ตะไคร้ นิยมนำมาประกอบอาหาร ต้นตะไคร้เป็นอย่างไร สรรพคุณของตะไคร้ เช่น ช่วยเจริญอาหาร ลดความดัน แก้ปวดท้อง ลดไข้ โทษของตะไคร้เป็นอย่างไรตะไคร้ สมุนไพร สรรพคุณของตะไคร้

ตะไคร้ สมุนไพร เป็นไม้ล้มลุกวงศ์เดียวกันกับหญ้า มีอายุมากกว่า 1 ปี มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว มาเลเชีย อินโดนีเชีย เป็นต้น เป็นพืชที่มีสารอาหารและวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก

ตะไคร้ ภาษาอังกฤษ เรียก Lemon grass ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตะไคร้ เช่น คาหอม ไคร จะไคร เชิดเกรย หัวสิงไค เหลอะเกรย ห่อวอตะโป เฮียงเม้า เป็นต้น ตะไคร้สามารถพบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งตะไคร้ที่นิยมปลูก มี 6 ชนิด คือ ตะไคร้หอม ตะไคร้ต้น ตะไคร้กอ ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และ ตะไคร้หางสิงห์

ประโยชน์ของตะไคร้ นอกจากนำมาเป็นอาหารและทำยา ยังสามารถนำตะไคร้มาใช้ประโยชน์ได้จากกลิ่นเฉพาะตัวได้ เช่น ทำเครื่องดื่ม นำน้ำมันหอมระเหยมาเป็นส่วยประกอบของยานวด ทำน้ำยาหมักผมบำรุงเส้นผม นำมาทำเป็นยากันยุง เป็นต้น

ลักษณะของต้นตะไคร้ 

ต้นตะไคร้ เป็นพืชล้มลุกที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว อายุเกิน 1 ปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำ และ แยกหน่อ ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้น ลักษณะลำต้นตั้งตรง รูปทรงกระบอก ความสูงประมาณ 30-60 เซ็นติเมตร โคนลำต้นมีกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม
  • ใบ ลักษณะของใบตะไค มี 3 ส่วน คือ ก้านใบ หูใบ และใบ ซึ่งใบตะไคร้เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว เรียวยาว ขอบใบคม ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม
  • ดอกตะไคร้ ลักษณะดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้

สำหรับการบริโภคตะไคร้เป็นอาหาร นิยมใช้ส่วยของลำต้น ซึ่งจะมีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง  143 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม กากใยอาหาร 4.2 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.6 มิลลิกรัม วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

น้ำมันหอมระเหยจากใบและลำต้นของตะไคร้ มีสารซิทราล ( Citral ) มากที่สุดประมาณร้อยละ 75 นอกจากนั้นยังประกอบด้วย ทรานซ์ไอโซซิทราล ( Trans-isocitral ) ไลโมเนน ( Limonene ) ยูจีนอล ( Eugenol ) ลินาลูล ( Linalool ) เจอรานิออล ( Geraniol ) คาริโอฟิวลีนออกไซด์ ( Caryophyllene oxide ) เจอรานิล อะซิเตท ( Geranyl acetate ) 6-เมทิล 5-เฮพเทน-2-วัน ( 6-Methyl 5-hepten-2-one ) 4-โนนาโนน ( 4-Nonanone ) เมทิลเฮพทีโนน ( Methyl heptennone ) ซิโทรเนลลอล ( Citronellol ) ไมร์ซีน ( Myrcene ) และ การบูร ( Camphor )

สรรพคุณของตะไคร้ 

สำหรับการใช้ประโชยน์จากตะไคร้ ในด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ทั้งต้น เหง้า ราก ลำต้น และ ใบ สรรพคุณของตะไคร้ มีรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นของตะไคร้ สรรพคุณแก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ไล่แมลง
  • เหง้านตะไคร้ สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะ ลดความดันสูง
  • ใบตะไคร้ สรรพคุณแก้กษัยเส้น ช่วยลดความดันโลหิตสูง ลดไข้
  • รากตะไคร้ สรรพคุณลดไข้ ปวดท้อง แก้ท้องเสีย
  • ลำต้นตะไคร้ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเส้นผม
  • น้ำมันตะไคร้ สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก ไล่แมลง

น้ำตะไคร้

สำหรับการทำน้ำตะไคร้ สามารถทำได้ โดย เตรียมตะไคร้สด 1 ต้น ต่อ 1 แก้ว นำมาล้างน้ำให้สะอาด ทุบให้แตก เพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมา นำมาหั่นเป็นท่อน เพื่อง่ายต่อการต้ม หากต้องการเพิ่มกลิ่นหอมมากขึ้น สามารถเพิ่มใบเตย ประมาณ 3 ใบ มัดรวมกัน แล้วใส่เพิ่มขณะต้มได้ ตั้งน้ำเดือน ใส่ตะไคร้หั่นที่เตรียมไว้ เคี่ยวจนได้น้ำสีเขียวออกมา ตั้งทิ้งไว้พออุ่น แนะนำดื่มเลย จะดีต่อสุขภาพมากที่สุด แต่หากไม่ชินกับรส สามารถเติมน้ำตาลได้ตามชอบ

โทษของตะไคร้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ ต้องเลือกใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ มีดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ ไม่ควรนำมารับประทาน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองช่องปากและลำคอ ทำให้เกิดอาการอาเจียน และ หากกินมากเกินไปเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ อย่างไรก็ตามการรับประทานตะไคร้สดๆไม่มีรายงานว่ามีอันตราย แต่การรับประทานในประมาณที่มากเกินไปก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน

ตะไคร้ เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป

แหล่งอ้างอิง

  • https://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้
  • “Cymbopogon citratus information from NPGS/GRIN”. www.ars-grin.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-20. สืบค้นเมื่อ 2008-03-02.
  • https://puechkaset.com/ตะไคร้

ต้นมะกรูด นิยมนำมาทำอาหาร ใบมะกรูด ผิวมะกรูด น้ำมะกรูด ให้กลิ่นหอมและรสเปรี้ยว ต้นมะกรูดเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยขับลม ดับกลิ่นคาวอาหาร บำรุงเส้นผม โทษมีอะไรบ้างมะกรูด สมุนไพร สรรพคุณของมะกรูด สมุนไพรไทย

มะกรูด ( Kaffir lime ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะกรูด คือ Citrus hystrix DC. ชื่อเรียกอื่นๆของมะกรูด เช่น มะขู มะขุน มะขูด ส้มกรูด ส้มมั่วผี เป็นต้น

มะกรูด พืชตระกูลส้ม เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มะกรูดมีคุณสมบัติสำคัญหลายอย่าง ใช้ในการทำยารักษาโรคและด้านความสวยความงาม มะกรูดยังจัดเป็นไม้มงคล นิยมปลูกไว้บริเวณบ้าน เชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยมักจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน

ลักษณะของต้นมะกรูด

ต้นมะกรูด ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก พืชท้องถิ่นของไทย มะกรูด นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารไทย ทั้งใบมะกรูด ผิวมะกรูด และ ผลมะกรูด มะกรูดเป็นพืชตระกลูเดียวกันกับส้ม ให้กลิ่นหอม และ รสชาติเปรี้ยว การขยายพันธ์ มะกรูดสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง การติดตา การต่อยอด การเพาะเมล็ด เป็นต้น โดยรายละเอียดของต้นมะกรูด มีดังนี้

  • ลำต้นมะกรูด เนื้อไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน ผิวของลำต้นเรียบ มีหนามตามลำต้นและกิ่ง ความสูงประมาณ ไม่เกิน 2 เมตร
  • ใบมะกรูด ลักษณะเป็นใบประกอบ ออกตามกิ่งก้าน ใบหนา เรียบ ผิวใบมัน มีสีเขียว ใบมีกลิ่นหอมมาก ลดความดันโลหิต
  • ดอกมะกรูด ออกเป็นช่อ ดอกมะกรูดมีสีขาว ออกดอกตามยอดและซอกใบ ดอกมีกลิ่นหอมเล็กน้อย
  • ผลมะกรูด ลักษณะกลม มีสีเขียว ผิวของผลมะกรูดขรุขระ คล้ายผลส้มซ่า ภายในผมมีน้ำมากรสเปรี้ยว ผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของมะกรูด

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะกรูด มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบมะกรูด ผิวมะกรูด และ น้ำมะกรูด รวมถึงน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด โดยรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 171 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 6.8 กรัม ไขมัน 3.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29 กรัม กากใยอาหาร 8.2 กรัม แคลเซียม 1672 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 303 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.35 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 20 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผิวลูกมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 21.3 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม ไขมัน 1.1 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม แคลเซียม 322 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 115 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.8 กรัม โปรตีน 0.6 กรัม แคลเซียม 20 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี2 58 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 55 มิลลิกรัม

น้ำมันหอมระเหยของมะกรูด พบว่ามีสารใน 2 กลุ่ม คือ สารที่ไม่ใช่กลุ่มเทอร์พีน ( non-terpene) และ สารในกลุ่มเทอร์พีน ( terpenes)

สารเคมีสำคัญที่พบในใบมะกรูก และ ผิวมะกรูด คือ β-pinene limonene sabinene citronellal α-pinene myrcene 1,8 cineol α-terpineol trans – sabinene hydrate copaene linalool β-cubenene geranyl acetate , citronellol caryophyllene elemol δ-cardinene citronellene acetate terpinen-4-ol, p-elemene camphene γ-terpinene terpinolene และ nerolidol

สรรพคุณของมะกรูด

น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างและเป็นส่วนผสมของยาหลายชนิด มะกรูด สามารถนำเอามาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนประกอบ ทั้ง ผลมะกรูด ใบมะกรูด และ รากมะกรูด โดยสรรพคุณของมะกรูด มีดังนี้

  • ผลมะกรูด สรรพคุณแก้ปวดหัว ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยขับพยาธิ บำรุงกำลัง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ บำรุงเลือด ช่วยฟอกเลือด ช่วยขับระดู ขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเส้นผม ช่วยเจริญอาหาร รักษาโรคเส้นผม รักษาโรคผิวหนัง ใช้ทำความสะอาด บำรุงเส้นผม ช่วยผ่อนคลาย ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเลือด ขับลม ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ บำรุงเลือด
  • ใบมะกรูด สรรพคุณช่วยขับลม แก้หน้ามืด แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยผ่อนคลาย ทำให้หลับสบาย ช่วยเจริญอาหาร
  • รากมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียด แน่นท้อง บำรุงเลือด
  • ลำต้นมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียดแน่นท้อง บำรุงโลหิต
  • น้ำมะกรูด สามารถใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ใช้บำรุงเส้นผม ล้างสิ่งอุดตันบนใบหน้า ผิวของผลมะกรูด สามารถนำมาทำเป็นยาขับลม บำรุงหัวใจ แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ท้องอืด

โทษของมะกรุด

สำหรับมะกรูด เป็นพิชที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ผลของมะกรูด มีรสเปรี้ยว สามารถใช้แทนความเปรี้ยวของมะนาวได้ การบริโภคหรือใช้ประโยชน์จากมะกรูดต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ของมะกรูด มีดังนี้

  • น้ำมันมะกรูดหากสัมผัสกับผิวของมนุษย์โดยตรง อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ โดยเฉพาะเมื่อโดนแสงแดด จะทำให้แพ้แสงแดดจนกลายเป็นแผลไหม้ได้ เนื่องจากน้ำมะกรูด มีสารออกซิเพดามิน ( oxypedamin ) ทำให้เกิดอาการแพ้ เมื่อโดนอากาศเป็นเวลานาน อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ดังนั้น หากสัมผัสน้ำมันมะกรูด หรือ น้ำมะกรูด ให้ล้างน้ำให้สะอาด
  • น้ำมะกรูดมีกรดสูง ไม่ควรรับประทานน้ำมะกรูดขณะท้องว่าง เพราะ อาจทำให้แสบท้อง ระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้
  • น้ำมะกรูด มีรสเปรี้ยว ซึ่งการกินเปรี้ยวมากเกินไป ส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ทำลายฟัน ทำให้ท้องร่วง ทำให้กระดูกผุ เป็นต้น

ต้นมะกรูด พืชพื้นบ้าน อยู่คู่สังคมไทย นิยมนำมาใช้ทำอาหาร ใบมะกรูด ผิวมะกรูด น้ำมะกรูด ให้กลิ่นหอมและรสเปรี้ยว ลักษณะของต้นมะกรูด ประโยชน์และสรรพคุณของมะกรูด เช่น ช่วยขับลม ดับกลิ่นคาวอาหาร บำรุงเส้นผม โทษของมะกรูด มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย