ผักชี สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมรับประทานเป็นอาหาร ต้นผักชีเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด คุณค่าทางโภชนากการของผักชี  ประโยชน์ของผักชี โทษของผักชี

ผักชี สมุนไพร

ผักชี ( Coriander ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชี คือ Coriandrum sativum L. ต้นผักชี มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นพืชล้มลุกที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ชื่อเรียกอื่นๆของผักชี เช่น ผักชีไทย ผักหอม ยำแย้ ผักหอมป้อม ผักหอมผอม ผักหอมน้อย เป็นต้น

ลักษณะของต้นผักชี

ผักชี จัดเป็นพืชประเภท พืชล้มลุก อายุสั้น ผักชีมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ถิ่นกำเนิดของผักชีอยู่ในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันนิยมปลูกในประเทศไทย ลักษณะของต้นผักชี มีดังนี้

  • ลำต้นของผักชี ลำต้นสูงประมาณ 12 นิ้ว มีสีเขียว ลำต้นอวบน้ำ ลักษณะตั้งตรง ภายในกลวง มีกิ่งก้านเล็กๆ ลำต้นผิวเรีบย
  • รากของผักชี มีรากฝอยจำนวนมาก แต่รากเป็นรากแก้ว ที่ไม่ยาวมาก
  • ใบของผักชี ใบเป็นแฉกๆ เป็นใบเดียวมีสีเขียว มีกลิ่นฉุนหอม
  • ดอกของผักชี ดอกของผักชีนั้นจะออกจากโคนลำต้น และ ตั้งตรงเหนือยอดของต้น ดอกมีขนาดเล็ก
  • เม็ดของผักชี ลักษณะทรงกลม อยู่ตรงกลางดอกผักชี เป็นส่วนที่สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

ผักชีในประเทศไทย

สำหรับผักชีในประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะ เป็นผักที่นิยมกินในอาหารไทย การปลูกและขายผักชีจึงมีการทำเป็นอาชีพ ผักชีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยแหล่งผักชีของประเทศไทย ได้แก่ ราชบุรี นครปฐม และ กรุงเทพมหานคร สายพันธุ์ของผักชีที่นิยมปลูกมี 2 สายพันธ์ คือ ผักชีพื้นเมือง และ ผักชีแอฟฟริกา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักชีพันธุ์อาฟริกา ลักษณะเด่น คือ ต้นมีขนาดใหญ่ ใบหนาและใหญ่ มีกลิ่นหอมเล็กน้อย และอายุยาวกว่าผักชีพันธุ์พื้นเมือง
  • ผักชีพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ ต้นขนาดเล็ก ใบบาง เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นฉุนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของผักชี

การบริโภคผักชีเป็นอาหาร มีมาช้านานแล้ว และ เป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้านโภชนาการ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักชีสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานถึง 23 กิโลแคลอรี

ผักชี ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.67 กรัม น้ำตาล 0.87 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.52 กรัม โปรตีน 2.13 กรัม น้ำ 92.21 กรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 3,930 ไมโครกรัม  ลูทีนและซีแซนทีน 865 ไมโครกรัม ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 67 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.77 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.426 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 48 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 521 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 46 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.5 มิลลิกรัม

ผักชี ขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 วิตามินซี วิตามินอี และ วิตามินเค

ประโยชน์ของผักชี 

การใช้ประโยชนืจากผักชี นั้นหลักๆจะเป็นการนำเอามาทำอาหารรับประทานเป็นหลัก แต่นอกจากนำมาทำอาหาร ผักชี สามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดของผักชี ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ต่างๆ

สรรพคุณของผักชี

ประโยชน์ของผักชีด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค สามารถใช้ได้ทุกส่วนของผักชี คือ รากผักชี ลำต้นผักชี ใบผักชี และ เมล็ดของผักชี โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดผักชี สรรพคุณช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ปวดฟัน บำรุงกระเพาะอาหาร ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยย่อยอาหาร
  • ใบผักชี สรรพคุณบำรุงสายตา แก้กระหายน้ำ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ ป้องกันมะเร็ง  ขับเสมหะ แก้สะอึก แก้คลื้นไส้อาเจียน แก้เวียนหัว ขับเหงื่อ แก้หวัด แก้ไอ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม  รักษาอาหารเป็นพิษ ช่วยแก้พิษตานซาง รักษาตับอักเสบ รักษาโรคหัด ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการอักเสบ แก้ปวดข้อ
  • รากผักชี สรรพคุณขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ

โทษของผักชี

  • การกินผักชีมากเกินไป อาจทำให้มีกลิ่นตัวแรง
  • สำหรับคนที่มีิิอาการแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม หรือ หอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกัน
  • ผักชีมีโพแทสเซียมสูง ทำให้ไตทำงานหนัก สำหรับผู้ป่วยโรคไตไม่ควรกินผักชีมากเกินไป
  • การกินผักชีมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการตาลาย หรือ ขี้หลงขี้ลืม เนื่องจากอาการมึนหัว

ผักชี คือ ผักสวนครัว สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมปลูกตามครัวเรือน นำมารับประทานอาหาร ให้รสชาติและกลิ่นหอม ลักษณะของต้นผักชีเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักชี ช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด คุณค่าทางโภชนากการของผักชี  ประโยชน์ของผักชี โทษของผักชี เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับผักชีทั้งหมด

ขิง สมุนไพร มีประโยชน์ต่อร่างกาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ สรรพคุณของขิง เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเหงื่อ บำรุงเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด โทษของขิงเป็นอย่างไร

ขิง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ขิง ( Ginger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของขิง คือ zingiber offcinale Roscoe ขิงมีความต้องการของตลาดสูงมาก พืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญของประเทศไทย นิยมนำมาทำเป็นวัตถุดิบการทำอาหาร เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมความงาม อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป มากมาย ชื่อเรียกอื่นๆของขิง เช่น ขิงแครง ขิงเขา ขิงบ้าน ขิงป่า ขิงดอกเดียว ขิงแดง ขิงแกลง ขิงเผือก เป็นต้น

ต้นขิง มีรสเผ็ดร้อน เป็น สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อการปรับสมดุลร่างกาย ช่วยให้เจริญอาหาร แก้นิ่ว บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด แก้อาเจียน รักษาไข้หวัด ลดไข้  ขับลมในกระเพาะอาหาร ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงเลือด ลดกรดในกระเพาะอาหาร ป้องกันฟันฝุ แก้ปวดประจำเดือน รักษาแผล แก้ปวดฟัน

ขิงยิ่งแก่จะยิ่งให้ความเผ็ดร้อน จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีความร้อนภายในร่างกายอยู่แล้ว เช่น ผู้ที่เหงื่อออกมาก เหงื่อออกเวลากลางคืน ตาแดง หรือ มีไฟในตัวมากกว่าปกติ แต่ถ้าจะรับประทาน ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

ลักษณะของต้นขิง

ต้นขิง เป็น พืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตได้ในประเทศเขตร้อน อย่างประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยทางการแตกหน่อ ขิงเป็นพืชชนิดเดียวกันกับ ข่า ขมิ้น มีรสเผ็ดและกลิ่นหอม แต่ผลยิ่งแก่จะมีรสเผ็ดร้อนมากขึ้น ลักษณะของต้นขิง มีดังนี้

  • หัวขิง หรือ เหง้าขิง ลักษณะคล้ายมือ อยู่ใต้ดิน เปลือกของเหง้าขิงมีสีเหลืองอ่อน
  • ลำต้นของขิง ออกเป็นกอ ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร ลักษณะกลม ตั้งตรง อวบน้ำ มีสีเขียว
  • ใบของขิง ใบเป็นกาบ หุ้มซ้อนกันเป็นใบเดี่ยว ออกสลับเรียงกัน เหมือนใบไผ่ ลักษณะปลายใบจะเรียวแหลม
  • ดอกของขิง ดอกขิงออกเป็นพุ่ม ดอกแหลมมีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของขิง

ขิงมีประโยชน์ด้านสมุนไพร และ ใช้ในการบริโภคในอาหารไทย มาช้านาน นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของขิง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่

ขิงขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ประกอบด้วย กากใยอาหาร 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรท 4.4 กรัม โปรตีน 0.4 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม แคลเซียม 18 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เบต้าคาโรทีน 10 ไมโครกรัม ไธอะมีน 0.02 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1 มิลลิกรัม และ ไลโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม

สรรพคุณของขิง

สำหรับต้นขิงนั้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค มากมาย สามารถใช้ส่วนของ ทั้งตน เหง้าขิง ดอกขิง รากขิง ใบขิง ผลขิง และ แก่นขิง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าขิง หรือ หัวของ ตำราสมุนไพรไทย บอกไว้ว่า ขิงมีฤทธิ์อุ่น สรรพคุณ ช่วยขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด แก้อาเจียน รักษาไข้หวัด ช่วยลดไข้ ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ปวดประจำเดือน รักษาแผล แก้ปวดฟัน ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงเลือด ลดกรดในกระเพาะอาหาร ป้องกันฟันฝุ  หัวขิงนำมาใช้ประโยชน์หลายทาง เช่น นำมากินสด นำมาตากแห้งและบดเป็นผง หรือ นำมาต้นน้ำดิื่ม
  • ทั้งต้นของขิง มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยขับลม แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
  • ใบของขิง มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณแก้ฟกช้ำ รักษานิ่ว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยฆ่าพยาธิ
  • ดอกของขิง มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคปัสสาวะขัด
  • รากของขิง มีรสหวานเผ็ดร้อนขม สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ
  • ผลของขิง รสหวานเผ็ด สรรพคุณสำหรับสตรีหลังคลอด บำรุงน้ำนม ช่วยลดไข้ แก้เจ็บคอ ลดอาการอักเสบ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ
  • แก่นของขิง นำมาฝนเป็นผงแก้อาการคัน

โทษของขิง

เนื่องจากขิง เป็น สมุนไพร ซึ่ง สรรพคุณของขิง คือ มีฤทธ์ร้อน ทำให้ร่างกายอบอ่อน ไม่ควรกินสุรา หรือ เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ร่วมกับขิง และ ในคนที่ป่วย หรือ มีอุณหภูมิร่างกายสูง การกินขิงอาจทำให้ร่างกายร้อนขึ้น

  • อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสำหรับสตรีมีครรภ์
  • ทำให้เกิดแผลร้อนใน ทำให้เยื่อบุภายในช่องปากอักเสบได้
  • ขิงช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด สำหรับคนที่มีปัญหาโรคเลือดออกผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขิง
  • น้ำขิงที่คั้นจนเข้มค้นมาก ไม่ควรทำให้น้ำขิงเข้มข้นจนเกินไป เพราะ เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ทำให้ลำไส้หยุดการบีบตัว

วิธีทำน้ำขิง

น้ำขิง มีประโยชน์ทางสมุนไพร เช่น แก้อาเจียน อาการเบื่ออาหาร ช่วยขับลมในกระเพาะ รักษาไข้หวัดได้  ช่วยขับเหงื่อ ลดอาการไข้ ช่วยบรรเทาอาหารไอ อาการเจ็บคอ ช่วยรักษาอาการปวดประจำเดือน แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง วิธีทำน้ำขิง มีดังนี้

  1. เตรียม ขิงแก่ 1 กิโลกรัม น้ำตาลทรายแดง 1 ถ้วยตวง และ น้ำสะอาด 3 ลิตร
  2. ล้างขิงให้สะอาด นำมาทุบให้แตก นำไปต้มในหม้อต้ม ต้มขิงในน้ำเดือด แล้วค่อยเบาไฟลง ต้มนานประมาณ 20 นาที ต้มจนหอมกลิ่นน้ำขิง
  3. เติมน้ำตาลทรายแดง นำมาดื่มแบบร้อนๆ  หรือ ดื่มแบบเย็นๆ ด้วยการใส่น้ำแข็ง

ขิง คืิอ พืชล้มลุก สมุนไพร พืชพื้นบ้าน มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ ประโยชน์ของขิง สรรพคุณของขิง เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเหงื่อ บำรุงเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด โทษของขิง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย