กระชาย ขิงจีน สมุนไพรไทย ฉายา โสมไทย นิยมปลูกเพื่อนำมาทำอาหารรับประทาน คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาระบาย โทษของกระชายมีอะไรบ้าง
กระชาย พืชตระกูลขิง นิยมปลูกกันในประเทศจีนและประเทษเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระชาย ( Chinese ginger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. ชื่อเรียกอื่นๆของกระชาย เช่น ว่านพระอาทิตย์ กระชายดำ กะแอน ขิงทราย ละแอน ขิงจีน เป็นต้น
ชนิดของกระชาย
สำหรับกระชาย ทีนิยมปลูกกัน มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้
- กระชายดำ ลักษะณะของเนื้อหัวกระชายจะมีสีดำ รสเผ็ดร้อน
- กระชายแดง ลักษณะทั่วไปเหมือนกันกับกระชายเหลือง แต่จะแตกต่างกันตรงเหง้าและเนื้อด้านในของเหง้า โดยเนื้อจะมีสีเหลืองแกมส้ม
- กระชายเหลือง ลักษณะของกระชายเหลือง เนื้อด้านในของหัวกระชาย มีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาทำอาหาร
ต้นกระชาย โดยทั่วไป มี3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู หัวของกระชาย สะสมสารอาหารมากมาย ส่วนนี้เรียกว่า นมกระชาย นำมาใช้เป็นเครื่องแกง คุณสมบัติช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ดี
กระชายที่นิยมนำมาใช้ทำอาหารรับประทาน คือ กระชายเหลือง และ กระชายดำ ปัจจุบันกระชายดำ กำลังเป็นที่นิยม ด้านสมุนไพรสรรพคุณด้านการบำรุงร่างกาย
ลักษณะของต้นกระชาย
ต้นกระชาย พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวทั้งต้น นิยมนำมาใช้เหง้า หรือ หัวกระชายมารับประทาน การขยายพันธุ์กระชาย ใช้การแตกหน่อ กระชายชอบดินที่ร่วนซุย และ ระบายน้ำได้ดี รายละเอียดของต้นกระชาย มีดังนี้
- เหง้ากระชาย อยู่ใต้ดิน ลักษณะอวบ ทรงกระบอก ทรงไข่ค่อนข้างยาว ความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร เหง้ากระชายเป็นกระจุก ผิวด้านนอกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อมีสีเหลือง กลิ่นหอม
- ใบกระชาย เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะใบเป็นทรงรียาว ใบยาวประมาณ 50 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม
- ดอกกระชาย กระชายออกดอกเป็นช่อ มีสีขาว หรือ สีขาวอมชมพูอ่อน ๆ ลักษณะเป็นรูปหอก
- ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่
คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย
การใช้ประโยชน์จากกระชาย นิยมใช้เหง้ากระชายมาทำอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของเหง้ากระชายขนาด 100 กรัม พบว่ามี สารอาหารสำคัณ ประกอบด้วย ไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว โซเดียม โพแทสเซียม คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร น้ำตาล โปรตีน วิตามินบี6 วิตามินซี แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม เป็นต้น
สรรพคุณของกระชาย
ประโยชน์ของกระชาย สามารถใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สำหรับสรรพคุณของกระชายส่วนต่างๆทั้ง ใบกระชาย หัวกระชาย รายละเอียด ดังนี้
- เหง้าของกระชาย มีรสเผ็ด ร้อน ขม แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้บิด แก้โรคกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก
- ใบของกระชาย ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆได้
ตำรายาไทยใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร
โทษของกระชาย
ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากกระชาย มีรายละเอียด ดังนี้
- ไม่ควรกินกระชายจำนวนมาก และ ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากได้ เนื่องจากกระชายมีฤทธิ์ร้อน
- การกินกระชายในปริมาณมาก ทำให้เกิดปัญหาเหงือกร่น และ ภาวะใจสั่นได้
- กระชาย มีผลต่อการทำงานของตับ ผู้ป่วยเกี่ยวกับตับ ไม่ควรกินกระชายในประมาณมาก
กระชาย หรือ ขิงจีน พืชพื้นบ้าน สมุนไพรไทย ฉายา โสมไทย คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย สรรพคุณของกระชาย ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาระบาย โทษของกระชายมีอะไรบ้าง พืชสวนครัว พืชเศรษฐกิจ นิยมปลูกเพื่อนำมาทำอาหารรับประทาน
แหล่งอ้างอิง
- “The Plant List: A Working List of All Plant Species”. สืบค้นเมื่อ 25 January 2014.
- ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2549
- “สำเนาที่เก็บถาวร”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-25. สืบค้นเมื่อ 2014-08-08.
- กระชาย ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุ กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ลีนา ผู้พัฒนพงศ์ ,2530
- คณะทำงานรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผักในโครงการหนูรักผักสีเขียว
- ภานุทรรศน์,2543
- กรรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข,2542
- แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ ,2541
- พรพรรณ ,2543
- อบเชย วงศ์ทอง ,2544
- อาหารจากสมุนไพร อร่อย สุขภาพดี. กทม. แม่บ้าน. มปป.หน้า 94
Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น
ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้