ต้นข่า สมุนไพรพื้นบ้าน ข่านิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว ต้นข่าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการของข่า สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง ขับเสมหะ ขับลม โทษของข่า

ข่า สมุนไพร สมุนไพรไทย

ข่า ( Galanga ) พืชตระกลูขิง นิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารต่าง ๆ เป็นเครื่องเทศ ช่วยแต่งกลิ่นอาหาร และ ดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. ประโยชน์ของข่า ด้านการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย เช่น ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง รักษาหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร

ข่าในประเทศไทย

พื้นที่ปลูกข่าของประเทศไทย นั้นสามารถปลูกได้ทั่วไป นิยมปลูกต้นข่าที่สวนบ้านทุกบ้าน จัดว่า ข่าเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ใช้เป็นยารักษาโรค และ ส่วนประกอบของอุตสาหกรรมต่างๆ ในข่า สามารถสกัด เอาน้ำมันหอมระเหยได้ ซึ่ง ในน้ำมันหอมระเหยของข่า มี สารสำคัญ 4 ชนิด คือ trans-p-Coumaryl diacetate , 4-Hydroxycinnamoylaldehyde , 1´-Acetoxychavicol acetate และ β–Sitosterol

ข่า ภาษาอังกฤษ เรียก Galanga ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. พืชลักษณะเดียวกับ กระชาย กระชายดำ กระชายแดง กระวาน กระวานเทศ ขิง ขมิ้น เร่ว เปราะป่า เปราะหอม ว่านนางคำ และ ว่านรากราคะ ชื่อเรียกอื่นๆของข่า เช่น สะเอเชย เสะเออเคย ข่าหยวก ข่าหลวง กฎุกกโรหินี เป็นต้น

ชนิดของข่า

สำหรับสายพันธ์ข่าที่นิยมปลู มี 4 สายพันธ์ ประกอบด้วย

  • ข่าป่า พบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ และ ป่าดิบชื้น ลักษณะลำต้นสูง ใบคล้ายกับข่า ที่ปลูกทั่วไป หัวข่ามีกลิ่นฉุนไม่มาก
  • ข่าลิง หรือ ข่าน้อย ลักษณะลำต้นเล็ก
  • ข่าคม ลักษณะใบมน มีขนทั้งสองด้าน ดอกสีขาว
  • ข่าน้ำ ข่าพื้นบ้าน นิยมปลูกเพื่อจำหน่าย พบมากที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ลักษณะของต้นข่า

ข่าเป็นพืชล้มลุก มีรสเผ็ด กลิ่นฉุน อายุหลายปี สามารถขยายพันธ์ โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นข่า มีรายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าข่า อยู่ใต้ดิน เหง้าสีน้ำตาลอมแสด เลื้อยขนานกับผิวดิน มีข้อปล้องสั้น
  • ลำต้นของข่า เป็นลักษณะกาบ ตั้งตรง แทงออกมาจากเหง้า ลักษณะอวบน้ำ กลม สีเขียว
  • ใบข่า เป็นใบเดี่ยว ใบยาว เหมือนหอก เรียงสลับ รอบลำต้น กาบใบมีขน ปลายใบแหลม ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ
  • ดอกข่า เป็นลักษณะช่อ ออกที่ปลายยอด ช่อแยกแขนง ตั้งขึ้น มีขนาดใหญ่ สีเขียวปนเหลือง ดอกแก่เป็นสีขาวปนม่วงแดง
  • ผลแห้งแตก รูปกระสวย ทรงกลม มีเมล็ด เมล็ดข่าใช้เป็นเครื่องเทศ ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน

คุณค่าทางโภชนาการของข่า

ต้นข่ามีกลิ่นฉุน และ รสเผ็ดร้อนมาก นิยมนำมาประกอบอาหาร ข่ามีประโยชน์ในด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย นักโภชนากการำด้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของข่า โดยคุณค่าทางโภชนาการของเหง้าข่าอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่

ข่าอ่อนขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัฯ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และ วิตามินซี 23 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางสมุนไพรของข่า

ต้นข่ามีกลิ่นฉุน และ รสเผ็ดร้อน นิยมมาประกอบอาหาร มีประโยชน์ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย สรรพคุณของข่า นิยมใช้ เหง้าข่า รากข่า ดอกข่า ผลข่า และ ใบข่า ประโยชน์ทั้งหมดของข่า มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของข่า สรรพคุณช่วยบำรุงเลือด ทำให้ระบบเลือดไหลเวียนดี ช่วยขับเสมหะ
  • เหง้าของข่า สรรพคุณ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาหลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แก้อาหารเป็นพิษ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาระบายอ่อน ๆ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยขับน้ำดี ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา รักษาแผลสด ลดอาการอักเสบ แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคผิวหนัง ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา รักษากลากเกลื้อน แก้ฟกช้ำ แก้เหน็บชา บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  • ใบของข่า สรรพคุณช่วยฆ่าพยาธิ รักษากลากเกลื้อน
  • ดอกของข่า สรรพคุณแก้อาการท้องเสีย รักษาฝีดาษ
  • ผลของข่า สรรพคุณแก้ปวดฟัน รักษาโรคท้องร่วง ช่วยย่อยอาหาร

โทษของข่า

สำหรับข่า เป็นพืชที่มีรสเผ็ดร้อน การใช้ประโยชนืจากข่ามีข้อควรระวัง ดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่า มีความเป็นพิษปานกลาง หากได้กินน้ำมันหอมระเหยจากข่ามากเกินขนาด เป็นพิษต่อร่างกาย
  • ข่า มีความเผ้ดร้อน ทำให้ระคายเคืองผิวหนัง สำหรับคนที่ผิวหนังแพ้ข่า ทำให้มีอาการแสบร้อน

ต้นข่า คือ พืชล้มลุก สมุนไพรพื้นบ้าน พืชสวนครัว ข่า นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว เพิ่มรสชาติอาหาร ลักษณะของต้นข่า คุณค่าทางโภชนากการของข่า สรรพคุณของข่า เช่น ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง ขับเสมหะ ช่วยขับลม โทษของข่า

ต้นตะไคร้ สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมนำมาทำอาหารให้กลิ่นหอม ต้นตะไคร้เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ลดความดัน โทษของตะไคร้มีอะไรบ้างตะไคร้ สมุนไพร สรรพคุณของตะไคร้

ตะไคร้ ( Lemongrass ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf  ชื่อเรียกอื่นๆของตะไคร้ เช่น จะไคร , หัวซิงไค , ไคร , คาหอม , เชิดเกรย , เหลอะเกรย , ห่อวอตะโป่ เป็นต้น ตะไคร้เป็นทั้งยารักษาโรคและยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น

สายพันธ์ตะไคร้

ตะไคร้ พืชตระกูลหญ้า เจริญเติบโตง่ายในทุกสภาพดิน ลำต้นมีกาบใบโดยรอบ ใบยาว ใบของตะไคร้ มีน้ำมันหอมระเหย นิยมปลูกเป็นพืชสวนครัว พืชพื้นเมือง ปลูกกันโดยทั่วไปในประเทศไทย สายพันธ์ของต้นตะไคร้ แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และ ตะไคร้หางสิงห์

  • ตะไคร้กอ
  • ตะไคร้ต้น
  • ตะไคร้หางนาค
  • ตะไคร้น้ำ
  • ตะไคร้หางสิงห์
  • ตะไคร้หอม

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้

คุณค่าทางอาหารของตะไคร้ นักโภชนากการได้ทำการศึกษาต้นตะไคร้สด ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 143 กิโลแคลอรี่

ต้นตะไคร้ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 4.2 กรัม สารอาหาร คือ โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม เหล็ก 2.6 มิลลิกรัม เถ้า 1.4 กรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม และ วิตามินสำคัญ ประกอบด้วย วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม  และ วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นตะไคร้

ตะไคร้ พืชล้มลุก ตระกลูหญ้า มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย คองโก และ ในแถบทวีปอเมริกาใต้ เป็น สมุนไพรไทย นิยมนำมาประกอบอาหารช่วยให้กลิ่นหอมดับกลิ่นคาวของอาหาร นิยมปลูกทั่วไปตามบ้าน สามารถขยายพันธ์โดยแตกกอ และ การปักชำ ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้นของตะไคร้ มีลักษณะลำต้นตั้งตรง ลำต้นทรงกระบอก สูงประมาณ 1 เมตร  มีกาบใบเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นตะไคร้ผิวเรียบ โคนต้นอ้วน สีม่วงอ่อน เป็นส่วนที่นำมาใช้ประกอบอาหาร
  • ใบของตะไคร้ ลักษณะใบเรียวยาว ขอบใบแหลมคม ใบตะไคร้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านใบ หูใบ  และ ใบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ผิวใบสากมือ และ มีขนปกคลุม ปลายใบแหลม
  • ดอกของตะไคร้ ดอกตะไคร้จะออกดอกเป็นช่อ มีกลิ่นหอม ดอกตะไคร้มีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

สรรพคุณของตะไคร้

สำหรับการใช้ประโยชน์ของตะไคร้ ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่ากาย สรรพคุณของตะไคร้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้ง ส่วน ทั้งต้น หัวตะไคร้ รากตะไคร้ ลำต้นตะไคร้ และ ใบตะไคร้ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นของตะไคร้ สรรพคุณรักษาโรคหอบหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ
  • น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สะกัดได้จากต้นตะไคร้ทุกส่วน น้ำมันตะไคร้ นำมาทำเป็นยาทานวด นำมารับประทาน ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และ ขับเหงื่อ
  • ลำต้นตะไคร้ สรรพคุณเป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร แก้เบื่ออาหาร ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่ว บำรุงธาตุ รักษาหนองใน และ ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร
  • ใบของตะไคร้ สรรพคุณเป็นยาแก้หวัด ลดอาการไอ ปรับสมดุลย์ความดันโลหิต บรรเทาอาการปวด แก้ปวดหัว
  • หัวของตะไคร้ สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว ลดความดันโลหิต แก้กษัยเส้น และ ลดไข้
  • รากของตะไคร้ สรรพคุณแก้ปวดท้อง และ บรรเทาอาการท้องเสีย

โทษของตะไคร้

มีการทดลองการใช้น้ำมันตะไคร้กับหนูขาว พบว่าน้ำมันตะไคร้ความเข้มข้น 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หนูขาวกินเข้าไป ทำให้หนูขาวตาย น้ำมันตะไคร้ให้กระต่ายกินทำให้กระต่ายตาย หนูขาวที่ได้รับน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้มีการเติบโตเร็วกว่ากลุ่มที่ไม้ได้รับ และค่าทางเคมีของเลือดไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด การบิรโภคน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ในปริมาณที่มากเกินไป และ หากมีความเข้มค้นมากเกินไป ทำให้เป็นอันตรายได้ จากการทดลองเห็นว่า หนูขาวแข็งแรงขึ้น แต่หากใช้ในปริมาณมากเกินไป ทำให้หนูขาวตาย

ต้นตะไคร้ ผักสวนครัว สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมนำมาทำอาหารให้กลิ่นหอม ลักษณะของต้นตะไคร้ ประโยชน์ของตะไคร้ สรรพคุณของตะไคร้ เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ลดความดัน ดับกลิ่นคาวอาหาร โทษของตะไคร้ เป็นอย่างไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย