คื่นช่าย นิยมนำมาทำอาหาร ขึ้นฉ่าย คื่นไฉ่ คื่นช่าย คื่นฉ่าย คื่นไช่ ต้นคื่นฉ่ายเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยดับคาว บำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร โทษของคื่นฉ่ายมีอะไรบ้างคื่นฉ่าย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นขึ้นฉ่าย ต้นคื่นไฉ่ ต้นคื่นช่าย ต้นคื่นฉ่าย ต้นคื่นไช่ ( Celery ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของคื่นฉ่าย คือ Apium graveolens L. ชื่อเรียกอื่นของคื่นฉ่าย เช่น ผักข้าวปีน , ผักปืน , ผักปิ๋ม เป็นต้น พืชตระกูลผักชี สมุนไพรมีกลิ่นหอม นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร เพิ่มความหอมให้น้ำซุป

ชนิดของคื่นช่าย

ผักคื่นฉ่ายโดยทั่วไป มีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ คื่นฉ่ายฝรั่ง และ คื่นฉ่ายจีน โดยรายละเอียด ดังนี้

  • คื่นฉ่ายฝรั่ง ลักษณะต้นใหญ่ อวบน้ำ ความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นสีเหลืองอมเขียว
  • คื่นฉ่ายจีน ลักษณะต้นเล็ก อวบน้ำ ความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้นมีสีเขียว

ลักษณะของต้นคื่นฉ่าย

ต้นขึ้นฉ่าย เป็นผักสวนครัว พืชล้มลุก มีกลิ่นหอม สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นคื่นฉ่าย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นคื่นฉ่าย มีสีเขียว อวบน้ำ เนื้อลำต้นอ่อน ความสูงของต้นประมาณ 30 เซนติเมตร ภายในลำต้นกลวง
  • ใบคื่นฉ่าย ใบมีสีเขียว ลักษณะของใบเป็นใบแบบขนนก เป็นแฉกๆ ขอบใบหยัก ใบมีกลิ่นหอม
  • ดอกคื่นฉ่าย ดอกมีสีขาว ขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อ
  • ผลค่ืนฉ่าย ลักษณะกลมรี สีน้ำตาล มีขนาดเล็ก ผลมีกลิ่นหอม ภายในมีเมล็ดสามารถนำไปขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของคื่นช่าย

สำหรับการบริโภคคื่นช่าย นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน รับประทานทั้งต้น ใส่ในน้ำแกงให้กลิ่นหอม และ รสชาติของแกงที่มีเอกลักษณ์ นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของคื่นช่ายและสารต่างๆในคื่นช่าย มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของขึ้นฉ่าย ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 67 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม
น้ำตาล 1.4 กรัม กากใยอาหาร 1.6 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม น้ำ 95 กรัม ธาตุแคลเซียม 40 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.2 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 260 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 80 มิลลิกรัม  และ
ธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม

ในคื่นช่ายขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆมากมาย ประกอบด้วย วิตามินเอ 22 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.021 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.057 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.323 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.074 มิลลิกรัม วิตามินบี9 36 ไมโครกรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม และ วิตามินเค 29.3 ไมโครกรัม

สารสำคัญที่พบในขึ้นฉ่าย คือ น้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีสารต่างๆ ประกอบด้วย สารดี-ไลโมนีน ซีลินีน และ สารจำวพธาไลเตส นอกจากนี้ยังมีสารอื่นๆ แต่พบในปริมาณน้อย ประกอบด้วย แซนตารอล ยูเดสมอล ไดไฮโดรคาร์โวน และ กรดไขมัน

สรรพคุณของคื่นฉ่าย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากคื่นฉ่าย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น นิยมใช้ประโยชน์โดยการรับประทานทั้งต้นของคื่นช่าย โดยสรรพคุณของต้นคื่นช่าย มีดังนี้

  • ช่วยกระตุ้นให้อยากกินอาหารมากขึ้น ช่วยเจริญอาหาร
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ทำให้ระบบไหลเวียนดลหิตดี ช่วยขยายตัวของหลอดเลือด ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยปรับสมดุลของกรดและด่างในเลือด ช่วยลดความดันโลหิต ชวยลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด
  • มีเบต้าแคโรทีน ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยรักษาโรคปวดข้อต่างๆ  อาการปวดตามปลายประสาท
  • บำรุงสมอง ช่วยให้ผ่อนคลาย ทำให้หลับสบาย ลดโอกาสการเกิดอัลไซล์เมอร์ แก้เวียนหัว ลดอาการอาเจียน
  • ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ รักษาโรคหอบหืด ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยลดไข้ ช่วยขับร้อนในร่างกาย
  • บำรุงระบบาทงเดินอาหาร ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร รักษาโรคบิด รักษาท้องร่วง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในกระเพาะ
  • ช่วยขับประจำเดือน สำหรับสตรีประจำเดืนไม่มาตามปรกติ แก้อาการปวดประจำเดือน
  • ช่วยบำรุงตับและไต ลดอาการบวมน้ำ
  • รักษาโรคผิหนัง ช่วยแก้ลมพิษ รักษาผดผื่นคัน รักษาฝีฝักบัว
  • ช่วยคุมกำเนิด ลดปริมาณการสร้างอสุจิในเพศชาย ช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์

โทษของคื่นช่าย

สำหรับการรับประทาน หรือ ใช้ประโยชน์จากคื่นช่าย มีข้อควรระวังในการรับประทานขึ้นฉ่าย ดังนี้

  • คื่ช่วยมีสรรพคุณช่วยคุมกำเนิด ลดปริมาณการสร้างอสุจิในเพศชาย ช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์ สำหรับคนที่ต้องการมีบุตร ต้องลดการกินคื่นช่าย หรือ สารสกัดจากคื่นช่าย
  • การกินขึ้นฉ่ายในปริมาณมาก อาจจะทำให้เป็นหมันได้ เพราะ ทำให้อสุจิลดลง
  • คื่นช่ายมีน้ำมันหอมระเหย การสัมผัสต้นขึ้นฉ่าย ในคนที่มีอาการแพ้อาจทำให้เกิดผื่นคันได้
  • สารสกัดจากขึ้นฉ่าย มีสรรพคุณช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนสีิวให้มีสีน้ำตาลมากขึ้น

 

คื่นช่าย คือ ผักสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ให้กลิ่นหอม เขียนได้หลายชื่อ เช่น ขึ้นฉ่าย คื่นไฉ่ คื่นช่าย คื่นฉ่าย คื่นไช่ ลักษณะของต้นคื่นฉ่ายเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยดับคาว ช่วยบำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร โทษของคื่นฉ่าย มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ผักชี สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมรับประทานเป็นอาหาร ต้นผักชีเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด คุณค่าทางโภชนากการของผักชี  ประโยชน์ของผักชี โทษของผักชี

ผักชี สมุนไพร

ผักชี ( Coriander ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชี คือ Coriandrum sativum L. ต้นผักชี มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นพืชล้มลุกที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ชื่อเรียกอื่นๆของผักชี เช่น ผักชีไทย ผักหอม ยำแย้ ผักหอมป้อม ผักหอมผอม ผักหอมน้อย เป็นต้น

ลักษณะของต้นผักชี

ผักชี จัดเป็นพืชประเภท พืชล้มลุก อายุสั้น ผักชีมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ถิ่นกำเนิดของผักชีอยู่ในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันนิยมปลูกในประเทศไทย ลักษณะของต้นผักชี มีดังนี้

  • ลำต้นของผักชี ลำต้นสูงประมาณ 12 นิ้ว มีสีเขียว ลำต้นอวบน้ำ ลักษณะตั้งตรง ภายในกลวง มีกิ่งก้านเล็กๆ ลำต้นผิวเรีบย
  • รากของผักชี มีรากฝอยจำนวนมาก แต่รากเป็นรากแก้ว ที่ไม่ยาวมาก
  • ใบของผักชี ใบเป็นแฉกๆ เป็นใบเดียวมีสีเขียว มีกลิ่นฉุนหอม
  • ดอกของผักชี ดอกของผักชีนั้นจะออกจากโคนลำต้น และ ตั้งตรงเหนือยอดของต้น ดอกมีขนาดเล็ก
  • เม็ดของผักชี ลักษณะทรงกลม อยู่ตรงกลางดอกผักชี เป็นส่วนที่สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

ผักชีในประเทศไทย

สำหรับผักชีในประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะ เป็นผักที่นิยมกินในอาหารไทย การปลูกและขายผักชีจึงมีการทำเป็นอาชีพ ผักชีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยแหล่งผักชีของประเทศไทย ได้แก่ ราชบุรี นครปฐม และ กรุงเทพมหานคร สายพันธุ์ของผักชีที่นิยมปลูกมี 2 สายพันธ์ คือ ผักชีพื้นเมือง และ ผักชีแอฟฟริกา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักชีพันธุ์อาฟริกา ลักษณะเด่น คือ ต้นมีขนาดใหญ่ ใบหนาและใหญ่ มีกลิ่นหอมเล็กน้อย และอายุยาวกว่าผักชีพันธุ์พื้นเมือง
  • ผักชีพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ ต้นขนาดเล็ก ใบบาง เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นฉุนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของผักชี

การบริโภคผักชีเป็นอาหาร มีมาช้านานแล้ว และ เป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้านโภชนาการ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักชีสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานถึง 23 กิโลแคลอรี

ผักชี ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.67 กรัม น้ำตาล 0.87 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.52 กรัม โปรตีน 2.13 กรัม น้ำ 92.21 กรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 3,930 ไมโครกรัม  ลูทีนและซีแซนทีน 865 ไมโครกรัม ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 67 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.77 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.426 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 48 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 521 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 46 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.5 มิลลิกรัม

ผักชี ขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 วิตามินซี วิตามินอี และ วิตามินเค

ประโยชน์ของผักชี 

การใช้ประโยชนืจากผักชี นั้นหลักๆจะเป็นการนำเอามาทำอาหารรับประทานเป็นหลัก แต่นอกจากนำมาทำอาหาร ผักชี สามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดของผักชี ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ต่างๆ

สรรพคุณของผักชี

ประโยชน์ของผักชีด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค สามารถใช้ได้ทุกส่วนของผักชี คือ รากผักชี ลำต้นผักชี ใบผักชี และ เมล็ดของผักชี โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดผักชี สรรพคุณช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ปวดฟัน บำรุงกระเพาะอาหาร ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยย่อยอาหาร
  • ใบผักชี สรรพคุณบำรุงสายตา แก้กระหายน้ำ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ ป้องกันมะเร็ง  ขับเสมหะ แก้สะอึก แก้คลื้นไส้อาเจียน แก้เวียนหัว ขับเหงื่อ แก้หวัด แก้ไอ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม  รักษาอาหารเป็นพิษ ช่วยแก้พิษตานซาง รักษาตับอักเสบ รักษาโรคหัด ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการอักเสบ แก้ปวดข้อ
  • รากผักชี สรรพคุณขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ

โทษของผักชี

  • การกินผักชีมากเกินไป อาจทำให้มีกลิ่นตัวแรง
  • สำหรับคนที่มีิิอาการแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม หรือ หอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกัน
  • ผักชีมีโพแทสเซียมสูง ทำให้ไตทำงานหนัก สำหรับผู้ป่วยโรคไตไม่ควรกินผักชีมากเกินไป
  • การกินผักชีมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการตาลาย หรือ ขี้หลงขี้ลืม เนื่องจากอาการมึนหัว

ผักชี คือ ผักสวนครัว สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมปลูกตามครัวเรือน นำมารับประทานอาหาร ให้รสชาติและกลิ่นหอม ลักษณะของต้นผักชีเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักชี ช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด คุณค่าทางโภชนากการของผักชี  ประโยชน์ของผักชี โทษของผักชี เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับผักชีทั้งหมด

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย