ฟ้าทะลายโจร สมุนไพร รสขม เป็นยารักษาโรคหวัด ต้นฟ้าทะลายโจรเป็นอย่างไร สรรพคุณฟ้าทะลายโจร สร้างภูมิต้านทานโรค รักษาเบาหวาน แก้อาการปวด แก้หวัด โทษเป็นอย่างไร

ฟ้าทะลายโจร สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของฟ้าทะลายโจร

ต้นฟ้าทะลายโจร ภาษาอังกฤษ เรียก Kariyat ชื่อวิทยาศาสตร์ของฟ้าทะลายโจร คือ Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของฟ้าทะลายโจร เช่น น้ำลายพังพอน สามสิบดี เขตตายยายคลุม หญ้ากันงู ฟ้าสะท้าน เมฆทะลาย ซวนซิน เหลียง เจ็กเกี่ยงสี่ คีปังฮี โซ่วเซ่า เป็นต้น ต้นฟ้าทะลายโจร พบได้ทั่วไปในระเทศไทย เป็นยาสมุนไพรโบราณ ที่เป็นที่รู้จักกันดีในเวลาที่เป็นโรคหวัด เป็นพืชอายุสั้น สามารถใช้ได้ทุกส่วน มีรสขมเป็นเอกลักษณ์

ต้นฟ้าทะลายโจร มีสารสำคัญทางยาอยู่ 3 สาร  คือ สารแอดโดรกราโฟไลด์ ( Andrographolide ) สารนีโอแอนโดรกราโฟไลด์ ( Neo-Andrographolide ) และ สาร 14-ดีอ๊อกซี่แอนโดรกราโฟไลด์ ( 14-deoxy-andrographolide ) อยู่ในใบและต้นทั้งต้นสดและต้นแห้ง ซึ่งหากอายุของฟ้าทะลายโจร 3 เดือนขึ้นไปสามารถนำมาทำยารักษาโรคได้

ฟ้าทะลายโจรในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยได้บรรจุฟ้าทะลายโจรอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ บัญชียาสมุนไพร ของกระทรวงสาธารณสุข หมวดหมู่ยารักษาโรคกลุ่มอาการของระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจ ตามตำราแพทย์แผนไทย สรรพคุณของฟ้าทะลายโจร สามารถใช้ รักษาโรคทั่วไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ อาการอักเสบ อาการไอ อาการเจ็บคอ หลอดลมอักเสบ มีขับเสมหะ เป็นต้น

ลักษณะของต้นฟ้าทะลายโจร

ต้นฟ้าทะลายโจร เป็นพืชล้มลุก ขนาดเล็ก พบได้ทั่วไปในระเทศไทย สามารถขึ้นได้ไนทุกสภาพดิน ขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นฟ้าทะลายโจร มีดังนี้

  • ลำต้นฟ้าทะลายโจร ความสูงประมาณ 70 เซนติเมตร ลักษณะลำต้นเป็นเหลี่ยมสี่มุม
  • ใบฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นใบเดี่ยว รูปใบเรียวยาว สีเขียวเข้ม ใบเป็นมัน ปลายใบแหลม
  • ดอกฟ้าทะลายโจร ลักษณะดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว ด้านในสีม่วง ดอกออกตาทปลายกิ่งและซอกใบ
  • ผลฟ้าทะลายโจร ลักษณะผลเป็นฝัก เมื่อผลฟ้าทะลายโจรแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนจำนวนมากสามารถนำมาขยายพันธ์ได้

สรรพคุณของฟ้าทะลายโจร

วิธีทำยาฟ้าทะลายโจร ให้เด็ดใบฟ้าทะลายโจรใช้แบบสดๆหรือตากแห้งก็ได้ประมาณ 5 – 7 ใบ นำมาต้มกับน้ำสะอาดจนเดือด ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงรอให้เย็น นำมาดื่มก่อนอาหารและก่อนนอนครั้งละ 1 แก้ว สรรพคุณของฟ้าทะลายโจร ประกอบด้วย

  • ต้านอนุมูลอิสระ ทำให่ร่างกายดูอ่อนกว่าวัย
  • กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย
  • ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • ช่วยให้เจริญอาหาร
  • รักษาโรคเบาหวาน
  • รักษาโรคหวัด แก้อาการปวดหัว
  • รักษาโรคไข้ไทฟอยด์
  • แก้อาการไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ลดอาการอักเสบ
  • รักษาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร รักษากระเพาะลำไส้อักเสบ ช่วยในการย่อยอาหาร
  • แก้ร้อนใน
  • มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อในโรคระบบทางเดินหายใจ
  • มีฤทธิ์ช่วยคลายกล้ามเนื้อมดลูก
  • รักษาฝี รักษาแผลอักเสบ ยับยั้งการเกิดหนอง
  • รักษาโรคงูสวัด
  • แก้ปัญหาผมร่วง

โทษของฟ้าทะลายโจร 

ฟ้าทะลายโจรเป็นยารักษาโรคที่ใช้ทำให้ความร้อนในร่างกายลดลง ดังนั้นการใช้ประโยชน์จากฟ้าทะลายโจรจึงต้องใช้ให้เหมาะสมกับอาการของโรค ซึ่งมีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ และ โรคความดันต่ำ ไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร เนื่องจากฟ้าทะลายโจรช่วยลดความดัน อาจจะทำให้หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ได้
  • ฟ้าทะลายโจรไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไข้เย็น เช่น ปัสสาวะบ่อย อาการหนาว มือเท้าเย็น มีอาการหนาวสั่น คลื่นไส้ เป็นต้น
  • ไม่ควรรับประทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ติดต่อกันนานเกินกว่า 1 สัปดาห์ อาจส่งผลต่อร่างกาย เช่น ท้องอืด หน้ามืดตามัว  มือเท้าชา

ขมิ้น สมุนไพร พืชท้องถิ่น นิยมใช้เหง้ามาทำประโยชน์ สรรพคุณของขมิ้น เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงระบบเลือด แก้โรคผิวหนัง รักษาแผล ลดการอักเสบ แก้ท้องอืด บำรุงสมองขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นขมิ้น ภาษาอังกฤษ เรียก Turmeric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa L. เป็นพืชในตระกูลเดียวกับขิง สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นชัน ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น เป็นต้น ต้นขมิ้น มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ขมิ้นมีกลิ่นหอมที่มีความเฉพาะตัว นิยมใช้ตกแต่งกลิ่นและสีของอาหาร อาหารไทยนิยมใช้ขมิ้นมาทำอาหารหลายเมนูอาหาร เช่น แกงไตปลา แกงกะหรี่ ปลาต้มขมิ้น เป็นต้น

ขมิ้นมีประวัติการนำเอาขมิ้นมาใช้ประโยชน์ต่างๆ มากกว่า 5000 ปี ทั้งการนำมาทำเป็นยาและอาหาร ขมิ้นชันอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เป็นต้น

ลักษณะของต้นขมิ้น

ต้นขมิ้นชัน เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าและหัวอยู่ใต้ดิน อายุหลายปี ขมิ้นชอบแสงแดดจัดและมีความชื้นสูง ดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นขมิ้นชัน มีดังนี้

  • ลำต้นของขมิ้นชัน มีความสูงประมาณ  30 ถึง 95 เซ็นติเมตร
  • เหง้าของขมิ้นชัน เป็นลักษณะทรงรี รูปไข่ อยู่ใต้ดิน อ้วนและสั้น ในเนื้อของเหง้ามีสีเหลืองส้ม กลิ่นฉุน
  • ใบของขมิ้นชัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ตรงกลางใบมีสีแดงคล้ำ ออกมาจากเหง้า เรียงซ้อนทับกันเป็นวง ลักษณะใบเป็นรูปหอก
  • ดอกของขมิ้นชัน ดอกออกมาจากเหง้าขมิ้นชั้น แทรกขึ้นตามก้านใบ ดอกขมิ้นรูปทรงกระบอก สีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อน

สรรพคุณของขมิ้น

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขมิ้นด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนิยมใช้ประโยชน์จากเหง้าขมิ้น ซึ่งสรรพคุณของเหง้าขมิ้น มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย เสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • บำรุงผิวหนัง ช่วยป้องกันผิวหนังจากสภาพแวดล้อมต่างๆ
  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต
  • ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ล้างพิษ ลดการเกิดพิษในร่างกาย
  • บำรุงกระดูก รักษาโรคเกาต์ ลดกรดยูริคในเลือด ลดอาการปวดบวมตามข้อ
  • บำรุงร่างกายสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ช่วยเพิ่มน้ำนม
  • รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ ช่วยให้หายใจคล่อง บำรุงปอด
  • บำรุงสมอง ลดอาการสมองเสื่อม แก้อาการเวียนหัว
  • แก้ปวด ลดการอักเสบ บวมแดงของร่างกาย
  • ช่วยลดไข้ ลดอาการไอ
  • รักษาแผลที่ปาก แผลร้อนใน
  • บรรเทาอาการปวดท้อง ช่วยรักษาอาการท้องเสีย  รักษาอาการจุดเสียด ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร รักษาโรคลำไส้อักเสบ รักษาโรคแผลในลำไส้ ช่วยเรื่องการขับถ่าย ลดการบีบตัวของลำไส้  รักษาอาการลำไส้ใหญ่บวม อาการอุจจาระไม่ออก ช่วยขับลม ป้องกันการเกิดกรดไหลย้อน
  • บำรุงตับให้แข็งแรงขึ้น ป้องกันการเกิดตับอักเสบ และตับอ่อนอักเสบ และป้องกันตับจากฤทธิ์ของยาพาราเซตามอล
  • แก้อาการตกเลือด แก้อาการตกขาว
  • บำรุงผิวพรรณ แก้อาการผื่นคันตามร่างกาย รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน บรรเทาอาการผิวหนังพุพอง ทำให้ ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึง รักษาสิวเสี้ยน สิวผด สิวอุดตัน
  • รักษาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อรา
  • ช่วยสมานแผลทำให้หายเร็วยิ่งขึ้น

โทษของขมิ้น 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขมิ้น หถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์มากมาย แต่การบริโภคขมิ้นต้องระมัดระวัง ไม่ควรรับประทานมากเกินไป อาจจะกลายเป็นพิษต่อร่างกายได้ ข้อควรระวังในการใช้ขมิ้น มีดังนี้

  • หากรับประทานขมิ้นแล้วเกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว หรือ นอนไม่หลับ ต้องหยุดการรับประทานขมิ้นทันที
  • การใช้ขมิ้นเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ เมื่ออาการเหล่านั้นหายดีแล้ว ควรเลิกรับประทาน ไม่ควรรับประทานต่อเนื่อง
  • ขมิ้นชั้นเป็นอันตรายสำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับท่อน้ำดี อาจทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดีได้
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย