หอมหัวใหญ่ พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร มีกลิ่นฉุน ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่ ประโยชน์ สรรพคุณของหอมใหญ่ เช่น ช่วยเจริญอาหาร ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงหัวใจหอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นหอมหัวใหญ่ ( Onion )  ชื่อวิทยาศาสตร์ของหอมหัวใหญ่ คือ Allium cepa L. ชื่อเรียกอื่นๅของหอมหัวใหญ่ เช่น หัวหอมใหญ่ หอมฝรั่ง หอมหัว เป็นต้น หอมหัวใหญ่ จัดเป็นพืชตระกลูเดียวกันกับพับพลึง นิยมใช้ในการนำมาทำอาหาร ปรุงรสอาหารให้รสชาติ หอมหัวใหญ่ เป็นพืชที่มีกลิ่นฉุน เฉพาะตัว สรรพคุณของหอมหัวใหญ่ มากมาย อุดมไปด้วยแร่ธาตุ วิตามิน และสารเคมีต่างๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่

ต้นหอมหัวใหญ่ เป็นพืชหัวอยู่ใต้ดิน นิยมนำหัวมาบริโภค ถิ่นกำเนิดของหอมหัวใหญ่ อยู่ในทวีปเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ แหล่งผลิตที่สำคัญของหอมหัวใหญ่ ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และ ประเทศอินเดีย หอมใหญ่ สามารถขยายพันธ์ได้โดยการแตกหน่อ สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด ที่มีการระบายน้ำ และ อากาศได้ดี ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

  • ต้นหอมหัวใหญ่ มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดิน ลักษณะกลมป้อม มีเปลือกบางๆ สีแดง ลำต้นหอมหัวใหญ่อยู่ใต้ดิน เรียกว่า หัวหอม มีกลีบสีขาวอวบน้ำซ้อนกันเป็นชั้น ๆ หัวหอมใหญ่มีกลิ่นฉุน
  • ใบหอมหัวใหญ่ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบยาว กลม ออกเป็นกระจุก แทงออกมาจากหัว มีสีเขียว ใบมีกลิ่นฉุน
  • ดอกหอมหัวใหญ่ ลักษณะดอกหอมใหญ่ ออกเป็นช่อ แทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน กลีบดอกมีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการชองหอมหัวใหญ่

สำหรับการนำหอมหัวใหญ่มารับประทาน นั้นนิยมใช้หัวของหอมใหญ่มารับประทาน ซึ่งรับประทานทั้งหัวสดๆ หรือ นำมาผ่านความร้อนก่อน โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของหอมหัวใหญ่ มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวใหญ่ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 40 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.34 กรัม น้ำตาล 4.24 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม น้ำ 89.11 กรัม วิตามินบี1 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.116 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.123 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.12 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 19 ไมโครกรัม วิตามินซี 7.4 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 23 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.21 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.129 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 29 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 146 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.17 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์ 1.1 ไมโครกรัม

สำหรับสารเคมีต่างๆในหอมหัวใหญ่ มีสารประกอบ กำมะถันหลายชนิด เช่น สารไดอัลลิลไดซัลไฟด์  สารไซโคลอัลลิอิน และ ยังอุดมไปด้วยวิตามินอี และ สารต่างๆที่ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระ สำหรับกลิ่นฉุนของหอมหัวใหญ่ นั้นเกิดจากสาร ACSOs โดยกลิ่นฉุนถูกขับออกมาเมื่อเซลล์หอมถูกทำลาย

สรรพคุณของหอมหัวใหญ่

สำหรับประโยชน์ของหอมหัวใหญ่ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น สามารถใช้ประโยชน์จากหอมหัวใหญ่ โดยสรรพคุณของหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

  • ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงร่างกาย ป้องกันโรคต่างๆ และ ป้องกันมะเร็งได้ดี
  • ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้ง่วง ช่วยในการนอนหลับสบาย
  • ช่วยบำรุงเลือด บำรุงสมอง ช่วยทำให้มีความจำที่ดี ช่วยให้ระบบเลือดไหลเวียนดี ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และ ลดความเสี่ยงอัมพาต ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยสลายลิ่มเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดันโลหิต รักษาเบาหวาน
  • ช่วยเจริญอาหาร
  • ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ช่วยกำจัดสารตะกั่วและโลหะหนักออกจากร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ
  • บำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน สำหรับสตรีหลังหมดประจำเดือน
  • ช่วยรักษาไข้หวัด ลดน้ำมูก ช่วยขับเสมหะ แก้ปวด แก้อักเสบ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ช่วยขับพยาธิ ป้องกันเชื้อแบคที่เรีย
  • บำรุงผิวพรรณ รักษาแผลน้ำร้อนลวก รักษาแผลฟกช้ำ ช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ

โทษของหอมหัวใหญ่

สำหรับข้อควรระวังในการรับประทานหอมหัวใหญ่ นั้นต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากหอมใหญ่มีฤทธิ์อุ่น และ รสเผ็ด ทำให้เกิดการระคายเคืองได้ การนำหอมหัวใหญ่มาใช้ประโยชน์ ควรคำนึงถึงสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วย ข้อควรระวังในการใช้หอมหัวใหญ่ มีดังนี

  • หอมหัวใหญ่ มีกลิ่นฉุน และ ทำให้เกิดการระคายเคืองตาได้ หากระอองจากหัวหอมเข้าตา
  • การรับประทานหัวหอมใหญ่ ในปริมาณมากเกินไป และ รับประทานต่อเนื่องติดๆกัน อาจจะทำลายจิตประสาท ทำให้ลืมง่าย ความจำเสื่อม สายตามัว และยังไปทำลายสมรรถภาพทางเพศ
  • ไม่ควรรับประทานหัวหอมใหญ่แบบสด ในขณะที่ท้องว่าง เพราะ อาจะทำให้ระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะได้
  • หอมหัวใหญ่กลิ่นแรง ทำให้เกิดกลิ่นปาก สำหรับคนที่มีกลิ่นตัวแรง ไม่ควรรับประทานหัวหอมใหญ่มากเกินไป

ต้นมะกรูด นิยมนำมาทำอาหาร ใบมะกรูด ผิวมะกรูด น้ำมะกรูด ให้กลิ่นหอมและรสเปรี้ยว ต้นมะกรูดเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยขับลม ดับกลิ่นคาวอาหาร บำรุงเส้นผม โทษมีอะไรบ้างมะกรูด สมุนไพร สรรพคุณของมะกรูด สมุนไพรไทย

มะกรูด ( Kaffir lime ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะกรูด คือ Citrus hystrix DC. ชื่อเรียกอื่นๆของมะกรูด เช่น มะขู มะขุน มะขูด ส้มกรูด ส้มมั่วผี เป็นต้น

มะกรูด พืชตระกูลส้ม เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มะกรูดมีคุณสมบัติสำคัญหลายอย่าง ใช้ในการทำยารักษาโรคและด้านความสวยความงาม มะกรูดยังจัดเป็นไม้มงคล นิยมปลูกไว้บริเวณบ้าน เชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยมักจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน

ลักษณะของต้นมะกรูด

ต้นมะกรูด ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก พืชท้องถิ่นของไทย มะกรูด นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารไทย ทั้งใบมะกรูด ผิวมะกรูด และ ผลมะกรูด มะกรูดเป็นพืชตระกลูเดียวกันกับส้ม ให้กลิ่นหอม และ รสชาติเปรี้ยว การขยายพันธ์ มะกรูดสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง การติดตา การต่อยอด การเพาะเมล็ด เป็นต้น โดยรายละเอียดของต้นมะกรูด มีดังนี้

  • ลำต้นมะกรูด เนื้อไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน ผิวของลำต้นเรียบ มีหนามตามลำต้นและกิ่ง ความสูงประมาณ ไม่เกิน 2 เมตร
  • ใบมะกรูด ลักษณะเป็นใบประกอบ ออกตามกิ่งก้าน ใบหนา เรียบ ผิวใบมัน มีสีเขียว ใบมีกลิ่นหอมมาก ลดความดันโลหิต
  • ดอกมะกรูด ออกเป็นช่อ ดอกมะกรูดมีสีขาว ออกดอกตามยอดและซอกใบ ดอกมีกลิ่นหอมเล็กน้อย
  • ผลมะกรูด ลักษณะกลม มีสีเขียว ผิวของผลมะกรูดขรุขระ คล้ายผลส้มซ่า ภายในผมมีน้ำมากรสเปรี้ยว ผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของมะกรูด

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะกรูด มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบมะกรูด ผิวมะกรูด และ น้ำมะกรูด รวมถึงน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด โดยรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 171 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 6.8 กรัม ไขมัน 3.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29 กรัม กากใยอาหาร 8.2 กรัม แคลเซียม 1672 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 303 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.35 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 20 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผิวลูกมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 21.3 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม ไขมัน 1.1 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม แคลเซียม 322 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 115 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.8 กรัม โปรตีน 0.6 กรัม แคลเซียม 20 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี2 58 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 55 มิลลิกรัม

น้ำมันหอมระเหยของมะกรูด พบว่ามีสารใน 2 กลุ่ม คือ สารที่ไม่ใช่กลุ่มเทอร์พีน ( non-terpene) และ สารในกลุ่มเทอร์พีน ( terpenes)

สารเคมีสำคัญที่พบในใบมะกรูก และ ผิวมะกรูด คือ β-pinene limonene sabinene citronellal α-pinene myrcene 1,8 cineol α-terpineol trans – sabinene hydrate copaene linalool β-cubenene geranyl acetate , citronellol caryophyllene elemol δ-cardinene citronellene acetate terpinen-4-ol, p-elemene camphene γ-terpinene terpinolene และ nerolidol

สรรพคุณของมะกรูด

น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างและเป็นส่วนผสมของยาหลายชนิด มะกรูด สามารถนำเอามาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนประกอบ ทั้ง ผลมะกรูด ใบมะกรูด และ รากมะกรูด โดยสรรพคุณของมะกรูด มีดังนี้

  • ผลมะกรูด สรรพคุณแก้ปวดหัว ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยขับพยาธิ บำรุงกำลัง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ บำรุงเลือด ช่วยฟอกเลือด ช่วยขับระดู ขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเส้นผม ช่วยเจริญอาหาร รักษาโรคเส้นผม รักษาโรคผิวหนัง ใช้ทำความสะอาด บำรุงเส้นผม ช่วยผ่อนคลาย ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเลือด ขับลม ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ บำรุงเลือด
  • ใบมะกรูด สรรพคุณช่วยขับลม แก้หน้ามืด แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยผ่อนคลาย ทำให้หลับสบาย ช่วยเจริญอาหาร
  • รากมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียด แน่นท้อง บำรุงเลือด
  • ลำต้นมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียดแน่นท้อง บำรุงโลหิต
  • น้ำมะกรูด สามารถใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ใช้บำรุงเส้นผม ล้างสิ่งอุดตันบนใบหน้า ผิวของผลมะกรูด สามารถนำมาทำเป็นยาขับลม บำรุงหัวใจ แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ท้องอืด

โทษของมะกรุด

สำหรับมะกรูด เป็นพิชที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ผลของมะกรูด มีรสเปรี้ยว สามารถใช้แทนความเปรี้ยวของมะนาวได้ การบริโภคหรือใช้ประโยชน์จากมะกรูดต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ของมะกรูด มีดังนี้

  • น้ำมันมะกรูดหากสัมผัสกับผิวของมนุษย์โดยตรง อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ โดยเฉพาะเมื่อโดนแสงแดด จะทำให้แพ้แสงแดดจนกลายเป็นแผลไหม้ได้ เนื่องจากน้ำมะกรูด มีสารออกซิเพดามิน ( oxypedamin ) ทำให้เกิดอาการแพ้ เมื่อโดนอากาศเป็นเวลานาน อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ดังนั้น หากสัมผัสน้ำมันมะกรูด หรือ น้ำมะกรูด ให้ล้างน้ำให้สะอาด
  • น้ำมะกรูดมีกรดสูง ไม่ควรรับประทานน้ำมะกรูดขณะท้องว่าง เพราะ อาจทำให้แสบท้อง ระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้
  • น้ำมะกรูด มีรสเปรี้ยว ซึ่งการกินเปรี้ยวมากเกินไป ส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ทำลายฟัน ทำให้ท้องร่วง ทำให้กระดูกผุ เป็นต้น

ต้นมะกรูด พืชพื้นบ้าน อยู่คู่สังคมไทย นิยมนำมาใช้ทำอาหาร ใบมะกรูด ผิวมะกรูด น้ำมะกรูด ให้กลิ่นหอมและรสเปรี้ยว ลักษณะของต้นมะกรูด ประโยชน์และสรรพคุณของมะกรูด เช่น ช่วยขับลม ดับกลิ่นคาวอาหาร บำรุงเส้นผม โทษของมะกรูด มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย