มะตูม สมุนไพร สังคมไทยเชื่อว่ามะตูมเป็นพืชมงคล นิยมรับประทานผล สรรพคุณบำรุงทางเดินอาหาร แก้ท้องเสีย รับประทานได้ทั้งผลสดและผลแห้ง โทษของมะตูมเป็นอย่างไร

มะตูม สมุนไพร สรรพคุณของมะตูม

มะตูม ภาษาอังกฤษ เรียก Beal ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะตูม คือ Aegle marmelos (L.) Corrêa สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะตูมเช่น มะปิน ตูม ตุ่มตัง กะทันตาเถร เป็นต้น มะตูมมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย ใบมะตูมยังเป็นส่วนประกอบในพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์หรือครอบครู เป็นต้น

มะตูมกับสังคมไทย

มะตูมเป็นผลไม้ที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน ผลมะตูมตากแห้งนิยมนำมาต้มเป็นน้ำมะตูมดื่มแก้กระหาย นอกจากนั้นมะตูมยังเป็นพันธุ์ไม้มงคลในศาสนาฮินดู ประเทศไทยนิยมปลูกมะตูมไว้ในบ้าน ปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้าน เนื่องจากเชื่อว่า ต้นมะตูมสามารถขจัดสิ่งชั่วร้ายออกจากบ้านเรือน ป้องกันสัมภเวสีภูตผีต่างๆได้ นอกจากนี้มะตูมยังเป็นพันธุ์ไม้มงคลประจำจังหวัดชัยนาท

ประโยชน์ของมะตูม ผลมะตูม สามารถนำมารับประทานได้ทั้งแบบสดและแบบแห้ง นำมาทำน้ำมะตูม ดื่มแก้กระหาย ใบอ่อนของมะตูม สามารถรับประทานเป็นผักสดได้ นิยมทานกับน้ำพริกหรือลาบ ผลแก่มะตูมนำมาทำขนมมะตูมเชื่อม นอกจากนั้นมะตูมนำมาเป็นส่วนผสมของขนมหลายชนิด

ลักษณะของต้นมะตูม

มะตูมจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เป็นไม้มงคล สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะตูม มีดังนี้

  • ลำต้นมะตูม ลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 10-20 เมตร เปลือกของลำต้นมีสีเทา ลักษณะเรียบเป็นร่องตื้น เนื้อไม้แข็งมีสีขาวแกมเหลือง ไม้มะตูมมีกลิ่นหอม โคนต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมยาวและแข็ง
  • ใบมะตูม ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่ ใบหนา สีเขียว
  • ดอกมะตูม ดอกมีสีขาวหรือสีขาวอมเขียว ดอกมีกลิ่นหอม
  • ผลมะตูม ลักษณะผลกลม ผลมีเปลือกแข็งเรียบ เนื้อผลเหนียวข้น มีกลิ่นหอม มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมะตูมจะมีขนหนาปกคลุม

คุณค่าทางโภชนาการของมะตูม

มะตูมนิยมบริโภคผลและใบเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผลมะตูมสุก ขนาด 100 กรัม พบว่าในผลมะตูมสุกมีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 61.4 กรัม กากใยอาหาร 2.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 34.7 กรัม โปรตีน 1.8 กรัม ไนอะซีน 1.1 มิลลิกรัม แคลเซียม 85 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม และในผลมะตูมสุก มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินเอ 92 มิลลิกรัม วิตามินบี1 1.3 มิลลิกรัม และ วิตามินบี2 1.19 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะตูม

สำหรับการใช้ประโชน์จากมะตูมด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากเปลือกลำต้น ราก ผลดิย ผลสุก และ ใบมะตูม สรรพคุณของมะตูม มีดังนี้

  • รากมะตูม สรรพคุณสำหรับสตรีหลังคลอด ลดอาการตกเลือดในสตรีหลังคลอด ช่วยรักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ รักษาอาการปัสสาวะเป็นเลือด ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • เปลือกลำต้นมะตูม สรรพคุณแก้ท้องเสีย รักษาอาการลำไส้อักเสบ
  • ใบมะตูม สามารถใช้ประโยชน์จากใบมะตูมอ่อน สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องเสีย ช่วยลดไข้ บำรุงดวงตา รักษาอาการตาอักเสบ ลดอาการตาบวม
  • ผลดิบมะตูม สรรพคุณป้องกันโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้กระหายน้ำ ทำให้ให้ชุ่มคอ รักษาโรคหวัด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหอบหืด รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี แก้ไข้ทรพิษ แก้ปวดฝี รักษาเยื่อบุตาอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร รักษาอาการแผลอักเสบ ฆ่าพยาธิ ต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการท้องเสีย ลดกรดในกระเพาะอาหาร
  • ผลสุกมะตูม สรรพคุณช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร บำรุงลำไส้ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยในการขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ ชับลม ลดจุกเสียดแน่นท้อง ลดไขมันในเส้นเลือด แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงผิว ป้องกันมะเร็ง บำรุงสมอง รักษาอัลไซล์เมอร์ ช่วยขับพยาธิ

วิธีทำน้ำมะตูม เริ่มจากเลือกมะตูมลูกอ่อนเท่านั้น มาใช้หันด้วยมีดเป็นแว่น หรือ ฝานเป็นแผ่นบางๆ ก็ได้ แล้วนำไปตากแดดจนแห้ง เมื่อแห้งแล้ว จึงนำไปบรรจุในภาชนะที่แห้งสนิท สามารถเก็บไว้ใช้ได้นานมากขึ้น เมื่อต้องการจะใช้ให้ล้างน้ำจนสะอาด เตรียมสะอาดต้มจนน้ำเดือด แล้วจึงนำมะตูมแห้งที่เก็บไว้แล้ว มาปิ้งไฟอ่อนให้พอมีกลิ่นหอมๆ เล็กน้อย หรือ สามารถนำไปย่างไฟอ่อนๆก็ได้ แต่ระวังอย่าให้เกิดการไหม้ ซึ่งจะทำให้น้ำมะตูมแห้ง มีความหอมมากยิ่งขึ้น จากนั้นนำลงหม้อต้มประมาณ 10-15 นาทีพอ ใช้ไฟปานกลาง เติม หรือ เติมน้ำตาลทรายลงไปก็ได้ ตามความชอบ ( แนะนำให้ใส่หวานน้อย เพื่อสุขภาพผู้ดื่ม ) ต้มจนน้ำตาลละลาย จากนั้นปิดไฟ ตั้งทิ้งไว้จนเย็น เก็ยใส่ภาชนะแช่เย็นเก็บไว้ดื่มได้เป็นสัปดาห์ ดื่มได้ทั้งสองแบบ คือ ร้อนและเย็น เป็นเครื่องดื่มสมุนไพรช่วยดับกระหายได้ดี เป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย

โทษของมะตูม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะตูมด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • มะตูมป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียใช้รักษาอาการท้องเสียได้ สำหรับคนที่ท้องผูก ไม่ควรกินมะตูม อาจทำให้ท้องผูกมากขึ้น
  • น้ำมะตูมไม่ผสมน้ำตาลช่วยลดน้ำตาลในเลือด แต่สำหรับคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำอยู่แล้ว ไม่ควรกินน้ำมะตูมที่ไม่ผสมน้ำตาล

ผักชี Coriander สมุนไพร ผักสวนครัว มีกลิ่นแรง นิยมทำมาประกอบอาหาร สามารถใช้เป็นยาได้ สรรพคุณของผักชี ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลดอาการปวดบวม บำรุงสายตา

ผักชี สมุนไพร ผักสวนครัว

ผักชี ภาษาอังกฤษ เรียก Coriander ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชี คือ Coriandrum sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของผักชี เช่น ผักชีไทย ผักหอม ผักหอมน้อย ยำแย้ ผักหอมป้อม ผักหอมผอม เป็นต้น ผักชีถิ่นกำเนิดแถบเมดิเตอร์เรเนียน สามารถปลูกได้ใน ประเทศเขตร้อนชื้น ทั่วไป ให้ผลผลิตดี ในช่วง ฤดูหนาว แต่ ไม่หนาวมาก พบว่า มีการปลูกมากในภาคกลาง จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี

ประโยชน์ของผักชี ผักชีนำมาทำอาหาร เพิ่มสีสัน รสชาติ กลิ่น ให้กับอาหารเป็นส่วนประกอบในการถนอมอาหาร เช่น การทำแหนม การหมักเนื้อต่างๆ ดับกลิ่นคาวของอาการประเภทเนื้อ เช่น ปลา น้ำจืดต่างๆ นิยมใช้ราก ในการเพิ่มรสชาติ ในน้ำซุป และ การหมักเนื้อ ร่วมกับ พริกไทยดำ

ผักชีในประเทศไทย

สำหรับผักชีในประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะ เป็นผักที่นิยมกินในอาหารไทย การปลูกและขายผักชีจึงมีการทำเป็นอาชีพ ผักชีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยแหล่งผักชีของประเทศไทย ได้แก่ ราชบุรี นครปฐม และ กรุงเทพมหานคร

สายพันธ์ุผักชี

สายพันธุ์ของผักชีที่นิยมปลูกมี 2 สายพันธ์ คือ ผักชีพื้นเมือง และ ผักชีแอฟฟริกา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักชีพันธุ์อาฟริกา ลักษณะเด่น คือ ต้นมีขนาดใหญ่ ใบหนาและใหญ่ มีกลิ่นหอมเล็กน้อย และอายุยาวกว่าผักชีพันธุ์พื้นเมือง
  • ผักชีพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ ต้นขนาดเล็ก ใบบาง เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นฉุนมาก

ลักษณะของต้นผักชี

ต้นผักชี เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ถิ่นกำเนิดของผักชีอยู่ในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันนิยมปลูกในประเทศไทย ลักษณะของต้นผักชี มีดังนี้

  • รากของผักชี มีรากฝอยจำนวนมาก แต่รากเป็นรากแก้ว ที่ไม่ยาวมาก
  • ลำต้นของผักชี ลำต้นสูงประมาณ 12 นิ้ว มีสีเขียว ลำต้นอวบน้ำ ลักษณะตั้งตรง ภายในกลวง มีกิ่งก้านเล็กๆ ลำต้นผิวเรียบ
  • ใบของผักชี ใบเป็นแฉกๆ เป็นใบเดียวมีสีเขียว มีกลิ่นฉุนหอม
  • ดอกของผักชี ดอกของผักชีนั้นจะออกจากโคนลำต้น และ ตั้งตรงเหนือยอดของต้น ดอกมีขนาดเล็ก
  • เมล็ดของผักชี ลักษณะทรงกลม อยู่ตรงกลางดอกผักชี เป็นส่วนที่สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

สรรพคุณของผักชี

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักชีด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากทั้งต้นของผักชี ซึ่งสรรพคุณของผักชี มีดังนี้

  • สรรพคุณขับสารพิษต่างๆออกจากระบบทางเดินอาหาร
  • สรรพคุณลดอาการไอ ละลายเสมหะ แก้หวัด ลดน้ำมูก
  • สรรพคุณขับเหงื่อ ช่วยให้สารพิษออกทางเหงื่อ
  • สรรพคุณแก้อาการสะอึก แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้วิงเวียนศีรษะ
  • สรรพคุณแก้กระหายน้ำ
  • ช่วยลดโอกาศการเกิดโรคมะเร็ง
  • ช่วยเจริญอาหาร ลดอาการซูบผอม ช่วยบำรุงร่างกาย
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
  • บำรุงสายตา ให้มองเห็นชัดเจนขึ้น
  • ลดอาการปวดฟัน
  • บำรุงกระเพาะอาหาร
  • รักษาอาการปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • สามารถต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ได้ดี
  • รักษาผื่นแดงในเด็ก และ ผื่นหัด
  • ลดอาการปวด อาการบวมตามข้อ

โทษของผักชี

สำหรับการกินผักชีเป็นอาหารและใช้ประโยชน์ในการเป็นยารักษาโรค ควรมีข้อควรระวังการใช้ผักชี ดังนี้

  • สำหรับคนที่มีิิอาการแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม หรือ หอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกัน
  • ผักชีมีโพแทสเซียมสูง ทำให้ไตทำงานหนัก ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรกินผักชีมากเกินไป
  • กินผักชีมากเกินไป อาจทำให้มึนหัว เพราะ กลิ่นของผักชีแรง
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย