สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

ถั่วแดง พืชตระกูลถั่ว นิยมรับประทานเมล็ดถั่วแดงเป็นอาหาร ลักษณะของต้นถั่วแดง คุณค่าทางโภชนาการของถั่วแดง สรรพคุณป้องกันท้องผูก ลดไขมันในเส้นเลือด โทษของถั่วแดงถั่วแดง ธัญพืช สมุนไพร สรรพคุณถั่วแดง

ต้นถั่วแดง ภาษาอังกฤษ เรียก Kidney bean ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วแดง คือ Phasecolus vulgaris L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วแดง เช่น ถั่วแดงหลวง ถั่วท้องนา ถั่วนาเต็มกำ เป็นต้น เมล็ดของถัวแดง นั้นจริงๆมีหลายสี เช้น สีแดงเข้ม สีแดงม่วง และ สีชมพู ซึ่งสำหรับสายพันธืถั่วแดงนิยมปลูกในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ ถั่วแดงหลวง และ ถั่วนิ้วนางแดง

ถั่วแดงในประเทศไทย

สำหรับถั่วแดงในประเทศไทย มีการส่งเสริมให้ปลูกโดยโครงการหลวง ซึ่งนำเข้ามาปลูกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2514 โดยหม่อมเจ้าภีศเดช รัศนี วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ชาวเขาปลูกเป็นพืชทดแทนฝิ่น ต่อมามีการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ถั่วแดงขึ้นมาเองได้สำเร็จ คือ ถั่วแดงสายพันธ์หมอกจ๋าม จากนั้นได้มีการพัฒนาสายพันธ์ถั่วแดงเรื่อยมา จนได้สายพันธ์ที่สามารถปลูกและ เป็นที่นิยมถึงทุกวันนี้ คือ ถั่วแดงพันธ์นิ้วนางแดง และ ถั่วแดงหลวง

สายพันธ์ถั่วแดงที่นิยมปลูกในประเทศไทย

จากการส่งเสริมและพัฒนาถั่วแดง โดยโครงการหลวง จึงได้สายพันธ์ถั่วแดงที่นิยมปลูกในประเทศไทย ซึ่งมี 2 ชนิด คือ ถั่วนิ้วนางแดง และ ถั่วแดงหลวง ถั่วแดงหลวงเป็นสายพันธืที่นิยมปลูกมากที่สุด รายละเอียดของชนิดของถั่วแดง มีดังนี้

  • ถั่วนิ้วนางแดง เดิมทีเรียกว่าถั่วแดงซีลอน เป็นถั่วแดงสายพันธ์ที่ไวต่อแสง นิยมปลูกแซมตามแปลงพืชต่างๆ เช่น แปลงข้าวโพด ถั่วนิ้วนางแดง สามารถผลิตเพื่อการส่งออกได้จำนวนมาก โดยมีตลาดสำคัญ คือ ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ แหล่งปลูกถั่วนิ้วนางแดงที่สำคัญ คือ อำเภอวังสะพังและอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จังหวัดขอนแก่น จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น
  • ถั่วแดงหลวง เป็นสายพันธ์ที่นิยมปลูกมากที่สุดในปัจจุบัน ถั่วแดงหลวงมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ และต่อมาสามารถแพร่กระจายไปสู่อเมริกากลาง แอฟริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และ เอเชีย

ลักษณะของต้นถั่วแดง

ต้นถั่วแดง เป็นพืชล้มลุก อายุสั้นเพียง 1 ปี นิยมรับประทานเมล็ดของถั่วแดงเป็นอาหาร สำหรับการปลูกถั่วแดง สามารถปลูกได้ดีบนที่สูง อุณหภูมิช่วง 19 – 23 องศาเซลเซียส ชอบดินร่วนที่ระบายน้ำดี สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นถั่วแดง มีดังนี้

  • ลำต้นถั่วแดง ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้าน เป็นพุ่มเตี้ยๆ ความสูงของลำต้นประมาณ 60 เซนติเมตร
  • ใบถั่วแดง เป็นใบประกอบเรียงกันตามข้อกิ่ง ใบเป็นรูปหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีขนอ่อนๆปกคลุม ใบเป็นสีเขียว
  • ดอกถั่วแดง ลักษณะเป็นช่อ กลีบดอกมีสีขาว ดอกออกตากซอกใบ
  • ฝักและเมล็ดถั่วแดง ลักษณะฝักเป็นรูปทรงกระบอก ยาว ความยาวของฝักประมาณ 10 เซนติเมตร ฝักอ่อนมีสีเขียว ฝักแก่มีสีน้ำตาลอ่อน ภายในฝักถั่วแดงมีเมล็ด เมล็ดอ่อนจะมีสีขาว เมล็ดแก่จะเป็นสีแดง

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วแดง

สำหรับถั่วแดงนิยมรับประทานเมล็ดของถั่วแดงเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วแดง ขนาด 100 กรัม พลังงานมากถึง 337 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 61.29 กรัม น้ำ 11.75 กรัม น้ำตาล 2.1 กรัม กากใยอาหาร 15.2 กรัม ไขมัน 1.06 กรัม โปรตีน 22.53 กรัม ธาตุแคลเซียม 83 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.69 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 138 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 406 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,359 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 12 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 2.79 มิลลิกรัม และ วิตามินต่างๆ มากมาย ประกอบด้วย วิตามินบี1 0.608 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.215 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.11 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.397 มิลลิกรัม วิตามินบี9 394 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.21 มิลลิกรัม และ วิตามินเค 5.6 ไมโครกรัม

สรรพคุณถั่วแดง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วแดง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วแดง ซึ่ง สรรพคุณของเมล็ดถั่วแดง มีดังนี้

  • ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย และ ป้องกันท้องผูก ช่วยกำจัดสารตกค้างที่สะสมในระบบทางเดินอาหาร
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง
  • ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • ป้องกันอาการชา รักษาอาการชาตามนิ้วมือ นิ้วเท้า
  • ช่วยขับพิษออกจากร่างกาย
  • ช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ
  • บำรุงข้อและกระดูก บรรเทาอาการปวดตามข้อ ลดอาการอักเสบ
  • ช่วยรักษาแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น

โทษของถั่วแดง

สำหรับการรับประทานถั่วแดง เพื่อการบำรุงร่างกายและรักษาโรค มีข้อควรแนะนำ สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ไม่ควรรัประทานถั่วแดง เนื่องจากอาจกระตุ้นห้อาการข้ออักเสบกำเริบ

ถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ทำมาจากเมล็ดถั่วเหลือง ต้นถั่วเหลืองเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณลดคอเรสเตอรัล ช่วยลดน้ำตาลในเลือด โทษของถั่วเหลืองถั่วเหลือง สมุนไพร พืชตระกูลถั่ว สรรพคุณของถั่วเหลือง

ต้นถั่วเหลือง ภาษาอังกฤษ เรียก Soybean ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเหลือง คือ Glycine max (L.) Merr. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเหลือง เช่น ถั่วแระ ถั่วพระเหลือง ถั่วแม่ตาย มะถั่วเน่า ถั่วเน่า ถั่วหนัง เถ๊าะหน่อ ตบยั่ง อาทรึ่ม โชยุ โซยาบีน อึ่งตั่วเต่า และ เฮ็กตั่วเต่า เป็นต้น

ถั่วเหลืองได้รับฉายาว่า ราชาแห่งถั่ว จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ ผู้ผลิตถั่วเหลืองที่สำคัญที่สุดของโลก คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา รองลงมา คือ ประเทศบราซิลและจีน การปลูกถั่วเหลืองแพร่หลายในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น

ถั่วเหลืองในประเทศไทย

การปลูกถั่วเหลืองในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีการปลูกครั้งแรกเมื่อใด สันนิษฐานว่ามาจากชาวจีนที่มาอาศัยหรือค้าขายในประเทศไทย ปัจจุบันมีการปลูกถั่วเหลืองทั่วไป และ ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ถั่วเหลือง จสมีถั่วเหลืองสายพันธุ์ดีเป็นจำนวนมาก มีอยู่ประมาณ 10 พันธุ์ เช่น สจ.4 สจ.5 สุโขทัย1 สุโขทัย2 สุโขทัย3 นครสวรรค์1 เชียงใหม่60 เชียงใหม่2 เชียงใหม่3 เชียงใหม่4

สำหรับสายพันธ์ถั่วเหลืองที่นิยมปลูกมากที่สุด คือ สายพันธุ์ สจ.4 สจ.5 และ เชียงใหม่60 ประเทศไทยสามารถปลูกถั่วเหลืองได้ทั้งปี อายุการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองประมาณ 60-110 วัน

ลักษณะของต้นถั่วเหลือง

สำหรับต้นถั่วเหลือง เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ต้นถั่วเหลือง มี 2 ประเภท คือ ถั่วเหลืองชนิดทอดยอด และ ถั่วเหลืองชนิดไม่ทอดยอด ลักษณะของต้นถั่วเหลือง มีดังนี้

  • ลำต้นต้นถั่วเหลือง ลักษณะลำต้นตั้งตรง เป็นทรงพุ่ม กิ่งก้านแตกแขนง ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นมีขนปกคลุมอยู่ทั่วไป
  • ใบถั่วเหลือง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นนรูปไข่เรียวยาว ใบมีขนสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ทั่วใบ
  • ดอกถั่วเหลือง ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกเป็นกระจะ สีขาว กับ สีม่วง ดอกออกตามก้านใบและยอดของลำต้น กลีบดอกมีขนปกคลุม
  • ฝักถั่วเหลือง ฝักออกเป็นกลุ่มๆ ลักษณะยาวกลม ฝักมีขนสีเทาปกคลุมทั่วฝัก ฝักยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 5 เมล็ดฝักอ่อนสีเขียว ฝักสุกสีน้ำตาล
  • เมล็ดถั่วเหลือง อยู่ภายในฝักถั่วเหลือง เมล็ดลักษณะกลมรี ผิวเรียบ เมล็ดมีหลายสี เช่น เหลือง เขียว น้ำตาล

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง

สำหรับการบริโภคถั่วเหลืองนิยมรับประทานเมล็ดของถั่วเหลือง สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง นักโภชนาการได้ศึกษา มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 446 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 30.16 กรัม น้ำ 8.54 กรัม น้ำตาล 7.33 กรัม กากใยอาหาร 9.3 กรัม ไขมัน 19.94 กรัม โปรตีน 36.49 กรัม ทริปโตเฟน 0.591 กรัม ทรีโอนีน 1.766 กรัม ไอโซลิวซีน 1.971 กรัม ลิวซีน 3.309 กรัม ไลซีน 2.706 กรัม เมทไธโอนีน 0.547 กรัม ซิสทีน 0.655 กรัม ฟีนิลอะลานีน 2.122 กรัม ไทโรซีน 1.539 กรัม วาลีน 2.029 กรัม อาร์จินีน 3.153 กรัม ฮิสตามีน 1.097 กรัม อะลานีน 1.915 กรัม กรดแอสพาร์ติก 5.112 กรัม กลูตามิก 7.874 กรัม ไกลซีน 1.880 กรัม โพรลีน 2.379 กรัม ซีรีน 2.357 กรัม วิตามินเอ 1 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.874 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.87 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.623 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.793 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.377 มิลลิกรัม วิตามินบี9 375 ไมโครกรัม โคลีน 115.9 มิลลิกรัม วิตามินซี 6 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.85 มิลลิกรัม วิตามินเค 47 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 277 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 15.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 280 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 2.517 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 704 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,797 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 4.89 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วเหลือง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากต้นถั่วเหลือง สามารถใช้ประโยชน์จาก เปลือกเมล็ด กากเมล็ด เมล็ด ใบ และ ดอก สรรพคุณของถั่วเหลือง มีดังนี้

  • เปลือกเมล็ด สรรพคุณเป็นยาบำรุงเลือด แก้ปวดศีรษะ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผลเปื่อย ลดอาการเหงื่อออก
  • กากเมล็ด สรรพคุณช่วยป้องกันการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด
  • ใบถั่วเหลือง สรรพคุณช่วยห้ามเลือด รักษางูกัด
  • ดอกถั่วเหลือง สรรพคุณช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็ก รักษาต้อกระจก
  • เมล็ดถั่วเหลือง สรรพคุณช่วยลดความเสี่ยงโรคความดัน ลดคอเรสเตอรัล ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด บำรุงกระดูก ช่วยขับรอน ช่วยถอนพิษ รักษาโรคโลหิตจาง รักษาตานขโมย กระตุ้นกระเพาะอาหาร แก้โรคบิด เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ ปรับสมดุลย์ออร์โมนเพศหญิง แก้ปวดตามข้อกระดูก

โทษของถั่วเหลือง

สำหรับการบริโภคถั่วเหลือง มีข้อควรระวังในการบริโภคถั่วเหลือง ดังนี้

  • สำหรับบางคนพบว่ามีอาการแพ้ถั่วเหลือง เช่น เกิดผื่นคันหลังจากรับประทานถั่วเหลือง หากพบอาการผิดปรกติ ให้หยุดรับประทานทันที
  • ถั่วเหลืองมีโปรตีนสูง หากบริโภคมากเกินไปอาจทำให้ท้องผูก แน่นท้องได้
  • การรับประทานถั่วเหลืองเป็นประจำ อาจทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism) โดยหากพบอาการ เช่น เจ็บส้นเท้า อ่อนเพลีย อ้วนง่าย ให้หยุดการรับประทานถั่วเหลือง

สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร