บัวบก ผักพื้นบ้าน สมุนไพร ต้นบัวบกมีสรรพคุณหลากหลาย แก้อาการปวดอักเสบ บำรุงผิวพรรณ บำรุงเส้นผมและหนังศรีษะ เป็นยาเย็น ช่วยให้ร่างกายสดชื่อ นำใบมาทำน้ำใบบัวบก

บัวบก ใบบัวบก สมุนไพร

ต้นบัวบก ภาษาอังกฤษ เรียก Gotu kola ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวบก คือ Centella asiatica (L.) Urb. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของบัวบอก เช่น ผักหนอก ผักแว่น กะโต่ เป็นต้น ต้นบัวบก เป็นพื้ชท้องถิ่น นิยมนำมารับประทานเป็นผักสด อาหารที่นิยมกินบัวบกเป็นผัก เช่น ผัดไทย ผัดหมี่ หมี่กะทิ ขนมจีน ลาบ ยำ เป็นต้น ใบบัวบกนำมาคั้นทำน้ำใบบัวบก กินให้สดช่วย ช่วยแก้ช้ำใน ซึ่งบัวบกมีสรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยลดความร้อนในร่างกาย

ลักษณะของต้นบัวบก

ต้นบัวบก พืชคลุมดิน เป็นไม้เลื้อย ประเภทพืชล้มลุกขึ้นตามพื้นดิน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และ การแยกหน่อ ซึ่งลักษณะของต้นบัวบก มีดังนี้

  • ลำต้นของบัวบกลักษณะกลม เนื้ออ่อน มีน้ำมาก เลื้อยตามพื้นดิน
  • ใบของต้นบัวบก ใบบัวบกเป็นใบเดียว ใบออกตามข้อของลำต้นบัวบก ใบออกเป็นกระจุกๆ ลักษณะของใบคล้ายรูปไต ขอบใบมนๆ
  • ดอกบัวบก ลักษณะคล้ายร่ม ออกดอกเป็นช่อ สีม่วงอมแดง
  • ผลของบัวบก เป็นผลแห้ง ลักษณะแบนและแตก

คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก

สำหรับการใช้ประโยชน์การบริโภคบัวบกนิยมรับประทานใบและก้านใบเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบบัวบก ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารหลายชนิด ประกอบด้วย  วิตามินบี 1 แคลเซียม 146 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.9 มิลลิกรัม เบตาแคโรทีน 2,428 ไมโครกรัม และวิตามินซี 15 มิลลิกรัม นอกจากนั้นยังมี สารบราโมซัยด์ สารบรามิโนซัยด์ สารไตรเตอพีนอยด์ สารมาดิแคสโซซัยด์ กรดมาดิแคสซิค  และกรดอะมิโน หลายตัว เช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น

สรรพคุณของบัวบก

การใช้ประโยชน์จากบัวบก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้นนิยมทั้งหมดของบัวบก ใบและก้านใบ ซึ่งสรรพคุณของบัวบก มีดังนี้

  • บำรุงผิวพรรณ ช่วยชะลอวัย คืนความอ่อนเยาว์ ทำให้หน้าตาสดใสเหมือนเป็นวัยรุ่น รักษาสิว ทำให้ผิวหน้าขาวสดใสกระจ่างใส ผิวหน้าเต่งตึงดีขึ้น
  • บำรุงสายตา ฟื้นฟูรอบดวงตา
  • บำรุงสมอง ช่วยให้ผ่อนคลาย ช่วยทำให้ความจำดีขึ้น และ ทำให้มีไหวพริบมากขึ้น คิดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะ ในผู้สูงอายุ
  • แก้อาการปวดศีรษะ รักษาอาการช้ำใน รักษาอาการบาดเจ็บจากการกระแทก
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน ลดความดันเลือด
  • ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว
  • รักษาแผล ทำให้แผลหายเร็ว เร่งการสร้างเนื้อเยื่อใหม่
  • รักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคเรื้อน โรคหัด
  • บำรุงหนังศีรษะและผม ทำให้ผมดกดำ แก้ปัญหาผมร่วง ลดผมหงอกก่อนวัย

โทษของบัวบก
สำหรับการใช้ประโยชน์จากบัวบกนั้น มีข้อควรระวังในการใช้ ซึ่งหากใช้ไม่ถูกวิธีและใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดโทษ ซึ่งโทษของบัวบก มีดังนี้

  • ใบบัวบกมีสรรพคุณทำให้ตัวเย็น จึงไม่เหมาะสำหรับคนที่มีภาวะตัวเย็น

วิธีทำน้ำใบบัวบก เลือกใบบัวบกแก่ และสามารถใช่ส่วนรากผสมเข้ามาได้ หั่นออกเป็นสองท่อน ก่อนจะเข้าเครื่องบด เพราะ ใบบัวบกจะมีความเหนียว เติมน้ำผสมกับใบบัวบกที่บดคั้นน้ำ และ นำกากที่เหลือ มาคั้นน้ำที่สองอีกครั้ง เพื่อให้ตัวยาต่างๆ ยังมีสรรพคุณครับ ใช้ผ้าขาวบาง กรองน้ำบัวบก ใช้ตาห่าง ๆได้ เพราะ หากถี่มากจะกรองยาก ทิ้งกากไป ให้รินเฉพาะน้ำส่วนใส ๆ เพื่อนำมาเพื่อดื่มเป็นยาได้ น้ำที่คั้นได้ ไม่ควรเก็บไว้นาน แต่ควรแช่เย็นเก็บไว้ จะรักษาสรรพคุณนาน กรณีไม่ชินกับรสชาติ สามารถเติมน้ำเชื่อม ผสมน้ำต้มใบเตยได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

กล้วย สมุนไพร ผลไม้ รับประทานง่าย กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง กล้วยงาช้าง กล้วยหิน กล้วยให้พลังงานสูง มีแร่ธาตุและวิตามินครบ

กล้วย สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณกล้วย

ประโยชน์ของกล้วย นอกจากกล้วยจะเป็นสมุนไพร สรรพคุณมากมายแล้ว ยังมีการใช้ประโยชน์จากกล้วยอีกมากมาย ได้แก่ ผลกล้วยใช้เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว ช่วยลดความหยาบกร้านของผิว โดยนำมาเป็นส่วนประกอบของครีมมาร์กหน้า มีการนำเปลือกกล้วย มาแก้ผื่นคัน ตรงบริเวณที่ยุงกัด ใบกล้วยนำมาใช้เป็นเครื่องใช้บรรจุอาหารภายในบ้าน เช่น ทำกระทง ห่อขนม ห่ออาหาร ทำบายศรี หัวปลีนำมารับประทานเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เปลือกกล้วยด้านในช่วยฆ่าเชื้อที่เกิดจากบาดแผลได้ โดยต้องเปลี่ยนเปลือกใหม่ทุก ๆ 2 ชั่วโมง

ต้นกล้วย ภาษาอังกฤษ เรียก banana ชื่อวิทยาศาสตร์ของกล้วย คือ Musa balbisiana Musa acuminata กล้วยที่กล้วยกินผลสดได้ เช่น  กล้วยไข่ กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว และ กล้วยที่ต้องปรุงสุกก่อนรับประทาน เช่น กล้วยกล้าย กล้วยหักมุก กล้วยเล็บช้างกุด ซึ่งแต่ละชนิดพบแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นนั้นๆ

ลักษณะของต้นกล้วย

ต้นกล้วย เป็นพืชล้มลุก ชอบอากาศร้อน สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นกล้วยน้ำว้า มีดังนี้

  • ลำต้นกล้วย ลักษณะเป็นกาบ ลำต้นกลม ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียว ผิวเรียบ อวบน้ำ
  • ใบกล้วย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดใหญ่ ยาว ผิวใบเรียบ เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ
  • ดอกกล้วย เรียก หัวปลี ก้านดอกแทงออกจากยอดของลำต้น ลักษณะตูมเหมือนดอกบัว ขนาดใหญ่ ภายในมีกลีบดอกจำนวนมาก ซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นผลกล้วยต่อไป
  • ผลกล้วย ลักษณะเป็นเครือ ในหนึ่งเครือ มีกล้วยหลายหวี และ ในหนึ่งหวีมีผลกล้วยหลายผล ลักษณะผลกล้วยยาวเรียว ขนาดยาวประมาณ 15 เซ็นติเมตร ผลดิบเป็นสีเขียว ผิวผลเรียบ เนื้อในมีสีขาว ส่วนพอสุกเปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อสีเหลือง รสหวาน มีเมล็ดกลมๆสีดำ

คุณค่าทางอาหารของกล้วย 

การรับประทานกล้วย 100 กรัม จะได้รับพลังงาน 89 กิโลแคลอรี ซึ่งมากจากน้ำตาล และ คาร์โบไฮเดรต ประเภทแป้งกล้วย มีไฟเบอร์ ไขมัน โปรตีน วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินบี1, 2, 3, 5, 6 และ 9 วิตามินซี แร่ธาตุต่างๆ Fe, Mg, Mn, P, K, Na และ Zn

สรรพคุณของกล้วย 

นอกจากกล้วยจะเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง และ มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยาอีกมากมาย ได้แก่

  • บำรุงร่างกายโดยรวม เสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายแข็งแรง
  • มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการชะลอความแก่ หน้าเด็กกว่าวัย
  • ลดความอ้วน โดยรับประทานกล้วยแทนขนมจุกจิก ทำให้อิ่มท้อง ไม่อยากรับประทานมากเกินความจำเป็น
  • ช่วยอาการนอนไม่หลับ ทำให้หลับสบาย โดยรับประทานกล้วยก่อนนอน
  • ลดอาการหงุดหงิด จากความเครียด หรือ จากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน ตามรอบเดือนของสตรี
  • แก้อาการเมาค้าง ช่วยชดเชยการสูญเสียน้ำตาลของร่างกายจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกินไป
  • แก้อาการท้องผูกเพราะมีเส้นใยมาก ช่วยเรื่องการขับถ่ายได้ดี
  • บรรเทาอาการของริดสีดวงทวารช่วยให้อาการปวดลดลงขณะขับถ่าย
  • ลดกรดในกระเพาะ ลดอาการแสบท้องจากกรดในกระเพาะอาหาร
  • ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง เพราะในผลกล้วยมีธาตุเหล็กสูง
  • สรรพคุณรักษาโรคความดันโลหิตสูง ลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดเส้นโลหิตแตก
  • รักษาแผลในลำไส้เรื้อรัง ช่วยลดการระคายเคืองในผนังลำไส้และกระเพาะอาหาร
  • สรรพคุณรักษาโรคซึมเศร้า ภาวะความเครียด ช่วยในการผ่อนคลายอารมณ์ได้ดี
  • ลดอัตราการเกิดตะคริวบริเวณมือ เท้า และน่อง
  • บรรเทาอาการแพ้ท้อง
  • บรรเทาอาการนิ่วในไตได้ดี

โทษของกล้วยน้ำว้า

ถึงแม้ว่ากล้วยจะมีประโยชน์สามารถรับประทานและใช้ประโยชน์ได้มาก แต่หากใช้ส่วนที่เป็นพิษหรือรับประทานมากเกินไปอาจเป็นอันตรายได้ ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากกล้วย มีดังนี้

  • ไม่ควรกินยางกล้วบ เนื่องจากยางกล้วยมีความเป็นพิษ คือ มีสารซิโตอินโดไซด์ ซึ่งเป็นสารในกลุ่มสเตียรอยด์
  • การกินผลกล้วยมากเกินไป อาจทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ มีแก๊สในลำไส้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย