สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

เกลือ Salt แร่ธาตุที่มีรสเค็ม นิยมนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ทั้งด้านสมุนไพร การรักษาโรค ร่างกายมนุษย์ต้องการเกลือในปริมาณที่เหมาะสม ประโยชน์ สรรพคุณและโทษของเกลือ

เกลือ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ในธรรมชาติ เกลือจะก่อตัวเป็นผลึก เรียก เกลือหิน เกลือพบว่ามีจำนวนมากมหาสารในทะเล เกลือเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตสัตว์ เกลือ เป็นหนึ่งในเครื่องปรุงรสหาง่ายที่สุด นิยมใช้ถนอมอาหารด้วย เกลือ เป็นวัตถุดิบหลักในการปรุงอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ต้ม ผัด แกง ประโยชน์ของเกลือมีอะไรบ้าง

สายเคมีที่พบในเกลือ ประกอบด้วย โซเดียมคลอไรด์ ( Sodium Chlorid e) โปแตสเชียม ( Potassium ) แมกเนเชียม (  Magnesium ) และ แคลเซียม ( Calcium ) โซเดียมก็จะถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกาย ซึ่งผลต่อปริมาณน้ำในร่างกาย เกลือจะถูกขับออกนอกร่างกายผ่านทางการทำงานของไต ทางปัสสาวะ และ เหงื่อ เกลือเป็นสารสำคัญในการสร้างกรดของร่างกาย

คุณสมบัติของเกลือ

  • สีของเกลือ ส่วนมากเกลือจะมีลักษณะ ใส ไม่มีสี เกลือที่มีสีก็มีเช่นกัน เช่น เกลือสีเหลือง ( โซเดียมโครเมต ) เกลือสีส้ม ( โพแทซเซียมไดโครเมต ) เกลือสีฟ้า ( คอปเปอร์ซัลเฟตเพนตะไฮเดรต ) เกลือสีม่วง ( โฟแทซเซียมเปอร์แมงกาเนต ) เกลือสีเขียว ( นิคเกิลคลอไรด์เฮกซะไฮเดรต ) เกลือสีขาว ( โซเดียมคลอไรด์ ) เกลือไม่มีสี ( แมกนีเซียมซัลเฟตเฮปตะไฮเดรต ) และ เกลือสีดำ ( แมงกานีสไดออกไซด์ )
  • รสชาติของเกลือ เกลือจะมีรสเค็ม
  • กลิ่นของเกลือ เกลือไม่มีกลิ่น แต่เป็นกรดและเบสอ่อนๆ
ประโยชน์จากการกินเค็ม
  • ช่วยปรับระดับความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • ช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร ช่วยเจริญอาหาร ทำให้เพิ่มความอยากรับประทาน มากขึ้น
  • ช่วยปรับระดับเกลือแร่ในร่างกายให้เกิดความสมดุล
  • เกลือช่วยทำความสะอาด และ กำจัดคราบต่างๆได้

สรรพคุณของเกลือ

สำหรับการใช้ประโยชน์ของเกลือ ด้านการบำรุงร่างกายและ การรักษาโรคนั้น มีมากมาย เกลือมีคุณสมบัติเป็นยาเย็น รสเค็ม สรรพคุณดับร้อน ถอนพิษ ช่วยระบาย ระงับการอาเจียน แก้คอแห้ง ลดการกระหายน้ำ ช่วยให้ปัสสาวะมากขึ้น แก้ท้องผูก รักษาโรคเหงือกและฟัน แก้แมลงสัตว์กัดต่อย รักษาเลือดออกตามไรฟัน รักษาโรคผิวหนัง รักษาอาการคัน ใช้ล้างแผล แก้เจ็บคอ แก้ตาแดง  ป้องกันผมร่วง รักษาโรคกระเพาะ แก้เผ็ด

โทษของเกลือ

  • การกินอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือในปริมาณที่มาก ทำให้ไตทำงานหนัก ส่งผลต่อเลือด และ ระบบการกรองของเสียออกจากร่างกาย
  • ผู้ป่วยโรคไต โรคตับ โรคหัวใจ ต้องลดการกินอาหารเค็ม เพราะจำทำให้ระดับน้ำในร่างกายสูง
  • ผู้หญิงที่อยู่ช่วงก่อนมีประจำเดือน ควรงดรับประทานเกลือ เพื่อป้องกันอาการบวมน้ำและท้องอืด
  • การรับประทานอาการที่มีเกลือมากๆ ชอบกินเค็ม ทำให้อวัยวะภายในร่างกายทำงานหนักขึ้น เพื่อกำจัดเกลือ ผนังกระเพาะอาหารอักเสบ เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควรลดเกลือ หากร่างกายได้รับเกลือมากเกิน จะเพิ่มความดันโลหิตใรร่างกาย ผู้สูงอายุ และ คนที่มีผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง ต้องลดการกินอาหารเค็ม

เกลือ ( Salt ) คือ แร่ธาตุ ที่มีรสเค็ม สมุนไพรประเภทแร่ธาตุ เกลือ นิยมนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ทั้งด้านสมุนไพร และ การรักษาโรค ร่างกายของมนุษย์ต้องการเกลือในปริมาณที่เหมาะสม ประโยชน์และโทษของเกลือ สรรพคุณของเกลือ

แหล่งอ้างอิง

  • WHO issues new guidance on dietary salt and potassium”. WHO. 31 January 2013.
  • กรมทรัพยากรธรณี 2548. โครงการศึกษาปัจจัยทางธรณีวิทยาที่ทำให้เกิดดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2547 สำนักทรัพยากรแร่ กรมทรัพยากรธรณี 277 หน้า.
  • เจริญ เพียรเจริญ. 2515. แหล่งเกลือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ข่าวารสารกรมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี.
  • เด่นโชค มั่นใจ. 2545. ทบทวนงานศึกษาธรณีวิทยา บริเวณที่ราบสูง โคราช รายงานสัมมนา ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
  • ธวัช จาปะเกษตร์ 1985. การสำรวจแร่เกลือหินและโพแทชภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย Proceedings of the Conference on Geology and Mineral Resources Development of the Northeast, Thailand. Department of Geotechnology, Khon Kaen University, 26-29 November, Khon Kaen, Thailand.
  • พิทักษ์ รัตนจารุรักษ์. 2542. แหล่งแร่เกลือหินในประเทศไทย. วารสารเศรษฐธรณีวิทยา ปีที่ 1 ฉบับที่ 10.
  • พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

พิมเสน borneol สมุนไพรประเภทแร่ธาตุ สารอินทรีย์ชนิดไบไซคิก สารกลุ่มเทอร์พีน ลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว กลิ่นหอมฉุน พิมเสนพบในพืช ประโยชน์ สรรรพคุณและโทษของพิมเสน

พิมเสน สมุนไพร สมุนไพรไทย

พิมเสน ชื่อสามัญ คือ borneol ชื่อวิทยาศาสตร์ของพิมเสน คือ Borneol camphor ชื่อเรียกอื่นๆของพิมเสน คือ พิมเสนเกล็ด ปิงเพี่ยน เหมยเพี่ยน เป็นต้น พิมเสนพบในพืชหลายชนิดเช่น หนาด (Blumea balsamifera), เปราะหอม (Kaempferia galanga), พืชวงศ์ยางนา (Dipterocarpaceae) และพืชสกุล Artemisia พิมเสนเป็นสารที่ถูกออกซิไดซ์กลายเป็นสารกลุ่มคีโตน (การบูร) ได้ง่ายมาก จึงมีชื่อเรียกในอดีตว่า Borneo camphor พิมเสนสามารถสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยารีดักชันระหว่างการบูรกับโซเดียมบอโรไฮไดรด์ (NaBH4) ซึ่งจะได้พิมเสนในรูปไอโซบอร์เนออล (isoborneol) สรรพคุณของพิมเสนช่วยขับเหงื่อ ขับลม บำรุงหัวใจ แก้เวียนหัวหน้ามืด แต่พิมเสนทำให้ระคายเคืองดวงตา ผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ และ ระบบทางเดินอาหาร ได้ พิมเสน สามารถสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยารีดักชัน ระหว่างการบูร กับ โซเดียมบอโรไฮไดรด์

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพิมเสน พบว่าในพิมเสรมีสารเคมี ที่มีคุณสมบัติคล้ายการบูร มีสารเคมี ประกอบด้วย d-Borneol , Humulene , Caryophyllene , Asiatic acid , Dryobalanon Erythrodiol , Dipterocarpol , Hydroxydammarenone2 มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคได้หลายชนิด เช่น เชื้อโรคในลำไส้ใหญ่ เชื้อราบนผิวหนัง เป็นต้น

ชนิดของพิมเสน

สำหรับพิมเสน เป็นสารเคมีที่มีลักษณะพิเศษ พิมเสนมี 2 ชนิด คือ พิมเสนที่ได้จากธรรมชาติ และ พิมเสนที่ได้จากการสังเคราะห์ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • พิมเสนที่ได้จากธรรมชาติ เรียก พิมเสนแท้ เกิดจากการระเหิดของยางของพืชตระกูลยางนา พิมเสน จะมีเนื้อแน่นกว่าการบูร และระเหิดได้ช้ากว่าการบูร คุณสมบัติติดไฟและให้แสงสว่างจ้า มีควัน ไม่มีขี้เถ้า
  • พิมเสนที่ได้จากการสังเคราะห์ เรียก พิมเสนเทียม ได้จากการสกัดจากต้นการบูรและน้ำมันสน โดยผ่านวิธีทางเคมีวิทยา จนเกิดเกร็ดสีขาว ให้คุณสมับติเหมือนพิมเสนแท้

ประโยชน์ของพิมเสน

พิมเสนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้าน สมุนไพร และ การรักษาโรค เป็นหลัก นิยมนำพิมเสนมาใส่ในหมากพลู ผสมในลูกประคบ  ยาหม่อง น้ำอบไทย ยาหอม เป็นต้น ช่วยกระตุ้นให้ระบบประสาทและสมองตื่นตัว ได้

สรรพคุณของพิมเสน

สำหรับการใช้ประโยชน์ของพิมเสน ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มี รายละเอียด ดังนี้

  • เป็นยาเย็นออกฤทธิ์ต่อหัวใจและปอด บำรุงหัวใจ
  • ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย
  • ช่วยกระตุ้นสมอง
  • ช่วยกระตุ้นการหายใจ
  • แก้วิงเวียนหน้ามืด
  • ช่วยให้ร่างกายตื่นตัว
  • แก้ไอ
  • รักษาแผลในปาก เหงือกบวม
  • ช่วยขับเหงื่อ ขับเสมหะ
  • ช่วยขับลมทำให้เรอ ลดการจุกเสียดแน่นท้อง รักษาอาการปวดท้อง
  • รักษาบาดแผลสด แผลเนื้อร้าย
  • ฆ่าเชื้อโรคที่ผิวหนัง รักษาแผลอักเสบ ฟกช้ำ และ กลากเกลื้อน แก้ผดผื่นคัน
  • แก้ปวดบวม แก้อักเสบ

โทษของพิมเสน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพิมเสนมีข้อควรระวังอยู้บ้าง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • สำหรับสตรีที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ห้ามกินพิมเสน
  • การใช้พิมเสนมากเกินไป เป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้คลื่นไส้อาเจียน

พิมเสน ( borneol ) คือ สมุนไพรประเภทแร่ธาตุ สารอินทรีย์ชนิดไบไซคิก สารกลุ่มเทอร์พีน มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว กลิ่นหอมฉุนคล้ายการบูร พิมเสนพบในพืช ประโยชน์และสรรรพคุณของพิมเสน โทษของพิมเสน มีอะไรบ้าง

พิมเสน สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ ขับลม บำรุงหัวใจ แก้เวียนหัวหน้ามืด แต่พิมเสนทำให้ระคายเคืองดวงตา ผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ และ ระบบทางเดินอาหาร ได้ พิมเสน สามารถสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยารีดักชัน ระหว่างการบูร กับ โซเดียมบอโรไฮไดรด์

แหล่งอ้างอิง

  • Lide, D. R., บ.ก. (2005). CRC Handbook of Chemistry and Physics (86th ed.). Boca Raton (FL): CRC Press. p. 3.56. ISBN 0-8493-0486-5.
  • คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์, ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ, หน้า 499, พ.ศ. 2544, สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพฯ
  • Wong, K. C.; Ong, K. S.; Lim, C. L. (2006). “Composition of the essential oil of rhizomes of Kaempferia Galanga L.”. Flavour and Fragrance Journal. 7 (5): 263–266. doi:10.1002/ffj.2730070506.
  • พิมเสน – ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • Plants containing borneol เก็บถาวร 2015-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Dr. Duke’s Phytochemical and Ethnobotanical Databases)]
    “Chemical Information”. sun.ars-grin.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-11-07. สืบค้นเมื่อ 2008-03-02.
  • Material Safety Data Sheet, Fisher Scientific

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้


สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร