ต้นตะไคร้ สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมนำมาทำอาหารให้กลิ่นหอม ต้นตะไคร้เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ลดความดัน โทษของตะไคร้มีอะไรบ้างตะไคร้ สมุนไพร สรรพคุณของตะไคร้

ตะไคร้ ( Lemongrass ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf  ชื่อเรียกอื่นๆของตะไคร้ เช่น จะไคร , หัวซิงไค , ไคร , คาหอม , เชิดเกรย , เหลอะเกรย , ห่อวอตะโป่ เป็นต้น ตะไคร้เป็นทั้งยารักษาโรคและยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น

สายพันธ์ตะไคร้

ตะไคร้ พืชตระกูลหญ้า เจริญเติบโตง่ายในทุกสภาพดิน ลำต้นมีกาบใบโดยรอบ ใบยาว ใบของตะไคร้ มีน้ำมันหอมระเหย นิยมปลูกเป็นพืชสวนครัว พืชพื้นเมือง ปลูกกันโดยทั่วไปในประเทศไทย สายพันธ์ของต้นตะไคร้ แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และ ตะไคร้หางสิงห์

  • ตะไคร้กอ
  • ตะไคร้ต้น
  • ตะไคร้หางนาค
  • ตะไคร้น้ำ
  • ตะไคร้หางสิงห์
  • ตะไคร้หอม

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้

คุณค่าทางอาหารของตะไคร้ นักโภชนากการได้ทำการศึกษาต้นตะไคร้สด ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 143 กิโลแคลอรี่

ต้นตะไคร้ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 4.2 กรัม สารอาหาร คือ โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม เหล็ก 2.6 มิลลิกรัม เถ้า 1.4 กรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม และ วิตามินสำคัญ ประกอบด้วย วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม  และ วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นตะไคร้

ตะไคร้ พืชล้มลุก ตระกลูหญ้า มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย คองโก และ ในแถบทวีปอเมริกาใต้ เป็น สมุนไพรไทย นิยมนำมาประกอบอาหารช่วยให้กลิ่นหอมดับกลิ่นคาวของอาหาร นิยมปลูกทั่วไปตามบ้าน สามารถขยายพันธ์โดยแตกกอ และ การปักชำ ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้นของตะไคร้ มีลักษณะลำต้นตั้งตรง ลำต้นทรงกระบอก สูงประมาณ 1 เมตร  มีกาบใบเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นตะไคร้ผิวเรียบ โคนต้นอ้วน สีม่วงอ่อน เป็นส่วนที่นำมาใช้ประกอบอาหาร
  • ใบของตะไคร้ ลักษณะใบเรียวยาว ขอบใบแหลมคม ใบตะไคร้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านใบ หูใบ  และ ใบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ผิวใบสากมือ และ มีขนปกคลุม ปลายใบแหลม
  • ดอกของตะไคร้ ดอกตะไคร้จะออกดอกเป็นช่อ มีกลิ่นหอม ดอกตะไคร้มีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

สรรพคุณของตะไคร้

สำหรับการใช้ประโยชน์ของตะไคร้ ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่ากาย สรรพคุณของตะไคร้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้ง ส่วน ทั้งต้น หัวตะไคร้ รากตะไคร้ ลำต้นตะไคร้ และ ใบตะไคร้ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นของตะไคร้ สรรพคุณรักษาโรคหอบหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ
  • น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สะกัดได้จากต้นตะไคร้ทุกส่วน น้ำมันตะไคร้ นำมาทำเป็นยาทานวด นำมารับประทาน ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และ ขับเหงื่อ
  • ลำต้นตะไคร้ สรรพคุณเป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร แก้เบื่ออาหาร ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่ว บำรุงธาตุ รักษาหนองใน และ ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร
  • ใบของตะไคร้ สรรพคุณเป็นยาแก้หวัด ลดอาการไอ ปรับสมดุลย์ความดันโลหิต บรรเทาอาการปวด แก้ปวดหัว
  • หัวของตะไคร้ สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว ลดความดันโลหิต แก้กษัยเส้น และ ลดไข้
  • รากของตะไคร้ สรรพคุณแก้ปวดท้อง และ บรรเทาอาการท้องเสีย

โทษของตะไคร้

มีการทดลองการใช้น้ำมันตะไคร้กับหนูขาว พบว่าน้ำมันตะไคร้ความเข้มข้น 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หนูขาวกินเข้าไป ทำให้หนูขาวตาย น้ำมันตะไคร้ให้กระต่ายกินทำให้กระต่ายตาย หนูขาวที่ได้รับน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้มีการเติบโตเร็วกว่ากลุ่มที่ไม้ได้รับ และค่าทางเคมีของเลือดไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด การบิรโภคน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ในปริมาณที่มากเกินไป และ หากมีความเข้มค้นมากเกินไป ทำให้เป็นอันตรายได้ จากการทดลองเห็นว่า หนูขาวแข็งแรงขึ้น แต่หากใช้ในปริมาณมากเกินไป ทำให้หนูขาวตาย

ต้นตะไคร้ ผักสวนครัว สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมนำมาทำอาหารให้กลิ่นหอม ลักษณะของต้นตะไคร้ ประโยชน์ของตะไคร้ สรรพคุณของตะไคร้ เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ลดความดัน ดับกลิ่นคาวอาหาร โทษของตะไคร้ เป็นอย่างไรบ้าง

สารส้ม ( Alum ) คือ แร่ธาตุชนิดหนึ่ง เป็นเกลือที่มีธาตุอะลูมิเนียม และ ซัลเฟต ลักษณะของสารส้ม ประโยชน์ของสารส้ม สรรพคุณของสารส้ม และ โทษของสารส้ม มีอะไรบ้าง

สารส้ม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ประเภทของสารส้ม

สำหรับ สารส้ม มาจากภาษาละติน คำว่า Alumen แปลว่า สารที่ทำให้หดตัว เป็นเกลือเชิงซ้อน ที่มีธาตุอะลูมิเนียม และ ซัลเฟต เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งประเภทของสารส้มสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ประกอบด้วย

  • อะลูมิเนียมซัลเฟต ซึ่งสารส้มประภทนี้มีลักษณะเป็นก้อนผงสีขาว
  • โพแทสเซียมอะลั่ม ซึ่งสารส้มประเภทนี้มีลักษณะเป็นผลึกใสไม่มีสี
  • แอมโมเนียมอะลั่ม ซึ่งสารส้มประเภทนี้มีลักษณะเป็นผลึกใสไม่มีสี

ลักษณะของสารส้ม

สารส้มมีลักษณะเป็นผลึกใส สีขาว ไม่มีกลิ่น รสฝาด สามารถบดเป็นผงสีขาวได้ สารส้ม ลักษณะคล้ายน้ำตาลกรวด หากดูไม่ละเอียด ก็แยกไม่ออก องค์ประกอบทางเคมีของสารส้ม เป็นเกลือซัลเฟตของอะลูมิเนียม มี 2 ชนิด คือ เกลือโพแทสเซียมอะลูมิเนียมซัลเฟต (K2SO4.Al2(SO4)3.24 H2O และ เกลือแอมโมเนียมอะลูมิเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4.Al2(SO4)3.24 H2O

คุณสมบัติของสารส้ม

  • ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
  • ไม่เปื้อนเสื้อผ้า
  • ปลอดภัยต่อร่างกายไม่ทำให้รูขุมขนอุดตัน
  • ไม่ซึมเข้าร่างกาย
  • ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
  • ไม่เสื่อมสภาพคงทนต่อสภาพแวดล้อม

สรรพคุณของสารส้ม

สำหรับประโยชน์ของสารส้ม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ตามตำราสมุนไพรแพทย์แผนไทย  บอกว่า สารส้มมีรสฝาด เปรี้ยว ช่วยสมานแผล แก้ระดูขาว รักษาหนองใน รักษาแผลหนองเรื้อรัง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับนิ่ว รักษาปอดอักเสบ ช่วยฟอกเลือด รักษาอาการเหงือกบวม รักษาแผลในปากลำคอ ช่วยห้ามเลือด ทำให้หนองแห้ง บรรเทาอาการไอ ทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ

ประโยชน์ของสารส้ม

สำหรับการใช้ประโยชน์ของสารส้ม นอกจากใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกายแล้ว สารส้มสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆอีก มีรายลเอียด ดังนี้

  • ใช้ระงับกลิ่นตัว โดนใช้สารส้มแกว้งในน้ำ ใช้ผ้าชุบน้ำที่แกว่งสารส้ม เช็ดตามตัว ช่วยดับกลิ่นตัวได้
  • ใช้ชุบไส้ตะเกียง ทำให้ไม่มีควัน
  • ใช้ดับกลิ่นคาวของอาหาร โดยใช้สารส้มล้าปลา
  • ใช้ถนอมอาหาร สารส้มแกว่งในน้ำช่วยให้ ถั่วงอก พริก สดตลอดเวลา หรือ ใช้เป็นสารกันบูด โดยใช้สารสมผสมแป้งเปียก ช่วกันอาหารบูด
  • ทำให้น้ำใส โดยใช้สารส้มแกว่งในน้ำ
  • ทำให้สีติดผ้าและกระดาษ ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ และ การย้อมสีผ้า
  • ช่วยให้พริกขี้หนูดูสดใส เก็บไว้ได้หลายวัน โดยการนำพริกขี้หนูแช่ในน้ำสารส้มสักพัก แล้วนำมาผึ่งไว้ ก่อนทานก็ควรล้างพริกเสียก่อน
  • นำสารส้มมาทาส้นเท้า ช่วยป้องกันส้นเท้าแตกได้
  • ป้องกันยุงกัน น้ำสารส้มนำมาทาผิวป้องกันอาการคันจากยุงกัดได้

โทษของสารส้ม

สำหรับการใช้ประโยชน์ของสารส้ม หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจะเกิดประโชยน์ ซึ่งโทษของสารส้ม มีรายละเอียด ดังนี้

  • สารส้ม มีฤทธิ์เป็รพิษ หากกินเข้าไป จะทำให้คลื่นไส้อาเจียน ปวดหัว
  • การกินน้ำที่มีสารส้ม ทำให้ร่างกายดูดซึมอลูมิเนียมแพร่กระจายเข้าสู่ระบบเลือด ปอด ตับ กระดูก และ สมอง อาจทำให้ไตเสื่อมได้ สารส้มที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำดื่ม อาจทำให้เกิดอาการอาเจียน ท้องร่วง ทำลายเนื้อเยื่อของประสาทได้

แหล่งอ้างอิง

  • นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 1 สิงหาคม 2550
  • ผู้จัดการออนไลน์, คำให้สัมภาษณ์ นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 12 พฤศจิกายน 2555
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย