กุยช่าย สมุนไพร นิยมนำใบมาบริโภคเป็นอาหาร ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของกุยช่าย เช่น ลดความดัน บำรุงกระดูก แก้ท้องเสีย โทษของกุยช่ายมีอะไรบ้างกุยช่าย สมุนไพร สมุนไพรไทย

กุยช่าย ( Chinese leek ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกุยช่าย คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. พืชตระกูลพลับพลึง ชื่อเรียกอื่นๆของกุยช่าย เช่น ผักไม้กวาด ผักแป้น กูไฉ่ เป็นต้น

ชนิดของกุยช่าย

สำหรับต้นกุยช่ายในประเทศไทย ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด มีอยู่ 3 ชนิด คือ กุยช่ายเขียว กุยช่ายขาว และ กุยช่ายดอก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • กุยช่ายเขียว คือ ใบของกุยช่าย ที่ตัดใบในระยะที่ใบเจริญเติบโตเต็มที่ ก่อนที่จะถึงระยะออกดอก นิยมนำมาใส่ผัดไท นำมาดอกผัก และ ใส่ในอาหาร เป็นต้น
  • กุยช่ายขาว คือ ใบของกุยช่าย ที่เกิดจากการนำวัสดุทิบแสงมาคลุมใบทำให้เกิดปฏิกริยา ทำให้ใบเป้นสีขาว เป็นใบในระยะเจริญเติบโตเต็มที่ ก่อนออกดอก
  • กุยช่ายดอก คือ ดอกของกุยช่ายที่เจริญเติบโตเต็มที่ ซึ่งมีทั้งส่วนของก้านดอกและดอก นำมาผัดทำอาหาร

ลักษณะของต้นกุยช่าย

ต้นกุยช่าย จัดเป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์ได้โดยการใช้เมล็ดและการแตกกอ โดยลักษณะของต้นกุยช่าย มีลักษณะ ดังนี้

  • ต้นกุยช่าย ความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร มีเหง้าเล็ก และ สามารถแตกกอได้
  • ใบกุยช่าย ลักษณะแบน ยาว ความยาวของใบกุยช่าย ประมาณ 30 เซนติเมตร มีสีเขียวเข้ม ใบออกมาจากโคนลำต้น
  • ดอกกุยช่าย เรียกอีกชื่อว่า ดอกไม้กวาด ดอกกุยช่ายออกเป็นช่อ มีสีขาว กลิ่นหอม ดอกมีลักษณะคล้ายซี่ร่ม ก้านดอกยาว ลักษณะกลม ออกมาจากลำต้น
  • ผลกุยช่าย มีลักษณะกลม ผลแก่จะแตกตามตะเข็บในผลของกุยช่ายจะมีเมล็ดช่องละ 1 – 2 เมล็ด
  • เมล็ดกุยช่าย มีสีน้ำตาล ผิวขรุขระ ลักษณะแบน

คุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย

สำหรับการบริโภคกุยช่าย มีประโยชน์ต่อร่างกาย นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย มีดังนี้

  • คุณค่าทางโภชนาการของดอกกุยช่าย ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม เบตาแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 31 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม
  • คุณค่าทางโภชนาการของต้นกุยช่าย ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม กากใยอาหาร 3.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม เบตาแคโรทีน 136.79 ไมโครกรีม ธาตุแคลเซียม 98 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบกุยช่าย มีสารเคมีสำคัญ คือ สารอัลลิซิน ( Alllicin ) สารชนิดนี้มีสรรพคุณ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
  • สำหรับการศึกษาต้นกุยช่าย ด้านเภสัชวิทยา พบว่า น้ำที่คั้นจากต้นกุยช่าย เมื่อฉีดเข้าไปในเส้นเลือดของหนู พบว่าทำให้เกิดอาการเกร็ง และ คลุ้มคลั่ง หลังจากนั้นหนูก็สลบ และ เมื่อนำไปฉีดใส่กระต่าย พบว่าความดันโลหิตของกระต่ายลดลง ซึ่งในระยะแรกมีฤทธิ์ยับยั้งการเต้นของหัวใจ หลังจากนั้นมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือดเพียงเล็ก

สรรพคุณของกุยช่าย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกุยช่าย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ใบกุยช่าย รากกุยช่าย เมล็ดกุยช่าย ลำต้น โดยรายรายละเอียด ของสรรพคุณของกุยช่าย มีดังนี้

  • ใบกุยช่าย สรรพคุณช่วยบำรุงกระดูก ช่วยบำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาหลั่งเร็วในผู้ชาย ช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต รักษาโรคหูน้ำหนวก ช่วยลดไข้แก้หวัด แก้อาเจียน ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยแก้นิ่ว รักษาหนองใน บำรุงไต รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวด รักษาอาการอักเสบ รักษาอาการฟกช้ำ รักษาแผลหนอง ช่วยประสะน้ำนม
  • รากกุยช่าย สรรพคุณช่วยแก้เลือดกำเดาไหล แก้อาเจียน การช่วยห้ามเหงื่อ ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยขับปัสสาวะ
  • เมล็ดกุยช่าย สรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ป้องกันฟันผุ ช่วยขับพยาธิเส้นด้าย ช่วยขับพยาธิแส้ม้า ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับประจำเดือน
  • ทั้งต้นกุยช่าย สรรพคุณแก้ท้องเสีย ช่วยแก้นิ่ว แก้อาการตกขาว  รักษาหนองใน ช่วยขับน้ำนม

โทษของกุยช่าย

สำหรับการบิโภคกุยฉายในปริมาณที่มากเกินไป หรือ กินติดต่อกันนานเกินไป สามารถทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ ข้อควรระวังในการรับประทานกุยช่าย มีดังนี้

  • การกินกุยช่ายมากเกิน ะทำให้อุณหภูมิร่างกายร้อนขึ้น ทำให้เป็นร้อนในได้
  • ไม่ควรกินกุยช่ายพร้อมกับเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาจทำให้ความร้อนในร่างกายสูงเกินไป ทำให้เกิดอาการช็อคได้
  • กุยช่ายมีกากใยอาหารมาก ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วนเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เพราะจะทำให้ระบบลำไส้ทำงานหนักมากขึ้น
  • ผู้สูงอายุ ไม่ควรรับประทานประทานกุยช่าย เพราะ กุยช่ายมีปริมาณกากใยอาหารสูง ทำให้ย่อยยาก
  • กุยช่าย สรรพคุณช่วยบำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ไม่ควรนำกุยช่ายถวายพระ

กุยช่าย พืชล้มลุก สมุนไพร ผักสวนครัว นิยมนำใบมาบริโภคเป็นอาหาร ลักษณะของต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของกุยช่าย เช่น ลดความดัน บำรุงกระดูก แก้ท้องเสีย โทษของกุยช่ายมีอะไรบ้าง

บัวบก พืชน้ำ สมุนไพรไทย สมุนไพรพื้นบ้าน สรรพคุณแก้ช้ำใน บำรุงสมอง แก้สมองเสื่อมได้ ลักษณะของต้นบัวบก คุณค่าทางโภชนากการของใบบัวบก ประโยชน์และโทษของใบบัวบก

บัวบก สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นบัวบก คือ สมุนไพร ชื่อคุ้นหู มาทำความรู้จักกับ ต้นบัวบก และ สรรพคุณของบัวบก บัวบก มีชื่อสามัญว่า Gotu kola ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวบก คือ Centella asiatica (L.) Urb. สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาแผล แก้ร้อน ใบบัวบก เหมาะสำหรับบริโภคในฟดูร้อน สมุนไพรไทยสรรพคุณยาเย็น บัวบก พืชตระกูลเดียวกันกับผักชี ชื่อเรียกอื่นๆของบัวบก เช่น ผักหนอก , ผักแว่น ,  กะโต่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นบัวบก

ต้นบัวบก พืชคลุมดิน เป็นไม้เลื้อย ประเภทพืชล้มลุกขึ้นตามพื้นดิน ลำต้นของบัวบกลักษณะกลม เนื้ออ่อน มีน้ำมาก เลื้อยตามพื้นดิน ใบของต้นบัวบก ใบบัวบกเป็นใบเดียว ใบออกตามข้อของลำต้นบัวบก ใบออกเป็นกระจุกๆ ลักษณะของใบคล้ายรูปไต ขอบใบมนๆ ดอกบัวบก ลักษณะคล้ายร่ม ออกดอกเป็นช่อ สีม่วงอมแดง ส่วนผลของบัวบก เป็นผลแห้ง ลักษณะแบนและแตก

คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก

การนำต้นบัวบกมาใช้ประโยชน์ เป็นอาหารจะใช้ประโยชน์ทั้งลำต้นและใบของบัวบก นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบบัวบก ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก สารเบตาแคโรทีน วิตามินบี1 และ วิตามินซี สารบราโมซัยด์ สารบรามิโนซัยด์ สารไตรเตอพีนอยด์ สารมาดิแคสโซซัยด์ กรดมาดิแคสซิค และ กรดอะมิโน หลายตัว เช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น

สรรพคุณของบัวบก

สำหรับต้นบัวบก นิยมใช้ประโยชน์ทั้งลำต้นและใบ ซึ่งมีประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สรรพคุณของบัวบก มีดังนี้

  • ช่วยชะลอวัย เป็นยาอายุวัฒนะ ลดลอยเหี่ยวย่นของผิวพรรณ
  • กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายสำหรับคนป่วย
  • ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากมีสารช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
  • บำรุงสายตา และ ฟื้นฟูสภาพรอบของดวงตา ช่วยรักษาอาการอักเสบของตา รักษาอาการบวมแดงของตา
  • ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ทำให้ความจำดี เพิ่มความจำสำหรับผู้สูงวัย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และป้องกันสมองเสื่อม รักษาอาการปวดหัว รักษาอาการไมเกรน
  • ช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับสบาย แก้อาการอ่อนเพลียเมื่อยล้า
  • ช่วยบำรุงเลือด และ ช่วยบำรุงหัวใจ ทำให้เลือดระบบเลือดทำงานได้ดีขึ้น กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย ปรับสมดุลย์ความดันเลือด ช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคโลหิตจาง
  • ช่วยให้ความชุ่มชื่นของลำคอ บำรุงเสียง ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยลดไข้ ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ
  • ช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ รักษาอาการผมร่วง
  • ช่วยรักษาแผล รักษาเต้านมอักเสบที่เป็นหนองในระยะแรก ใช้เป็นยาห้ามเลือด รักษาแผลสด ทำให้แผลหายเร็วขึ้น แก้ฟกช้ำ รักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคผิวหนัง ช่วยลดอาการอักเสบของแผล ใช้รักษาแผลน้ำร้อนลวก ลดอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้ เช่น รักษาโรคเรื้อน รักษาโรคสะเก็ดเงิน รักษาหิด รักษาหัด เป็นต้น
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ใบบัวบกเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ ช่วยบำรุงผิว และ ป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ผิว ช่วยรักษาสิว ทำให้ผิวขาว ใบหน้าเต่งตึง
  • ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน รักษานิ่ว ป้องกันการเกิดนิ่ว

ข้อควรระวังในการใช้บัวบก

การบริโภคบัวบก ต้องบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม หากกินมากเกินไป หรือ กินติต่อกันอย่างต่อเนื่อง อาจมีผลเสียได้ โดยโทษของบัวบก ข้อควรระวังในการบริโภคบัวบก มีดังนี้

  • ใบบัวบก ไม่เหมาะสำหรับคนที่มีภาวะตัวเย็น จะทำให้ร่างกายยเย็นขึ้นและท้องอืด
  • การกินบัวบกมากเกินไป ไม่ดี เนื่องจากใบบัวบกเป้นยาเย็น หากมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้ ร่างกายเสียสมดุลถ้ากิน ใบสด ปริมาณครั้งละ 10 ถึง 20 ใบต่อสัปดาห์ ถือว่าอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม แต่ไม่ควรกินทุกวันอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • ไม่ควรนำใบบักบกมาตากแห้ง เพราะ จะเสียคุณค่าทางตัวยา ใบบัวบกจะนำมาสกัดให้อยู่ในรูปแบบน้ำมันหอมระเหย
  • น้ำใบบัวบก หากใส่น้ำตาลมากเกินไป จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้ อาจทำให้เป็นเบาหวานได้

บัวบก พืชน้ำ สมุนไพรไทย สมุนไพรพื้นบ้าน สรรพคุณแก้ช้ำใน บำรุงสมอง แก้สมองเสื่อมได้ ลักษณะของต้นบัวบก คุณค่าทางโภชนากการของใบบัวบก ประโยชน์ของใบบัวบก และ โทษของใบบัวบก

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย