ต้นทานาคา ต้นกระแจะ ไม้ทานาคานำมาฝนกันหินผสมน้ำ นำมาทาหน้า สรรพคุณป้องกันสิว ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดผดผื่นคัน ลดจุดด่างดำ รักษาฝ้า ป้องกันผิวถูกทำลายจากแสงแดด

ทานาคา สมุนไพร สมุนไพรไทย

ทานาคา ( LICODIA ACIDISSIMA ) เป็นไม้เนื้อแข็ง ในประเทศพม่า พบในเขตร้อนของภาคกลาง พุกาม และ มัณฑะเลย์ เท่านั้น  คุณสมบัติของทานาคา มีกลิ่นหอม ชาวพม่าใช้ทานาคามาบำรุงผิวพรรณมากกว่า 200 ปี โดยนำไม้ทานาคาฝนกับแผ่นหิน เจือน้ำเล็กน้อย นำมาทาเรือนร่างและใบหน้า

ต้นทานาคา ( LICODIA ACIDISSIMA ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของทานาคา Hesperethusa crenulata (Roxb.) M. Roem. พืชตระกูลส้ม ชื่อเรียกอืื่นๆของทานาคา เช่น กระแจะจัน ขะแจะ ตุมตัง พญายา ตะนาว พินิยา กระแจะสัน ตูมตัง จุมจัง จุมจาง ชะแจะ พุดไทร ฮางแกง กระเจาะ เป็นต้น

สารเคมีในทานาคา
เปลือกของไม้ทานาคา มี สารOPC เนื้อไม้ของทานาคา มีสารCurcuminoid มีสารต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดทานาคา 100% ให้สารออกฤทธิ์ความเข้มข้นสูง สรรพคุณชะลอวัย เปลือกทานาคา บดละเอียด มีลักษณะเป็นผง สีเหลืองนวล ใช้ผสมน้ำขัดหน้าและพอกหน้า

ลักษณะของต้นทานาคา

ต้นทานาคา หรือ ต้นกระแจะ เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ต้นทานาคาพบได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100 – 400 เมตร สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วย การเพาะเมล็ด การปักชำ พืชพื้นเมืองในประเทศพม่า ปากีสถาน ศรีลังกา อินเดีย บังกลาเทศ มณฑลยูนนานของจีน และ ประเทศไทยเขตภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงใต้ ลักษณะของต้นทานาคา มีดังนี้

  • ลำต้นของทานาคา ลักษณะตรง แตกกิ่งต่ำ กิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น ความสูงประมาณ 15 เมตร เนื้อไม้ทานาคาเป็นสีขาว  เปลือกลำต้นสีสีน้ำตาล ผิวขรุขระ ลำต้นและกิ่งมีหนาม เนื้อไม้เมื่อถูกตัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน หากทิ้งไว้นาน ๆ จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนสีเหลืองอ่อน
  • ใบทานาคา ใบเป็นใบประกอบ เรียงสลับกัน ใบย่อยเป็นรูปวงรี โคนและปลายใบแคบ ใบเป็นซี่ฟันเลื่อยแบบตื้นๆ ผิวใบเนียน เกลี้ยง
  • ดอกทานาคา ออกดอกเป็นช่อ กระจุกตามซอกใบ และ กิ่งเล็กๆ ดอกมีขน สีขาวนุ่ม กลีบดอกเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ผิวด้านของดอกทานาคามีต่อมน้ำมัน ดอกทานาคาออกเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี
  • ผลทานาคา ลักษณะกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีม่วงคล้ำ เมล็ดในผล เมล็ดเป็นสีน้ำตาลอมสีส้มอ่อน ผลจะแก่จะออกช่วงในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี

สรรพคุณของทานาคา

สำหรับการใช้ทานาคา มักรู้จักันดในด้านการบำรุงผิวของชาวพม่า ใช้ประทินผิว แต่จริงๆแล้วทานาคา สามารถใช้ประโยชน์จาก ส่วน เปลือกลำต้น แก่นไม้ ผล รากใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • แก่นไม้ทานาคา รสจืด สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ ช่วยปรับสภาพผิว ทำให้ผิวขาว รักษาฝ้า รักษากระ รักษาจุดด่างดำ รักษารอยแผลเป็น รักษาผดผื่นคัน รักษาผิวอักเสบ ควบคุมความมันของใบหน้า ต่อต้านริ้วรอย ช่วยชะลอวัย ป้องกันผิวจากแสงแดด ระงับกลิ่นกาย ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด ลดไข้ แก้ปวดเมื้อย แก้อักเสบ
  • ผลของทานาคา รสขม สรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยเจริญอาหาร แก้พิษ ลดไข้ แก้ท้องเสีย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยสมานแผล
  • เปลือกลำต้นทานาคา สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ลดไข้ ขับลม
  • รากทานาคา รสขม สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร  ลดไข้ ขับเหงื่อ รักษาโรคลำไส้ ช่วยขับถ่าย เป็นยาระบาย
  • ใบทานาคา รสขม สรรพคุณ ช่วยคุมกำเนิด แก้ปวดข้อ ลดอาการปวด

โทษของทานาคา

  • ใบทานาคา มีสรรพคุณช่วยคุมกำเนิด สำหรับคันที่มีบุตรยาก ต้องการมีลูก ไม่บริโภตทานาคา

วิธีใช้ทานาคา

สำหรับการใช้ทานาคาในการบำรุงผิวพรรณและพอกผิว มีราละเอียด ดังนี้

  • ให้ใช้หินนำมาฝนไม้ทานาคาให้เป็นผง และ ใช้น้ำสะอาดธรรมดา หรือ น้ำมะเฟือง หรือ น้ำนม หรือ น้ำผึ้ง นำมาผสม นำมาขัดและพอกหน้า
  • ห้ามใช้ทานาคาขัดหน้าที่เป็นสิวอักเสบ อาจทำให้สิวอักเสบมากขึ้น ทานาคาเหมาะสำหรับขัดหน้าที่ไม่มีสิว
  • การใช้ทานาคาขัดหน้า ให้ขัดแค่ 5 นาที และ ล้างด้วยน้ำธรรมดา ไม่ต้องใช้น้ำอุ่น แล้วปล่อยหน้าทิ้งไว้ 2-3 นาที แล้วก็ใช้ฝ่ามือลูบเบาๆ

ต้นทานาคา หรือ ต้นกระแจะ คือ พืชพื้นเมือง ไม้ทานาคา นำมาฝนกันหิน ผสมน้ำ นำมาทาหน้า สรรพคุณของทานาคา ต่อต้านความเสื่อมเซลล์ผิว ป้องกันการเกิดสิว ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดผดผื่นคัน ลดจุดด่างดำ รักษาฝ้า ช่วยป้องกันผิวถูกทำลายจากแสงแดด

ต้นตะไคร้ สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมนำมาทำอาหารให้กลิ่นหอม ต้นตะไคร้เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ลดความดัน โทษของตะไคร้มีอะไรบ้างตะไคร้ สมุนไพร สรรพคุณของตะไคร้

ตะไคร้ ( Lemongrass ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf  ชื่อเรียกอื่นๆของตะไคร้ เช่น จะไคร , หัวซิงไค , ไคร , คาหอม , เชิดเกรย , เหลอะเกรย , ห่อวอตะโป่ เป็นต้น ตะไคร้เป็นทั้งยารักษาโรคและยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น

สายพันธ์ตะไคร้

ตะไคร้ พืชตระกูลหญ้า เจริญเติบโตง่ายในทุกสภาพดิน ลำต้นมีกาบใบโดยรอบ ใบยาว ใบของตะไคร้ มีน้ำมันหอมระเหย นิยมปลูกเป็นพืชสวนครัว พืชพื้นเมือง ปลูกกันโดยทั่วไปในประเทศไทย สายพันธ์ของต้นตะไคร้ แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และ ตะไคร้หางสิงห์

  • ตะไคร้กอ
  • ตะไคร้ต้น
  • ตะไคร้หางนาค
  • ตะไคร้น้ำ
  • ตะไคร้หางสิงห์
  • ตะไคร้หอม

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้

คุณค่าทางอาหารของตะไคร้ นักโภชนากการได้ทำการศึกษาต้นตะไคร้สด ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 143 กิโลแคลอรี่

ต้นตะไคร้ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 4.2 กรัม สารอาหาร คือ โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม เหล็ก 2.6 มิลลิกรัม เถ้า 1.4 กรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม และ วิตามินสำคัญ ประกอบด้วย วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม  และ วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นตะไคร้

ตะไคร้ พืชล้มลุก ตระกลูหญ้า มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย คองโก และ ในแถบทวีปอเมริกาใต้ เป็น สมุนไพรไทย นิยมนำมาประกอบอาหารช่วยให้กลิ่นหอมดับกลิ่นคาวของอาหาร นิยมปลูกทั่วไปตามบ้าน สามารถขยายพันธ์โดยแตกกอ และ การปักชำ ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้นของตะไคร้ มีลักษณะลำต้นตั้งตรง ลำต้นทรงกระบอก สูงประมาณ 1 เมตร  มีกาบใบเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นตะไคร้ผิวเรียบ โคนต้นอ้วน สีม่วงอ่อน เป็นส่วนที่นำมาใช้ประกอบอาหาร
  • ใบของตะไคร้ ลักษณะใบเรียวยาว ขอบใบแหลมคม ใบตะไคร้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านใบ หูใบ  และ ใบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ผิวใบสากมือ และ มีขนปกคลุม ปลายใบแหลม
  • ดอกของตะไคร้ ดอกตะไคร้จะออกดอกเป็นช่อ มีกลิ่นหอม ดอกตะไคร้มีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

สรรพคุณของตะไคร้

สำหรับการใช้ประโยชน์ของตะไคร้ ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่ากาย สรรพคุณของตะไคร้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้ง ส่วน ทั้งต้น หัวตะไคร้ รากตะไคร้ ลำต้นตะไคร้ และ ใบตะไคร้ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นของตะไคร้ สรรพคุณรักษาโรคหอบหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ
  • น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สะกัดได้จากต้นตะไคร้ทุกส่วน น้ำมันตะไคร้ นำมาทำเป็นยาทานวด นำมารับประทาน ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และ ขับเหงื่อ
  • ลำต้นตะไคร้ สรรพคุณเป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร แก้เบื่ออาหาร ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่ว บำรุงธาตุ รักษาหนองใน และ ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร
  • ใบของตะไคร้ สรรพคุณเป็นยาแก้หวัด ลดอาการไอ ปรับสมดุลย์ความดันโลหิต บรรเทาอาการปวด แก้ปวดหัว
  • หัวของตะไคร้ สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว ลดความดันโลหิต แก้กษัยเส้น และ ลดไข้
  • รากของตะไคร้ สรรพคุณแก้ปวดท้อง และ บรรเทาอาการท้องเสีย

โทษของตะไคร้

มีการทดลองการใช้น้ำมันตะไคร้กับหนูขาว พบว่าน้ำมันตะไคร้ความเข้มข้น 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หนูขาวกินเข้าไป ทำให้หนูขาวตาย น้ำมันตะไคร้ให้กระต่ายกินทำให้กระต่ายตาย หนูขาวที่ได้รับน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้มีการเติบโตเร็วกว่ากลุ่มที่ไม้ได้รับ และค่าทางเคมีของเลือดไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด การบิรโภคน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ในปริมาณที่มากเกินไป และ หากมีความเข้มค้นมากเกินไป ทำให้เป็นอันตรายได้ จากการทดลองเห็นว่า หนูขาวแข็งแรงขึ้น แต่หากใช้ในปริมาณมากเกินไป ทำให้หนูขาวตาย

ต้นตะไคร้ ผักสวนครัว สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมนำมาทำอาหารให้กลิ่นหอม ลักษณะของต้นตะไคร้ ประโยชน์ของตะไคร้ สรรพคุณของตะไคร้ เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ลดความดัน ดับกลิ่นคาวอาหาร โทษของตะไคร้ เป็นอย่างไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย