ตะไคร้ นิยมนำมาประกอบอาหาร ต้นตะไคร้เป็นอย่างไร สรรพคุณของตะไคร้ เช่น ช่วยเจริญอาหาร ลดความดัน แก้ปวดท้อง ลดไข้ โทษของตะไคร้เป็นอย่างไรตะไคร้ สมุนไพร สรรพคุณของตะไคร้

ตะไคร้ สมุนไพร เป็นไม้ล้มลุกวงศ์เดียวกันกับหญ้า มีอายุมากกว่า 1 ปี มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว มาเลเชีย อินโดนีเชีย เป็นต้น เป็นพืชที่มีสารอาหารและวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก

ตะไคร้ ภาษาอังกฤษ เรียก Lemon grass ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตะไคร้ เช่น คาหอม ไคร จะไคร เชิดเกรย หัวสิงไค เหลอะเกรย ห่อวอตะโป เฮียงเม้า เป็นต้น ตะไคร้สามารถพบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งตะไคร้ที่นิยมปลูก มี 6 ชนิด คือ ตะไคร้หอม ตะไคร้ต้น ตะไคร้กอ ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และ ตะไคร้หางสิงห์

ประโยชน์ของตะไคร้ นอกจากนำมาเป็นอาหารและทำยา ยังสามารถนำตะไคร้มาใช้ประโยชน์ได้จากกลิ่นเฉพาะตัวได้ เช่น ทำเครื่องดื่ม นำน้ำมันหอมระเหยมาเป็นส่วยประกอบของยานวด ทำน้ำยาหมักผมบำรุงเส้นผม นำมาทำเป็นยากันยุง เป็นต้น

ลักษณะของต้นตะไคร้ 

ต้นตะไคร้ เป็นพืชล้มลุกที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว อายุเกิน 1 ปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำ และ แยกหน่อ ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้น ลักษณะลำต้นตั้งตรง รูปทรงกระบอก ความสูงประมาณ 30-60 เซ็นติเมตร โคนลำต้นมีกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม
  • ใบ ลักษณะของใบตะไค มี 3 ส่วน คือ ก้านใบ หูใบ และใบ ซึ่งใบตะไคร้เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว เรียวยาว ขอบใบคม ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม
  • ดอกตะไคร้ ลักษณะดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้

สำหรับการบริโภคตะไคร้เป็นอาหาร นิยมใช้ส่วยของลำต้น ซึ่งจะมีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง  143 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม กากใยอาหาร 4.2 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.6 มิลลิกรัม วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

น้ำมันหอมระเหยจากใบและลำต้นของตะไคร้ มีสารซิทราล ( Citral ) มากที่สุดประมาณร้อยละ 75 นอกจากนั้นยังประกอบด้วย ทรานซ์ไอโซซิทราล ( Trans-isocitral ) ไลโมเนน ( Limonene ) ยูจีนอล ( Eugenol ) ลินาลูล ( Linalool ) เจอรานิออล ( Geraniol ) คาริโอฟิวลีนออกไซด์ ( Caryophyllene oxide ) เจอรานิล อะซิเตท ( Geranyl acetate ) 6-เมทิล 5-เฮพเทน-2-วัน ( 6-Methyl 5-hepten-2-one ) 4-โนนาโนน ( 4-Nonanone ) เมทิลเฮพทีโนน ( Methyl heptennone ) ซิโทรเนลลอล ( Citronellol ) ไมร์ซีน ( Myrcene ) และ การบูร ( Camphor )

สรรพคุณของตะไคร้ 

สำหรับการใช้ประโชยน์จากตะไคร้ ในด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ทั้งต้น เหง้า ราก ลำต้น และ ใบ สรรพคุณของตะไคร้ มีรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นของตะไคร้ สรรพคุณแก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ไล่แมลง
  • เหง้านตะไคร้ สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะ ลดความดันสูง
  • ใบตะไคร้ สรรพคุณแก้กษัยเส้น ช่วยลดความดันโลหิตสูง ลดไข้
  • รากตะไคร้ สรรพคุณลดไข้ ปวดท้อง แก้ท้องเสีย
  • ลำต้นตะไคร้ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเส้นผม
  • น้ำมันตะไคร้ สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก ไล่แมลง

น้ำตะไคร้

สำหรับการทำน้ำตะไคร้ สามารถทำได้ โดย เตรียมตะไคร้สด 1 ต้น ต่อ 1 แก้ว นำมาล้างน้ำให้สะอาด ทุบให้แตก เพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมา นำมาหั่นเป็นท่อน เพื่อง่ายต่อการต้ม หากต้องการเพิ่มกลิ่นหอมมากขึ้น สามารถเพิ่มใบเตย ประมาณ 3 ใบ มัดรวมกัน แล้วใส่เพิ่มขณะต้มได้ ตั้งน้ำเดือน ใส่ตะไคร้หั่นที่เตรียมไว้ เคี่ยวจนได้น้ำสีเขียวออกมา ตั้งทิ้งไว้พออุ่น แนะนำดื่มเลย จะดีต่อสุขภาพมากที่สุด แต่หากไม่ชินกับรส สามารถเติมน้ำตาลได้ตามชอบ

โทษของตะไคร้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ ต้องเลือกใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ มีดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ ไม่ควรนำมารับประทาน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองช่องปากและลำคอ ทำให้เกิดอาการอาเจียน และ หากกินมากเกินไปเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ อย่างไรก็ตามการรับประทานตะไคร้สดๆไม่มีรายงานว่ามีอันตราย แต่การรับประทานในประมาณที่มากเกินไปก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน

ตะไคร้ เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป

แหล่งอ้างอิง

  • https://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้
  • “Cymbopogon citratus information from NPGS/GRIN”. www.ars-grin.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-20. สืบค้นเมื่อ 2008-03-02.
  • https://puechkaset.com/ตะไคร้

กระชาย ขิงจีน สมุนไพรไทย ฉายา โสมไทย นิยมปลูกเพื่อนำมาทำอาหารรับประทาน คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาระบาย โทษของกระชายมีอะไรบ้างกระชาย สมุนไพร สรรพคุณของกระชาย

กระชาย พืชตระกูลขิง นิยมปลูกกันในประเทศจีนและประเทษเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระชาย ( Chinese ginger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. ชื่อเรียกอื่นๆของกระชาย เช่น  ว่านพระอาทิตย์  กระชายดำ  กะแอน ขิงทราย ละแอน ขิงจีน เป็นต้น

ชนิดของกระชาย

สำหรับกระชาย ทีนิยมปลูกกัน มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายดำ ลักษะณะของเนื้อหัวกระชายจะมีสีดำ รสเผ็ดร้อน
  • กระชายแดง ลักษณะทั่วไปเหมือนกันกับกระชายเหลือง แต่จะแตกต่างกันตรงเหง้าและเนื้อด้านในของเหง้า โดยเนื้อจะมีสีเหลืองแกมส้ม
  • กระชายเหลือง ลักษณะของกระชายเหลือง เนื้อด้านในของหัวกระชาย มีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาทำอาหาร

ต้นกระชาย โดยทั่วไป มี3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู หัวของกระชาย สะสมสารอาหารมากมาย ส่วนนี้เรียกว่า นมกระชาย นำมาใช้เป็นเครื่องแกง คุณสมบัติช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ดี

กระชายที่นิยมนำมาใช้ทำอาหารรับประทาน คือ กระชายเหลือง และ กระชายดำ ปัจจุบันกระชายดำ กำลังเป็นที่นิยม ด้านสมุนไพรสรรพคุณด้านการบำรุงร่างกาย

ลักษณะของต้นกระชาย

ต้นกระชาย พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวทั้งต้น นิยมนำมาใช้เหง้า หรือ หัวกระชายมารับประทาน การขยายพันธุ์กระชาย ใช้การแตกหน่อ กระชายชอบดินที่ร่วนซุย และ ระบายน้ำได้ดี รายละเอียดของต้นกระชาย มีดังนี้

  • เหง้ากระชาย อยู่ใต้ดิน ลักษณะอวบ ทรงกระบอก ทรงไข่ค่อนข้างยาว ความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร เหง้ากระชายเป็นกระจุก ผิวด้านนอกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อมีสีเหลือง กลิ่นหอม
  • ใบกระชาย เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะใบเป็นทรงรียาว ใบยาวประมาณ 50 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม
  • ดอกกระชาย กระชายออกดอกเป็นช่อ มีสีขาว หรือ สีขาวอมชมพูอ่อน ๆ ลักษณะเป็นรูปหอก
  • ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย

การใช้ประโยชน์จากกระชาย นิยมใช้เหง้ากระชายมาทำอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของเหง้ากระชายขนาด 100 กรัม พบว่ามี สารอาหารสำคัณ ประกอบด้วย ไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว โซเดียม โพแทสเซียม คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร น้ำตาล โปรตีน วิตามินบี6 วิตามินซี แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม เป็นต้น

สรรพคุณของกระชาย

ประโยชน์ของกระชาย สามารถใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สำหรับสรรพคุณของกระชายส่วนต่างๆทั้ง ใบกระชาย หัวกระชาย รายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าของกระชาย มีรสเผ็ด ร้อน ขม แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้บิด แก้โรคกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก
  • ใบของกระชาย ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆได้

ตำรายาไทยใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร

โทษของกระชาย

ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากกระชาย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ไม่ควรกินกระชายจำนวนมาก และ ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากได้ เนื่องจากกระชายมีฤทธิ์ร้อน
  • การกินกระชายในปริมาณมาก ทำให้เกิดปัญหาเหงือกร่น และ ภาวะใจสั่นได้
  • กระชาย มีผลต่อการทำงานของตับ ผู้ป่วยเกี่ยวกับตับ ไม่ควรกินกระชายในประมาณมาก

กระชาย หรือ ขิงจีน พืชพื้นบ้าน สมุนไพรไทย ฉายา โสมไทย คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย สรรพคุณของกระชาย ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาระบาย โทษของกระชายมีอะไรบ้าง พืชสวนครัว พืชเศรษฐกิจ นิยมปลูกเพื่อนำมาทำอาหารรับประทาน

แหล่งอ้างอิง

  • “The Plant List: A Working List of All Plant Species”. สืบค้นเมื่อ 25 January 2014.
  • ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2549
  • “สำเนาที่เก็บถาวร”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-25. สืบค้นเมื่อ 2014-08-08.
  • กระชาย ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุ กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • ลีนา ผู้พัฒนพงศ์ ,2530
  • คณะทำงานรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผักในโครงการหนูรักผักสีเขียว
  • ภานุทรรศน์,2543
  • กรรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข,2542
  • แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ ,2541
  • พรพรรณ ,2543
  • อบเชย วงศ์ทอง ,2544
  • อาหารจากสมุนไพร อร่อย สุขภาพดี. กทม. แม่บ้าน. มปป.หน้า 94
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย