ผักชี สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมรับประทานเป็นอาหาร ต้นผักชีเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด คุณค่าทางโภชนากการของผักชี  ประโยชน์ของผักชี โทษของผักชี

ผักชี สมุนไพร

ผักชี ( Coriander ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชี คือ Coriandrum sativum L. ต้นผักชี มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นพืชล้มลุกที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ชื่อเรียกอื่นๆของผักชี เช่น ผักชีไทย ผักหอม ยำแย้ ผักหอมป้อม ผักหอมผอม ผักหอมน้อย เป็นต้น

ลักษณะของต้นผักชี

ผักชี จัดเป็นพืชประเภท พืชล้มลุก อายุสั้น ผักชีมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ถิ่นกำเนิดของผักชีอยู่ในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันนิยมปลูกในประเทศไทย ลักษณะของต้นผักชี มีดังนี้

  • ลำต้นของผักชี ลำต้นสูงประมาณ 12 นิ้ว มีสีเขียว ลำต้นอวบน้ำ ลักษณะตั้งตรง ภายในกลวง มีกิ่งก้านเล็กๆ ลำต้นผิวเรีบย
  • รากของผักชี มีรากฝอยจำนวนมาก แต่รากเป็นรากแก้ว ที่ไม่ยาวมาก
  • ใบของผักชี ใบเป็นแฉกๆ เป็นใบเดียวมีสีเขียว มีกลิ่นฉุนหอม
  • ดอกของผักชี ดอกของผักชีนั้นจะออกจากโคนลำต้น และ ตั้งตรงเหนือยอดของต้น ดอกมีขนาดเล็ก
  • เม็ดของผักชี ลักษณะทรงกลม อยู่ตรงกลางดอกผักชี เป็นส่วนที่สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

ผักชีในประเทศไทย

สำหรับผักชีในประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะ เป็นผักที่นิยมกินในอาหารไทย การปลูกและขายผักชีจึงมีการทำเป็นอาชีพ ผักชีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยแหล่งผักชีของประเทศไทย ได้แก่ ราชบุรี นครปฐม และ กรุงเทพมหานคร สายพันธุ์ของผักชีที่นิยมปลูกมี 2 สายพันธ์ คือ ผักชีพื้นเมือง และ ผักชีแอฟฟริกา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักชีพันธุ์อาฟริกา ลักษณะเด่น คือ ต้นมีขนาดใหญ่ ใบหนาและใหญ่ มีกลิ่นหอมเล็กน้อย และอายุยาวกว่าผักชีพันธุ์พื้นเมือง
  • ผักชีพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ ต้นขนาดเล็ก ใบบาง เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นฉุนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของผักชี

การบริโภคผักชีเป็นอาหาร มีมาช้านานแล้ว และ เป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้านโภชนาการ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักชีสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานถึง 23 กิโลแคลอรี

ผักชี ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.67 กรัม น้ำตาล 0.87 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.52 กรัม โปรตีน 2.13 กรัม น้ำ 92.21 กรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 3,930 ไมโครกรัม  ลูทีนและซีแซนทีน 865 ไมโครกรัม ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 67 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.77 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.426 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 48 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 521 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 46 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.5 มิลลิกรัม

ผักชี ขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 วิตามินซี วิตามินอี และ วิตามินเค

ประโยชน์ของผักชี 

การใช้ประโยชนืจากผักชี นั้นหลักๆจะเป็นการนำเอามาทำอาหารรับประทานเป็นหลัก แต่นอกจากนำมาทำอาหาร ผักชี สามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดของผักชี ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ต่างๆ

สรรพคุณของผักชี

ประโยชน์ของผักชีด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค สามารถใช้ได้ทุกส่วนของผักชี คือ รากผักชี ลำต้นผักชี ใบผักชี และ เมล็ดของผักชี โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดผักชี สรรพคุณช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ปวดฟัน บำรุงกระเพาะอาหาร ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยย่อยอาหาร
  • ใบผักชี สรรพคุณบำรุงสายตา แก้กระหายน้ำ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ ป้องกันมะเร็ง  ขับเสมหะ แก้สะอึก แก้คลื้นไส้อาเจียน แก้เวียนหัว ขับเหงื่อ แก้หวัด แก้ไอ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม  รักษาอาหารเป็นพิษ ช่วยแก้พิษตานซาง รักษาตับอักเสบ รักษาโรคหัด ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการอักเสบ แก้ปวดข้อ
  • รากผักชี สรรพคุณขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ

โทษของผักชี

  • การกินผักชีมากเกินไป อาจทำให้มีกลิ่นตัวแรง
  • สำหรับคนที่มีิิอาการแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม หรือ หอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกัน
  • ผักชีมีโพแทสเซียมสูง ทำให้ไตทำงานหนัก สำหรับผู้ป่วยโรคไตไม่ควรกินผักชีมากเกินไป
  • การกินผักชีมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการตาลาย หรือ ขี้หลงขี้ลืม เนื่องจากอาการมึนหัว

ผักชี คือ ผักสวนครัว สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมปลูกตามครัวเรือน นำมารับประทานอาหาร ให้รสชาติและกลิ่นหอม ลักษณะของต้นผักชีเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักชี ช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด คุณค่าทางโภชนากการของผักชี  ประโยชน์ของผักชี โทษของผักชี เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับผักชีทั้งหมด

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ต้นย่านาง ( Bamboo grass ) สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมใช้ใบมาทำน้ำใบย่านาง ลักษณะของต้นย่างนาง ประโยชน์และสรรพคุณ เช่น ลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด โทษของย่างนาง

ย่านาง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นย่านาง ชื่อสามัญ คือ Bamboo grass ชื่อวิทยาศาสตร์ของย่านาง คือ Tiliacora triandra (Colebr.) Diels สำหรับต้นย่านางมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ต้นย่านาง สามารถพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วไป ตามพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตามป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ และ ป่าโปร่ง ต้นย่านางขยายพันธ์ง่าย โดยการปักชำ แตกหน่อ หรือ การเพาะเมล็ด เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของต้นย่านาง

ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของย่านาง นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบย่านางสดๆ ขนาด 100 กรัม พบว่าใบย่ายางขนาด 100 กรัมให้พลังงานมากถึง 95 กิโลแคลอรี

ใบย่านางขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 7.9 กรัม แคลเซียม 155 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 7.0 มิลลิกรัม  ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม โปรตีน 15.5 เปอร์เซนต์ ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซนต์ โพแทสเซียม 1.29 เปอร์เซนต์ และ แทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์

ใบย่านางขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินเอ 30625 IU วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.36 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 141 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นย่านาง

ต้นย่านาง พืชล้มลุก เป็นเถาไม้เลื้อย ปลูกง่าย พบได้ตามพื้นที่ชุ่มชื้น ของป่าต่างๆ ทั้ง ป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ การขยายพันธ์โดยการปักชำ เพาะเมล็ด หรือ แตกหน่อ ลักษณะของต้นย่างนาง มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของย่านาง มีลักษณะกลมเล็ก เหนียว สีเขียว เป็นเถา ลำต้นย่านางเกี่ยวพันกับไม้อื่น และ เถาแก่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวเข้ม ลำต้นผิวค่อนข้างเรียบ
  • รากของย่านาง รากของย่านางลักษณะเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่
  • ใบของย่านาง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เหมือนรูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว เป็นมัน ในออกจากลำต้นเรียงสลับกัน
  • ดอกของย่านาง ดอกย่านางออกตามซอกใบ และ ซอกโคนก้าน ดอกออกเป็นช่อ มีขนาดเล็ก สีเหลือง ดอกของย่างน่างจะออกดอกช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
  • ผลของย่านาง ลักษณะกลมรี สีเขียว มีขนาดเล็ก ผลแก่ของย่านาง สีเหลืองอมแดง มีเมล็ดด้านใน ลักษณะแข็ง รูปเกือกม้า

ประโยชน์ของใบย่านาง

ต้นย่างนางเป็นพืชที่ให้ออกซิเจนสูง เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีมลพิษสุง เพราะ ต้นย่านางจะช่วยเพิ่มออกซิเจน และ สร้างความร่มเย็นให้กับพื้นที่ได้ดี นอกจากนั้นประโยชน์ของย่านาง นิยมนำมาทำอาหาร ใบย่านาง เป็นส่วนประกอบของอาหาร ทำน้ำใบย่านาง

ใบย่านาง ทำให้ผมดกดำ ช่วยชะลอการเกิดผมหงอก ย่านางนิยมนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แคปซูลใบย่านาง สบู่ใบย่านาง แชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น

สรรพคุณของย่านาง

การใช้ประโยชน์จากต้นย่านาง สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก รากย่านาง และ ใบย่านาง โดยรายละเอียดของสรรพคุณของย่านาง มีดังนี้

  • รากย่านาง พืชมีรสขม สรรพคุณของรากย่านาง รักษาไข้ แก้ไข้ทับระดู แก้พิษเมา บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง รักษาอีสุกอีใส รักษามาลาเรีย ช่วยขับพิษต่างๆ
  • ใบยางนาง พืชมีรสขม สรรพคุณช่วยรักษาอาการไข้ ช่วยชะลอวัย เป็นยาอายุวัฒนะ สร้างภูมิต้านทานโรคให้ร่างกาย ช่วยบำรุงกำลัง ลดความอ้วน ช่วยปรับสมดุลย์ร่างกาย ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาอัมพฤกษ์ ช่วยรักษาอาการชักเกร็ง บำรุงผิวพรรณ บรรเทาอาการเวียนหัว ป้องกันโรคภูมิแพ้ รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด แก้ปวดตามตัว แก้ปวดกล้ามเนื้อ รักษาเหงือกอักเสบ ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ บำรุงสายตา ช่วยลดการนอนกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคตับอักเสบ แก้ท้องเสีย แก้ท้องผูก รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาลำไส้อักเสบ ช่วยรักษาปัสสาวะขัด ช่วยรักษามดลูกโต แก้ปวดมดลูก รักษาโรคต่อมลูกหมากโต รักษาอาการตกขาว ช่วยป้องกันโรคเกาต์ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

โทษของย่างนาง

  • น้ำใบย่างนาง น้ำสมุนไพร แต่ใบย่านางกลิ่นแรง กินยาก การทำน้ำใบย่างนาง หากไม่ปรุงรส อาจทำให้อาเจียน หรือ เกิดอาการแพ้ได้
  • การดื่มน้ำย่านาง ควรดื่มก่อนการกินอาหาร หรือ ดื่มตอนท้องว่าง
  • การดื่มน้ำใบย่านาง ควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่ควรดื่มมากเกินไป
  • น้ำใบย่านาง ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของไต ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ไม่ควรดื่มน้ำใบย่านาง เพราะ สารอาหาร เช่น วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ที่มีใบย่านางจะทำให้เกิดการคั่ง
  • การกินอาหารเสริมจากใบย่านาง เช่น แคปซูลใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพรใบย่างนาง อาจมีสารเคมีเจือปน หากขั้นตอนการผลิตไม่ได้มาตราฐาน เพื่อความปลอดภัย ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้จะดีที่สุด

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย