ขมิ้น สมุนไพร พืชท้องถิ่น นิยมใช้เหง้ามาทำประโยชน์ สรรพคุณของขมิ้น เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงระบบเลือด แก้โรคผิวหนัง รักษาแผล ลดการอักเสบ แก้ท้องอืด บำรุงสมองขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นขมิ้น ภาษาอังกฤษ เรียก Turmeric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa L. เป็นพืชในตระกูลเดียวกับขิง สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นชัน ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น เป็นต้น ต้นขมิ้น มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ขมิ้นมีกลิ่นหอมที่มีความเฉพาะตัว นิยมใช้ตกแต่งกลิ่นและสีของอาหาร อาหารไทยนิยมใช้ขมิ้นมาทำอาหารหลายเมนูอาหาร เช่น แกงไตปลา แกงกะหรี่ ปลาต้มขมิ้น เป็นต้น

ขมิ้นมีประวัติการนำเอาขมิ้นมาใช้ประโยชน์ต่างๆ มากกว่า 5000 ปี ทั้งการนำมาทำเป็นยาและอาหาร ขมิ้นชันอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เป็นต้น

ลักษณะของต้นขมิ้น

ต้นขมิ้นชัน เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าและหัวอยู่ใต้ดิน อายุหลายปี ขมิ้นชอบแสงแดดจัดและมีความชื้นสูง ดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นขมิ้นชัน มีดังนี้

  • ลำต้นของขมิ้นชัน มีความสูงประมาณ  30 ถึง 95 เซ็นติเมตร
  • เหง้าของขมิ้นชัน เป็นลักษณะทรงรี รูปไข่ อยู่ใต้ดิน อ้วนและสั้น ในเนื้อของเหง้ามีสีเหลืองส้ม กลิ่นฉุน
  • ใบของขมิ้นชัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ตรงกลางใบมีสีแดงคล้ำ ออกมาจากเหง้า เรียงซ้อนทับกันเป็นวง ลักษณะใบเป็นรูปหอก
  • ดอกของขมิ้นชัน ดอกออกมาจากเหง้าขมิ้นชั้น แทรกขึ้นตามก้านใบ ดอกขมิ้นรูปทรงกระบอก สีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อน

สรรพคุณของขมิ้น

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขมิ้นด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนิยมใช้ประโยชน์จากเหง้าขมิ้น ซึ่งสรรพคุณของเหง้าขมิ้น มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย เสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • บำรุงผิวหนัง ช่วยป้องกันผิวหนังจากสภาพแวดล้อมต่างๆ
  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต
  • ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ล้างพิษ ลดการเกิดพิษในร่างกาย
  • บำรุงกระดูก รักษาโรคเกาต์ ลดกรดยูริคในเลือด ลดอาการปวดบวมตามข้อ
  • บำรุงร่างกายสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ช่วยเพิ่มน้ำนม
  • รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ ช่วยให้หายใจคล่อง บำรุงปอด
  • บำรุงสมอง ลดอาการสมองเสื่อม แก้อาการเวียนหัว
  • แก้ปวด ลดการอักเสบ บวมแดงของร่างกาย
  • ช่วยลดไข้ ลดอาการไอ
  • รักษาแผลที่ปาก แผลร้อนใน
  • บรรเทาอาการปวดท้อง ช่วยรักษาอาการท้องเสีย  รักษาอาการจุดเสียด ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร รักษาโรคลำไส้อักเสบ รักษาโรคแผลในลำไส้ ช่วยเรื่องการขับถ่าย ลดการบีบตัวของลำไส้  รักษาอาการลำไส้ใหญ่บวม อาการอุจจาระไม่ออก ช่วยขับลม ป้องกันการเกิดกรดไหลย้อน
  • บำรุงตับให้แข็งแรงขึ้น ป้องกันการเกิดตับอักเสบ และตับอ่อนอักเสบ และป้องกันตับจากฤทธิ์ของยาพาราเซตามอล
  • แก้อาการตกเลือด แก้อาการตกขาว
  • บำรุงผิวพรรณ แก้อาการผื่นคันตามร่างกาย รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน บรรเทาอาการผิวหนังพุพอง ทำให้ ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึง รักษาสิวเสี้ยน สิวผด สิวอุดตัน
  • รักษาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อรา
  • ช่วยสมานแผลทำให้หายเร็วยิ่งขึ้น

โทษของขมิ้น 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขมิ้น หถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์มากมาย แต่การบริโภคขมิ้นต้องระมัดระวัง ไม่ควรรับประทานมากเกินไป อาจจะกลายเป็นพิษต่อร่างกายได้ ข้อควรระวังในการใช้ขมิ้น มีดังนี้

  • หากรับประทานขมิ้นแล้วเกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว หรือ นอนไม่หลับ ต้องหยุดการรับประทานขมิ้นทันที
  • การใช้ขมิ้นเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ เมื่ออาการเหล่านั้นหายดีแล้ว ควรเลิกรับประทาน ไม่ควรรับประทานต่อเนื่อง
  • ขมิ้นชั้นเป็นอันตรายสำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับท่อน้ำดี อาจทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดีได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

กุยช่าย สมุนไพร นิยมนำใบมาบริโภคเป็นอาหาร ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของกุยช่าย เช่น ลดความดัน บำรุงกระดูก แก้ท้องเสีย โทษของกุยช่ายมีอะไรบ้างกุยช่าย สมุนไพร สมุนไพรไทย

กุยช่าย ( Chinese leek ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกุยช่าย คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. พืชตระกูลพลับพลึง ชื่อเรียกอื่นๆของกุยช่าย เช่น ผักไม้กวาด ผักแป้น กูไฉ่ เป็นต้น

ชนิดของกุยช่าย

สำหรับต้นกุยช่ายในประเทศไทย ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด มีอยู่ 3 ชนิด คือ กุยช่ายเขียว กุยช่ายขาว และ กุยช่ายดอก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • กุยช่ายเขียว คือ ใบของกุยช่าย ที่ตัดใบในระยะที่ใบเจริญเติบโตเต็มที่ ก่อนที่จะถึงระยะออกดอก นิยมนำมาใส่ผัดไท นำมาดอกผัก และ ใส่ในอาหาร เป็นต้น
  • กุยช่ายขาว คือ ใบของกุยช่าย ที่เกิดจากการนำวัสดุทิบแสงมาคลุมใบทำให้เกิดปฏิกริยา ทำให้ใบเป้นสีขาว เป็นใบในระยะเจริญเติบโตเต็มที่ ก่อนออกดอก
  • กุยช่ายดอก คือ ดอกของกุยช่ายที่เจริญเติบโตเต็มที่ ซึ่งมีทั้งส่วนของก้านดอกและดอก นำมาผัดทำอาหาร

ลักษณะของต้นกุยช่าย

ต้นกุยช่าย จัดเป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์ได้โดยการใช้เมล็ดและการแตกกอ โดยลักษณะของต้นกุยช่าย มีลักษณะ ดังนี้

  • ต้นกุยช่าย ความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร มีเหง้าเล็ก และ สามารถแตกกอได้
  • ใบกุยช่าย ลักษณะแบน ยาว ความยาวของใบกุยช่าย ประมาณ 30 เซนติเมตร มีสีเขียวเข้ม ใบออกมาจากโคนลำต้น
  • ดอกกุยช่าย เรียกอีกชื่อว่า ดอกไม้กวาด ดอกกุยช่ายออกเป็นช่อ มีสีขาว กลิ่นหอม ดอกมีลักษณะคล้ายซี่ร่ม ก้านดอกยาว ลักษณะกลม ออกมาจากลำต้น
  • ผลกุยช่าย มีลักษณะกลม ผลแก่จะแตกตามตะเข็บในผลของกุยช่ายจะมีเมล็ดช่องละ 1 – 2 เมล็ด
  • เมล็ดกุยช่าย มีสีน้ำตาล ผิวขรุขระ ลักษณะแบน

คุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย

สำหรับการบริโภคกุยช่าย มีประโยชน์ต่อร่างกาย นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย มีดังนี้

  • คุณค่าทางโภชนาการของดอกกุยช่าย ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม เบตาแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 31 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม
  • คุณค่าทางโภชนาการของต้นกุยช่าย ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม กากใยอาหาร 3.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม เบตาแคโรทีน 136.79 ไมโครกรีม ธาตุแคลเซียม 98 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบกุยช่าย มีสารเคมีสำคัญ คือ สารอัลลิซิน ( Alllicin ) สารชนิดนี้มีสรรพคุณ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
  • สำหรับการศึกษาต้นกุยช่าย ด้านเภสัชวิทยา พบว่า น้ำที่คั้นจากต้นกุยช่าย เมื่อฉีดเข้าไปในเส้นเลือดของหนู พบว่าทำให้เกิดอาการเกร็ง และ คลุ้มคลั่ง หลังจากนั้นหนูก็สลบ และ เมื่อนำไปฉีดใส่กระต่าย พบว่าความดันโลหิตของกระต่ายลดลง ซึ่งในระยะแรกมีฤทธิ์ยับยั้งการเต้นของหัวใจ หลังจากนั้นมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือดเพียงเล็ก

สรรพคุณของกุยช่าย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกุยช่าย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ใบกุยช่าย รากกุยช่าย เมล็ดกุยช่าย ลำต้น โดยรายรายละเอียด ของสรรพคุณของกุยช่าย มีดังนี้

  • ใบกุยช่าย สรรพคุณช่วยบำรุงกระดูก ช่วยบำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาหลั่งเร็วในผู้ชาย ช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต รักษาโรคหูน้ำหนวก ช่วยลดไข้แก้หวัด แก้อาเจียน ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยแก้นิ่ว รักษาหนองใน บำรุงไต รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวด รักษาอาการอักเสบ รักษาอาการฟกช้ำ รักษาแผลหนอง ช่วยประสะน้ำนม
  • รากกุยช่าย สรรพคุณช่วยแก้เลือดกำเดาไหล แก้อาเจียน การช่วยห้ามเหงื่อ ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยขับปัสสาวะ
  • เมล็ดกุยช่าย สรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ป้องกันฟันผุ ช่วยขับพยาธิเส้นด้าย ช่วยขับพยาธิแส้ม้า ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับประจำเดือน
  • ทั้งต้นกุยช่าย สรรพคุณแก้ท้องเสีย ช่วยแก้นิ่ว แก้อาการตกขาว  รักษาหนองใน ช่วยขับน้ำนม

โทษของกุยช่าย

สำหรับการบิโภคกุยฉายในปริมาณที่มากเกินไป หรือ กินติดต่อกันนานเกินไป สามารถทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ ข้อควรระวังในการรับประทานกุยช่าย มีดังนี้

  • การกินกุยช่ายมากเกิน ะทำให้อุณหภูมิร่างกายร้อนขึ้น ทำให้เป็นร้อนในได้
  • ไม่ควรกินกุยช่ายพร้อมกับเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาจทำให้ความร้อนในร่างกายสูงเกินไป ทำให้เกิดอาการช็อคได้
  • กุยช่ายมีกากใยอาหารมาก ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วนเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เพราะจะทำให้ระบบลำไส้ทำงานหนักมากขึ้น
  • ผู้สูงอายุ ไม่ควรรับประทานประทานกุยช่าย เพราะ กุยช่ายมีปริมาณกากใยอาหารสูง ทำให้ย่อยยาก
  • กุยช่าย สรรพคุณช่วยบำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ไม่ควรนำกุยช่ายถวายพระ

กุยช่าย พืชล้มลุก สมุนไพร ผักสวนครัว นิยมนำใบมาบริโภคเป็นอาหาร ลักษณะของต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของกุยช่าย เช่น ลดความดัน บำรุงกระดูก แก้ท้องเสีย โทษของกุยช่ายมีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย