สารส้ม ใช้แกว่งในบ่อเก็บน้ำให้สิ่งสกปรกตกตะกอน ใช้กำจัดกลิ่นตัวโดยเฉพาะใต้วงแขน ดับกลิ่นได้ นิยมใช้ดองผักเพื่อให้ผักดองมีความกรอบ มีพิษในการกินค่อนข้างน้อย

สารส้ม Alumen

ประเภทของสารส้ม

สำหรับ สารส้ม มาจากภาษาละติน คำว่า Alumen แปลว่า สารที่ทำให้หดตัว เป็นเกลือเชิงซ้อน ที่มีธาตุอะลูมิเนียม และ ซัลเฟต เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งประเภทของสารส้มสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ประกอบด้วย

  • อะลูมิเนียมซัลเฟต ซึ่งสารส้มประภทนี้มีลักษณะเป็นก้อนผงสีขาว
  • โพแทสเซียมอะลั่ม ซึ่งสารส้มประเภทนี้มีลักษณะเป็นผลึกใสไม่มีสี
  • แอมโมเนียมอะลั่ม ซึ่งสารส้มประเภทนี้มีลักษณะเป็นผลึกใสไม่มีสี

ลักษณะของสารส้ม

สารส้มมีลักษณะเป็นผลึกใส สีขาว ไม่มีกลิ่น รสฝาด สามารถบดเป็นผงสีขาวได้ สารส้ม ลักษณะคล้ายน้ำตาลกรวด หากดูไม่ละเอียด ก็แยกไม่ออก องค์ประกอบทางเคมีของสารส้ม เป็นเกลือซัลเฟตของอะลูมิเนียม มี 2 ชนิด คือ เกลือโพแทสเซียมอะลูมิเนียมซัลเฟต (K2SO4.Al2(SO4)3.24 H2O และ เกลือแอมโมเนียมอะลูมิเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4.Al2(SO4)3.24 H2O

คุณสมบัติของสารส้ม

  • ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
  • ไม่เปื้อนเสื้อผ้า
  • ปลอดภัยต่อร่างกายไม่ทำให้รูขุมขนอุดตัน
  • ไม่ซึมเข้าร่างกาย
  • ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
  • ไม่เสื่อมสภาพคงทนต่อสภาพแวดล้อม

สรรพคุณของสารส้ม

สำหรับประโยชน์ของสารส้ม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ตามตำราแพทย์แผนไทย สมุนไพร บอกว่า สารส้มมีรสฝาด เปรี้ยว ช่วยสมานแผล แก้ระดูขาว รักษาหนองใน รักษาแผลหนองเรื้อรัง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับนิ่ว รักษาปอดอักเสบ ช่วยฟอกเลือด รักษาอาการเหงือกบวม รักษาแผลในปากลำคอ ช่วยห้ามเลือด ทำให้หนองแห้ง บรรเทาอาการไอ ทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ

ประโยชน์ของสารส้ม

สำหรับการใช้ประโยชน์ของสารส้ม นอกจากใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกายแล้ว สารส้มสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆอีก มีรายลเอียด ดังนี้

  • ใช้ระงับกลิ่นตัว โดนใช้สารส้มแกว้งในน้ำ ใช้ผ้าชุบน้ำที่แกว่งสารส้ม เช็ดตามตัว ช่วยดับกลิ่นตัวได้
  • ใช้ชุบไส้ตะเกียง ทำให้ไม่มีควัน
  • ใช้ดับกลิ่นคาวของอาหาร โดยใช้สารส้มล้าปลา
  • ใช้ถนอมอาหาร สารส้มแกว่งในน้ำช่วยให้ ถั่วงอก พริก สดตลอดเวลา หรือ ใช้เป็นสารกันบูด โดยใช้สารสมผสมแป้งเปียก ช่วกันอาหารบูด
  • ทำให้น้ำใส โดยใช้สารส้มแกว่งในน้ำ
  • ทำให้สีติดผ้าและกระดาษ ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ และ การย้อมสีผ้า
  • ช่วยให้พริกขี้หนูดูสดใส เก็บไว้ได้หลายวัน โดยการนำพริกขี้หนูแช่ในน้ำสารส้มสักพัก แล้วนำมาผึ่งไว้ ก่อนทานก็ควรล้างพริกเสียก่อน
  • นำสารส้มมาทาส้นเท้า ช่วยป้องกันส้นเท้าแตกได้
  • ป้องกันยุงกัน น้ำสารส้มนำมาทาผิวป้องกันอาการคันจากยุงกัดได้

โทษของสารส้ม

สำหรับการใช้ประโยชน์ของสารส้ม หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจะเกิดประโชยน์ ซึ่งโทษของสารส้ม มีรายละเอียด ดังนี้

  • สารส้ม มีฤทธิ์เป็รพิษ หากกินเข้าไป จะทำให้คลื่นไส้อาเจียน ปวดหัว
  • การกินน้ำที่มีสารส้ม ทำให้ร่างกายดูดซึมอลูมิเนียมแพร่กระจายเข้าสู่ระบบเลือด ปอด ตับ กระดูก และ สมอง อาจทำให้ไตเสื่อมได้ สารส้มที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำดื่ม อาจทำให้เกิดอาการอาเจียน ท้องร่วง ทำลายเนื้อเยื่อของประสาทได้

แหล่งอ้างอิง

  • นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 1 สิงหาคม 2550
  • ผู้จัดการออนไลน์, คำให้สัมภาษณ์ นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 12 พฤศจิกายน 2555

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ผักชี Coriander สมุนไพร ผักสวนครัว มีกลิ่นแรง นิยมทำมาประกอบอาหาร สามารถใช้เป็นยาได้ สรรพคุณของผักชี ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลดอาการปวดบวม บำรุงสายตา

ผักชี สมุนไพร ผักสวนครัว

ผักชี ภาษาอังกฤษ เรียก Coriander ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชี คือ Coriandrum sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของผักชี เช่น ผักชีไทย ผักหอม ผักหอมน้อย ยำแย้ ผักหอมป้อม ผักหอมผอม เป็นต้น ผักชีถิ่นกำเนิดแถบเมดิเตอร์เรเนียน สามารถปลูกได้ใน ประเทศเขตร้อนชื้น ทั่วไป ให้ผลผลิตดี ในช่วง ฤดูหนาว แต่ ไม่หนาวมาก พบว่า มีการปลูกมากในภาคกลาง จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี

ประโยชน์ของผักชี ผักชีนำมาทำอาหาร เพิ่มสีสัน รสชาติ กลิ่น ให้กับอาหารเป็นส่วนประกอบในการถนอมอาหาร เช่น การทำแหนม การหมักเนื้อต่างๆ ดับกลิ่นคาวของอาการประเภทเนื้อ เช่น ปลา น้ำจืดต่างๆ นิยมใช้ราก ในการเพิ่มรสชาติ ในน้ำซุป และ การหมักเนื้อ ร่วมกับ พริกไทยดำ

ผักชีในประเทศไทย

สำหรับผักชีในประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะ เป็นผักที่นิยมกินในอาหารไทย การปลูกและขายผักชีจึงมีการทำเป็นอาชีพ ผักชีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยแหล่งผักชีของประเทศไทย ได้แก่ ราชบุรี นครปฐม และ กรุงเทพมหานคร

สายพันธ์ุผักชี

สายพันธุ์ของผักชีที่นิยมปลูกมี 2 สายพันธ์ คือ ผักชีพื้นเมือง และ ผักชีแอฟฟริกา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักชีพันธุ์อาฟริกา ลักษณะเด่น คือ ต้นมีขนาดใหญ่ ใบหนาและใหญ่ มีกลิ่นหอมเล็กน้อย และอายุยาวกว่าผักชีพันธุ์พื้นเมือง
  • ผักชีพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ ต้นขนาดเล็ก ใบบาง เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นฉุนมาก

ลักษณะของต้นผักชี

ต้นผักชี เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ถิ่นกำเนิดของผักชีอยู่ในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันนิยมปลูกในประเทศไทย ลักษณะของต้นผักชี มีดังนี้

  • รากของผักชี มีรากฝอยจำนวนมาก แต่รากเป็นรากแก้ว ที่ไม่ยาวมาก
  • ลำต้นของผักชี ลำต้นสูงประมาณ 12 นิ้ว มีสีเขียว ลำต้นอวบน้ำ ลักษณะตั้งตรง ภายในกลวง มีกิ่งก้านเล็กๆ ลำต้นผิวเรียบ
  • ใบของผักชี ใบเป็นแฉกๆ เป็นใบเดียวมีสีเขียว มีกลิ่นฉุนหอม
  • ดอกของผักชี ดอกของผักชีนั้นจะออกจากโคนลำต้น และ ตั้งตรงเหนือยอดของต้น ดอกมีขนาดเล็ก
  • เมล็ดของผักชี ลักษณะทรงกลม อยู่ตรงกลางดอกผักชี เป็นส่วนที่สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

สรรพคุณของผักชี

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักชีด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากทั้งต้นของผักชี ซึ่งสรรพคุณของผักชี มีดังนี้

  • สรรพคุณขับสารพิษต่างๆออกจากระบบทางเดินอาหาร
  • สรรพคุณลดอาการไอ ละลายเสมหะ แก้หวัด ลดน้ำมูก
  • สรรพคุณขับเหงื่อ ช่วยให้สารพิษออกทางเหงื่อ
  • สรรพคุณแก้อาการสะอึก แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้วิงเวียนศีรษะ
  • สรรพคุณแก้กระหายน้ำ
  • ช่วยลดโอกาศการเกิดโรคมะเร็ง
  • ช่วยเจริญอาหาร ลดอาการซูบผอม ช่วยบำรุงร่างกาย
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
  • บำรุงสายตา ให้มองเห็นชัดเจนขึ้น
  • ลดอาการปวดฟัน
  • บำรุงกระเพาะอาหาร
  • รักษาอาการปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • สามารถต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ได้ดี
  • รักษาผื่นแดงในเด็ก และ ผื่นหัด
  • ลดอาการปวด อาการบวมตามข้อ

โทษของผักชี

สำหรับการกินผักชีเป็นอาหารและใช้ประโยชน์ในการเป็นยารักษาโรค ควรมีข้อควรระวังการใช้ผักชี ดังนี้

  • สำหรับคนที่มีิิอาการแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม หรือ หอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกัน
  • ผักชีมีโพแทสเซียมสูง ทำให้ไตทำงานหนัก ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรกินผักชีมากเกินไป
  • กินผักชีมากเกินไป อาจทำให้มึนหัว เพราะ กลิ่นของผักชีแรง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย