กระชาย ขิงจีน สมุนไพรไทย ฉายา โสมไทย นิยมปลูกเพื่อนำมาทำอาหารรับประทาน คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาระบาย โทษของกระชายมีอะไรบ้างกระชาย สมุนไพร สรรพคุณของกระชาย

กระชาย พืชตระกูลขิง นิยมปลูกกันในประเทศจีนและประเทษเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระชาย ( Chinese ginger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. ชื่อเรียกอื่นๆของกระชาย เช่น  ว่านพระอาทิตย์  กระชายดำ  กะแอน ขิงทราย ละแอน ขิงจีน เป็นต้น

ชนิดของกระชาย

สำหรับกระชาย ทีนิยมปลูกกัน มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายดำ ลักษะณะของเนื้อหัวกระชายจะมีสีดำ รสเผ็ดร้อน
  • กระชายแดง ลักษณะทั่วไปเหมือนกันกับกระชายเหลือง แต่จะแตกต่างกันตรงเหง้าและเนื้อด้านในของเหง้า โดยเนื้อจะมีสีเหลืองแกมส้ม
  • กระชายเหลือง ลักษณะของกระชายเหลือง เนื้อด้านในของหัวกระชาย มีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาทำอาหาร

ต้นกระชาย โดยทั่วไป มี3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู หัวของกระชาย สะสมสารอาหารมากมาย ส่วนนี้เรียกว่า นมกระชาย นำมาใช้เป็นเครื่องแกง คุณสมบัติช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ดี

กระชายที่นิยมนำมาใช้ทำอาหารรับประทาน คือ กระชายเหลือง และ กระชายดำ ปัจจุบันกระชายดำ กำลังเป็นที่นิยม ด้านสมุนไพรสรรพคุณด้านการบำรุงร่างกาย

ลักษณะของต้นกระชาย

ต้นกระชาย พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวทั้งต้น นิยมนำมาใช้เหง้า หรือ หัวกระชายมารับประทาน การขยายพันธุ์กระชาย ใช้การแตกหน่อ กระชายชอบดินที่ร่วนซุย และ ระบายน้ำได้ดี รายละเอียดของต้นกระชาย มีดังนี้

  • เหง้ากระชาย อยู่ใต้ดิน ลักษณะอวบ ทรงกระบอก ทรงไข่ค่อนข้างยาว ความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร เหง้ากระชายเป็นกระจุก ผิวด้านนอกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อมีสีเหลือง กลิ่นหอม
  • ใบกระชาย เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะใบเป็นทรงรียาว ใบยาวประมาณ 50 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม
  • ดอกกระชาย กระชายออกดอกเป็นช่อ มีสีขาว หรือ สีขาวอมชมพูอ่อน ๆ ลักษณะเป็นรูปหอก
  • ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย

การใช้ประโยชน์จากกระชาย นิยมใช้เหง้ากระชายมาทำอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของเหง้ากระชายขนาด 100 กรัม พบว่ามี สารอาหารสำคัณ ประกอบด้วย ไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว โซเดียม โพแทสเซียม คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร น้ำตาล โปรตีน วิตามินบี6 วิตามินซี แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม เป็นต้น

สรรพคุณของกระชาย

ประโยชน์ของกระชาย สามารถใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สำหรับสรรพคุณของกระชายส่วนต่างๆทั้ง ใบกระชาย หัวกระชาย รายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าของกระชาย มีรสเผ็ด ร้อน ขม แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้บิด แก้โรคกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก
  • ใบของกระชาย ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆได้

ตำรายาไทยใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร

โทษของกระชาย

ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากกระชาย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ไม่ควรกินกระชายจำนวนมาก และ ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากได้ เนื่องจากกระชายมีฤทธิ์ร้อน
  • การกินกระชายในปริมาณมาก ทำให้เกิดปัญหาเหงือกร่น และ ภาวะใจสั่นได้
  • กระชาย มีผลต่อการทำงานของตับ ผู้ป่วยเกี่ยวกับตับ ไม่ควรกินกระชายในประมาณมาก

กระชาย หรือ ขิงจีน พืชพื้นบ้าน สมุนไพรไทย ฉายา โสมไทย คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย สรรพคุณของกระชาย ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาระบาย โทษของกระชายมีอะไรบ้าง พืชสวนครัว พืชเศรษฐกิจ นิยมปลูกเพื่อนำมาทำอาหารรับประทาน

แหล่งอ้างอิง

  • “The Plant List: A Working List of All Plant Species”. สืบค้นเมื่อ 25 January 2014.
  • ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2549
  • “สำเนาที่เก็บถาวร”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-25. สืบค้นเมื่อ 2014-08-08.
  • กระชาย ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุ กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • ลีนา ผู้พัฒนพงศ์ ,2530
  • คณะทำงานรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผักในโครงการหนูรักผักสีเขียว
  • ภานุทรรศน์,2543
  • กรรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข,2542
  • แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ ,2541
  • พรพรรณ ,2543
  • อบเชย วงศ์ทอง ,2544
  • อาหารจากสมุนไพร อร่อย สุขภาพดี. กทม. แม่บ้าน. มปป.หน้า 94

เกลือ Salt แร่ธาตุที่มีรสเค็ม นิยมนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ทั้งด้านสมุนไพร การรักษาโรค ร่างกายมนุษย์ต้องการเกลือในปริมาณที่เหมาะสม ประโยชน์ สรรพคุณและโทษของเกลือ

เกลือ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ในธรรมชาติ เกลือจะก่อตัวเป็นผลึก เรียก เกลือหิน เกลือพบว่ามีจำนวนมากมหาสารในทะเล เกลือเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตสัตว์ เกลือ เป็นหนึ่งในเครื่องปรุงรสหาง่ายที่สุด นิยมใช้ถนอมอาหารด้วย เกลือ เป็นวัตถุดิบหลักในการปรุงอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ต้ม ผัด แกง ประโยชน์ของเกลือมีอะไรบ้าง

สายเคมีที่พบในเกลือ ประกอบด้วย โซเดียมคลอไรด์ ( Sodium Chlorid e) โปแตสเชียม ( Potassium ) แมกเนเชียม (  Magnesium ) และ แคลเซียม ( Calcium ) โซเดียมก็จะถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกาย ซึ่งผลต่อปริมาณน้ำในร่างกาย เกลือจะถูกขับออกนอกร่างกายผ่านทางการทำงานของไต ทางปัสสาวะ และ เหงื่อ เกลือเป็นสารสำคัญในการสร้างกรดของร่างกาย

คุณสมบัติของเกลือ

  • สีของเกลือ ส่วนมากเกลือจะมีลักษณะ ใส ไม่มีสี เกลือที่มีสีก็มีเช่นกัน เช่น เกลือสีเหลือง ( โซเดียมโครเมต ) เกลือสีส้ม ( โพแทซเซียมไดโครเมต ) เกลือสีฟ้า ( คอปเปอร์ซัลเฟตเพนตะไฮเดรต ) เกลือสีม่วง ( โฟแทซเซียมเปอร์แมงกาเนต ) เกลือสีเขียว ( นิคเกิลคลอไรด์เฮกซะไฮเดรต ) เกลือสีขาว ( โซเดียมคลอไรด์ ) เกลือไม่มีสี ( แมกนีเซียมซัลเฟตเฮปตะไฮเดรต ) และ เกลือสีดำ ( แมงกานีสไดออกไซด์ )
  • รสชาติของเกลือ เกลือจะมีรสเค็ม
  • กลิ่นของเกลือ เกลือไม่มีกลิ่น แต่เป็นกรดและเบสอ่อนๆ
ประโยชน์จากการกินเค็ม
  • ช่วยปรับระดับความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • ช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร ช่วยเจริญอาหาร ทำให้เพิ่มความอยากรับประทาน มากขึ้น
  • ช่วยปรับระดับเกลือแร่ในร่างกายให้เกิดความสมดุล
  • เกลือช่วยทำความสะอาด และ กำจัดคราบต่างๆได้

สรรพคุณของเกลือ

สำหรับการใช้ประโยชน์ของเกลือ ด้านการบำรุงร่างกายและ การรักษาโรคนั้น มีมากมาย เกลือมีคุณสมบัติเป็นยาเย็น รสเค็ม สรรพคุณดับร้อน ถอนพิษ ช่วยระบาย ระงับการอาเจียน แก้คอแห้ง ลดการกระหายน้ำ ช่วยให้ปัสสาวะมากขึ้น แก้ท้องผูก รักษาโรคเหงือกและฟัน แก้แมลงสัตว์กัดต่อย รักษาเลือดออกตามไรฟัน รักษาโรคผิวหนัง รักษาอาการคัน ใช้ล้างแผล แก้เจ็บคอ แก้ตาแดง  ป้องกันผมร่วง รักษาโรคกระเพาะ แก้เผ็ด

โทษของเกลือ

  • การกินอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือในปริมาณที่มาก ทำให้ไตทำงานหนัก ส่งผลต่อเลือด และ ระบบการกรองของเสียออกจากร่างกาย
  • ผู้ป่วยโรคไต โรคตับ โรคหัวใจ ต้องลดการกินอาหารเค็ม เพราะจำทำให้ระดับน้ำในร่างกายสูง
  • ผู้หญิงที่อยู่ช่วงก่อนมีประจำเดือน ควรงดรับประทานเกลือ เพื่อป้องกันอาการบวมน้ำและท้องอืด
  • การรับประทานอาการที่มีเกลือมากๆ ชอบกินเค็ม ทำให้อวัยวะภายในร่างกายทำงานหนักขึ้น เพื่อกำจัดเกลือ ผนังกระเพาะอาหารอักเสบ เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควรลดเกลือ หากร่างกายได้รับเกลือมากเกิน จะเพิ่มความดันโลหิตใรร่างกาย ผู้สูงอายุ และ คนที่มีผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง ต้องลดการกินอาหารเค็ม

เกลือ ( Salt ) คือ แร่ธาตุ ที่มีรสเค็ม สมุนไพรประเภทแร่ธาตุ เกลือ นิยมนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ทั้งด้านสมุนไพร และ การรักษาโรค ร่างกายของมนุษย์ต้องการเกลือในปริมาณที่เหมาะสม ประโยชน์และโทษของเกลือ สรรพคุณของเกลือ

แหล่งอ้างอิง

    • WHO issues new guidance on dietary salt and potassium”. WHO. 31 January 2013.
    • กรมทรัพยากรธรณี 2548. โครงการศึกษาปัจจัยทางธรณีวิทยาที่ทำให้เกิดดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2547 สำนักทรัพยากรแร่ กรมทรัพยากรธรณี 277 หน้า.
    • เจริญ เพียรเจริญ. 2515. แหล่งเกลือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ข่าวารสารกรมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี.
    • เด่นโชค มั่นใจ. 2545. ทบทวนงานศึกษาธรณีวิทยา บริเวณที่ราบสูง โคราช รายงานสัมมนา ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
    • ธวัช จาปะเกษตร์ 1985. การสำรวจแร่เกลือหินและโพแทชภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย Proceedings of the Conference on Geology and Mineral Resources Development of the Northeast, Thailand. Department of Geotechnology, Khon Kaen University, 26-29 November, Khon Kaen, Thailand.
    • พิทักษ์ รัตนจารุรักษ์. 2542. แหล่งแร่เกลือหินในประเทศไทย. วารสารเศรษฐธรณีวิทยา ปีที่ 1 ฉบับที่ 10.
    • พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย