 5-hepten-2-one ) 4-โนนาโนน ( 4-Nonanone ) เมทิลเฮพทีโนน ( Methyl heptennone ) ซิโทรเนลลอล ( Citronellol ) ไมร์ซีน ( Myrcene ) และ การบูร ( Camphor )

สรรพคุณของตะไคร้ 

สำหรับการใช้ประโชยน์จากตะไคร้ ในด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ทั้งต้น เหง้า ราก ลำต้น และ ใบ สรรพคุณของตะไคร้ มีรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นของตะไคร้ สรรพคุณแก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ไล่แมลง
  • เหง้านตะไคร้ สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะ ลดความดันสูง
  • ใบตะไคร้ สรรพคุณแก้กษัยเส้น ช่วยลดความดันโลหิตสูง ลดไข้
  • รากตะไคร้ สรรพคุณลดไข้ ปวดท้อง แก้ท้องเสีย
  • ลำต้นตะไคร้ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเส้นผม
  • น้ำมันตะไคร้ สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก ไล่แมลง

น้ำตะไคร้

สำหรับการทำน้ำตะไคร้ สามารถทำได้ โดย เตรียมตะไคร้สด 1 ต้น ต่อ 1 แก้ว นำมาล้างน้ำให้สะอาด ทุบให้แตก เพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมา นำมาหั่นเป็นท่อน เพื่อง่ายต่อการต้ม หากต้องการเพิ่มกลิ่นหอมมากขึ้น สามารถเพิ่มใบเตย ประมาณ 3 ใบ มัดรวมกัน แล้วใส่เพิ่มขณะต้มได้ ตั้งน้ำเดือน ใส่ตะไคร้หั่นที่เตรียมไว้ เคี่ยวจนได้น้ำสีเขียวออกมา ตั้งทิ้งไว้พออุ่น แนะนำดื่มเลย จะดีต่อสุขภาพมากที่สุด แต่หากไม่ชินกับรส สามารถเติมน้ำตาลได้ตามชอบ

โทษของตะไคร้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ ต้องเลือกใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ มีดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ ไม่ควรนำมารับประทาน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองช่องปากและลำคอ ทำให้เกิดอาการอาเจียน และ หากกินมากเกินไปเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ อย่างไรก็ตามการรับประทานตะไคร้สดๆไม่มีรายงานว่ามีอันตราย แต่การรับประทานในประมาณที่มากเกินไปก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน

ตะไคร้ เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป

แหล่งอ้างอิง

  • https://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้
  • “Cymbopogon citratus information from NPGS/GRIN”. www.ars-grin.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-20. สืบค้นเมื่อ 2008-03-02.
  • https://puechkaset.com/ตะไคร้
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย