ต้นตะไคร้ สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมนำมาทำอาหารให้กลิ่นหอม ต้นตะไคร้เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ลดความดัน โทษของตะไคร้มีอะไรบ้างตะไคร้ สมุนไพร สรรพคุณของตะไคร้

ตะไคร้ ( Lemongrass ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf  ชื่อเรียกอื่นๆของตะไคร้ เช่น จะไคร , หัวซิงไค , ไคร , คาหอม , เชิดเกรย , เหลอะเกรย , ห่อวอตะโป่ เป็นต้น ตะไคร้เป็นทั้งยารักษาโรคและยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น

สายพันธ์ตะไคร้

ตะไคร้ พืชตระกูลหญ้า เจริญเติบโตง่ายในทุกสภาพดิน ลำต้นมีกาบใบโดยรอบ ใบยาว ใบของตะไคร้ มีน้ำมันหอมระเหย นิยมปลูกเป็นพืชสวนครัว พืชพื้นเมือง ปลูกกันโดยทั่วไปในประเทศไทย สายพันธ์ของต้นตะไคร้ แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และ ตะไคร้หางสิงห์

  • ตะไคร้กอ
  • ตะไคร้ต้น
  • ตะไคร้หางนาค
  • ตะไคร้น้ำ
  • ตะไคร้หางสิงห์
  • ตะไคร้หอม

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้

คุณค่าทางอาหารของตะไคร้ นักโภชนากการได้ทำการศึกษาต้นตะไคร้สด ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 143 กิโลแคลอรี่

ต้นตะไคร้ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 4.2 กรัม สารอาหาร คือ โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม เหล็ก 2.6 มิลลิกรัม เถ้า 1.4 กรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม และ วิตามินสำคัญ ประกอบด้วย วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม  และ วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นตะไคร้

ตะไคร้ พืชล้มลุก ตระกลูหญ้า มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย คองโก และ ในแถบทวีปอเมริกาใต้ เป็น สมุนไพรไทย นิยมนำมาประกอบอาหารช่วยให้กลิ่นหอมดับกลิ่นคาวของอาหาร นิยมปลูกทั่วไปตามบ้าน สามารถขยายพันธ์โดยแตกกอ และ การปักชำ ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้นของตะไคร้ มีลักษณะลำต้นตั้งตรง ลำต้นทรงกระบอก สูงประมาณ 1 เมตร  มีกาบใบเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นตะไคร้ผิวเรียบ โคนต้นอ้วน สีม่วงอ่อน เป็นส่วนที่นำมาใช้ประกอบอาหาร
  • ใบของตะไคร้ ลักษณะใบเรียวยาว ขอบใบแหลมคม ใบตะไคร้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านใบ หูใบ  และ ใบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ผิวใบสากมือ และ มีขนปกคลุม ปลายใบแหลม
  • ดอกของตะไคร้ ดอกตะไคร้จะออกดอกเป็นช่อ มีกลิ่นหอม ดอกตะไคร้มีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

สรรพคุณของตะไคร้

สำหรับการใช้ประโยชน์ของตะไคร้ ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่ากาย สรรพคุณของตะไคร้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้ง ส่วน ทั้งต้น หัวตะไคร้ รากตะไคร้ ลำต้นตะไคร้ และ ใบตะไคร้ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นของตะไคร้ สรรพคุณรักษาโรคหอบหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ
  • น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สะกัดได้จากต้นตะไคร้ทุกส่วน น้ำมันตะไคร้ นำมาทำเป็นยาทานวด นำมารับประทาน ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และ ขับเหงื่อ
  • ลำต้นตะไคร้ สรรพคุณเป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร แก้เบื่ออาหาร ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่ว บำรุงธาตุ รักษาหนองใน และ ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร
  • ใบของตะไคร้ สรรพคุณเป็นยาแก้หวัด ลดอาการไอ ปรับสมดุลย์ความดันโลหิต บรรเทาอาการปวด แก้ปวดหัว
  • หัวของตะไคร้ สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว ลดความดันโลหิต แก้กษัยเส้น และ ลดไข้
  • รากของตะไคร้ สรรพคุณแก้ปวดท้อง และ บรรเทาอาการท้องเสีย

โทษของตะไคร้

มีการทดลองการใช้น้ำมันตะไคร้กับหนูขาว พบว่าน้ำมันตะไคร้ความเข้มข้น 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หนูขาวกินเข้าไป ทำให้หนูขาวตาย น้ำมันตะไคร้ให้กระต่ายกินทำให้กระต่ายตาย หนูขาวที่ได้รับน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้มีการเติบโตเร็วกว่ากลุ่มที่ไม้ได้รับ และค่าทางเคมีของเลือดไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด การบิรโภคน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ในปริมาณที่มากเกินไป และ หากมีความเข้มค้นมากเกินไป ทำให้เป็นอันตรายได้ จากการทดลองเห็นว่า หนูขาวแข็งแรงขึ้น แต่หากใช้ในปริมาณมากเกินไป ทำให้หนูขาวตาย

ต้นตะไคร้ ผักสวนครัว สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมนำมาทำอาหารให้กลิ่นหอม ลักษณะของต้นตะไคร้ ประโยชน์ของตะไคร้ สรรพคุณของตะไคร้ เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ลดความดัน ดับกลิ่นคาวอาหาร โทษของตะไคร้ เป็นอย่างไรบ้าง

ชุมเห็ดเทศ กระตุ้นให้ปัสสาวะ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ไม่ควรใช้ เพราะ อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ โดยเฉพาะโพแทสเซียมในร่างกาย โทษของเห็ดชุมเทศเป็นพิษกับระบบสืบพันธ์ ต้นเห็ดชุมเทศเป็นอย่างไรชุมเห็ดเทศ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ชุมเห็ดเทศ ชื่อสามัญ เรียก Candelabra bush ชื่อวิทยาศาสตร์ของชุมเห็ดเทศ เรียก Senna alata (L.) Roxb. เห็ดชุมเทศเป็นไม้ล้มลุกตระกูลถั่ว พืชพื้นเมือง ดอกสีเหลืองทอง สวยงาม สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด เห็ดชุมเทศในประเทศไทย พบได้ในตอนบนของประเทศ และ เขตภูเขาสูง ชื่อเรียกอื่นๆของชุมเห็ดเทศ เช่น ส้มเห็ด จุมเห็ด ขี้คาก ลับหมื่นหลวง ลับมืนหลาว หญ้าเล็บมือหลวง หมากกะลิงเทศ ชุมเห็ด ชุมเห็ดใหญ่ ตะสีพอ ตุ๊ยเฮียะเต่า  ฮุยจิวบักทง ตุ้ยเย่โต้ว เป็นต้น

ลักษณะของต้นชุมเห็ดเทศ

ต้นชุมเห็ดเทศ พืชล้มลุก ขนาดกลาง ทรงพุ่ม ในประเทศไทยพบได้ตามเขตภูเขาสูง การขยายพันธ์ของชุมเห็ดเทศใช้การเพาะเมล็ด ต้นชุมเห็ดเทศมีลักษณะ มีดังนี้

  • ลำต้นของชุมเห็ดเทศ ลักษณะของลำต้น เรียบ ตรง มีขน สีน้ำตาล ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบของชุมเห็ดเทศ ลักษณะใบทรงรี ใบหยัก ปลายใบโค้งมน เรียงสลับกันตามกิ่งก้าน เนื้อของใบค่อนหนา หยาบ และ เหนียว
  • ดอกของชุมเห็ดเทศ ลักษณะของดอก ตั้งตรง รูปไข่ ดอกมีขนาดใหญ่ สึเหลืองทาง ออกตามซอกใบ และ ปลายกิ่ง
  • ผลของชุมเห็ดเทศ ลักษณะของผลเป็นฝัก ยาว แบน เรียบ ไม่มีขน ฝักแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ มีเมล็ดอยู่ภายในฝัก

ประโยชน์ของชุมเห็ดเทศ

มีการนำเอาชุมเห็ดเทศ มาใช้ประโยชน์ด้านอาหาร นิยมกินยอดอ่อน และ ดอกชุมเห็ดเทศ กินเป็นผักสด โดยนำมาลวกก่อนนำมากิน  แต่ด้วยความสวยงามของดอกชุมเห็ดเทศ นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ให้ความสวยงามของบ้าน

สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ

การใช้ชุมเห็ดเทศด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น ชุมเห็ดเทศ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ต้นของชุมเห็ดเทศทั้งต้น มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ แก้กษัยเส้น ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร
  • เปลือกของต้นชุมเห็ดเทศ สรรพคุณรักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับน้ำเหลืองเสียออกจากร่างกาย
  • ใบของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดันเลือด ลดน้ำตาลในเลือด แก้ปวดเส้น  แก้กษัย ขับเสมหะ ป้องกันเชื้อแบคทีเรีย ใช้เป็นยาบ้วนปาก เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร รักษาโรคผิวหนังต่างๆ เช่น รักษาแผล รักษาฝี รักษาแผลพุพอง เป็นต้น
  • รากของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ปรับสมดุลย์ของร่างกาย แก้กษัย แก้ตาเหลือง ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร
  • ดอกของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ รักษาโรคท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร
  • เมล็ดของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณช่วยผ่อนคลาย รักษาอาการนอนไม่หลับ ช่วยขับพายธิ แก้พิษตานซาง รักษาอาการท้องอืด รักษาริดสีดวงทวาร
  • ผลของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ รักษาริดสีดวงทวาร

โทษของชุมเห็ดเทศ

ชุมเห็ดเทศ มีพิษเป็นยาเบื่อ การใช้ประโยชน์จากชุมเห็ดเทศ มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • ชุมเห็ดเทศ กระตุ้นให้ปัสสาวะ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ไม่ควรใช้ เพราะ อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ โดยเฉพาะโพแทสเซียมในร่างกาย
  • สตรีมีครรภ์ห้ามใช้ชุมเห็ดเทศ เพราะ ชุมเห็ดเทศช่วยกระตุ้นการคลอดลูก อาจทำให้แท้งได้
  • ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 12 ขวบ ใช้ชุมเห็ดเทศ เนื่องจากร่างกายยังไม่สามารถใช้ได้อาจเป็นอันตราย
  • ชุมเห็ดเทศความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์

ชุมเห็ดเทศ คือ พืชพื้นเมือง สุมนไพรพื้นบ้าน สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ บำรุงหัวใจ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด โทษของเห้ดชุมเทศ เป็นพิษกับระบบสืบพันธ์ ประโยชน์ของเห็ดชุมเทศ เป็นอย่างไร

แหล่งอ้างอิง

  • หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ชุมเห็ดเทศ (Chumhet Tet)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 108.
  • หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ชุมเห็ดเทศ Ringworm Bush”. หน้า 75.
  • หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “ชุมเห็ดเทศ”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 208.
  • หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “ชุมเห็ดเทศ”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 271-274.
  • ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [13 มี.ค. 2014].
  • ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [13 มี.ค. 2014].
  • สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [13 มี.ค. 2014].
  • สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน, หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร ณ สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/. [13 มี.ค. 2014].
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 26 คอลัมน์: สมุนไพรน่ารู้. “ชุมเห็ดไทย/ชุมเห็ดเทศ”. (ภก.ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [13 มี.ค. 2014].
  • ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [13 มี.ค. 2014].
  • สถาบันการแพทย์แผนไทย. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ittm-old.dtam.moph.go.th. [13 มี.ค. 2014].
  • พืชสมุนไพร, มหาวิทยาลัยนเรศวร. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: student.nu.ac.th/tewpharmacyherb/mean.htm. [13 มี.ค. 2014].
  • หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. “ชุมเห็ดเทศ”. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). หน้า 74-75.
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย