สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

ลูกยอ สรรพคุณหลากหลาย ต้นยอเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับประจำเดือน แก้เสียงแหบ แก้ร้อนใน โทษของยอมีอะไรบ้างยอ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ยอ ภาษาอังกฤษ เรียก Great morinda พืชตระกูลเข็ม ชื่อวิยาศาสตร์ของยอ คือ Morinda citrifolia L. สำหรับชื่อเรียกอื่น ๆ ของยอ เช่น แย่ใหญ่ ตาเสือ มะตาเสือ ยอบ้าน เป็นต้น

ต้นยอ เป็นยาสมุนไพรที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เรื่องแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ยาสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน ได้บรรจุลูกยอเป็นหนึ่งในสมุนไพรพื้นฐาน ต้นยอ โดยทั่วไปมี 2 ชนิด คือ ยอบ้าน และ ยอป่า ซึ่งต้นยอที่เราพบเห็นกันบ่อยๆ คือ ยอบ้าน ลูกยอสุกช่วยขับลมและช่วยย่อยอาหาร

ลูกยอ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมาย ล้วนแต่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ในลูกยอมีสารสำคัญ เช่น กรดไขมัน ลิกนิน พอลิแซ็กคาไรด์ ฟลาโอนอยด์ อีริดอยด์ สโครโปเลติน แอลคาลอยด์ รวมถึงสารอาหารและวิตามินอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี3 ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุโพแทสเซียม และ ธาตุโซเดียม

ลักษณะของต้นยอ

ต้นยอ เป็นไม้ยืนต้น พรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด ต้องการความชื้นปานกลาง ปลูกได้ในดินร่วนชุ่ยที่ถ่ายเทน้ำสะดวก สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นยอ มีดังนี้

  • ลำต้นยอ มีความสูงประมาณ 5 ถึง 15 เมตร ลำต้นไม่ค่อยตรง เปลือกสีเทา หรือ น้ำตาลอมแดง ผิวลำต้นแตกเป็นร่องลึก ลักษณะเป็นเกล็ด เนื้อไม้มีสีเหลืองอ่อน
  • ใบต้นยอ ใบใหญ่ สีเขียว เนื้อใบค่อนข้างบาง ใบคล้ายรูปไข่ โคนใบเรียวสอบ
  • ดอกต้นยอ ดอกออกเป็นช่อ ดอกสีขาว ลักษณะคล้ายรูปแจกันทรงสูง
  • ผลต้นยอ ลักษณะกลมรี มีปุ่มทั่วผล ผลสีเขียว เนื้อในเป็นสีขาว ผลอมน้ำมาก ภทยในมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของยอ

สำหรับต้นยอ มีการนำเอาผลยอ มารับประทาน ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของลูกยอ มีรายละเอียด ดังนี้ คุณค่าทางโภชนาการของลูกยอ ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย ไขมัน
1.2 กรัม โปรตีน 5.8 กรัม กากใยอาหาร 36 กรัม และ คาร์โบไฮเดรต 71 กรัม วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม กรดไขมัน ลิกนิน พอลิแซ็กคาไรด์ ฟลาโอนอยด์ อีริดอยด์ สโครโปเลติน แอลคาลอยด์ เป็นต้น

สรรพคุณของยอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากยอ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผลดิบ ผลสุก ใบ และ ราก สรรพคุณของยอ มีดังนี้

  • ลูกยอสุก สรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง
  • ลูกยอดิบ สรรพคุณช่วยขับลม บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับประจำเดือน แก้คลื่นไส้อาเจียน รักษาอาการเหงือกเปื่อย แก้เสียงแหบ และ แก้ร้อนใน
  • ใบของต้นยอ สรรพคุณบำรุงสายตา บำรุงหัวใจ แก้ปวดตามข้อ รักษาโรคเกาท์ แก้ท้องร่วง แก้เหงือกบวม
  • น้ำคั้นจากใบต้นยอ สรรพคุณรักษาแผล ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง รักษาวัณโรค
  • รากยอ สรรพคุณเป็นยาระบาย แก้ท้องผูก

โทษของยอ

สำหรับการบริโภคลูกยอ ลูกยอสุกช่วยขับลมและช่วยย่อยอาหาร ซึ่งสำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์เป็นอันตราย ไม่แนะนำให้สตรีมีครรภ์รับประทานผลยอสุก เพราะ อาจทำให้เกิดปัญหากับระบบไหลเวียนโลหิต อาจทำให้แท้งลูก

รากสามสิบ สมุนไพรสามร้อยผัว สรรพคุณสำหรับสตรี ต้นรากสามสิบเป็นอย่างไร สารในรากสามสิบ สรรพคุณแก้กระษัย ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บำรุงกำลัง โทษของรากสามสิบ มีอะไรบ้างรากสามสิบ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นรากสามสิบ ภาษาอังกฤษ เรียก Shatavari พืชตระกูลหน่อไม้ฟรั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของรากสามสิบ Asparagus racemosus Willd. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของรากสามสิบ เช่น สามร้อยราก ผักหนาม ผักชีช้าง จ๋วงเครือ เตอสีเบาะ พอควายเมะ ชีช้าง ผักชีช้าง จั่นดิน  ม้าสามต๋อน สามสิบ ว่านรากสามสิบ ว่านสามสิบ ว่านสามร้อยราก สามร้อยผัว สาวร้อยผัว ศตาวรี เป็นต้น

รากสามสิบ สมุนไพรที่สรรพคุณของรากมากมาย เป็นส่วนผสมของยาสมุนไพร หลายตำรับ ทั้งยาแผนไทย ยาแผนจีน สรรพคุณบำรุงสตรีเพศ กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ อกตูม รูฟิต นิยมใช้รากสามสิบเป็นยาพื้นบ้าน แก้ตกเลือด แก้ปวดเมื่อย แก้พิษแมลงป่องกัดต่อย แก้ปวดฝี บำรุงตับ บำรุงปอด

ลักษณะของต้นรากสามสิบ

ต้นรากสามสิบ พืชล้มลุก ประเภทไม้เถา สามารถพบได้ในประเทศเขตร้อน ประเทศไทย อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย และออสเตรเลีย พบตามป่าเขตร้อน หรือ เขาหินปูน ลักษณะของต้นรากสามสิบ มีดังนี้

  • รากหรือเหง้าของรากสามสิบ ลักษณะเป็นกระจุก อยู่ใต้ดิน  คล้ายกระสวย รากจะรวมตัวกันเป็นพวง รากอวบน้ำ กลมยาว
  • ลำต้นรากสามสิบ ลำต้นไม้เนื้อแข็ง มีหนาม ทอดยาวเลื้อยตามต้นไม้ ลำต้นเป็นสีเขียว ลักษณะกลม ผิวเรียบ ลื่น และ เป็นมัน ตามข้อเถาจะมีหนาม
  • ใบรากสามสิบ เป็นใบเดี่ยว ใบแข็ง สีเขียว ใบเป็นรูปเข็ม ปลายใบแหลม โคนใบแหลม มีหนามตามซอกกระจุกใบ
  • ดอกรากสามสิบ เป็นช่อ ออกดอกตามปลายกิ่ง ซอกใบและข้อเถา ดอกสีขาว ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกบางและย่น ดอกรากสามสิบออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี
  • ผลรากสามสิบ ลักษณะค่อนข้างกลม ผิวของผลเรียบมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงหรือสีม่วงแดง ภายในผลมีเมล็ด 2 ถึง 6 เมล็ด ซึ่งเมล็ดเป็นสีดำ รากสามสิบออกผลช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี

คุณค่าทางโภชนาการของรากสามสิบ

การศึกษาประโยชน์ของรากสามสิบ พบว่ารากสามสิบมีสารสำคัญ ที่ราก คือ สาร steroidal saponins สารชนิดนี้ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันโรคกระดูกพรุน

สรรพคุณของรากสามสิบ
สำหรับการใช้ประโยชน์จากรากสามสิบ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ราก ใบ และ ทั้งต้น สรรพคุณของรากสามสิบ มีดังนี้

  • ผลรากสามสิบ สรรพคุณรักษาไข้
  • รากของรากสามสิบ สรรพคุณ บำรุงครรภ์ ลดไข้ แก้ปวดหัว รักษาหอบหืด บำรุงน้ำนม บำรุงร่างกายหลังคลอดบุตร แก้ปวดเมือย แก้ปวด รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย บำรุงปอด บำรุงตับ ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ตกเลือด รักษาประจำเดือนมาไม่ปรกติ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับลม ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ รักษาคอพอก ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยบำรุงกำลัง
  • ใบรากสามสิบ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับน้ำนม เป็นยาระบาย
  • ทั้งต้นรากสามสิบ สรรพคุณแก้ตกเลือด รักษาคอพอก

โทษของรากสามสิบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากรากสามสิบ ด้านสมุนไพร มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • รากสามสิบ สรรพคุณคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นฮอร์โมนเพศหญิง หากใช้จะทำให้ผิวพรรณเต่งตึง หน้าอกกระชับ แต่อาจมีความเสี่ยงโรคมะเร็งหรือมีเนื้องอกในเต้านม
  • การรับประทานรากสามสิบ ไม่ควรรับประทานร่วมกับยาคุมกำเนิด เพราะ อาจทำให้ฮอร์โมนเพศหญิงมากเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
  • ไม่ควรรับประทานรากสามสิบ ติดต่อกันนานเกินไป และ ไม่ควรรับประทานรากสามสิบในปริมาณมากเกินไป หากรับประทานควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร