สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

ผักชี สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมรับประทานเป็นอาหาร ต้นผักชีเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด คุณค่าทางโภชนากการของผักชี  ประโยชน์ของผักชี โทษของผักชี

ผักชี สมุนไพร

ผักชี ( Coriander ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชี คือ Coriandrum sativum L. ต้นผักชี มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นพืชล้มลุกที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ชื่อเรียกอื่นๆของผักชี เช่น ผักชีไทย ผักหอม ยำแย้ ผักหอมป้อม ผักหอมผอม ผักหอมน้อย เป็นต้น

ลักษณะของต้นผักชี

ผักชี จัดเป็นพืชประเภท พืชล้มลุก อายุสั้น ผักชีมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ถิ่นกำเนิดของผักชีอยู่ในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันนิยมปลูกในประเทศไทย ลักษณะของต้นผักชี มีดังนี้

  • ลำต้นของผักชี ลำต้นสูงประมาณ 12 นิ้ว มีสีเขียว ลำต้นอวบน้ำ ลักษณะตั้งตรง ภายในกลวง มีกิ่งก้านเล็กๆ ลำต้นผิวเรีบย
  • รากของผักชี มีรากฝอยจำนวนมาก แต่รากเป็นรากแก้ว ที่ไม่ยาวมาก
  • ใบของผักชี ใบเป็นแฉกๆ เป็นใบเดียวมีสีเขียว มีกลิ่นฉุนหอม
  • ดอกของผักชี ดอกของผักชีนั้นจะออกจากโคนลำต้น และ ตั้งตรงเหนือยอดของต้น ดอกมีขนาดเล็ก
  • เม็ดของผักชี ลักษณะทรงกลม อยู่ตรงกลางดอกผักชี เป็นส่วนที่สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

ผักชีในประเทศไทย

สำหรับผักชีในประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะ เป็นผักที่นิยมกินในอาหารไทย การปลูกและขายผักชีจึงมีการทำเป็นอาชีพ ผักชีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยแหล่งผักชีของประเทศไทย ได้แก่ ราชบุรี นครปฐม และ กรุงเทพมหานคร สายพันธุ์ของผักชีที่นิยมปลูกมี 2 สายพันธ์ คือ ผักชีพื้นเมือง และ ผักชีแอฟฟริกา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักชีพันธุ์อาฟริกา ลักษณะเด่น คือ ต้นมีขนาดใหญ่ ใบหนาและใหญ่ มีกลิ่นหอมเล็กน้อย และอายุยาวกว่าผักชีพันธุ์พื้นเมือง
  • ผักชีพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ ต้นขนาดเล็ก ใบบาง เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นฉุนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของผักชี

การบริโภคผักชีเป็นอาหาร มีมาช้านานแล้ว และ เป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้านโภชนาการ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักชีสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานถึง 23 กิโลแคลอรี

ผักชี ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.67 กรัม น้ำตาล 0.87 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.52 กรัม โปรตีน 2.13 กรัม น้ำ 92.21 กรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 3,930 ไมโครกรัม  ลูทีนและซีแซนทีน 865 ไมโครกรัม ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 67 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.77 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.426 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 48 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 521 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 46 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.5 มิลลิกรัม

ผักชี ขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 วิตามินซี วิตามินอี และ วิตามินเค

ประโยชน์ของผักชี 

การใช้ประโยชนืจากผักชี นั้นหลักๆจะเป็นการนำเอามาทำอาหารรับประทานเป็นหลัก แต่นอกจากนำมาทำอาหาร ผักชี สามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดของผักชี ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ต่างๆ

สรรพคุณของผักชี

ประโยชน์ของผักชีด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค สามารถใช้ได้ทุกส่วนของผักชี คือ รากผักชี ลำต้นผักชี ใบผักชี และ เมล็ดของผักชี โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดผักชี สรรพคุณช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ปวดฟัน บำรุงกระเพาะอาหาร ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยย่อยอาหาร
  • ใบผักชี สรรพคุณบำรุงสายตา แก้กระหายน้ำ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ ป้องกันมะเร็ง  ขับเสมหะ แก้สะอึก แก้คลื้นไส้อาเจียน แก้เวียนหัว ขับเหงื่อ แก้หวัด แก้ไอ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม  รักษาอาหารเป็นพิษ ช่วยแก้พิษตานซาง รักษาตับอักเสบ รักษาโรคหัด ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการอักเสบ แก้ปวดข้อ
  • รากผักชี สรรพคุณขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ

โทษของผักชี

  • การกินผักชีมากเกินไป อาจทำให้มีกลิ่นตัวแรง
  • สำหรับคนที่มีิิอาการแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม หรือ หอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกัน
  • ผักชีมีโพแทสเซียมสูง ทำให้ไตทำงานหนัก สำหรับผู้ป่วยโรคไตไม่ควรกินผักชีมากเกินไป
  • การกินผักชีมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการตาลาย หรือ ขี้หลงขี้ลืม เนื่องจากอาการมึนหัว

ผักชี คือ ผักสวนครัว สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมปลูกตามครัวเรือน นำมารับประทานอาหาร ให้รสชาติและกลิ่นหอม ลักษณะของต้นผักชีเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักชี ช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด คุณค่าทางโภชนากการของผักชี  ประโยชน์ของผักชี โทษของผักชี เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับผักชีทั้งหมด

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ชะมดต้น พืชพื้นเมือง สมุนไพรพื้นบ้าน สรรพคุณของชะมดต้น บำรุงทางเดินอาหาร ขับลม แก้ปวดหัว กระตุ้นประสาท เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระตุ้นน้ำนม โทษของชะมะต้นมีอะไรบ้าง

ชะมดต้น สมุนไพร

ชะมดต้น มีชื่อสามัญ ว่า  Abelmosk ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะมดต้น คือ  Abelmoschus moschatus Medik พืชตระกูลเดียวกันกับชบา ชื่อเรียกอื่นๆของชะมดต้น เช่น ฝ้ายผี , เทียนชะมด , จั๊บเจี๊ยว , หวงขุย เป็นต้น

ลักษณะของต้นชะมดต้น

ชะมดต้น เป็นพืชล้มลุก ขนาดเล็ก อายุไม่เกิน 2 ปี ชะมดต้นสามารขยายพันธ์ได้โดย การปักชำ สามารถปลูกได้ในพื้นที่ประเทศเขตร้อน เช่น อินเดีย พม่า และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้มากตามป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น และ ป่าเบญจพรรณ

  • ลำต้นชะมดต้น สูงไม่เกิน 2 เมตร ลำต้นมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม
  • ใบของชะมดต้น เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ
  • ดอกชะมดต้น ออกเป็นดอกเดี่ยว ดอกชะมดต้นตามซอกใบ ดอกมีสีเหลืองและสีม่วง
  • ผลของชะมดต้น ทรงกลมยาว คล้ายผลมะเฟือง ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีดำ ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลมีกลิ่นหอม

ประโยชน์ของชะมดต้น

สำหรับการใช้ประโยชน์ของชะมดต้น สามารถใช้นำมาทำเครื่องใช้ต่างๆ เช่น เชือก กระสอบ ผงกันแมลง แต่งกลิ่นอาหาร และ ทำน้ำหอม โดยรายละเอียดของประโยชน์ชะมดต้น มีดังนี้

  • ใบของชะมดต้น สามารถนำมากินเป็นผักสดได้
  • ใยจากเปลือกของต้นชะมดต้น สามารถขำมาทำเชือกและกระสอบ
  • เมล็ดของชะมดต้น นำมาบดให้เป็นผง ใช้ป้องกันแมลง
  • รากของชะมดต้น มีสารให้ความเหนียว ใช้เป็นกาวได้
  • เมล็ดของชะมดต้น สามารถนำมาคั่วให้กลิ่นหอม แต่งกลิ่นอาหาร นำมาสกัดน้ำมันหอมระเหย ให้มีกลิ่นหอม นำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องหอม น้ำหอม และแต่งกลิ่นอาหาร

สรรพคุณของต้นชะมดต้น

การนำชะมดต้นมาใช้ประโยชน์ในด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์ได้จาด เมล็ด ราก ดอก ใบ และ ผล โดยสรรพคุณของชะมดต้น มีดังนี้

  • เมล็ดของชะมดต้น สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร แก้ปวดหัว แก้กระหาย ช่วยขับลม รักษาโรคกระเพาะอาหาร เมล็ดของชะมดต้น สามารถนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยได้ สรรพคุณของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดชะมดต้น สรรพคุณช่วยระงับประสาท ช่วยคลายเครียด ช่วยขับลม บำรุงระบบย่อยอาหาร กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ  กระตุ้นการทำงานของต่อมหมวกไต
  • รากของชะมดต้น สรรพคุณช่วยขับพิษร้อน ลดไข้ แก้ไอเรื้อรัง แก้ปวดท้อง แก้ท้องผูก รักษาโรคหนองใน รักษาโรคกามโรค รักษาแผลไฟไฟม้ รักษาแผลพุพอง บำรุงหนังศีรษะ บำรุงเส้นผม รักษารังแค ต้านเชื้อราตามขุมขนและรากผม ช่วยขับน้ำนมสำหรับสตรีหลังการคลอด
  • ดอกของชะมดต้น สรรพคุณแก้ปวดท้อง แก้ท้องผูก ช่วยขับพยาธิ รักษานิ่ว
  • ใบของชะมดต้น มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ Staphelo coccus สรรพคุณรักษาแผล แผลไฟไหม้ แผลพุพอง รักษากลากเกลื้อน ช่วยขับพยาธิ  รักษาโรคปวดข้อ
  • ผลของชะมดต้น สรรพคุณรักษาฝี

โทษของชะมดต้น

การใช้ประโยชน์จากต้นชะมดต้น มีประโยชน์ แต่หากใช้ไม่ถูกวิธีก็เกิดโทษต่อร่างกายได้ โดยข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากขะมดต้น มีดังนี้

  • เมล็ดของชะมดต้น มีพิษเมล็ดสดนำมาบดเป็นผงป้องกันแมลงได้ เมล็ดของชะมดต้นหากไม่นำมาคั่วให้สุกก่อนนำมารับประทานก็เป็นพิษต่อร่างกายได้
  • รากของชะมดต้น มีสารให้ความเหนียวใช้เป็นกาวได้ ไม่ควรนำมารับประทานแบบสดๆ

ต้นชะมดต้น คือ พื้ชพื้นเมือง สมุนไพรพื้นบ้าน สรรพคุณของชะมดต้น หลายหลาย เช่น บำรุงระบบทางเดินอาหาร ขับลม แก้ปวดหัว กระตุ้นระบบประสาท เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยกระตุ้นน้ำนม โทษของชะมะต้น มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้


สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร